ความสัมพันธ์ทางการค้าไทย-ตุรกี
ภาครัฐบาล - ความตกลงทางการค้าไทย-ตุรกี ลงนามเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2530
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี ลงนามเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2532 มีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง ครั้งสุดท้ายมีการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี
ภาคเอกชน - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้า อุตสาหกรรมและโภคภัณฑ์ของตุรกีกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ลงนามเมื่อวันนี่ 30 เมษายน 2533การค้าระหว่างไทย-ตุรกี
การค้ารวม ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2538 - 2542) การค้าระหว่างไทย-ตุรกีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 165.9 ล้านเหรียญฯ โดยในปี 2542 สองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 152.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 สองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 95.5 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากระยะเดียวกันของปี 2542
การส่งออก ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) ไทยส่งสินค้าออกไปตุรกีมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 89.8 ล้านเหรียญฯ โดยในปี 2542 ไทยส่งออกไปตุรกีมูลค่า 132.7 ล้านเหรียญฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งสินค้าออกไปตุรกีแล้ว 85.5 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน เป็นต้น
การนำเข้า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) ไทยนำสินค้าเข้าจากตุรกีเฉลี่ยปีละ 55.9 ล้านเหรียญฯ โดยในปี 2542 ไทยนำสินค้าเข้าจากตุรกีมูลค่า 19.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ไทยนำสินค้าเข้าจากตุรกีแล้ว 10.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.9 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง
ดุลการค้า ในปี 2542 ไทยได้ดุลการค้าตุรกี 113.1 ล้านเหรียญฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ไทยได้ดุลการค้าตุรกีแล้ว 75.5 ล้านเหรียญฯสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและนำเข้า
สินค้าส่งออก ได้แก่ ดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ พัดลม แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เส้นใยประดิษฐ์ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน สิ่งทออื่น ๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
สินค้านำเข้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง ผ้าผืน แร่ดิบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้นนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของตุรกี
ตุรกีมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น ฝ่ายตุรกีได้เคยเชิญชวนให้ไทยไปร่วมลงทุนในเขตการค้าเสรีของตุรกี ซึ่งมีอยู่ 7 แห่ง ในการต่อและการซ่อมเรือและการร่วมทุนด้านก่อสร้างกับไทย เพื่อประมูลงานก่อสร้างในไทยและในตุรกีหรือในประเทศที่สามการลงทุนของตุรกีในไทย
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยังไม่มีการลงทุนของฝ่ายตุรกีในไทย
ตุรกีเคยสนใจอุตสาหกรรมการก่อสร้างในไทย โดยหวังจะใช้ไทยเป็น Gate Way เข้าไปทำธุรกิจด้านนี้ในอินโดจีน โดยเฉพาะเวียตนามและลาว นอกจากนี้ ตุรกียังสนใจการก่อเรือ การรถไฟ ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ Consultancy ตลอดจนร่วมมือกับไทยในด้านอื่น ๆ ในอินโดจีนและเอเชีย-แปซิฟิก
ฝ่ายไทยได้เชิญให้ตุรกีมาร่วมลงทุนและตั้งโรงงานบรรจุกระป๋อง และร่วมกันศึกษาลู่ทางการพัฒนาอุตสาห- กรรมต่อเรือ สำหรับฝ่ายไทยเคยสนใจจะร่วมลงทุนกับฝ่ายตุรกีตั้งโรงงานผลิตแก้วเจียระไนในไทย โดยใช้เทคโนโลยีของตุรกีการลงทุนของไทยในตุรกี
การลงทุนของไทยในตุรกี ได้แก่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เข้าไปลงทุนด้านการเลี้ยงไก่ครบวงจร ประกอบด้วยโรงงานอาหารสัตว์ 5 โรง กระจายอยู่ที่เมือง Bursa, Ankara, Manisa, Adapazari และ Tekirdag ผลิตอาหารสัตว์จากไก่เนื้อ ไก่ไข่ และวัว กำลังการผลิตโดยประมาณเดือน 20,000 - 25,000 ตัน มีฟาร์มไก่พันธุ์ 3 แห่ง กำลังการผลิตลูกไก่ได้ 250,000 ตัวต่อสัปดาห์ และมีโรงฟักไข่ 1 แห่ง โรงชำแหละไก่วันละ 25,000 ตัว และบริษัทยา 1 บริษัท
นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทยได้เคยเข้าไปดำเนินกิจการโรงแรม Ciragan Kempinski ที่อิสตันบูล และมีเอกชนรายย่อยดำเนินกิจการร้านอาหารไทยอีก 2 - 3 แห่ง
เอกชนไทยเคยแสดงความสนใจที่จะลงทุน/ร่วมทุนในตุรกี
อุตสาหกรรมที่พอมีลู่ทางสำหรับเอกชนไทย เช่น การท่องเที่ยว การประมง เครื่องแก้วเจียระไน อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และของเด็กเล่น ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าทวิภาคี
- ทั้งสองฝ่ายยังขาดความกระตือรือล้นที่จะขยายการค้าระหว่างกัน
- ทั้งสองฝ่ายขาดข้อมูลทางการค้าระหว่างกัน
- ทั้งไทยและตุรกีต่างมีตลาดหลักของตน (ตุรกีมุ่งค้ากับสหรัฐอเมริกาและประเทศในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย
กลาง สำหรับภูมิภาคเอเชียตุรกีให้ความสนใจกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย)
- สภาวะเศรษฐกิจภายในตุรกีมีปัญหามากกระทบต่อเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน จึงส่งผลต่อการส่งออกไปตุรกีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- ควรเจรจาหาลู่ทางที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
- ทั้งสองฝ่ายควรแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับเพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆปัญหาการกีดกันทางการค้าไทย-ตุรกี
กรณีตุรกีจำกัดและห้ามนำเข้าสิ่งทอจากไทย จากการที่ตุรกีเป็นสมาชิกสหภาพศุลกากรของ EU ทำให้ตุรกีต้องปฏิบัติต่อประเทศที่สามที่มีข้อตกลงกับ EU ตามที่ EU ตั้งเงื่อนไขไว้ ส่วนที่กระทบไทยมาก คือ การกำหนดโควต้าสิ่งทอกับประเทศที่สาม โดยตุรกีได้ขอทำ MOU กำหนดโควต้ากับหลายประเทศ รวมทั้งไทย และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1996 ตุรกีได้เริ่มใช้โควต้าฝ่ายเดียวกับประเทศที่สาม ไม่ว่าจะมีการทำ MOU หรือการเจรจากับตุรกีหรือไม่ก็ตาม ในส่วนของไทยซึ่งไม่ได้ทำ MOU อีกทั้งไม่ได้มีการเจรจากับตุรกี ปรากฏว่าตุรกีจำกัดและห้ามการนำเข้าสิ่งทอจากไทย
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 21/2543 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2543--
-อน-
ภาครัฐบาล - ความตกลงทางการค้าไทย-ตุรกี ลงนามเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2530
- ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจและวิชาการไทย-ตุรกี ลงนามเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2532 มีการประชุมแล้ว 2 ครั้ง ครั้งสุดท้ายมีการประชุมเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2542 ณ กรุงอังการา ประเทศตุรกี
ภาคเอกชน - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือระหว่างสภาหอการค้า อุตสาหกรรมและโภคภัณฑ์ของตุรกีกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ลงนามเมื่อวันนี่ 30 เมษายน 2533การค้าระหว่างไทย-ตุรกี
การค้ารวม ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2538 - 2542) การค้าระหว่างไทย-ตุรกีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 165.9 ล้านเหรียญฯ โดยในปี 2542 สองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 152.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 สองฝ่ายมีมูลค่าการค้ารวม 95.5 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นร้อยละ 0.2 ของมูลค่าการค้ารวมทั้งหมดของไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 จากระยะเดียวกันของปี 2542
การส่งออก ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) ไทยส่งสินค้าออกไปตุรกีมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 89.8 ล้านเหรียญฯ โดยในปี 2542 ไทยส่งออกไปตุรกีมูลค่า 132.7 ล้านเหรียญฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ไทยส่งสินค้าออกไปตุรกีแล้ว 85.5 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้าออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา เส้นใยประดิษฐ์ ผ้าผืน เป็นต้น
การนำเข้า ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา (2538-2542) ไทยนำสินค้าเข้าจากตุรกีเฉลี่ยปีละ 55.9 ล้านเหรียญฯ โดยในปี 2542 ไทยนำสินค้าเข้าจากตุรกีมูลค่า 19.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ไทยนำสินค้าเข้าจากตุรกีแล้ว 10.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.9 จากระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ผ้าผืน เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เคมีภัณฑ์ เส้นใยใช้ในการทอ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง
ดุลการค้า ในปี 2542 ไทยได้ดุลการค้าตุรกี 113.1 ล้านเหรียญฯ และในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ไทยได้ดุลการค้าตุรกีแล้ว 75.5 ล้านเหรียญฯสินค้าที่มีศักยภาพในการส่งออกและนำเข้า
สินค้าส่งออก ได้แก่ ดอกไม้ ใบไม้ และต้นไม้ประดิษฐ์ หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ พัดลม แผงวงจรไฟฟ้า เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เส้นใยประดิษฐ์ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน สิ่งทออื่น ๆ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้า สำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า เป็นต้น
สินค้านำเข้า ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์ยาง ส่วนประกอบและอุปกรณ์ประกอบ รวมทั้งโครงรถและตัวถัง ผ้าผืน แร่ดิบ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือวิทยาศาสตร์ สินแร่โลหะอื่น ๆ และเศษโลหะ เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม เป็นต้นนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของตุรกี
ตุรกีมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศและไม่มีข้อจำกัดในเรื่องสัดส่วนการถือหุ้น ฝ่ายตุรกีได้เคยเชิญชวนให้ไทยไปร่วมลงทุนในเขตการค้าเสรีของตุรกี ซึ่งมีอยู่ 7 แห่ง ในการต่อและการซ่อมเรือและการร่วมทุนด้านก่อสร้างกับไทย เพื่อประมูลงานก่อสร้างในไทยและในตุรกีหรือในประเทศที่สามการลงทุนของตุรกีในไทย
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ยังไม่มีการลงทุนของฝ่ายตุรกีในไทย
ตุรกีเคยสนใจอุตสาหกรรมการก่อสร้างในไทย โดยหวังจะใช้ไทยเป็น Gate Way เข้าไปทำธุรกิจด้านนี้ในอินโดจีน โดยเฉพาะเวียตนามและลาว นอกจากนี้ ตุรกียังสนใจการก่อเรือ การรถไฟ ความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์ และธุรกิจ Consultancy ตลอดจนร่วมมือกับไทยในด้านอื่น ๆ ในอินโดจีนและเอเชีย-แปซิฟิก
ฝ่ายไทยได้เชิญให้ตุรกีมาร่วมลงทุนและตั้งโรงงานบรรจุกระป๋อง และร่วมกันศึกษาลู่ทางการพัฒนาอุตสาห- กรรมต่อเรือ สำหรับฝ่ายไทยเคยสนใจจะร่วมลงทุนกับฝ่ายตุรกีตั้งโรงงานผลิตแก้วเจียระไนในไทย โดยใช้เทคโนโลยีของตุรกีการลงทุนของไทยในตุรกี
การลงทุนของไทยในตุรกี ได้แก่ บริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ได้เข้าไปลงทุนด้านการเลี้ยงไก่ครบวงจร ประกอบด้วยโรงงานอาหารสัตว์ 5 โรง กระจายอยู่ที่เมือง Bursa, Ankara, Manisa, Adapazari และ Tekirdag ผลิตอาหารสัตว์จากไก่เนื้อ ไก่ไข่ และวัว กำลังการผลิตโดยประมาณเดือน 20,000 - 25,000 ตัน มีฟาร์มไก่พันธุ์ 3 แห่ง กำลังการผลิตลูกไก่ได้ 250,000 ตัวต่อสัปดาห์ และมีโรงฟักไข่ 1 แห่ง โรงชำแหละไก่วันละ 25,000 ตัว และบริษัทยา 1 บริษัท
นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทยได้เคยเข้าไปดำเนินกิจการโรงแรม Ciragan Kempinski ที่อิสตันบูล และมีเอกชนรายย่อยดำเนินกิจการร้านอาหารไทยอีก 2 - 3 แห่ง
เอกชนไทยเคยแสดงความสนใจที่จะลงทุน/ร่วมทุนในตุรกี
อุตสาหกรรมที่พอมีลู่ทางสำหรับเอกชนไทย เช่น การท่องเที่ยว การประมง เครื่องแก้วเจียระไน อุตสาหกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์ และของเด็กเล่น ปัญหาและอุปสรรคทางการค้าทวิภาคี
- ทั้งสองฝ่ายยังขาดความกระตือรือล้นที่จะขยายการค้าระหว่างกัน
- ทั้งสองฝ่ายขาดข้อมูลทางการค้าระหว่างกัน
- ทั้งไทยและตุรกีต่างมีตลาดหลักของตน (ตุรกีมุ่งค้ากับสหรัฐอเมริกาและประเทศในภูมิภาคยุโรปและเอเชีย
กลาง สำหรับภูมิภาคเอเชียตุรกีให้ความสนใจกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย)
- สภาวะเศรษฐกิจภายในตุรกีมีปัญหามากกระทบต่อเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยน จึงส่งผลต่อการส่งออกไปตุรกีข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
- ควรเจรจาหาลู่ทางที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างกันให้มากขึ้น
- ทั้งสองฝ่ายควรแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันในทุกระดับเพื่อกระชับความสัมพันธ์ด้านต่าง ๆปัญหาการกีดกันทางการค้าไทย-ตุรกี
กรณีตุรกีจำกัดและห้ามนำเข้าสิ่งทอจากไทย จากการที่ตุรกีเป็นสมาชิกสหภาพศุลกากรของ EU ทำให้ตุรกีต้องปฏิบัติต่อประเทศที่สามที่มีข้อตกลงกับ EU ตามที่ EU ตั้งเงื่อนไขไว้ ส่วนที่กระทบไทยมาก คือ การกำหนดโควต้าสิ่งทอกับประเทศที่สาม โดยตุรกีได้ขอทำ MOU กำหนดโควต้ากับหลายประเทศ รวมทั้งไทย และตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 1996 ตุรกีได้เริ่มใช้โควต้าฝ่ายเดียวกับประเทศที่สาม ไม่ว่าจะมีการทำ MOU หรือการเจรจากับตุรกีหรือไม่ก็ตาม ในส่วนของไทยซึ่งไม่ได้ทำ MOU อีกทั้งไม่ได้มีการเจรจากับตุรกี ปรากฏว่าตุรกีจำกัดและห้ามการนำเข้าสิ่งทอจากไทย
(ที่มา : กระทรวงพาณิชย์, กระทรวงการต่างประเทศ)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 21/2543 วันที่ 15 พฤศจิกายน 2543--
-อน-