1. การค้าของไทยกับประเทศสมาชิกเอเปค
ประเทศไทยมีมูลค่าการค้ากับประเทศสมาชิกเอเปคคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย โดยในปี 2542 มีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 76,130.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นมูลค่าการส่งออกจากไทยไปกลุ่มสมาชิกเอเปค 40,489.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่านำเข้า 35,641.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประเทศสมาชิกเอเปคที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วน มูลค่าการค้าร้อยละ 18.8 และ 17.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ ด้านการส่งออก สหรัฐฯเป็นตลาดสำคัญอันดับหนึ่ง แต่ด้านการนำเข้ามีการนำเข้าจากญี่ปุ่นมากที่สุด ประเทศคู่ค้ารองมาได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง และสาธารณรัฐประชาชนจีน
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังกลุ่มสมาชิกเอเปค คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง ยางพาราเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เป็นต้น
สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากกลุ่มสมาชิกเอเปค คือ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า หลอดภาพโทรทัศน์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เป็นต้น
2. มาตรการที่มิใช่ภาษีที่ใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค
มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากรมีหลายรูปแบบ ได้แก่ มาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้า มาตรการออกใบอนุญาตนำเข้า การใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า ระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า การประเมินราคาเพื่อการศุลกากร การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก และการใช้มาตรการปกป้อง
มาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประเทศสมาชิกเอเปคนำมาใช้มากได้แก่ มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และมาตรการเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุน มาตรการขออนุญาตนำเข้า มาตรการสุขอนามัย มาตรการจำกัดการนำเข้า มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า และการปิดฉลาก เป็นต้น
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังประเทศสมาชิกเอเปค (รายประเทศ) ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษี สรุปได้ดังนี้
ประเทศผู้นำเข้า สินค้าส่งออกสำคัญของไทย มาตรการที่มิใช่ภาษี
สหรัฐฯ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
อาหารทะเลกระป๋อง มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านมาตรฐาน
การทดสอบ การปิดฉลากและการออกใบรับรอง
แคนาดา อาหารทะเลกระป๋อง มาตรการด้านมาตรฐาน การทดสอบ การปิดฉลาก
อินโดนีเซีย ข้าว มาตรการจำกัดการนำเข้า
น้ำตาล มาตรการสุขอนามัย
มาเลเซีย ข้าว มาตรการจำกัดการนำเข้า
ฟิลิปปินส์ เครื่องสำอาง มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า
รถยนต์ และส่วนประกอบ มาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
บรูไน ข้าว มาตรการขออนุญาตนำเข้า
รถยนต์และชิ้นส่วน มาตรการขออนุญาตนำเข้า
ปูนซีเมนต์ มาตรการควบคุมการนำเข้า
เวียดนาม น้ำมันสำเร็จรูป มาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
เหล็ก มาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
รถยนต์ มาตรการจำกัดการนำเข้า
ญี่ปุ่น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ มาตรการมาตรฐานสินค้า
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง , มาตรการสุขอนามัย
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
จีน วัตถุดิบพลาสติก มาตรการจำกัดการนำเข้า
ยางแผ่นรมควัน มาตรการกำหนดปริมาณนำเข้า การขออนุญาตนำเข้า
และมาตรฐานสินค้า
ฮ่องกง ข้าว มาตรการกำหนดปริมาณนำเข้าและขออนุญาตนำเข้า
รัสเซีย น้ำตาล มาตรการจำกัดนำเข้า
3. ข้อวิเคราะห์
3.1 ข้อเสนอการลดมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศต่างๆ ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนส่วนใหญ่เป็นการแสดงเจตนาที่จะลดการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีโดยทั่วไป เช่น การปรับกฎหมายภายในประเทศ
3.2 หลายประเทศรายงานการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในเอเปคในทำนองเดียวกับที่แจ้งไว้ใน WTO เช่น การยกเลิกโควตานำเข้าสิ่งทอ และส่วนใหญ่แจ้งว่าการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีสอดคล้องกับ WTO แล้ว
3.3 บางประเทศ เช่น เม็กซิโก อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และไทย แจ้งว่าใช้มาตรการ ที่มิใช่ภาษีในลักษณะที่ผ่อนคลายลง เช่น นำเข้าสินค้าบางชนิดมากกว่าโควตาที่กำหนดไว้ใน WTO ยกเลิกมาตรการนำเข้าในสินค้าบางประเภท สำหรับญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการนำเข้าข้าวจากระบบที่ไม่ให้มีการนำเข้านอกโควต้ามาเป็นระบบโควตาภาษี ซึ่งถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายข้าวครั้งสำคัญ
3.4 ประเทศที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก WTO เช่น จีน เวียดนาม จีนไทเป แสดงเจตนารมณ์ว่าจะปรับปรุงกฎหมายภายในค่อนข้างมากเพื่อให้สอดคล้องกับ WTO
ความเห็น4.1 ประเทศสมาชิกเอเปคเกือบทุกประเทศยังไม่ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ เอเปคที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีในเอเปคมากกว่า WTO เพราะเกือบทุกประเทศอ้างว่าได้ปฏิบัติตาม WTO อยู่แล้ว
4.2 ประเทศสมาชิกเอเปคส่วนใหญ่ไม่มีการเสนอยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามในภาพรวมไทยอาจได้ประโยชน์ในการปรับลดมาตรการที่มิใช่ภาษีของบางประเทศ แต่การปรับลดมาตรการดังกล่าวไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นผลจากการขยายความร่วมมือในกรอบของเอเปค เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ WTO เช่น การปรับเปลี่ยนนโยบายข้าวของญี่ปุ่น ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันภาษีนำเข้าข้าวนอกโควตาอาจสูงอยู่มากแต่ในอนาคตไทยอาจใช้เวทีของ WTO และเอเปคผลักดันให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดมากขึ้น
4.3 ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยอาจจะได้ประโยชน์จากประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค ( Economic and Technical Cooperation : ECOTECH ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าวนี้น้อยมาก เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยขาดความกระตือรือร้นในการติดต่อและประสานงานระหว่างกัน ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องขยายความร่วมมือในด้านนี้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันควรจะมีการทบทวนเพิ่มบทบาทและผลประโยชน์ที่ไทยควรจะได้รับจากการเป็นสมาชิกเอเปค
4.4 ในด้านความร่วมมือในกรอบของเอเปค นอกจากประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้มีการผ่อนคลายมาตรการที่มิใช่ภาษีให้กับประเทศสมาชิกเอเปคเพิ่มขึ้นจากกรอบของ WTO อย่างชัดเจน ยังมีการใช้เวทีเจรจาเอเปคเป็นเครื่องมือผลักดันให้มีการเปิดเสรีในสาขาที่มีความได้เปรียบ เช่น การเปิดเสรีสาขา IT
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-
ประเทศไทยมีมูลค่าการค้ากับประเทศสมาชิกเอเปคคิดเป็นร้อยละ 70 ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของไทย โดยในปี 2542 มีมูลค่าการค้าทั้งสิ้น 76,130.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แยกเป็นมูลค่าการส่งออกจากไทยไปกลุ่มสมาชิกเอเปค 40,489.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และมูลค่านำเข้า 35,641.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ประเทศสมาชิกเอเปคที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย คือ ญี่ปุ่น และสหรัฐฯ โดยมีสัดส่วน มูลค่าการค้าร้อยละ 18.8 และ 17.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ ด้านการส่งออก สหรัฐฯเป็นตลาดสำคัญอันดับหนึ่ง แต่ด้านการนำเข้ามีการนำเข้าจากญี่ปุ่นมากที่สุด ประเทศคู่ค้ารองมาได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย ไต้หวัน ฮ่องกง และสาธารณรัฐประชาชนจีน
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังกลุ่มสมาชิกเอเปค คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง อาหารทะเลกระป๋อง ยางพาราเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก เป็นต้น
สินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากกลุ่มสมาชิกเอเปค คือ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบแผงวงจรไฟฟ้า เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบผลิตภัณฑ์โลหะ เหล็กและเหล็กกล้า หลอดภาพโทรทัศน์ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์การแพทย์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เป็นต้น
2. มาตรการที่มิใช่ภาษีที่ใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิกเอเปค
มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษีศุลกากรมีหลายรูปแบบ ได้แก่ มาตรการจำกัดปริมาณการนำเข้า มาตรการออกใบอนุญาตนำเข้า การใช้มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช มาตรการเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้า ระเบียบวิธีการออกใบอนุญาตนำเข้า การประเมินราคาเพื่อการศุลกากร การตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก และการใช้มาตรการปกป้อง
มาตรการที่มิใช่ภาษีที่ประเทศสมาชิกเอเปคนำมาใช้มากได้แก่ มาตรการต่อต้านการทุ่มตลาด และมาตรการเก็บภาษีตอบโต้การอุดหนุน มาตรการขออนุญาตนำเข้า มาตรการสุขอนามัย มาตรการจำกัดการนำเข้า มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า และการปิดฉลาก เป็นต้น
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปยังประเทศสมาชิกเอเปค (รายประเทศ) ที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษี สรุปได้ดังนี้
ประเทศผู้นำเข้า สินค้าส่งออกสำคัญของไทย มาตรการที่มิใช่ภาษี
สหรัฐฯ กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม
อาหารทะเลกระป๋อง มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านมาตรฐาน
การทดสอบ การปิดฉลากและการออกใบรับรอง
แคนาดา อาหารทะเลกระป๋อง มาตรการด้านมาตรฐาน การทดสอบ การปิดฉลาก
อินโดนีเซีย ข้าว มาตรการจำกัดการนำเข้า
น้ำตาล มาตรการสุขอนามัย
มาเลเซีย ข้าว มาตรการจำกัดการนำเข้า
ฟิลิปปินส์ เครื่องสำอาง มาตรการด้านมาตรฐานสินค้า
รถยนต์ และส่วนประกอบ มาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
บรูไน ข้าว มาตรการขออนุญาตนำเข้า
รถยนต์และชิ้นส่วน มาตรการขออนุญาตนำเข้า
ปูนซีเมนต์ มาตรการควบคุมการนำเข้า
เวียดนาม น้ำมันสำเร็จรูป มาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
เหล็ก มาตรการขอใบอนุญาตนำเข้า
รถยนต์ มาตรการจำกัดการนำเข้า
ญี่ปุ่น เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ มาตรการมาตรฐานสินค้า
ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง , มาตรการสุขอนามัย
กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง
จีน วัตถุดิบพลาสติก มาตรการจำกัดการนำเข้า
ยางแผ่นรมควัน มาตรการกำหนดปริมาณนำเข้า การขออนุญาตนำเข้า
และมาตรฐานสินค้า
ฮ่องกง ข้าว มาตรการกำหนดปริมาณนำเข้าและขออนุญาตนำเข้า
รัสเซีย น้ำตาล มาตรการจำกัดนำเข้า
3. ข้อวิเคราะห์
3.1 ข้อเสนอการลดมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศต่างๆ ยังไม่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนส่วนใหญ่เป็นการแสดงเจตนาที่จะลดการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีโดยทั่วไป เช่น การปรับกฎหมายภายในประเทศ
3.2 หลายประเทศรายงานการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีในเอเปคในทำนองเดียวกับที่แจ้งไว้ใน WTO เช่น การยกเลิกโควตานำเข้าสิ่งทอ และส่วนใหญ่แจ้งว่าการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีสอดคล้องกับ WTO แล้ว
3.3 บางประเทศ เช่น เม็กซิโก อินโดนีเซีย มาเลเซีย ญี่ปุ่น และไทย แจ้งว่าใช้มาตรการ ที่มิใช่ภาษีในลักษณะที่ผ่อนคลายลง เช่น นำเข้าสินค้าบางชนิดมากกว่าโควตาที่กำหนดไว้ใน WTO ยกเลิกมาตรการนำเข้าในสินค้าบางประเภท สำหรับญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการนำเข้าข้าวจากระบบที่ไม่ให้มีการนำเข้านอกโควต้ามาเป็นระบบโควตาภาษี ซึ่งถือว่าเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายข้าวครั้งสำคัญ
3.4 ประเทศที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก WTO เช่น จีน เวียดนาม จีนไทเป แสดงเจตนารมณ์ว่าจะปรับปรุงกฎหมายภายในค่อนข้างมากเพื่อให้สอดคล้องกับ WTO
ความเห็น4.1 ประเทศสมาชิกเอเปคเกือบทุกประเทศยังไม่ได้ดำเนินการให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ เอเปคที่ต้องการให้มีการเปิดเสรีในเอเปคมากกว่า WTO เพราะเกือบทุกประเทศอ้างว่าได้ปฏิบัติตาม WTO อยู่แล้ว
4.2 ประเทศสมาชิกเอเปคส่วนใหญ่ไม่มีการเสนอยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามในภาพรวมไทยอาจได้ประโยชน์ในการปรับลดมาตรการที่มิใช่ภาษีของบางประเทศ แต่การปรับลดมาตรการดังกล่าวไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นผลจากการขยายความร่วมมือในกรอบของเอเปค เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ WTO เช่น การปรับเปลี่ยนนโยบายข้าวของญี่ปุ่น ซึ่งแม้ว่าในปัจจุบันภาษีนำเข้าข้าวนอกโควตาอาจสูงอยู่มากแต่ในอนาคตไทยอาจใช้เวทีของ WTO และเอเปคผลักดันให้ญี่ปุ่นเปิดตลาดมากขึ้น
4.3 ประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทยอาจจะได้ประโยชน์จากประเทศพัฒนาแล้วในเรื่องความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการของเอเปค ( Economic and Technical Cooperation : ECOTECH ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากความร่วมมือดังกล่าวนี้น้อยมาก เนื่องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยขาดความกระตือรือร้นในการติดต่อและประสานงานระหว่างกัน ดังนั้นไทยจึงจำเป็นต้องขยายความร่วมมือในด้านนี้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันควรจะมีการทบทวนเพิ่มบทบาทและผลประโยชน์ที่ไทยควรจะได้รับจากการเป็นสมาชิกเอเปค
4.4 ในด้านความร่วมมือในกรอบของเอเปค นอกจากประเทศพัฒนาแล้วจะไม่ได้มีการผ่อนคลายมาตรการที่มิใช่ภาษีให้กับประเทศสมาชิกเอเปคเพิ่มขึ้นจากกรอบของ WTO อย่างชัดเจน ยังมีการใช้เวทีเจรจาเอเปคเป็นเครื่องมือผลักดันให้มีการเปิดเสรีในสาขาที่มีความได้เปรียบ เช่น การเปิดเสรีสาขา IT
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ อาคาร ค ถ.ราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศน์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 โทรศัพท์ (662)2826171-9 แฟกซ์ (662)280-0775--
-สส-