สมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหาร (White Paper on Food Safety) เป็นเอกสารที่สหภาพยุโรป (European Union: EU) เริ่มนำออกเผยแพร่เมื่อเดือนมกราคม 2543 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของสินค้าอาหารที่จำหน่ายใน EU โดยครอบคลุมทั้งอาหารที่ผลิตใน EU และอาหารที่นำเข้าจากต่างประเทศ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคใน EU ให้ได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหาร การจัดทำสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหารนับเป็นความเคลื่อนไหวในการกำหนดมาตรการและกฎระเบียบด้านอาหารครั้งสำคัญของ EU ซึ่งทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและติดตามความคืบหน้าของกำหนดเวลาที่จะเริ่มมีผลบังคับใช้
สาระสำคัญของสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหาร สรุปได้ดังนี้
?เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานกลางด้านความปลอดภัยของอาหาร (European Food Authority: EFA) เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารอย่างครบวงจร (Farm to Table) ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของอาหารจนถึงการบริโภคขั้นสุดท้าย ทั้งนี้ EFA มีหน้าที่ดำเนินการทั้งด้านการบริหารนโยบาย ตลอดจนการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงของอาหาร (Risk Assessment) นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Rapid Alert System) เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารมาจัดทำเป็นข่าวสารเผยแพร่ให้ประเทศสมาชิกใน EU รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารรับทราบร่วมกัน
- กำหนดกฎระเบียบและมาตรการด้านความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety Legislation) ไว้กว่า 80 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
- การตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าอาหารให้สามารถตรวจสอบย้อนถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเพื่อความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการผลิตอาหาร
- การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าอาหารในระดับสูงและให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศสมาชิก EU โดยมีกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดและรัดกุม ครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ ตั้งแต่ความปลอดภัยของอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์และสวัสดิภาพของสัตว์ (Animal Health and Welfare) ที่ใช้เป็นอาหาร ตลอดจนความสะอาดของสินค้าอาหาร (Hygiene) สารปนเปื้อนและสิ่งตกค้างในอาหาร (Contaminants and Residues) สารปรุงแต่งและสารปรุงรสอาหาร (Additives & Flavourings) ภาชนะบรรจุอาหาร (Packaging) ปริมาณรังสีในอาหาร (Irradiation) ความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Novel Food) รวมทั้งสินค้าอาหารที่ได้จากกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)
- การจัดการกับสินค้าอาหารที่สงสัยว่าอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศคู่ค้าของ EU ทราบถึงรายละเอียดในสมุดปกขาวอย่างชัดเจน ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิก EU และความเห็นของประเทศคู่ค้านอกกลุ่ม EU ที่มีต่อสมุดปกขาว เพื่อรวบรวมความคิดเห็นต่างๆ ก่อนจัดทำเป็นข้อเสนอขั้นสุดท้ายต่อไป นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคใน EU เกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยของสินค้าอาหารที่ EU จะนำออกใช้ โดยเฉพาะการกำหนดระเบียบการติดฉลาก (Labelling) เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้บริโภคใน EU ใช้ประกอบการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารอย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ขณะนี้ข้อเสนอในสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหารอยู่ในขั้นตอนของการนำเสนอ (Proposal) สู่การพิจารณาของรัฐสภาของสหภาพยุโรป คาดว่าข้อเสนอทั้งหมดจะผ่านการพิจารณาและออกเป็นกฎหมายบังคับใช้พร้อมกับการจัดตั้ง EFA ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2545 ดังนั้น ในช่วง 2 ปีที่เหลือก่อนที่สมุดปกขาวจะมีผลบังคับใช้ ผู้ส่งออกไทยที่ส่งสินค้าอาหารเข้าไปในสหภาพยุโรปจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อกำหนดหรือมาตรการต่างๆ ที่จะนำมาบังคับใช้โดยละเอียด เพื่อเตรียมความพร้อมและปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่จะนำมาใช้กับการนำเข้าสินค้าอาหารในสหภาพยุโรปในไม่ช้านี้
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-
สาระสำคัญของสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหาร สรุปได้ดังนี้
?เสนอให้จัดตั้งหน่วยงานกลางด้านความปลอดภัยของอาหาร (European Food Authority: EFA) เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมดูแลด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของอาหารอย่างครบวงจร (Farm to Table) ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตวัตถุดิบที่เป็นส่วนประกอบของอาหารจนถึงการบริโภคขั้นสุดท้าย ทั้งนี้ EFA มีหน้าที่ดำเนินการทั้งด้านการบริหารนโยบาย ตลอดจนการวิเคราะห์ ตรวจสอบ และประเมินความเสี่ยงของอาหาร (Risk Assessment) นอกจากนี้ยังมีการนำข้อมูลระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Rapid Alert System) เกี่ยวกับความปลอดภัยของอาหารมาจัดทำเป็นข่าวสารเผยแพร่ให้ประเทศสมาชิกใน EU รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารรับทราบร่วมกัน
- กำหนดกฎระเบียบและมาตรการด้านความปลอดภัยของอาหาร (Food Safety Legislation) ไว้กว่า 80 ประเด็นที่สำคัญ ได้แก่
- การตรวจสอบแหล่งที่มาของสินค้าอาหารให้สามารถตรวจสอบย้อนถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบและกระบวนการผลิตเพื่อความปลอดภัยในทุกขั้นตอนของการผลิตอาหาร
- การกำหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าอาหารในระดับสูงและให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในทุกประเทศสมาชิก EU โดยมีกระบวนการตรวจสอบที่เข้มงวดและรัดกุม ครอบคลุมถึงประเด็นต่างๆ ตั้งแต่ความปลอดภัยของอาหารที่ใช้เลี้ยงสัตว์และสวัสดิภาพของสัตว์ (Animal Health and Welfare) ที่ใช้เป็นอาหาร ตลอดจนความสะอาดของสินค้าอาหาร (Hygiene) สารปนเปื้อนและสิ่งตกค้างในอาหาร (Contaminants and Residues) สารปรุงแต่งและสารปรุงรสอาหาร (Additives & Flavourings) ภาชนะบรรจุอาหาร (Packaging) ปริมาณรังสีในอาหาร (Irradiation) ความปลอดภัยในการบริโภคสินค้าอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (Novel Food) รวมทั้งสินค้าอาหารที่ได้จากกระบวนการตัดแต่งพันธุกรรม (GMOs)
- การจัดการกับสินค้าอาหารที่สงสัยว่าอาจไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค
- ประชาสัมพันธ์ให้ประเทศคู่ค้าของ EU ทราบถึงรายละเอียดในสมุดปกขาวอย่างชัดเจน ตลอดจนรับฟังข้อคิดเห็นจากประเทศสมาชิก EU และความเห็นของประเทศคู่ค้านอกกลุ่ม EU ที่มีต่อสมุดปกขาว เพื่อรวบรวมความคิดเห็นต่างๆ ก่อนจัดทำเป็นข้อเสนอขั้นสุดท้ายต่อไป นอกจากนี้ยังมีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ผู้บริโภคใน EU เกี่ยวกับมาตรการด้านความปลอดภัยของสินค้าอาหารที่ EU จะนำออกใช้ โดยเฉพาะการกำหนดระเบียบการติดฉลาก (Labelling) เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้บริโภคใน EU ใช้ประกอบการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหารอย่างเหมาะสมและปลอดภัย
ขณะนี้ข้อเสนอในสมุดปกขาวว่าด้วยความปลอดภัยของสินค้าอาหารอยู่ในขั้นตอนของการนำเสนอ (Proposal) สู่การพิจารณาของรัฐสภาของสหภาพยุโรป คาดว่าข้อเสนอทั้งหมดจะผ่านการพิจารณาและออกเป็นกฎหมายบังคับใช้พร้อมกับการจัดตั้ง EFA ซึ่งจะแล้วเสร็จภายในปี 2545 ดังนั้น ในช่วง 2 ปีที่เหลือก่อนที่สมุดปกขาวจะมีผลบังคับใช้ ผู้ส่งออกไทยที่ส่งสินค้าอาหารเข้าไปในสหภาพยุโรปจึงจำเป็นต้องศึกษาข้อกำหนดหรือมาตรการต่างๆ ที่จะนำมาบังคับใช้โดยละเอียด เพื่อเตรียมความพร้อมและปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่จะนำมาใช้กับการนำเข้าสินค้าอาหารในสหภาพยุโรปในไม่ช้านี้
--Exim News ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 ประจำเดือนมกราคม 2543--
-อน-