แท็ก
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ร่างพระราชบัญญัติ
อุตสาหกรรม
รัฐสภา
ป่าไม้
ข่าวการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๙
วันพุธที่ ๑ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และ
กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กองทุนและเงินทุน
หมุนเวียน กรมควบคุมโรคติดต่อ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
กรมอนามัย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๑,๓๘๔,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการมิได้มีการตั้งข้อสังเกต
กระทรวงสาธารณสุข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๑,๗๓๗,๒๘๔,๐๐๐ บาท
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๙,๘๑๖,๘๘๕,๗๐๐ บาท
ปรับลด ๒๑๙,๗๐๙,๔๐๐ บาท
คงเหลือ ๒๙,๕๙๗,๑๗๖,๓๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๔,๔๗๔,๗๐๖,๗๐๐ บาท
มีการปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาลดลง และผลการดำเนินงานล่าช้า รวมทั้ง
การปรับลดตามราคามาตรฐานที่ใช้จริงตามมติ คปร. ในแผนงาน ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนา
ระบบสุขภาพ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้แสดงความห่วงใยการปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕
ของสำนักงานปลัดกระทรวงทั้งหมด ๒๑๙,๗๐๙,๔๐๐ บาท ซึ่งเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับภารกิจ
ที่จะต้องดำเนินการโดยเฉพาะการปรับลดในหมวดครุภัณฑ์การแพทย์ และงานการบริการรักษา
พยาบาล เพื่อการก่อสร้างอาคารสาธารณสุข เช่น อาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ผ่าตัด คลอด เป็นต้น
เนื่องจากการปรับลดดังกล่าวมีผลกระทบเป็นอย่างมากในการบริการรักษาสุขภาพแก่ประชาชน
คณะกรรมการได้เสนอให้สำนักงบประมาณทบทวนการปรับลดใหม่อีกครั้ง
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวนเงิน ๓๙๙,๗๙๑,๗๐๐ บาท ไปสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายใน
การดำเนินงานตามโครงการ ๓๐ บาท รักษาได้ทุกโรค ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในปี
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า การจัดสรรงบประมาณจำนวนดังกล่าว
นำมาใช้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยมีจังหวัดนำร่อง ๖ จังหวัด คือ ปทุมธานี สมุทรสาคร
นครสวรรค์ พะเยา ยโสธร และยะลา มีการใช้จ่ายเงินไป ๓๒๑,๘๗๙,๐๒๒ บาท ส่วนที่เหลือ
ประมาณ ๗๗,๙๑๒,๖๗๘ บาท จะขออนุมัติดำเนินการ ๔ เรื่อง คือ งานพัฒนาระบบสารสนเทศ
การประกันสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อน การลงทะเบียนและหรือการพัฒนาจัดการระบบ
พัฒนาคุณภาพบริการของสถานพยาบาลในโครงการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
ของเจ้าหน้าที่ในโครงการทั้งหมด และการบริหารจัดการ และการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจ
ขึ้นทะเบียนประชาชน การจัดการประชุม การติดตามนิเทศและประเมินผล อย่างไรก็ดีตัวแทนจาก
สำนักงานปลัดมีการยืนยันว่าจำนวนเงินดังกล่าวจะมีการนำไปใช้อย่างโปร่งใส รวมทั้งประชาชนจะ
ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งเป็น
โครงการเร่งด่วนของรัฐบาล ยังมีความบกพร่องอยู่หลายด้าน เช่น การเลือกปฏิบัติในการให้บัตรทอง
ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการทำให้ประชาชนขาดความเข้าใจและสับสนเกี่ยวกับ
การรักษาโรคครั้งละ ๓๐ บาท หรือโรคละ ๓๐ บาท ผู้ที่จะเข้าการรักษาหากอยู่นอกพื้นที่ก็ไม่สามารถ
ใช้สิทธิประโยชน์ได้ และนโยบาย ๓๐ บาท รักษาทุกโรคไม่สามารถรักษาได้จริงตามวัตถุประสงค์
รวมทั้งมีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการเข้ารับการรักษาตามโครงการหลายประการ เป็นต้น คณะกรรมาธิการ
มีข้อเสนอแนะให้มีการทบทวนนโยบายดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้
๔. คณะกรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยาสมุนไพรซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษา
โรคต่าง ๆ ใกล้เคียงกับยาวิทยาศาสตร์ และให้ผลข้างเคียงน้อยกว่า หากมีการผลิตยาสมุนไพร
รักษาโรคได้ก็จะเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อยาจากต่างประเทศได้มาก ทั้งยังเป็นการ
เสริมสร้างภูมิปัญญาไทยและเอกลักษณ์ของยาสมุทรไพรไทยด้วย คณะกรรมาธิการสนับสนุนให้มี
การศึกษาวิจัยในสมุนไพรเพื่อต้านโรคเอดส์และโรคอื่น ๆ ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
กรมการแพทย์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๕๕๑,๑๓๖,๕๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๓๒,๖๕๕,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการสุขภาพ ๒,๒๔๙,๑๒๗,๕๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๒๖๙,๓๕๔,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตสรุปดังนี้
๑. การโอนงบประมาณฯ ของปี ๒๕๔๔ ในงานปราบปรามยาเสพติด จำนวน ๘๑ ล้านบาท
คณะกรรมาธิการเห็นสมควรให้ใช้ด้วยความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
๒. งบประมาณการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ไม่ควรโอนไปไว้ในโครงการรณรงค์
วันเบาหวานโลก ซึ่งเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากครุภัณฑ์ทางการแพทย์เป็นสิ่ง
สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมาก
๓. การประชาสัมพันธ์ ใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาท โดยใช้ดำเนินการในเรื่อง
ยาเสพติด อุบัติเหตุ หลอดเลือกหัวใจ ซึ่งใช้งบฯ มากที่สุดในวันรณรงค์หัวใจโลก จำนวน ๑๖ ล้านบาท
และวันรณรงค์เบาหวานโลก ๕ ล้านบาท คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ดำเนินการ
อย่างต่อเนื่อง
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๒,๑๓๘,๔๔๙,๓๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการสุขภาพ ๒๒,๑๓๘,๔๔๙,๓๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
โครงการเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริม
สุขภาพของประชาชนถ้วนหน้า คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในประเด็นนี้ว่า โครงการดังกล่าว
มีแนวทางการดำเนินงานและจากการเริ่มโครงการนั้น ขณะนี้มีผลสำเร็จและอุปสรรคอย่างไรบ้าง
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนในงานโครงการเงินทุนหมุนเวียน บัตรประกันสุขภาพ งบดำเนินการนั้น
ได้ใช้งบกองทุนหมุนเวียนเพื่อสุขภาพ โครงการนี้เป็นโครงการใหม่ที่เริ่มดำเนินการ ซึ่งในระยะแรก
ยังไม่มีหน่วยงานหรือโครงสร้างของตนเอง จึงต้องใช้โครงสร้างเดิม คือ โครงสร้างบัตรสุขภาพเป็น
ฐานก่อน โดยพยายามให้มีการขึ้นทะเบียนจำนวนประชากรให้ครบถ้วนและเปลี่ยนฐานตัวเลขบัตร
แสดงตนให้เป็นตัวเลข ๑๓ หลักเช่นเดียวกับบัตรประชาชน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมานั้นสามารถ
แยกประเภทกลุ่มเป้าหมายได้ ๒ กลุ่ม คือ
๑. กลุ่มผู้ที่มีบัตรประกันสังคม เป็นกลุ่มที่ไม่มีปัญหาในการใช้บัตรเพราะบัตรประกันสังคม
นั้นได้ใช้ตัวเลข ๑๓ หลักเช่นเดียวกับบัตรประชาชนอยู่แล้ว
๒. กลุ่มของข้าราชการ รัฐวิสากิจ เป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการดำเนินงานอย่างมาก
เนื่องจากบัตรที่ใช้มีฐานไม่เหมือนกัน จำนวนประชากรในกลุ่มนี้มีประมาณ ๗ ล้านคน ซึ่งกองทุนฯ
ยังขาดข้อมูลในการวิเคราะห์จึงได้พยายามติดต่อประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลางใหม่ โดยใช้ตัวเลข ๑๓ หลักเป็นฐาน
ส่วนในกรณีการออกบัตรทองนั้น เป็นเพราะโครงการดังกล่าวเพิ่งจะเริ่มต้นและยัง
ไม่มีความพร้อมในเรื่องฐานข้อมูล จึงจำเป็นที่จะต้องออกบัตรทองให้ใช้คู่กับบัตรแสดงตนไปก่อน
กรมควบคุมโรคติดต่อ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๖๗๑,๑๗๓,๘๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑,๐๙๐,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๓,๖๗๐,๐๘๓,๘๐๐ บาท
ก. แผนงานบริการสุขภาพ ๒,๙๘๙,๙๓๔,๗๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๖๘๑,๒๓๙,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต
๑. งบประมาณหมวดเงินอุดหนุนที่นำไปใช้ดำเนินการในเรื่องสถานที่ดูแลผู้ป่วย
โรคเอดส์นั้นตั้งไว้ต่ำกว่ามาตรฐาน ควรจัดสรรเพิ่มขึ้นเพื่อการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ
๒. แผนภารกิจควบคุมโรคติดต่อ เป็นแผนที่มีประโยชน์และส่งผลต่อการควบคุม
โรคได้อย่างกว้างขวาง จึงควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนในการสนับสนุนบริการสร้างเสริมภูมิ
คุ้มกันโรคตลอดระยะเวลาดำเนินการ
๓. ภารกิจหลักทั้งในส่วนของการรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อ
กรมฯ ได้ปฏิบัติดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด แต่ทั้งนี้ยัง
คงต้องเร่งสร้างความตระหนัก สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยเฉพาะสถาน
ศึกษาต่าง ๆ กรมฯ ต้องจัดทำวิจัยหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านสุขศึกษาในทุกระดับชั้นให้
สอดคล้องกับโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต
๔. การใช้จ่ายงบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ยังขาดแคลน
อยู่มาก เนื่องจากโรคไข้เลือกออกส่วนใหญ่ระบาดอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร จึงมีความจำเป็นต้องใช้งบฯ
ส่วนนี้ค่อนข้างสูง
๕. ปัญหาเรื่องโรคเอดส์ จำเป็นต้องกำหนดมาตรการป้องกันเชิงรุกและกระจาย
งบประมาณให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ เพราะในบางพื้นที่มีผู้ป่วยอยู่มาก โดยเฉพาะตามวัดต่างๆ ที่ให้การ
ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์มาโดยตลอด แต่ยังขาดแคลนในเรื่องทุนทรัพย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๘๙,๐๑๕,๗๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑,๒๔๕,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๗๘๗,๗๗๐,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๗๔๗,๓๓๒,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๑๐,๖๑๓,๕๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๓๑,๐๖๙,๓๐๐ บาท
สาเหตุการปรับลด
๑. ผลการดำเนินงานล่าช้า ๑ รายการ
๒. ปรับลดให้สอดคล้องกับผลดำเนินการจริง ๑ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กรมสุขภาพจิต
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๕๙๕,๔๕๙,๑๐๐ บาท
รายการปรับลด ๓๕๐,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๕๙๕,๑๐๙,๑๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๕๖,๘๗๓,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการสุขภาพ ๑,๔๘๐,๗๔๗,๑๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๕,๕๘๐,๖๐๐ บาท
ง. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๕๒,๒๕๗,๕๐๐ บาท
สาเหตุการปรับลด
๑. ผลการดำเนินงานล่าช้า ๑ รายการ
๒. ปรับลดให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการจริง ๑ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๓๘,๔๓๒,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๑๓๘,๔๓๒,๗๐๐ บท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกตแต่ได้เสนอแนะให้สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุขดำเนินการเผยแพร่ข่าวสารผลการวิจัยต่อสาธารณชนด้วย
กรมอนามัย
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๗๑๑,๑๔๓,๖๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๒,๖๐๐,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑,๐๔๔,๐๓๓,๔๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๑,๑๓๗,๐๐๖,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการสุขภาพ ๑,๕๗๔,๑๓๖,๘๐๐ บาท
การปรับลดเป็นการปรับลดในรายการที่เกินความจำเป็น
คณะกรรมาธิกรได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเรื่องการทำงานซ้ำซ้อน เรื่องน้ำประปามีความซ้ำซ้อนกับ
หน่วยงานอื่น เช่น กรมโยธาธิการ กรมชลประทาน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องดูแลรักษา ซ่อมบำรุง
ไม่สามารถให้หน่วยใดรับผิดชอบได้ ทางกรมอนามัยมีการดำเนินการอย่างไร กรมอนามัยชี้แจงว่า
ทางกรมอนามัยมีนโยบายในการรวมกลุ่มกับหน่วยงานที่ซ้ำซ้อน ได้จัดตั้งโครงการ น้ำประปาดี ๒๔ ซ.ม.
ซึ่งมีกรมอนามัยเป็นหัวหน้าโครงการ
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถาม ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งเก็บน้ำประปาไทยหมู่บ้านใช้ประโยชน์
ไม่ได้เต็มที่ กรมอนามัยมีวิธีการดำเนินการอย่างไร กรมอนามัยได้จัดบุคลากรไปอบรมให้ความรู้และ
วิธีการเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๖๔,๐๓๖,๙๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๙,๙๗๙,๒๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๔๔๙,๗๓๖,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๑๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. การออกใบอนุญาตต่าง ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีความล่าช้า
และหน่วยงานมีเฉพาะในส่วนกลางเท่านั้น ไม่มีหน่วยงาน อย.ในส่วนภูมิภาค คณะกรรมาธิการให้
ข้อเสนอแนะว่าควรมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยข้าราชการระดับจังหวัดควรมีอำนาจในการพิจารณา
ออกใบอนุญาตเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว
๒. คณะกรรมาธิการซักถามเรื่องสารปรอทในหูฉลาม ได้รับคำชี้แจงว่า จากการเก็บ
ตัวอย่างและทำการตรวจสอบ ได้ผลว่ามีสารปรอทอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ (ไม่เกิน ๐.๕
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ ๐.๕ ส่วนใน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ส่วน) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าหูฉลามสามารถบริโภค
ได้อย่างปลอดภัย สารปรอทที่มีนั้นอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย
๓. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับสาร PPA. ที่เป็นส่วนผสมในยาแก้หวัด ได้รับการ
ชี้แจงว่า ขณะนี้ยาที่มีส่วนผสม PPA ได้เปลี่ยนตำรับยาเพื่อไม่ให้มีสาร PPA ในกรณีที่ไม่มาแจ้งเปลี่ยน
ตำรับยาได้ประกาศเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๓,๕๐๙,๕๒๕,๔๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๙,๕๐๐,๔๗๔,๖๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๕
ครั้งที่ ๑๙
วันพุธที่ ๑ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔
ณ ห้องประชุมงบประมาณ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๓
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร
---------------------------------
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. ๒๕๔๕ โดยมีการพิจารณากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในส่วนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้และ
กระทรวงสาธารณสุข ในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรมการแพทย์ กองทุนและเงินทุน
หมุนเวียน กรมควบคุมโรคติดต่อ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมสุขภาพจิต สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
กรมอนามัย และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๑,๓๘๔,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
คณะกรรมาธิการมิได้มีการตั้งข้อสังเกต
กระทรวงสาธารณสุข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๑,๗๓๗,๒๘๔,๐๐๐ บาท
สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๙,๘๑๖,๘๘๕,๗๐๐ บาท
ปรับลด ๒๑๙,๗๐๙,๔๐๐ บาท
คงเหลือ ๒๙,๕๙๗,๑๗๖,๓๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑๔,๔๗๔,๗๐๖,๗๐๐ บาท
มีการปรับลดเนื่องจากผลการประกวดราคาลดลง และผลการดำเนินงานล่าช้า รวมทั้ง
การปรับลดตามราคามาตรฐานที่ใช้จริงตามมติ คปร. ในแผนงาน ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนา
ระบบสุขภาพ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตในประเด็นต่าง ๆ ต่อไปนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้แสดงความห่วงใยการปรับลดงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕
ของสำนักงานปลัดกระทรวงทั้งหมด ๒๑๙,๗๐๙,๔๐๐ บาท ซึ่งเป็นจำนวนมากเมื่อเทียบกับภารกิจ
ที่จะต้องดำเนินการโดยเฉพาะการปรับลดในหมวดครุภัณฑ์การแพทย์ และงานการบริการรักษา
พยาบาล เพื่อการก่อสร้างอาคารสาธารณสุข เช่น อาคารผู้ป่วยนอกและอุบัติเหตุ ผ่าตัด คลอด เป็นต้น
เนื่องจากการปรับลดดังกล่าวมีผลกระทบเป็นอย่างมากในการบริการรักษาสุขภาพแก่ประชาชน
คณะกรรมการได้เสนอให้สำนักงบประมาณทบทวนการปรับลดใหม่อีกครั้ง
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเกี่ยวกับการโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณรายจ่าย
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๔๔ จำนวนเงิน ๓๙๙,๗๙๑,๗๐๐ บาท ไปสนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายใน
การดำเนินงานตามโครงการ ๓๐ บาท รักษาได้ทุกโรค ซึ่งเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลในปี
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ซึ่งได้รับการชี้แจงว่า การจัดสรรงบประมาณจำนวนดังกล่าว
นำมาใช้โครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยมีจังหวัดนำร่อง ๖ จังหวัด คือ ปทุมธานี สมุทรสาคร
นครสวรรค์ พะเยา ยโสธร และยะลา มีการใช้จ่ายเงินไป ๓๒๑,๘๗๙,๐๒๒ บาท ส่วนที่เหลือ
ประมาณ ๗๗,๙๑๒,๖๗๘ บาท จะขออนุมัติดำเนินการ ๔ เรื่อง คือ งานพัฒนาระบบสารสนเทศ
การประกันสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาความซ้ำซ้อน การลงทะเบียนและหรือการพัฒนาจัดการระบบ
พัฒนาคุณภาพบริการของสถานพยาบาลในโครงการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ
ของเจ้าหน้าที่ในโครงการทั้งหมด และการบริหารจัดการ และการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจ
ขึ้นทะเบียนประชาชน การจัดการประชุม การติดตามนิเทศและประเมินผล อย่างไรก็ดีตัวแทนจาก
สำนักงานปลัดมีการยืนยันว่าจำนวนเงินดังกล่าวจะมีการนำไปใช้อย่างโปร่งใส รวมทั้งประชาชนจะ
ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่
๓. คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าซึ่งเป็น
โครงการเร่งด่วนของรัฐบาล ยังมีความบกพร่องอยู่หลายด้าน เช่น การเลือกปฏิบัติในการให้บัตรทอง
ขาดการประชาสัมพันธ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับโครงการทำให้ประชาชนขาดความเข้าใจและสับสนเกี่ยวกับ
การรักษาโรคครั้งละ ๓๐ บาท หรือโรคละ ๓๐ บาท ผู้ที่จะเข้าการรักษาหากอยู่นอกพื้นที่ก็ไม่สามารถ
ใช้สิทธิประโยชน์ได้ และนโยบาย ๓๐ บาท รักษาทุกโรคไม่สามารถรักษาได้จริงตามวัตถุประสงค์
รวมทั้งมีข้อจำกัดและเงื่อนไขในการเข้ารับการรักษาตามโครงการหลายประการ เป็นต้น คณะกรรมาธิการ
มีข้อเสนอแนะให้มีการทบทวนนโยบายดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุดและเป็นไปตาม
เป้าหมายที่กำหนดไว้
๔. คณะกรรมาธิการให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับยาสมุนไพรซึ่งมีคุณสมบัติในการรักษา
โรคต่าง ๆ ใกล้เคียงกับยาวิทยาศาสตร์ และให้ผลข้างเคียงน้อยกว่า หากมีการผลิตยาสมุนไพร
รักษาโรคได้ก็จะเป็นการลดต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อยาจากต่างประเทศได้มาก ทั้งยังเป็นการ
เสริมสร้างภูมิปัญญาไทยและเอกลักษณ์ของยาสมุทรไพรไทยด้วย คณะกรรมาธิการสนับสนุนให้มี
การศึกษาวิจัยในสมุนไพรเพื่อต้านโรคเอดส์และโรคอื่น ๆ ให้เป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
กรมการแพทย์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๕๕๑,๑๓๖,๕๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๓๒,๖๕๕,๐๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการสุขภาพ ๒,๒๔๙,๑๒๗,๕๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๒๖๙,๓๕๔,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตสรุปดังนี้
๑. การโอนงบประมาณฯ ของปี ๒๕๔๔ ในงานปราบปรามยาเสพติด จำนวน ๘๑ ล้านบาท
คณะกรรมาธิการเห็นสมควรให้ใช้ด้วยความเหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
๒. งบประมาณการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ไม่ควรโอนไปไว้ในโครงการรณรงค์
วันเบาหวานโลก ซึ่งเป็นการใช้จ่ายงบประมาณที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากครุภัณฑ์ทางการแพทย์เป็นสิ่ง
สำคัญและมีความจำเป็นอย่างมาก
๓. การประชาสัมพันธ์ ใช้งบประมาณกว่า ๒๐ ล้านบาท โดยใช้ดำเนินการในเรื่อง
ยาเสพติด อุบัติเหตุ หลอดเลือกหัวใจ ซึ่งใช้งบฯ มากที่สุดในวันรณรงค์หัวใจโลก จำนวน ๑๖ ล้านบาท
และวันรณรงค์เบาหวานโลก ๕ ล้านบาท คณะกรรมาธิการพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้ดำเนินการ
อย่างต่อเนื่อง
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒๒,๑๓๘,๔๔๙,๓๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานบริการสุขภาพ ๒๒,๑๓๘,๔๔๙,๓๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
โครงการเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริม
สุขภาพของประชาชนถ้วนหน้า คณะกรรมาธิการได้ตั้งข้อสังเกตในประเด็นนี้ว่า โครงการดังกล่าว
มีแนวทางการดำเนินงานและจากการเริ่มโครงการนั้น ขณะนี้มีผลสำเร็จและอุปสรรคอย่างไรบ้าง
กองทุนและเงินทุนหมุนเวียนในงานโครงการเงินทุนหมุนเวียน บัตรประกันสุขภาพ งบดำเนินการนั้น
ได้ใช้งบกองทุนหมุนเวียนเพื่อสุขภาพ โครงการนี้เป็นโครงการใหม่ที่เริ่มดำเนินการ ซึ่งในระยะแรก
ยังไม่มีหน่วยงานหรือโครงสร้างของตนเอง จึงต้องใช้โครงสร้างเดิม คือ โครงสร้างบัตรสุขภาพเป็น
ฐานก่อน โดยพยายามให้มีการขึ้นทะเบียนจำนวนประชากรให้ครบถ้วนและเปลี่ยนฐานตัวเลขบัตร
แสดงตนให้เป็นตัวเลข ๑๓ หลักเช่นเดียวกับบัตรประชาชน ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมานั้นสามารถ
แยกประเภทกลุ่มเป้าหมายได้ ๒ กลุ่ม คือ
๑. กลุ่มผู้ที่มีบัตรประกันสังคม เป็นกลุ่มที่ไม่มีปัญหาในการใช้บัตรเพราะบัตรประกันสังคม
นั้นได้ใช้ตัวเลข ๑๓ หลักเช่นเดียวกับบัตรประชาชนอยู่แล้ว
๒. กลุ่มของข้าราชการ รัฐวิสากิจ เป็นกลุ่มที่มีปัญหาในการดำเนินงานอย่างมาก
เนื่องจากบัตรที่ใช้มีฐานไม่เหมือนกัน จำนวนประชากรในกลุ่มนี้มีประมาณ ๗ ล้านคน ซึ่งกองทุนฯ
ยังขาดข้อมูลในการวิเคราะห์จึงได้พยายามติดต่อประสานงานกับกระทรวงมหาดไทยและส่วนราชการ
ที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำฐานข้อมูลกลางใหม่ โดยใช้ตัวเลข ๑๓ หลักเป็นฐาน
ส่วนในกรณีการออกบัตรทองนั้น เป็นเพราะโครงการดังกล่าวเพิ่งจะเริ่มต้นและยัง
ไม่มีความพร้อมในเรื่องฐานข้อมูล จึงจำเป็นที่จะต้องออกบัตรทองให้ใช้คู่กับบัตรแสดงตนไปก่อน
กรมควบคุมโรคติดต่อ
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๓,๖๗๑,๑๗๓,๘๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑,๐๙๐,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๓,๖๗๐,๐๘๓,๘๐๐ บาท
ก. แผนงานบริการสุขภาพ ๒,๙๘๙,๙๓๔,๗๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๖๘๑,๒๓๙,๑๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต
๑. งบประมาณหมวดเงินอุดหนุนที่นำไปใช้ดำเนินการในเรื่องสถานที่ดูแลผู้ป่วย
โรคเอดส์นั้นตั้งไว้ต่ำกว่ามาตรฐาน ควรจัดสรรเพิ่มขึ้นเพื่อการดำเนินโครงการที่มีประสิทธิภาพ
๒. แผนภารกิจควบคุมโรคติดต่อ เป็นแผนที่มีประโยชน์และส่งผลต่อการควบคุม
โรคได้อย่างกว้างขวาง จึงควรกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนในการสนับสนุนบริการสร้างเสริมภูมิ
คุ้มกันโรคตลอดระยะเวลาดำเนินการ
๓. ภารกิจหลักทั้งในส่วนของการรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคติดต่อ
กรมฯ ได้ปฏิบัติดำเนินการอย่างมีประสิทธิผลและประสบความสำเร็จอย่างเห็นได้ชัด แต่ทั้งนี้ยัง
คงต้องเร่งสร้างความตระหนัก สร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้กับประชาชน โดยเฉพาะสถาน
ศึกษาต่าง ๆ กรมฯ ต้องจัดทำวิจัยหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านสุขศึกษาในทุกระดับชั้นให้
สอดคล้องกับโรคติดต่อที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต
๔. การใช้จ่ายงบประมาณในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ยังขาดแคลน
อยู่มาก เนื่องจากโรคไข้เลือกออกส่วนใหญ่ระบาดอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาร จึงมีความจำเป็นต้องใช้งบฯ
ส่วนนี้ค่อนข้างสูง
๕. ปัญหาเรื่องโรคเอดส์ จำเป็นต้องกำหนดมาตรการป้องกันเชิงรุกและกระจาย
งบประมาณให้ทั่วถึงในทุกพื้นที่ เพราะในบางพื้นที่มีผู้ป่วยอยู่มาก โดยเฉพาะตามวัดต่างๆ ที่ให้การ
ช่วยเหลือผู้ป่วยโรคเอดส์มาโดยตลอด แต่ยังขาดแคลนในเรื่องทุนทรัพย์
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๗๘๙,๐๑๕,๗๐๐ บาท
รายการปรับลด ๑,๒๔๕,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๗๘๗,๗๗๐,๗๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๗๔๗,๓๓๒,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๑๐,๖๑๓,๕๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๓๑,๐๖๙,๓๐๐ บาท
สาเหตุการปรับลด
๑. ผลการดำเนินงานล่าช้า ๑ รายการ
๒. ปรับลดให้สอดคล้องกับผลดำเนินการจริง ๑ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
กรมสุขภาพจิต
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๕๙๕,๔๕๙,๑๐๐ บาท
รายการปรับลด ๓๕๐,๐๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๕๙๕,๑๐๙,๑๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๕๖,๘๗๓,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการสุขภาพ ๑,๔๘๐,๗๔๗,๑๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๕,๕๘๐,๖๐๐ บาท
ง. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๕๒,๒๕๗,๕๐๐ บาท
สาเหตุการปรับลด
๑. ผลการดำเนินงานล่าช้า ๑ รายการ
๒. ปรับลดให้สอดคล้องกับผลการดำเนินการจริง ๑ รายการ
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกต
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑๓๘,๔๓๒,๗๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๑๓๘,๔๓๒,๗๐๐ บท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและมิได้ตั้งข้อสังเกตแต่ได้เสนอแนะให้สถาบันวิจัยระบบ
สาธารณสุขดำเนินการเผยแพร่ข่าวสารผลการวิจัยต่อสาธารณชนด้วย
กรมอนามัย
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๒,๗๑๑,๑๔๓,๖๐๐ บาท
มีรายการปรับลด ๒,๖๐๐,๐๐๐ บาท
งบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๕ ลดลงจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๑,๐๔๔,๐๓๓,๔๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๑,๑๓๗,๐๐๖,๘๐๐ บาท
ข. แผนงานบริการสุขภาพ ๑,๕๗๔,๑๓๖,๘๐๐ บาท
การปรับลดเป็นการปรับลดในรายการที่เกินความจำเป็น
คณะกรรมาธิกรได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกตดังนี้
๑. คณะกรรมาธิการได้ซักถามเรื่องการทำงานซ้ำซ้อน เรื่องน้ำประปามีความซ้ำซ้อนกับ
หน่วยงานอื่น เช่น กรมโยธาธิการ กรมชลประทาน เป็นต้น ทำให้เกิดปัญหาเรื่องดูแลรักษา ซ่อมบำรุง
ไม่สามารถให้หน่วยใดรับผิดชอบได้ ทางกรมอนามัยมีการดำเนินการอย่างไร กรมอนามัยชี้แจงว่า
ทางกรมอนามัยมีนโยบายในการรวมกลุ่มกับหน่วยงานที่ซ้ำซ้อน ได้จัดตั้งโครงการ น้ำประปาดี ๒๔ ซ.ม.
ซึ่งมีกรมอนามัยเป็นหัวหน้าโครงการ
๒. คณะกรรมาธิการได้ซักถาม ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งเก็บน้ำประปาไทยหมู่บ้านใช้ประโยชน์
ไม่ได้เต็มที่ กรมอนามัยมีวิธีการดำเนินการอย่างไร กรมอนามัยได้จัดบุคลากรไปอบรมให้ความรู้และ
วิธีการเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๔๖๔,๐๓๖,๙๐๐ บาท
ไม่มีรายการปรับลด
งบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๕ เพิ่มขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายปี ๒๕๔๔
เป็นเงิน ๙,๙๗๙,๒๐๐ บาท
ก. แผนงานสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ ๔๔๙,๗๓๖,๙๐๐ บาท
ข. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาเอดส์ ๑,๓๐๐,๐๐๐ บาท
ค. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ๑๓,๐๐๐,๐๐๐ บาท
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาและตั้งข้อสังเกต ดังนี้
๑. การออกใบอนุญาตต่าง ๆ ของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา มีความล่าช้า
และหน่วยงานมีเฉพาะในส่วนกลางเท่านั้น ไม่มีหน่วยงาน อย.ในส่วนภูมิภาค คณะกรรมาธิการให้
ข้อเสนอแนะว่าควรมีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นโดยข้าราชการระดับจังหวัดควรมีอำนาจในการพิจารณา
ออกใบอนุญาตเพื่อให้เกิดความรวดเร็ว
๒. คณะกรรมาธิการซักถามเรื่องสารปรอทในหูฉลาม ได้รับคำชี้แจงว่า จากการเก็บ
ตัวอย่างและทำการตรวจสอบ ได้ผลว่ามีสารปรอทอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่ามาตรฐานที่วางไว้ (ไม่เกิน ๐.๕
มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม หรือ ๐.๕ ส่วนใน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ส่วน) ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าหูฉลามสามารถบริโภค
ได้อย่างปลอดภัย สารปรอทที่มีนั้นอยู่ในเกณฑ์ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย
๓. คณะกรรมาธิการซักถามเกี่ยวกับสาร PPA. ที่เป็นส่วนผสมในยาแก้หวัด ได้รับการ
ชี้แจงว่า ขณะนี้ยาที่มีส่วนผสม PPA ได้เปลี่ยนตำรับยาเพื่อไม่ให้มีสาร PPA ในกรณีที่ไม่มาแจ้งเปลี่ยน
ตำรับยาได้ประกาศเพิกถอนใบอนุญาตแล้ว
งบประมาณรายจ่ายที่ตั้งไว้ ๑,๐๒๓,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ปรับลด ๓,๕๐๙,๕๒๕,๔๐๐ บาท
คงเหลือ ๑,๐๑๙,๕๐๐,๔๗๔,๖๐๐ บาท
หมายเหตุ ยอด ณ วันพุธที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๔๔
(ยอดถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา)