นายเชิดชัย ขันธ์นะภา รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะรองโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงข้อมูลฐานะการคลัง
ประจำเดือนมิถุนายน 2544 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านรายได้
1.1 เดือนมิถุนายน 2544 รัฐบาลมีรายได้สุทธิ จำนวน 60,147 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 11.3 (อัตราเพิ่มสูงกว่าทุก
เดือนที่ผ่านมา) ทั้งนี้ นอกจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเก็บได้เพิ่มขึ้นแล้ว การจัดเก็บภาษียาสูบ และการนำรายได้
ส่งคลังของรัฐวิสาหกิจยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 65.9 และ 37.1 ตามลำดับ
1.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 636,764 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
32,211 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 แต่เมื่อคิดเป็นรายได้สุทธิจะสูงกว่าปีที่แล้วเพียง 11,248 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 เนื่องจากการคืนภาษีของ
กรมสรรพากรที่เพิ่มขึ้นถึง 20,200 ล้านบาท หรือร้อยละ 52.0
เมื่อพิจารณาผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บ สรุปได้ดังนี้
กรมสรรพากร เก็บได้ 362,001 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 20,668 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.1 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการขยายเวลาการ
ยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2542 จำนวน 17,800 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.9
กรมสรรพสามิต เก็บได้ 130,770 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 1,982 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการประมูล
สุราในส่วนของกรมสรรพสามิต 3,840 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 4.7
กรมศุลกากร เก็บได้ 68,997 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 4,670 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.3
หน่วยงานอื่น เก็บได้ 74,996 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 4,891 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 ประกอบด้วย
รายได้จากส่วนราชการอื่น 35,092 ล้านบาท ต่ำกว่าปีที่แล้ว 10,864 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้
จากการประมูลสุราในส่วนของกรมธนารักษ์ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 11,622 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 2.2
รายได้รัฐวิสาหกิจ 39,904 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 15,755 ล้านบาท หรือร้อยละ 65.2
2. ด้านรายจ่าย
2.1 เดือนมิถุนายน 2544 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินงบประมาณปีปัจจุบัน (รวมชำระคืนต้นเงินกู้) จำนวน 70,249 ล้านบาท สูงกว่าปีที่
แล้ว 4,160 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3
2.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีปัจจุบัน (รวมชำระคืนต้นเงินกู้) ไปแล้ว
จำนวน 579,233 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.5 และการเบิกจ่ายดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 63.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย
(910,000 ล้านบาท) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายร้อยละ 66.0
สำหรับเป้าหมายการเบิกจ่ายทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 819,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณ
3. ฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบสถิติเพื่อการศึกษานโยบายการคลัง (สศค.-GFS)
3.1 เดือนมิถุนายน 2544 รัฐบาลมีดุลเงินสดเกินดุล 2,165 ล้านบาท โดยมีดุลงบประมาณเกินดุล 10,916 ล้านบาท ดุลนอกงบ
ประมาณขาดดุล 6,622 ล้านบาท ขณะเดียวกันมีรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศที่ไม่ผ่านบัญชีเงินคงคลังอยู่อีกจำนวน 2,129 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 95,006 ล้านบาท (ปีที่แล้วขาดดุล 111,302
ล้านบาท) เนื่องจากมีดุลงบประมาณขาดดุลสูงถึง 85,021 ล้านบาท ในขณะที่ดุลนอกงบประมาณเกินดุล 6,460 ล้านบาท และรายจ่ายจากเงินกู้
ต่างประเทศที่ไม่ผ่านบัญชีเงินคงคลังอีก จำนวน 16,445 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของดุลงบประมาณ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 563,885 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 8,770 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 1.6 ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 648,906 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 15,019 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ประกอบด้วย
รายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน (ไม่รวมชำระต้นเงิน) 570,682 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน (ประกอบด้วยเงินงบประมาณเหลื่อมจ่ายเงินกันไว้เบิก
เหลื่อมปี และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเหลื่อมจ่าย) จำนวน 78,224 ล้านบาท
4. เงินคงคลัง
ณ ต้นปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีเงินคงคลังเป็นจำนวนทั้งสิ้น 72,950 ล้านบาท เมื่อหักยอดการรับ และจ่ายเงินจากคลังระหว่างปีแล้ว
ทำให้รัฐบาลมียอดเงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ประมาณ 52,908 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 49/2544 2 สิงหาคม 2544--
-อน-
ประจำเดือนมิถุนายน 2544 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ด้านรายได้
1.1 เดือนมิถุนายน 2544 รัฐบาลมีรายได้สุทธิ จำนวน 60,147 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 11.3 (อัตราเพิ่มสูงกว่าทุก
เดือนที่ผ่านมา) ทั้งนี้ นอกจากภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเก็บได้เพิ่มขึ้นแล้ว การจัดเก็บภาษียาสูบ และการนำรายได้
ส่งคลังของรัฐวิสาหกิจยังเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงถึงร้อยละ 65.9 และ 37.1 ตามลำดับ
1.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลจัดเก็บรายได้รวม 636,764 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
32,211 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.3 แต่เมื่อคิดเป็นรายได้สุทธิจะสูงกว่าปีที่แล้วเพียง 11,248 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.0 เนื่องจากการคืนภาษีของ
กรมสรรพากรที่เพิ่มขึ้นถึง 20,200 ล้านบาท หรือร้อยละ 52.0
เมื่อพิจารณาผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บ สรุปได้ดังนี้
กรมสรรพากร เก็บได้ 362,001 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 20,668 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.1 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการขยายเวลาการ
ยื่นชำระภาษีจากกำไรสุทธิรอบครึ่งปีบัญชี 2542 จำนวน 17,800 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 11.9
กรมสรรพสามิต เก็บได้ 130,770 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 1,982 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้จากการประมูล
สุราในส่วนของกรมสรรพสามิต 3,840 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 4.7
กรมศุลกากร เก็บได้ 68,997 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 4,670 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.3
หน่วยงานอื่น เก็บได้ 74,996 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 4,891 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.0 ประกอบด้วย
รายได้จากส่วนราชการอื่น 35,092 ล้านบาท ต่ำกว่าปีที่แล้ว 10,864 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.6 หากปีที่แล้วไม่รวมรายได้
จากการประมูลสุราในส่วนของกรมธนารักษ์ และกรมโรงงานอุตสาหกรรมจำนวน 11,622 ล้านบาท รายได้ปีนี้จะสูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 2.2
รายได้รัฐวิสาหกิจ 39,904 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้ว 15,755 ล้านบาท หรือร้อยละ 65.2
2. ด้านรายจ่าย
2.1 เดือนมิถุนายน 2544 รัฐบาลได้เบิกจ่ายเงินงบประมาณปีปัจจุบัน (รวมชำระคืนต้นเงินกู้) จำนวน 70,249 ล้านบาท สูงกว่าปีที่
แล้ว 4,160 ล้านบาท หรือร้อยละ 6.3
2.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีการเบิกจ่ายเงินจากงบประมาณปีปัจจุบัน (รวมชำระคืนต้นเงินกู้) ไปแล้ว
จำนวน 579,233 ล้านบาท สูงกว่าปีที่แล้วร้อยละ 5.5 และการเบิกจ่ายดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 63.7 ของวงเงินงบประมาณรายจ่าย
(910,000 ล้านบาท) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายการเบิกจ่ายที่คาดว่าจะมีการเบิกจ่ายร้อยละ 66.0
สำหรับเป้าหมายการเบิกจ่ายทั้งปีคาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 819,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 90 ของวงเงินงบประมาณ
3. ฐานะการคลังเบื้องต้นตามระบบสถิติเพื่อการศึกษานโยบายการคลัง (สศค.-GFS)
3.1 เดือนมิถุนายน 2544 รัฐบาลมีดุลเงินสดเกินดุล 2,165 ล้านบาท โดยมีดุลงบประมาณเกินดุล 10,916 ล้านบาท ดุลนอกงบ
ประมาณขาดดุล 6,622 ล้านบาท ขณะเดียวกันมีรายจ่ายจากเงินกู้ต่างประเทศที่ไม่ผ่านบัญชีเงินคงคลังอยู่อีกจำนวน 2,129 ล้านบาท
3.2 ในช่วง 9 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีดุลเงินสดขาดดุลทั้งสิ้น 95,006 ล้านบาท (ปีที่แล้วขาดดุล 111,302
ล้านบาท) เนื่องจากมีดุลงบประมาณขาดดุลสูงถึง 85,021 ล้านบาท ในขณะที่ดุลนอกงบประมาณเกินดุล 6,460 ล้านบาท และรายจ่ายจากเงินกู้
ต่างประเทศที่ไม่ผ่านบัญชีเงินคงคลังอีก จำนวน 16,445 ล้านบาท
ทั้งนี้ ในส่วนของดุลงบประมาณ รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลัง 563,885 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 8,770 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 1.6 ในขณะที่มีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณ 648,906 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 15,019 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.4 ประกอบด้วย
รายจ่ายงบประมาณปีปัจจุบัน (ไม่รวมชำระต้นเงิน) 570,682 ล้านบาท และรายจ่ายปีก่อน (ประกอบด้วยเงินงบประมาณเหลื่อมจ่ายเงินกันไว้เบิก
เหลื่อมปี และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีเหลื่อมจ่าย) จำนวน 78,224 ล้านบาท
4. เงินคงคลัง
ณ ต้นปีงบประมาณ 2544 รัฐบาลมีเงินคงคลังเป็นจำนวนทั้งสิ้น 72,950 ล้านบาท เมื่อหักยอดการรับ และจ่ายเงินจากคลังระหว่างปีแล้ว
ทำให้รัฐบาลมียอดเงินคงคลังเบื้องต้น ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2544 ประมาณ 52,908 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 49/2544 2 สิงหาคม 2544--
-อน-