นายอดุลย์ วินัยแพทย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวว่า ที่ประชุมได้มีมติอนุมัติการขอใบอนุญาตการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวและการพิจารณาคำขออนุมัติหลักการของบริษัทต่างด้าว ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม คือ กลุ่ม 1 คู่สัญญากับรัฐวิสาหกิจ กลุ่ม 2 รับเหมาช่วงงานจากเอกชนที่รับสัมปทานจากรัฐ กลุ่ม 3 สำนักงานผู้แทน กลุ่ม 4 ธุรกิจบริการอื่นๆ กลุ่ม 5 ธุรกิจอื่นๆ กลุ่ม 6 พิจารณาคำขออนุมัติในหลักการ โดยได้อนุมัติคำขอใบอนุญาตทั้งสิ้น 29 ราย ไม่อนุมัติ 11 ราย และอีก 1 รายเป็นการรอพิจารณา ส่วนคำขออนุมัติหลักการจำนวน 5 ราย เป็นการรอพิจารณา 4 รายและไม่อนุมัติ 1 ราย สำหรับบริษัทต่างด้าวที่ไม่ได้รับอนุมัติจำนวน 11 รายนั้น อยู่ในกลุ่มที่ 3,4 และ 5 เนื่องจากประกอบธุรกิจตามความเป็นจริงไม่ตรงกับข้อมูลในคำขอ
อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากล่าวต่อไปว่า ในกลุ่มที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกมียื่นคำขอเข้ามา 3 บริษัท คือบริษัท เอ็ดก้า เคมิคัลส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ทำธุรกิจด้านเคมี บริษัท ไดโซ(ประเทศไทย) จำกัด ขายอาหารกระป๋อง และ บริษัท คุชแมนด์ แอนด์ เวคนีลด์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำธุรกิจเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ได้อนุมัติบริษัทคุชแมนด์ฯ เพียงรายเดียว เนื่องจากลักษณะธุรกิจไม่เข้าข่ายการค้าปลีก แต่อีก 2 บริษัทที่เหลือต้องชะลอไว้ก่อน เพราะขณะนี้กรมการค้าภายในกำลังศึกษาการวางระบบเพื่อดูแลการค้าปลีก จึงต้องรอผลศึกษาให้แล้วเสร็จก่อน นอกจากนี้ ยังมีบริษัทต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในลักษณะคู่สัญญากับรัฐวิสาหกิจอีก 5 ราย ที่ได้เซ็นสัญญาก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ และบางรายใบอนุญาตหมดอายุไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตามกรมทะเบียนการค้าจะเชิญบริษัทเหล่านี้มาให้ข้อมูลอีกครั้งก่อนดำเนินคดี เพราะต้องดูว่ามีเจตนาหรือไม่ บริษัททั้ง 5 รายนี้ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชัน เอนจิเนียริ่ง คอร์ปเปอเรชั่น เป็นคู่สัญญาทำประตูระบายน้ำ บริษัท โคจิเฟอร์ ทีเอฟ เป็นคู่สัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท อีเลคโตรวัตต์ เอ็นจิเนียริ่ง เป็นคู่สัญญากับการรถไฟเช่นกัน บริษัท ฟูจิกูระ และ บริษัท ฟูจิกูระทีเอฟ เป็นคู่สัญญากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
อนึ่ง ตั้งแต่ใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้เมื่อ 3 มีนาคม 2543 จนถึง 6 ธันวาคม 2543 ได้มีการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวไปแล้ว 156 ราย แยกเป็น ออกใบอนุญาตตามบัญชีสาม 97 ราย ออกหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมการลงทุน 24 ราย ออกหนังสือรับรองตามสนธิสัญญา 35 ราย--จบ--
--กรมทะเบียนการค้า ธันวาคม 2543--
-อน-
อธิบดีกรมทะเบียนการค้ากล่าวต่อไปว่า ในกลุ่มที่ 5 ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจค้าปลีกมียื่นคำขอเข้ามา 3 บริษัท คือบริษัท เอ็ดก้า เคมิคัลส์ (ไทยแลนด์) จำกัด ทำธุรกิจด้านเคมี บริษัท ไดโซ(ประเทศไทย) จำกัด ขายอาหารกระป๋อง และ บริษัท คุชแมนด์ แอนด์ เวคนีลด์ (ประเทศไทย) จำกัด ทำธุรกิจเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ได้อนุมัติบริษัทคุชแมนด์ฯ เพียงรายเดียว เนื่องจากลักษณะธุรกิจไม่เข้าข่ายการค้าปลีก แต่อีก 2 บริษัทที่เหลือต้องชะลอไว้ก่อน เพราะขณะนี้กรมการค้าภายในกำลังศึกษาการวางระบบเพื่อดูแลการค้าปลีก จึงต้องรอผลศึกษาให้แล้วเสร็จก่อน นอกจากนี้ ยังมีบริษัทต่างด้าวที่เข้ามาประกอบธุรกิจในลักษณะคู่สัญญากับรัฐวิสาหกิจอีก 5 ราย ที่ได้เซ็นสัญญาก่อนที่จะได้รับใบอนุญาตจากคณะกรรมการ และบางรายใบอนุญาตหมดอายุไปแล้ว ซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษจำคุก 3 ปี ปรับ 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อย่างไรก็ตามกรมทะเบียนการค้าจะเชิญบริษัทเหล่านี้มาให้ข้อมูลอีกครั้งก่อนดำเนินคดี เพราะต้องดูว่ามีเจตนาหรือไม่ บริษัททั้ง 5 รายนี้ประกอบด้วย บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชัน เอนจิเนียริ่ง คอร์ปเปอเรชั่น เป็นคู่สัญญาทำประตูระบายน้ำ บริษัท โคจิเฟอร์ ทีเอฟ เป็นคู่สัญญากับการรถไฟแห่งประเทศไทย บริษัท อีเลคโตรวัตต์ เอ็นจิเนียริ่ง เป็นคู่สัญญากับการรถไฟเช่นกัน บริษัท ฟูจิกูระ และ บริษัท ฟูจิกูระทีเอฟ เป็นคู่สัญญากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต
อนึ่ง ตั้งแต่ใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้เมื่อ 3 มีนาคม 2543 จนถึง 6 ธันวาคม 2543 ได้มีการออกใบอนุญาตและหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวไปแล้ว 156 ราย แยกเป็น ออกใบอนุญาตตามบัญชีสาม 97 ราย ออกหนังสือรับรองตามบัตรส่งเสริมการลงทุน 24 ราย ออกหนังสือรับรองตามสนธิสัญญา 35 ราย--จบ--
--กรมทะเบียนการค้า ธันวาคม 2543--
-อน-