แท็ก
ภาคเหนือ
ระบบการเงินในภาคเหนือประกอบด้วย การเงินในระบบ และการเงินนอกระบบ การเงินในระบบดำเนินงานโดยสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ขอบเขตของกฏหมายและกำกับดูแลโดยหน่วยงานของรัฐ ส่วนการเงินนอกระบบเป็นการรับฝากหรือให้กู้ยืมโดยประชาชนทั่วไป
การเงินในระบบของภาคเหนือประกอบด้วยสถาบันการเงินประเภทธนาคาร และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ (PIBF) และธนาคารที่ตั้งโดยกฎหมายพิเศษที่ดำเนินการเฉพาะอย่าง อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ได้แก่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์และโรงรับจำนำ
สถาบันการเงินประเภทธนาคาร และไม่ใช่ธนาคาร (ยกเว้นสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ และโรงรับ จำนำ) เป็นสำนักงานสาขาของสถาบันการเงินซึ่งมีสำนักงานใหญ่เปิดดำเนินการที่กรุงเทพฯทั้งสิ้น และการดำเนินธุรกิจเป็นการดำเนินนโยบายตามสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ดำเนินการในฐานะเป็นธนาคารกลาง ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกธนบัตร การควบคุม การแลกเปลี่ยนเงินเป็นนายธนาคาร รับฝากเงิน โอนเงินให้แก่รัฐบาลและธนาคารต่างๆ จ่ายดอกเบี้ย และการไถ่ถอนพันธบัตรเงินกู้ของรัฐบาล อีกทั้งควบคุมดูแลการตรวจสอบการดำเนินงานของสถาบัน การเงิน ศึกษาวิเคราะห์ และรายงานภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาค
เงินฝากและเงินให้สินเชื่อของสถาบันในภาคเหนือ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2541
(หน่วย : ล้านบาท)
เงินฝาก สินเชื่อ
สถาบันการเงิน จำนวน ยอดคงค้าง สัดส่วน ยอดคงค้าง สัดส่วน
ธนาคารพาณิชย์ 523 264,020.2 81.9 219,781.0 70.8
ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ 127 28,204.9 8.7 50,910.5 16.4
ธนาคารออมสิน P 114 27,979.1 8.7 5,708.3 1.8
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 8 2,693.2 0.7 23,970.2 7.7
IFCT 6 - - 6,154.0 2.0
PIBF 3 - - 1,866.6 0.6
สำนักงานอำนวยสินเชื่อ 7 - - 2,133.8 0.7
รวม 788 322,897.4 100.0 310,524.4 100.0
หมายเหตุ : P ตัวเลขเบื้องต้น
บริษัทหลักทรัพย์ทำหน้าที่จัดจำหน่าย หลักทรัพย์ค้าหลักทรัพย์และเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)ในส่วนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ดำเนินบทบาทในการให้กู้ยืม ระยะสั้นและระยะยาวแก่ภาคอุตสาหกรรม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็นสถาบันที่ให้บริการทางการเงินแก่อุตสาหกรรมที่มีสินทรัพย์สุทธิ ไม่เกิน 20 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ หัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนบริษัทประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินหนึ่งที่ระดมเงินจากประชาชนทั้งในรูปเบี้ยประกันและการออม เพื่อนำมาหาประโยชน์ทั้งในรูปของการลงทุน หรือการให้กู้ยืมแก่สมาชิกภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด ทางด้านโรงรับจำนำเป็นสถานประกอบการที่รับจำนำสิ่งของ เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมตามวงเงินและมีการไถ่ถอนภายในระยะเวลาที่กำหนด
สถาบันการเงินในภาคเหนือได้เพิ่มความสำคัญต่อเศรษฐกิจของภาคและได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ โดยมีสาขาธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทมากที่สุดทั้งด้านการระดมเงินออม และให้สินเชื่อ เนื่องจากมีจำนวนสำนักงานมาก คิดเป็นร้อยละ 66 ของสถาบันการเงินในภาคเหนือ อีกทั้งยังมีความได้เปรียบด้านเครื่องมือและบริการที่ให้กับลูกค้าความสามารถในการระดมเงินออมก็มีผลต่อบทบาท ในการให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ สัดส่วนเงินฝากและสินเชื่อในเขตภาคเหนือเมื่อเทียบกับทั้งประเทศคิดเป็นร้อยละ 5.76 และ 4.11 ตามลำดับ สถาบัน การเงินที่มีบทบาทรองลงมาทางด้านเงินออมและสินเชื่อ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นธนาคาร เฉพาะกิจด้านการเกษตร และธนาคารออมสินที่เน้นการระดมจากผู้ออมรายย่อย ตามลำดับ
การเงินนอกระบบในภาคเหนือจะเป็นในรูปของการให้กู้ยืมกันระหว่างบุคคล การเล่นแชร์ สินเชื่อ การค้า การขายลดเช็ค การรับจำนำทองตามร้านทอง และการทำธุรกิจเงินทุนที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งดำเนินธุรกิจรับฝากเงินและให้กู้ยืมจากประชาชน โดยมิได้อยู่ภายใต้กฎระเบียบของทางการซึ่งเป็นการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูง และขาดความรับผิดชอบต่อเงินที่ระดมจากประชาชน
สัดส่วนเงินออมและสินเชื่อของสถาบันการเงินในระบบ
ต่อผลผลิตมวลรวมภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
2531 2541
เงินออมคงค้าง 41.8 67.5
สินเชื่อคงค้าง 31.6 65.0
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การเงินในระบบของภาคเหนือประกอบด้วยสถาบันการเงินประเภทธนาคาร และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร สถาบันการเงินที่เป็นธนาคาร ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ กิจการวิเทศธนกิจ (PIBF) และธนาคารที่ตั้งโดยกฎหมายพิเศษที่ดำเนินการเฉพาะอย่าง อาทิ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรและธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำหรับสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร ได้แก่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) บริษัทประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์และโรงรับจำนำ
สถาบันการเงินประเภทธนาคาร และไม่ใช่ธนาคาร (ยกเว้นสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ และโรงรับ จำนำ) เป็นสำนักงานสาขาของสถาบันการเงินซึ่งมีสำนักงานใหญ่เปิดดำเนินการที่กรุงเทพฯทั้งสิ้น และการดำเนินธุรกิจเป็นการดำเนินนโยบายตามสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ
ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ ดำเนินการในฐานะเป็นธนาคารกลาง ทำหน้าที่ในส่วนที่เกี่ยวกับการออกธนบัตร การควบคุม การแลกเปลี่ยนเงินเป็นนายธนาคาร รับฝากเงิน โอนเงินให้แก่รัฐบาลและธนาคารต่างๆ จ่ายดอกเบี้ย และการไถ่ถอนพันธบัตรเงินกู้ของรัฐบาล อีกทั้งควบคุมดูแลการตรวจสอบการดำเนินงานของสถาบัน การเงิน ศึกษาวิเคราะห์ และรายงานภาวะเศรษฐกิจของภูมิภาค
เงินฝากและเงินให้สินเชื่อของสถาบันในภาคเหนือ
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2541
(หน่วย : ล้านบาท)
เงินฝาก สินเชื่อ
สถาบันการเงิน จำนวน ยอดคงค้าง สัดส่วน ยอดคงค้าง สัดส่วน
ธนาคารพาณิชย์ 523 264,020.2 81.9 219,781.0 70.8
ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ 127 28,204.9 8.7 50,910.5 16.4
ธนาคารออมสิน P 114 27,979.1 8.7 5,708.3 1.8
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ 8 2,693.2 0.7 23,970.2 7.7
IFCT 6 - - 6,154.0 2.0
PIBF 3 - - 1,866.6 0.6
สำนักงานอำนวยสินเชื่อ 7 - - 2,133.8 0.7
รวม 788 322,897.4 100.0 310,524.4 100.0
หมายเหตุ : P ตัวเลขเบื้องต้น
บริษัทหลักทรัพย์ทำหน้าที่จัดจำหน่าย หลักทรัพย์ค้าหลักทรัพย์และเป็นนายหน้าซื้อขาย หลักทรัพย์ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กลต.)ในส่วนของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (IFCT) ดำเนินบทบาทในการให้กู้ยืม ระยะสั้นและระยะยาวแก่ภาคอุตสาหกรรม บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมเป็นสถาบันที่ให้บริการทางการเงินแก่อุตสาหกรรมที่มีสินทรัพย์สุทธิ ไม่เกิน 20 ล้านบาท ในอุตสาหกรรมการผลิต การบริการ หัตถกรรมและอุตสาหกรรมในครัวเรือน ส่วนบริษัทประกันชีวิต สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นสถาบันการเงินหนึ่งที่ระดมเงินจากประชาชนทั้งในรูปเบี้ยประกันและการออม เพื่อนำมาหาประโยชน์ทั้งในรูปของการลงทุน หรือการให้กู้ยืมแก่สมาชิกภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนด ทางด้านโรงรับจำนำเป็นสถานประกอบการที่รับจำนำสิ่งของ เพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืมตามวงเงินและมีการไถ่ถอนภายในระยะเวลาที่กำหนด
สถาบันการเงินในภาคเหนือได้เพิ่มความสำคัญต่อเศรษฐกิจของภาคและได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ โดยมีสาขาธนาคารพาณิชย์เป็นสถาบันการเงินที่มีบทบาทมากที่สุดทั้งด้านการระดมเงินออม และให้สินเชื่อ เนื่องจากมีจำนวนสำนักงานมาก คิดเป็นร้อยละ 66 ของสถาบันการเงินในภาคเหนือ อีกทั้งยังมีความได้เปรียบด้านเครื่องมือและบริการที่ให้กับลูกค้าความสามารถในการระดมเงินออมก็มีผลต่อบทบาท ในการให้กู้ยืมของธนาคารพาณิชย์ สัดส่วนเงินฝากและสินเชื่อในเขตภาคเหนือเมื่อเทียบกับทั้งประเทศคิดเป็นร้อยละ 5.76 และ 4.11 ตามลำดับ สถาบัน การเงินที่มีบทบาทรองลงมาทางด้านเงินออมและสินเชื่อ ได้แก่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นธนาคาร เฉพาะกิจด้านการเกษตร และธนาคารออมสินที่เน้นการระดมจากผู้ออมรายย่อย ตามลำดับ
การเงินนอกระบบในภาคเหนือจะเป็นในรูปของการให้กู้ยืมกันระหว่างบุคคล การเล่นแชร์ สินเชื่อ การค้า การขายลดเช็ค การรับจำนำทองตามร้านทอง และการทำธุรกิจเงินทุนที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งดำเนินธุรกิจรับฝากเงินและให้กู้ยืมจากประชาชน โดยมิได้อยู่ภายใต้กฎระเบียบของทางการซึ่งเป็นการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูง และขาดความรับผิดชอบต่อเงินที่ระดมจากประชาชน
สัดส่วนเงินออมและสินเชื่อของสถาบันการเงินในระบบ
ต่อผลผลิตมวลรวมภาคเหนือ
(หน่วย : ร้อยละ)
2531 2541
เงินออมคงค้าง 41.8 67.5
สินเชื่อคงค้าง 31.6 65.0
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-