แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-30 ตุลาคม 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,477.12 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 805.26 ตัน สัตว์น้ำจืด 671.87 ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.73 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.51 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.76 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 131.43 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.57 ตัน 2. สถานการณ์การตลาด
แปรรูปกุ้งสดเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออก
การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในช่วงมกราคมถึงกันยายน 2544 ส่งออก เป็นปริมาณ 107,614 ตัน มูลค่า 42,242 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 105,505 ตัน แต่มูลค่าลดลงจาก 42,519 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.00 และ 0.65 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน ตามลำดับ จากที่มูลค่าการส่งออกของไทยปี 2544 ลดลงเนื่องจากไทยประสบกับการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยจำเป็นต้องปรับตัวเข้าสู่ตลาดคุณภาพมากขึ้น โดยการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ การปรุงแต่งกุ้งสดเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เช่น กุ้งชุบขนมปังป่น ซึ่งไทยเป็นตลาดใหญ่ ในกลุ่มเครือข่ายจำหน่ายอาหาร นอกจากนี้การมุ่งสู่วิสัยทัศน์เป็นครัวของโลก โดยนำกุ้งสดปรุงแต่งเป็นอาหารพร้อมรับประทาน ทั้งในรูปแบบอาหารจีน ญี่ปุ่นไทย และอาหารตะวันตกเช่น ติ่มซำ ซูชิ และปอเปี้ยะกุ้ง ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนมูลค่าการส่งออกระหว่างกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งกับผลิตภัณฑ์แปรรูปกุ้งในช่วง มกราคมถึงกันยายน ปี 2543 สัดส่วน 64:36 เป็น 58:42 ในช่วงเดียวกันของปี 2544 จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะเป็นสัดส่วน 50:50 ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการส่งเสริมการส่งออก ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้ากุ้งในตลาดหลักได้แก่ อเมริกา โดยจัดกิจกรรมในการทดสอบตลาดและพัฒนาสินค้าร่วมกับ ห้างซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ของอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ซื้อกุ้งรายใหญ่ของไทย ได้แก่ Sam ’s club เครือข่าย wall-Mart ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของอเมริกา และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการส่งออกได้เชิญผู้อำนวยการฝ่ายการจัดซื้อของห้าง Trader Jae ’s จะซื้อสินค้าอาหารพร้อมรับประทานไม่ต่ำกว่า 20 ประเภท เพื่อนำไป ส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าทุกสาขาทั่วตลาดอเมริกานับว่าเป็นโอกาสดีในการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปกุ้งหรือกุ้งปรุงแต่งของไทย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.32 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 231.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 228.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ350.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 351.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ16.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.88 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.93 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 29 ตค.-2 พย.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.14 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.48 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 29 ต.ค.- 4 พ.ย. 2544--
-สส-
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (23-30 ตุลาคม 2544) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูล จำหน่าย ที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,477.12 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 805.26 ตัน สัตว์น้ำจืด 671.87 ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.73 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.51 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 67.76 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 131.43 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.57 ตัน 2. สถานการณ์การตลาด
แปรรูปกุ้งสดเพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออก
การส่งออกกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในช่วงมกราคมถึงกันยายน 2544 ส่งออก เป็นปริมาณ 107,614 ตัน มูลค่า 42,242 ล้านบาท ปริมาณเพิ่มขึ้นจาก 105,505 ตัน แต่มูลค่าลดลงจาก 42,519 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 2.00 และ 0.65 ตามลำดับ โดยมีตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยคือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป จีน ตามลำดับ จากที่มูลค่าการส่งออกของไทยปี 2544 ลดลงเนื่องจากไทยประสบกับการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม
ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยจำเป็นต้องปรับตัวเข้าสู่ตลาดคุณภาพมากขึ้น โดยการปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ได้แก่ การแปรรูปผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่าง ๆ การปรุงแต่งกุ้งสดเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เช่น กุ้งชุบขนมปังป่น ซึ่งไทยเป็นตลาดใหญ่ ในกลุ่มเครือข่ายจำหน่ายอาหาร นอกจากนี้การมุ่งสู่วิสัยทัศน์เป็นครัวของโลก โดยนำกุ้งสดปรุงแต่งเป็นอาหารพร้อมรับประทาน ทั้งในรูปแบบอาหารจีน ญี่ปุ่นไทย และอาหารตะวันตกเช่น ติ่มซำ ซูชิ และปอเปี้ยะกุ้ง ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนมูลค่าการส่งออกระหว่างกุ้งสดแช่เย็นแช่แข็งกับผลิตภัณฑ์แปรรูปกุ้งในช่วง มกราคมถึงกันยายน ปี 2543 สัดส่วน 64:36 เป็น 58:42 ในช่วงเดียวกันของปี 2544 จะเห็นว่าผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มขึ้นและคาดว่าจะเป็นสัดส่วน 50:50 ในเร็ว ๆ นี้ สำหรับการส่งเสริมการส่งออก ผลิตภัณฑ์แปรรูปเพิ่มมูลค่าสินค้ากุ้งในตลาดหลักได้แก่ อเมริกา โดยจัดกิจกรรมในการทดสอบตลาดและพัฒนาสินค้าร่วมกับ ห้างซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ ของอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ซื้อกุ้งรายใหญ่ของไทย ได้แก่ Sam ’s club เครือข่าย wall-Mart ที่มียอดจำหน่ายสูงสุดของอเมริกา และเมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการส่งออกได้เชิญผู้อำนวยการฝ่ายการจัดซื้อของห้าง Trader Jae ’s จะซื้อสินค้าอาหารพร้อมรับประทานไม่ต่ำกว่า 20 ประเภท เพื่อนำไป ส่งเสริมการขายให้กับลูกค้าทุกสาขาทั่วตลาดอเมริกานับว่าเป็นโอกาสดีในการส่งออกผลิตภัณฑ์แปรรูปกุ้งหรือกุ้งปรุงแต่งของไทย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.84 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.15 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.69 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 51.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 51.32 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 81.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 231.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 228.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ350.63 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 351.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.62 บาท
2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ16.04 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 16.27 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.50บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 70.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 71.88 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.88 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.85 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 2.93 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.08 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58% ขึ้นไป (ระหว่างวันที่ 29 ตค.-2 พย.44 ) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 17.66 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 18.14 บาทของสัปดาห์ก่อน 0.48 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 42 ประจำวันที่ 29 ต.ค.- 4 พ.ย. 2544--
-สส-