ข่าวในประเทศ
1. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์เอ็นพีแอล บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด วิเคราะห์แนวโน้มปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปี 44 ว่า สถานการณ์โดยรวมยังถูกกดดันจากปัจจัยลบที่สำคัญ เช่น พื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่ยังอ่อนแอโดยเฉพาะการส่งออก ภาวะเศรษฐกิจโลก การสนองตอบจากสถาบันการเงินเอกชน ตลอดจนความชัดเจนของทางการในการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง (ซีเอเอ็มซี) ซึ่งหากมีผลเป็นรูปธรรมเอ็นพีแอลที่ถูกขจัดออกไปจากระบบสถาบันการเงินคงมีผลไม่น้อยต่อการปรับลดตัวเลขเอ็นพีแอลที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการโอนย้ายเอ็นพีแอลออกไปที่ซีเอเอ็มซี ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าเอ็นพีแอลจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งที่เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่และเอ็นพีแอลย้อนกลับหรือพฤติกรรมในส่วนของการพยายามปรับโครงสร้างหนี้ทำได้จำกัดลง.(แนวหน้า, ไทยรัฐ, โลกวันนี้ 7)
2. ความคืบหน้าการกำหนดสูตรการรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินของซีเอเอ็มซี นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยความคืบหน้าการหารือเพื่อกำหนดสูตรการรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล)จากสถาบันการเงินไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง(ซีเอเอ็มซี)ว่า จะมีการประชุมในวันที่ 7 มี.ค.44 โดยเบื้องต้นกำหนดราคาการรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพว่า จะไม่เป็นการขายขาด และจะรับซื้อตามราคามูลค่าทางบัญชีหักด้วยส่วนลด และมีสัญญา Loss/Gain Sharing โดยกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้น ธนาคารเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด แต่อาจมีค่าจ้างบริหารให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการนำสินทรัพย์ไปดูแล.(ผู้จัดการรายวัน 7)
3. รมว.คลังเปิดเผยมูลเหตุเอ็นพีแอลย้อนกลับในเดือน ม.ค.44 รมว.คลังเปิดเผยว่า ยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ที่ย้อนกลับในเดือน ม.ค.44 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี และการประนอมหนี้ที่ไม่ใช่การปรับโครงสร้างหนี้ที่แท้จริง อีกทั้งบริษัทลูกหนี้ไม่อยู่ในฐานะที่แข็งแรงพอ สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาคือ การจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง และการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้ ธพ.สามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น (ผู้จัดการรายวัน 7)
4. ปริมาณการใช้เช็คภาคเหนือเดือน ม.ค.44 ผู้บริหารอาวุโส ส่วนวิชาการ สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยปริมาณการใช้เช็คของภาคเหนือในเดือน ม.ค.44 ว่ามีปริมาณ 377,897 ฉบับ มูลค่า 24,282.1 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 13.5 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ ส่วนปริมาณเช็คคืนเดือน ม.ค.44 มีจำนวน 6.747 ฉบับ มูลค่า 358.2 ล.บาท ลดลงจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 3.9 และ 17.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.8 และ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ ลดลงจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 2.1 และ 1.9 แต่ยังคงสูงกว่าเดือน ม.ค.43 ร้อยละ 1.7 และ 1.4 ตามลำดับ(กรุงเทพธุรกิจ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. ที่ปรับตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 มี.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่4 ปี 43 ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี ปรับลดลงจากประมาณการขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี และลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 ส่วนตลอดปี 43 ประสิทธิภาพการผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในปี 26 ขณะเดียวกัน ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย ที่ใช้เป็นเครื่องวัดเงินเฟ้อที่สำคัญจากค่าจ้าง ที่ปรับตัวเลขแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เช่นกัน(รอยเตอร์6)
2. คำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากโรงงานของ สรอ. หดตัวลงร้อยละ 3.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 มี.ค.44 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 คำสั่งซื้อสินค้าใหม่โดยรวมจากโรงงาน ที่ปรับฤดูกาล หดตัวลงร้อยละ 3.8 และมีมูลค่า 366.54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะหดตัวลงร้อยละ 3.4 เทียบกับคำสั่งซื้อฯ ที่ปรับตัวเลขแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ธ.ค.43 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยในเดือน ม.ค. 44 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ในเดือน ธ.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการผลิตที่ยังคงเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 43 และมีประสิทธิภาพสูงที่สุดตลอดปี 43 นับตั้งแต่ปี 26 นั้น จะกระตุ้นให้ คณะกรรมการนโยบายการเงินของ สรอ. ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายในการประชุมฯที่กำหนดขึ้นในเดือน มี.ค.นี้ โดยปราศจากความกังวลว่าจะผลักดันให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ทั้งนี้ คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ฯ ที่หดตัวลงในเดือน ม.ค. เป็นผลจากคำสั่งซื้อเครื่องบินอากาศยานใหม่ลดลง และทำให้ของคำสั่งซื้อสินค้าฯ ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.42.(รอยเตอร์ 6)
3. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดหมายในเดือน ก.พ. 44 รายงานจาก Nuremberg ในเยอรมนี เมื่อ 6 มี.ค. 44 สำนักงานแรงงานแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.พ. 44 คนว่างงานของเยอรมนี ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล มีจำนวน 3.779 ล. คน เพิ่มขึ้น 3,000 คน จากจำนวน 3.776 ล. คน ในเดือน ม.ค. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และพลิกความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่เคยคาดไว้ว่าคนว่างงานจะลดลง 7,000 คนในเดือน ก.พ. 44 Uwe Angenendt หัวหน้าเศรษฐกรของ BHF-BANK กล่าวว่า ตัวเลขการว่างงานที่แย่ลงครั้งนี้ ยิ่งเกื้อหนุนยิ่งขึ้นต่อการตัดสินใจปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 44 จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเติบโตร้อยละ 2.5 ลงเหลือร้อยละ 1.8 ต่อปี (รอยเตอร์6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 มี.ค. 44 43.397 (43.507)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 มี.ค. 44ซื้อ 43.2046 (43.3269) ขาย 43.5139 (43.6391)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.13 (23.90)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-
1. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์เอ็นพีแอล บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด วิเคราะห์แนวโน้มปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในปี 44 ว่า สถานการณ์โดยรวมยังถูกกดดันจากปัจจัยลบที่สำคัญ เช่น พื้นฐานเศรษฐกิจในประเทศที่ยังอ่อนแอโดยเฉพาะการส่งออก ภาวะเศรษฐกิจโลก การสนองตอบจากสถาบันการเงินเอกชน ตลอดจนความชัดเจนของทางการในการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง (ซีเอเอ็มซี) ซึ่งหากมีผลเป็นรูปธรรมเอ็นพีแอลที่ถูกขจัดออกไปจากระบบสถาบันการเงินคงมีผลไม่น้อยต่อการปรับลดตัวเลขเอ็นพีแอลที่ยังคงเหลืออยู่ในระบบ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการโอนย้ายเอ็นพีแอลออกไปที่ซีเอเอ็มซี ทั้งนี้ มีความเป็นไปได้สูงว่าเอ็นพีแอลจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งที่เป็นเอ็นพีแอลรายใหม่และเอ็นพีแอลย้อนกลับหรือพฤติกรรมในส่วนของการพยายามปรับโครงสร้างหนี้ทำได้จำกัดลง.(แนวหน้า, ไทยรัฐ, โลกวันนี้ 7)
2. ความคืบหน้าการกำหนดสูตรการรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพจากสถาบันการเงินของซีเอเอ็มซี นายจักรทิพย์ นิติพน ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในฐานะผู้จัดการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน เปิดเผยความคืบหน้าการหารือเพื่อกำหนดสูตรการรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพ(เอ็นพีแอล)จากสถาบันการเงินไปยังบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง(ซีเอเอ็มซี)ว่า จะมีการประชุมในวันที่ 7 มี.ค.44 โดยเบื้องต้นกำหนดราคาการรับซื้อหนี้ด้อยคุณภาพว่า จะไม่เป็นการขายขาด และจะรับซื้อตามราคามูลค่าทางบัญชีหักด้วยส่วนลด และมีสัญญา Loss/Gain Sharing โดยกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้น ธนาคารเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด แต่อาจมีค่าจ้างบริหารให้แก่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในการนำสินทรัพย์ไปดูแล.(ผู้จัดการรายวัน 7)
3. รมว.คลังเปิดเผยมูลเหตุเอ็นพีแอลย้อนกลับในเดือน ม.ค.44 รมว.คลังเปิดเผยว่า ยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล)ที่ย้อนกลับในเดือน ม.ค.44 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดี และการประนอมหนี้ที่ไม่ใช่การปรับโครงสร้างหนี้ที่แท้จริง อีกทั้งบริษัทลูกหนี้ไม่อยู่ในฐานะที่แข็งแรงพอ สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาคือ การจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์กลาง และการผ่อนคลายกฎเกณฑ์ให้ ธพ.สามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น (ผู้จัดการรายวัน 7)
4. ปริมาณการใช้เช็คภาคเหนือเดือน ม.ค.44 ผู้บริหารอาวุโส ส่วนวิชาการ สำนักงานภาคเหนือ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยปริมาณการใช้เช็คของภาคเหนือในเดือน ม.ค.44 ว่ามีปริมาณ 377,897 ฉบับ มูลค่า 24,282.1 ล.บาท เพิ่มขึ้นจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 13.5 และร้อยละ 4.6 ตามลำดับ ส่วนปริมาณเช็คคืนเดือน ม.ค.44 มีจำนวน 6.747 ฉบับ มูลค่า 358.2 ล.บาท ลดลงจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 3.9 และ 17.6 ตามลำดับ ทั้งนี้ ปริมาณและมูลค่าเช็คคืนมีสัดส่วนร้อยละ 1.8 และ 1.5 ของปริมาณและมูลค่าเช็คเรียกเก็บ ลดลงจากเดือน ธ.ค.43 ร้อยละ 2.1 และ 1.9 แต่ยังคงสูงกว่าเดือน ม.ค.43 ร้อยละ 1.7 และ 1.4 ตามลำดับ(กรุงเทพธุรกิจ 7)
ข่าวต่างประเทศ
1. ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรมของ สรอ. ที่ปรับตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 มี.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ไตรมาสที่4 ปี 43 ประสิทธิภาพแรงงานนอกภาคเกษตรกรรม ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 ต่อปี ปรับลดลงจากประมาณการขั้นต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ต่อปี และลดลงจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี ในไตรมาสที่ 3 ปี 43 ส่วนตลอดปี 43 ประสิทธิภาพการผลิตฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 ต่อปี ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดนับแต่ที่เคยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 ในปี 26 ขณะเดียวกัน ในไตรมาสที่ 4 ปี 43 ต้นทุนแรงงานต่อหน่วย ที่ใช้เป็นเครื่องวัดเงินเฟ้อที่สำคัญจากค่าจ้าง ที่ปรับตัวเลขแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 จากประมาณการก่อนหน้านี้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 นับเป็นการเพิ่มขึ้นสูงสุดตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ปี 42 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 เช่นกัน(รอยเตอร์6)
2. คำสั่งซื้อสินค้าใหม่จากโรงงานของ สรอ. หดตัวลงร้อยละ 3.8 ในเดือน ม.ค.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 6 มี.ค.44 ก.พาณิชย์ สรอ.เปิดเผยว่า เดือน ม.ค.44 คำสั่งซื้อสินค้าใหม่โดยรวมจากโรงงาน ที่ปรับฤดูกาล หดตัวลงร้อยละ 3.8 และมีมูลค่า 366.54 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่าจะหดตัวลงร้อยละ 3.4 เทียบกับคำสั่งซื้อฯ ที่ปรับตัวเลขแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน ธ.ค.43 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยในเดือน ม.ค. 44 คำสั่งซื้อสินค้าคงทนลดลงร้อยละ 6.5 เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ในเดือน ธ.ค. ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.2 อย่างไรก็ตาม ประสิทธิภาพในการผลิตที่ยังคงเพิ่มขึ้นในไตรมาสสุดท้ายของปี 43 และมีประสิทธิภาพสูงที่สุดตลอดปี 43 นับตั้งแต่ปี 26 นั้น จะกระตุ้นให้ คณะกรรมการนโยบายการเงินของ สรอ. ดำเนินนโยบายการเงินผ่อนคลายในการประชุมฯที่กำหนดขึ้นในเดือน มี.ค.นี้ โดยปราศจากความกังวลว่าจะผลักดันให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ทั้งนี้ คำสั่งซื้อสินค้าใหม่ฯ ที่หดตัวลงในเดือน ม.ค. เป็นผลจากคำสั่งซื้อเครื่องบินอากาศยานใหม่ลดลง และทำให้ของคำสั่งซื้อสินค้าฯ ลดลงอยู่ในระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน พ.ย.42.(รอยเตอร์ 6)
3. จำนวนคนว่างงานของเยอรมนีเพิ่มขึ้นอย่างไม่คาดหมายในเดือน ก.พ. 44 รายงานจาก Nuremberg ในเยอรมนี เมื่อ 6 มี.ค. 44 สำนักงานแรงงานแห่งชาติของเยอรมนี เปิดเผยว่า เดือน ก.พ. 44 คนว่างงานของเยอรมนี ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล มีจำนวน 3.779 ล. คน เพิ่มขึ้น 3,000 คน จากจำนวน 3.776 ล. คน ในเดือน ม.ค. 44 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 และพลิกความคาดหมายของนักวิเคราะห์ที่เคยคาดไว้ว่าคนว่างงานจะลดลง 7,000 คนในเดือน ก.พ. 44 Uwe Angenendt หัวหน้าเศรษฐกรของ BHF-BANK กล่าวว่า ตัวเลขการว่างงานที่แย่ลงครั้งนี้ ยิ่งเกื้อหนุนยิ่งขึ้นต่อการตัดสินใจปรับลดประมาณการเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปี 44 จากที่คาดไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเติบโตร้อยละ 2.5 ลงเหลือร้อยละ 1.8 ต่อปี (รอยเตอร์6)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 6 มี.ค. 44 43.397 (43.507)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 6 มี.ค. 44ซื้อ 43.2046 (43.3269) ขาย 43.5139 (43.6391)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,400) ขาย 5,450 (5,500)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 24.13 (23.90)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.29 (16.29) ดีเซลหมุนเร็ว 12.94 (12.94)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ตม-