แท็ก
ประเทศพม่า
3. ภาคการผลิตและบริการ
3.1 ภาคการผลิตที่มีแนวโน้มฟื้นตัว
3.1.1 ภาคการเกษตร ปริมาณผลผลิตสาขาเกษตรในไตรมาสแรกขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสาขาพืชผล ในขณะที่ผลผลิตสาขาประมงลดลงอันเนื่องมาจากการยกเลิกสัมปทานการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศพม่า ประกอบกับต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปีที่แล้วตามภาวะราคาในตลาดโลกที่มีการแข่งขันสูงจากการที่มีอุปทานส่วนเกินอยู่มาก
สำหรับแนวโน้มในอนาคตทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลางนั้นค่อนข้างชัดเจนกว่าการแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตรจะเพิ่มมากขึ้น และตลาดสินค้าเกษตรเป็นตลาดผู้ซื้อ ราคาสินค้าเกษตรจึงยังไม่น่าจะปรับตัวดีขึ้น
3.1.2 ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสแรกฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนโดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการส่งออก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก 2542 อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งซึ่งดัชนีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.1 และอุตสาหกรรมต่อเนื่องประเภทผลิตภัณฑ์เหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1
ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทั้งเพื่อการส่งออกและการใช้ภายในประเทศทำให้อัตราการใช้กำลังผลิตปรับตัวดีขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยของทุกอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.2 ในไตรมาสแรกปีที่แล้วเป็นร้อยละ 57.7 ในไตรมาสแรกปีนี้ แม้ว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยรวมจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่เมื่อพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตในระดับรายอุตสาหกรรมย่อยจะพบว่าในปัจจุบันมีหลายอุตสาหกรรมที่มีการผลิตจนเต็มกำลังการผลิตแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ยางรถยนต์และแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมแผงวงจรรวม คอมเพรสเซอร์ และผลิตภัณฑ์กระดาษและเยื่อกระดาษ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบว่ามีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าระดับเฉลี่ยของทั้งประเทศ และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากการสำรวจประมาณ 740 บริษัท มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 77.5 สูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศ และสูงกว่าระดับร้อยละ 70.5 ในไตรมาสที่ 4 และร้อยละ 70.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว โดยเกือบทุกอุตสาหกรรมมีการใช้อัตรากำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตร (เพิ่มจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 59) เครื่องยนต์เบนซินเอนกประสงค์ (เพิ่มจากร้อยละ 73 เป็นร้อยละ 98) ปูนซิเมนต์ (เพิ่มจากร้อยละ 63 เป็นร้อยละ 83) และคอมเพรสเซอร์ (เพิ่มจากร้อยละ 67 เป็นร้อยละ 85) เป็นต้น
3.1.3 ภาคธุรกิจบริการท่องเที่ยว สาขานี้มีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค และการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับที่น่าพอใจในทวีปอเมริกาและยุโรป
3.2 ภาคเศรษฐกิจที่ยังมีปัญหาเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
3.2.1 ภาคการเงิน มีความคืบหน้าด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และ NPLs ได้ลดลงตามลำดับ โดยที่ NPLs ณ เดือนมีนาคม 2543 คิดเป็นร้อยละ 37.24 ของปริมาณสินเชื่อทั้งระบบ ลดลงจากร้อยละ 47 ในช่วงต้นปี 2542 ส่วนยอดปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.285 ล้านล้านบาท จากยอดหนี้คงค้างทั้งสิ้น 2.276 ล้านล้านบาท ที่อยู่ภายใต้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ดอกเบี้ยระหว่างธนาคารและในตลาดซื้อคืนพันธบัตรได้มีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามภาวะสภาพคล่องที่ค่อนข้างตึงตัวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสแรก
3.2.2 ภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ในไตรมาสแรกเริ่มมีดัชนีชี้วัดสถานการณ์ของภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2542 ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลทั้งเพื่อที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม และอื่น ๆ การจำหน่ายสังกะสีในประเทศ ปริมาณการใช้ปูนซิเมนต์ในประเทศ การขอจดทะเบียนอาคารชุด บ้านจัดสรรจดทะเบียนเพิ่ม ในขณะที่เครื่องชี้บางตัวยังคงหดตัว อาทิเช่น ปริมาณการจำหน่ายเหล็กเส้น สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ทั้งสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภค และแฟลต อาคารชุดและบ้านปลูกสร้างเองที่จดทะเบียนเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์ของสาขาก่อสร้างและอสังหา- ริมทรัพย์น่าจะมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางดีขึ้น เมื่อพิจารณาจากดัชนีชี้นำที่สำคัญ คือ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ได้เริ่มมีการแข่งขันในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกินของอาคารชุดและตึกแถวคงจะยังเป็นปัญหาต่อไป
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/2543 วันที่ 31 พฤษภาคม 2543--
-อน-
3.1 ภาคการผลิตที่มีแนวโน้มฟื้นตัว
3.1.1 ภาคการเกษตร ปริมาณผลผลิตสาขาเกษตรในไตรมาสแรกขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสาขาพืชผล ในขณะที่ผลผลิตสาขาประมงลดลงอันเนื่องมาจากการยกเลิกสัมปทานการจับสัตว์น้ำในน่านน้ำของประเทศพม่า ประกอบกับต้นทุนราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากปีที่แล้วตามภาวะราคาในตลาดโลกที่มีการแข่งขันสูงจากการที่มีอุปทานส่วนเกินอยู่มาก
สำหรับแนวโน้มในอนาคตทั้งในระยะสั้นและระยะปานกลางนั้นค่อนข้างชัดเจนกว่าการแข่งขันในตลาดสินค้าเกษตรจะเพิ่มมากขึ้น และตลาดสินค้าเกษตรเป็นตลาดผู้ซื้อ ราคาสินค้าเกษตรจึงยังไม่น่าจะปรับตัวดีขึ้น
3.1.2 ภาคอุตสาหกรรม ในไตรมาสแรกฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนโดยมีปัจจัยสนับสนุนทั้งจากการขยายตัวของอุปสงค์ภายในประเทศและภาคการส่งออก ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.7 เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก 2542 อุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราสูง ได้แก่ หมวดยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่งซึ่งดัชนีปริมาณการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.1 และอุตสาหกรรมต่อเนื่องประเภทผลิตภัณฑ์เหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.1
ความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้นทั้งเพื่อการส่งออกและการใช้ภายในประเทศทำให้อัตราการใช้กำลังผลิตปรับตัวดีขึ้นในทิศทางเดียวกัน โดยที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยของทุกอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.2 ในไตรมาสแรกปีที่แล้วเป็นร้อยละ 57.7 ในไตรมาสแรกปีนี้ แม้ว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตโดยเฉลี่ยรวมจะเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ แต่เมื่อพิจารณาอัตราการใช้กำลังการผลิตในระดับรายอุตสาหกรรมย่อยจะพบว่าในปัจจุบันมีหลายอุตสาหกรรมที่มีการผลิตจนเต็มกำลังการผลิตแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ยางรถยนต์และแบตเตอรี่ อุตสาหกรรมแผงวงจรรวม คอมเพรสเซอร์ และผลิตภัณฑ์กระดาษและเยื่อกระดาษ
นอกจากนี้ ผลการสำรวจของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน พบว่ามีบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีอัตราการใช้กำลังการผลิตสูงกว่าระดับเฉลี่ยของทั้งประเทศ และยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากการสำรวจประมาณ 740 บริษัท มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 77.5 สูงกว่าระดับเฉลี่ยของประเทศ และสูงกว่าระดับร้อยละ 70.5 ในไตรมาสที่ 4 และร้อยละ 70.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว โดยเกือบทุกอุตสาหกรรมมีการใช้อัตรากำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้น เช่น เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตร (เพิ่มจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 59) เครื่องยนต์เบนซินเอนกประสงค์ (เพิ่มจากร้อยละ 73 เป็นร้อยละ 98) ปูนซิเมนต์ (เพิ่มจากร้อยละ 63 เป็นร้อยละ 83) และคอมเพรสเซอร์ (เพิ่มจากร้อยละ 67 เป็นร้อยละ 85) เป็นต้น
3.1.3 ภาคธุรกิจบริการท่องเที่ยว สาขานี้มีปัจจัยสนับสนุนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 ในไตรมาสแรก ซึ่งเป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาค และการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับที่น่าพอใจในทวีปอเมริกาและยุโรป
3.2 ภาคเศรษฐกิจที่ยังมีปัญหาเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น
3.2.1 ภาคการเงิน มีความคืบหน้าด้านการปรับโครงสร้างหนี้ และ NPLs ได้ลดลงตามลำดับ โดยที่ NPLs ณ เดือนมีนาคม 2543 คิดเป็นร้อยละ 37.24 ของปริมาณสินเชื่อทั้งระบบ ลดลงจากร้อยละ 47 ในช่วงต้นปี 2542 ส่วนยอดปรับโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 ได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.285 ล้านล้านบาท จากยอดหนี้คงค้างทั้งสิ้น 2.276 ล้านล้านบาท ที่อยู่ภายใต้การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินทั้งระบบ
ทางด้านอัตราดอกเบี้ยในประเทศ ดอกเบี้ยระหว่างธนาคารและในตลาดซื้อคืนพันธบัตรได้มีการปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยตามภาวะสภาพคล่องที่ค่อนข้างตึงตัวในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ โดยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงในไตรมาสแรก
3.2.2 ภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ ในไตรมาสแรกเริ่มมีดัชนีชี้วัดสถานการณ์ของภาคการก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์บางตัวที่ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกปี 2542 ได้แก่ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลทั้งเพื่อที่อยู่อาศัย พาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม และอื่น ๆ การจำหน่ายสังกะสีในประเทศ ปริมาณการใช้ปูนซิเมนต์ในประเทศ การขอจดทะเบียนอาคารชุด บ้านจัดสรรจดทะเบียนเพิ่ม ในขณะที่เครื่องชี้บางตัวยังคงหดตัว อาทิเช่น ปริมาณการจำหน่ายเหล็กเส้น สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ทั้งสำหรับผู้ประกอบการและผู้บริโภค และแฟลต อาคารชุดและบ้านปลูกสร้างเองที่จดทะเบียนเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์ของสาขาก่อสร้างและอสังหา- ริมทรัพย์น่าจะมีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางดีขึ้น เมื่อพิจารณาจากดัชนีชี้นำที่สำคัญ คือ พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ ได้เริ่มมีการแข่งขันในการให้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยมากขึ้น อย่างไรก็ดี ปัญหาเกี่ยวกับอุปทานส่วนเกินของอาคารชุดและตึกแถวคงจะยังเป็นปัญหาต่อไป
ที่มา : ข่าวทำเนียบรัฐบาล--จบ--
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 10/2543 วันที่ 31 พฤษภาคม 2543--
-อน-