แท็ก
ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน
การประชุมสุดยอดอาเซียน
โครงการความร่วมมือ
อุตสาหกรรม
เวียดนาม
ศุลกากร
กรุงเทพฯ--27 ก.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
39. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีที่มีความคืบหน้าอย่างมากในการดำเนินโครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมของอาเซียน และเน้นความสำคัญของข้อคิดริเริ่มในการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศุลกากรและมาตรฐานสำหรับการค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับทราบด้วยว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ เรียกร้องให้มีการเจรจารอบที่ 2 ในด้านการค้าบริการ และได้กระตุ้นให้องค์กรที่เกี่ยวข้องของอาเซียนสามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่ได้มีการเสนอไว้ในสาขาต่างๆ จะสามารถทำได้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปีนี้ ได้แก่ การ ขนส่งทางอากาศ การบริการด้านธุรกิจ การก่อสร้าง การเงิน การขนส่งทางทะเล โทรคมนาคม และการท่องเที่ยว นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยังได้กระตุ้นให้ดำเนินการตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียนโดยเร็ว
40. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบความคืบหน้าในการนำกลไกสำหรับการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับประเทศในภูมิภาคมาดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขยายข้อ ตกลงโครงการแลกเปลี่ยนเงินตราหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศของอาเซียนให้ครอบคลุมประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ และความตกลงทวิภาคีด้านการแลกเปลี่ยนการซื้อ-ขายคืนเงินตราหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้มาตรการริเริ่มที่เชียงใหม่ที่ได้จัดทำเสร็จสิ้นลงแล้ว
41. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนชื่นชมข้อตัดสินใจของรัฐมนตรีเศรษฐกิจของ อาเซียนที่ให้ดำเนินโครงการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอาเซียน (ASEAN-GSP Scheme) โดยจะให้การประติบัติที่เป็นการอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่สินค้าส่งออกจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พม่า และเวียดนาม ในลักษณะทวิภาคี และแสดงความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการค้าโดยทันทีแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน
42. รัฐมนตรีต่างประเทศมีความพอใจกับความคืบหน้าในการดำเนินการตามกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ซึ่งได้มีการลงนามในความตกลงดังกล่าวในการประชุม สุดยอดอาเซียนอย่าง ไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนากรอบกฎหมายอ้างอิงสำหรับการออกกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รัฐมนตรีต่างประเทศยินดีที่มีการจัดการประชุมผู้นำนักธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Business Leaders Forum) เมื่อเดือนเมษายน 2544 เพื่อรับฟังความเห็นของบรรษัทข้ามชาติชั้นนำด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อสารเกี่ยวกับความน่าสนใจของกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนและเชิญชวนให้เข้าร่วมอย่างแข็งขันในการดำเนินการตามกรอบความตกลงดังกล่าว รัฐมนตรีต่างประเทศมีความพอใจกับผลสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคม ครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2544 รวมทั้งข้อตัดสินใจของที่ประชุมดังกล่าวที่จะเข้าร่วมอย่างแข็งขันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในอาเซียนเกี่ยวกับกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารอื่นๆ
43. รัฐมนตรีต่างประเทศย้ำถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกและย้ำที่จะสนับสนุนโครงการรณรงค์การท่องเที่ยวในอาเซียน (Visit ASEAN Campaign-VAC) ที่ได้เปิดตัวขึ้นที่บรูไน ดารุสซาลาม และแสดงความหวังว่าโครงการ ดังกล่าว จะช่วยทำให้อาเซียนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งเดียว
44. รัฐมนตรีต่างประเทศตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มและเขตเศรษฐกิจต่างๆ ในระดับอนุภูมิภาค อาทิ เขตเศรษฐกิจสี่ฝ่าย (บรูไน ดารุสซาลาม-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ฟิลิปปินส์) เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย) กรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง และพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันตก-ตะวันออกในการเร่งการรวมตัวในภูมิภาค และเชื่อว่าการพัฒนาอย่างสมดุลในกลุ่มและเขตเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาคดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศยินดีต่อการจัดสัมมนาที่บรูไน ดารุส ซาลาม เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมสำหรับการฟื้นฟูกลุ่มและเขตเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาคเหล่านี้ รัฐมนตรีต่างประเทศชมเชยการสนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการด้านการพัฒนาในกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนา อาเซียน-ลุ่มน้ำโขง รัฐมนตรีต่างประเทศเน้นย้ำการขอให้เพิ่มการสนับสนุนและความช่วยเหลือของประเทศสมาชิกอาเซียนและประชาคมระหว่างประเทศสำหรับการพัฒนาความร่วมมือในระดับอนุ ภูมิภาคภายใต้อาเซียนความร่วมมือตามสาขา
45. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนตั้งข้อสังเกตว่า โครงการความร่วมมือระหว่าง อาเซียน - ออสเตรเลียด้านโครงข่ายรองรับทางสังคมได้เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 และแสดงความชื่นชมต่อออสเตรเลียที่ได้ให้การสนับสนุนความพยายามของอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นว่า ความร่วมมือนี้เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถของภูมิภาคในการจัดทำโครงข่ายรองรับทางสังคม และการประเมินผลกระทบทางสังคม จากวิกฤตเศรษฐกิจ และการถดถอยทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้รับทราบว่าได้มีการดำเนิน 2 กิจกรรมภายใต้กรอบการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนด้วยการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
46. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีที่รัฐมนตรีอาเซียนด้านสาธารณสุขได้ดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของการให้บริการด้านสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในอาเซียน และเพื่อจัดให้ประชาชนของอาเซียนสามารถเข้าถึงยาที่ราคาถูกลงได้ดีขึ้น
47. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบด้วยความพอใจต่อความก้าวหน้าในกาเตรียมการสำหรับการประชุมวาระพิเศษเรื่องเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่บรูไน ดารุสซาลาม รวมทั้งการเข้าร่วมอย่างแข็งขันของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ และองค์กรอื่นๆ ในการจัดทำแผนการดำเนินงานของอาเซียนว่าด้วยโรคเอดส์ ระยะที่สอง (2544-2547) รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับทราบด้วยว่า การดำเนินการต่อต้านการแพร่ระบาดของเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ของภูมิภาคอาเซียนสอดคล้องกับปฏิญญาความมุ่งมั่นเพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ ซึ่งรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติวาระพิเศษว่าด้วยเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2544 ณ นครนิวยอร์ก
48. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีต่อปฏิญญาย่างกุ้ง 2543 ว่าด้วยการเตรียมเยาวชนอาเซียนสำหรับสิ่งท้าทายของโลกาภิวัตน์ ซึ่งประกาศโดยที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้าน เยาวชน ครั้งที่ 3 ที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ซึ่งได้เสนอแนวทางสำหรับการเตรียมและการให้ความสำคัญแก่เยาวชนของภูมิภาคในการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ได้รับและในการเผชิญกับสิ่งท้าทายที่เกิดจากโลกาภิวัตน์
49. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบถึงความสำคัญของความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่ในการต่อต้านไฟป่าและปัญหาหมอกควันในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของภูมิภาค ว่าด้วยหมอกควัน และแผนปฏิบัติการเร่งด่วน การตรวจสอบไฟป่าและหมอกควัน และการเจรจาความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดนซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามได้ในปลายปีนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนย้ำถึงความสำคัญของพันธกรณีระหว่างประเทศสมาชิก การเพิ่มความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน และการได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือเพื่อประกันความสำเร็จและการพึ่งตนเองได้ของกิจกรรม ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนแสดงความชื่นชมต่อความช่วยเหลือของธนาคารพัฒนาแห่งแ เอเชีย องค์การระหว่างประเทศบางองค์การ และประเทศคู่เจรจา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7(ยังมีต่อ)
-อน-
39. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีที่มีความคืบหน้าอย่างมากในการดำเนินโครงการความร่วมมือทางอุตสาหกรรมของอาเซียน และเน้นความสำคัญของข้อคิดริเริ่มในการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านศุลกากรและมาตรฐานสำหรับการค้าภายในกลุ่มประเทศอาเซียนรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับทราบด้วยว่า การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ เรียกร้องให้มีการเจรจารอบที่ 2 ในด้านการค้าบริการ และได้กระตุ้นให้องค์กรที่เกี่ยวข้องของอาเซียนสามารถยืนยันได้ว่าสิ่งที่ได้มีการเสนอไว้ในสาขาต่างๆ จะสามารถทำได้เสร็จสิ้นก่อนสิ้นปีนี้ ได้แก่ การ ขนส่งทางอากาศ การบริการด้านธุรกิจ การก่อสร้าง การเงิน การขนส่งทางทะเล โทรคมนาคม และการท่องเที่ยว นอกจากนั้น รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยังได้กระตุ้นให้ดำเนินการตามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียนโดยเร็ว
40. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบความคืบหน้าในการนำกลไกสำหรับการช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับประเทศในภูมิภาคมาดำเนินการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขยายข้อ ตกลงโครงการแลกเปลี่ยนเงินตราหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศของอาเซียนให้ครอบคลุมประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ และความตกลงทวิภาคีด้านการแลกเปลี่ยนการซื้อ-ขายคืนเงินตราหรือหลักทรัพย์ต่างประเทศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ภายใต้มาตรการริเริ่มที่เชียงใหม่ที่ได้จัดทำเสร็จสิ้นลงแล้ว
41. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนชื่นชมข้อตัดสินใจของรัฐมนตรีเศรษฐกิจของ อาเซียนที่ให้ดำเนินโครงการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอาเซียน (ASEAN-GSP Scheme) โดยจะให้การประติบัติที่เป็นการอนุเคราะห์เป็นพิเศษแก่สินค้าส่งออกจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พม่า และเวียดนาม ในลักษณะทวิภาคี และแสดงความเชื่อมั่นว่าการดำเนินการดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางการค้าโดยทันทีแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียน
42. รัฐมนตรีต่างประเทศมีความพอใจกับความคืบหน้าในการดำเนินการตามกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน ซึ่งได้มีการลงนามในความตกลงดังกล่าวในการประชุม สุดยอดอาเซียนอย่าง ไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 4 ที่สิงคโปร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนากรอบกฎหมายอ้างอิงสำหรับการออกกฎหมายเพื่ออำนวยความสะดวกด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รัฐมนตรีต่างประเทศยินดีที่มีการจัดการประชุมผู้นำนักธุรกิจด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน (e-ASEAN Business Leaders Forum) เมื่อเดือนเมษายน 2544 เพื่อรับฟังความเห็นของบรรษัทข้ามชาติชั้นนำด้านเทคโนโลยี สารสนเทศและสื่อสารเกี่ยวกับความน่าสนใจของกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียนและเชิญชวนให้เข้าร่วมอย่างแข็งขันในการดำเนินการตามกรอบความตกลงดังกล่าว รัฐมนตรีต่างประเทศมีความพอใจกับผลสำเร็จของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านโทรคมนาคม ครั้งแรก ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2544 รวมทั้งข้อตัดสินใจของที่ประชุมดังกล่าวที่จะเข้าร่วมอย่างแข็งขันในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ในอาเซียนเกี่ยวกับกรอบความตกลงด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารอื่นๆ
43. รัฐมนตรีต่างประเทศย้ำถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวต่อเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกและย้ำที่จะสนับสนุนโครงการรณรงค์การท่องเที่ยวในอาเซียน (Visit ASEAN Campaign-VAC) ที่ได้เปิดตัวขึ้นที่บรูไน ดารุสซาลาม และแสดงความหวังว่าโครงการ ดังกล่าว จะช่วยทำให้อาเซียนมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมากขึ้นในฐานะเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นหนึ่งเดียว
44. รัฐมนตรีต่างประเทศตระหนักถึงความสำคัญของกลุ่มและเขตเศรษฐกิจต่างๆ ในระดับอนุภูมิภาค อาทิ เขตเศรษฐกิจสี่ฝ่าย (บรูไน ดารุสซาลาม-อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ฟิลิปปินส์) เขตเศรษฐกิจสามฝ่าย (อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย) กรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอาเซียน-ลุ่มน้ำโขง และพื้นที่เศรษฐกิจแนวตะวันตก-ตะวันออกในการเร่งการรวมตัวในภูมิภาค และเชื่อว่าการพัฒนาอย่างสมดุลในกลุ่มและเขตเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาคดังกล่าวจะเป็นพื้นฐานที่มั่นคงสำหรับการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศยินดีต่อการจัดสัมมนาที่บรูไน ดารุส ซาลาม เพื่อจัดทำยุทธศาสตร์ร่วมสำหรับการฟื้นฟูกลุ่มและเขตเศรษฐกิจระดับอนุภูมิภาคเหล่านี้ รัฐมนตรีต่างประเทศชมเชยการสนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือผ่านโครงการด้านการพัฒนาในกรอบความร่วมมือเพื่อการพัฒนา อาเซียน-ลุ่มน้ำโขง รัฐมนตรีต่างประเทศเน้นย้ำการขอให้เพิ่มการสนับสนุนและความช่วยเหลือของประเทศสมาชิกอาเซียนและประชาคมระหว่างประเทศสำหรับการพัฒนาความร่วมมือในระดับอนุ ภูมิภาคภายใต้อาเซียนความร่วมมือตามสาขา
45. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนตั้งข้อสังเกตว่า โครงการความร่วมมือระหว่าง อาเซียน - ออสเตรเลียด้านโครงข่ายรองรับทางสังคมได้เริ่มดำเนินการเมื่อเดือนพฤษภาคม 2544 และแสดงความชื่นชมต่อออสเตรเลียที่ได้ให้การสนับสนุนความพยายามของอาเซียน รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเห็นว่า ความร่วมมือนี้เป็นก้าวสำคัญที่นำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถของภูมิภาคในการจัดทำโครงข่ายรองรับทางสังคม และการประเมินผลกระทบทางสังคม จากวิกฤตเศรษฐกิจ และการถดถอยทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ได้รับทราบว่าได้มีการดำเนิน 2 กิจกรรมภายใต้กรอบการดำเนินงานของแผนปฏิบัติการอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนด้วยการสนับสนุนจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
46. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีที่รัฐมนตรีอาเซียนด้านสาธารณสุขได้ดำเนินมาตรการเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของการให้บริการด้านสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพในอาเซียน และเพื่อจัดให้ประชาชนของอาเซียนสามารถเข้าถึงยาที่ราคาถูกลงได้ดีขึ้น
47. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบด้วยความพอใจต่อความก้าวหน้าในกาเตรียมการสำหรับการประชุมวาระพิเศษเรื่องเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ในเดือนพฤศจิกายน 2544 ที่บรูไน ดารุสซาลาม รวมทั้งการเข้าร่วมอย่างแข็งขันของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ และองค์กรอื่นๆ ในการจัดทำแผนการดำเนินงานของอาเซียนว่าด้วยโรคเอดส์ ระยะที่สอง (2544-2547) รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้รับทราบด้วยว่า การดำเนินการต่อต้านการแพร่ระบาดของเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ของภูมิภาคอาเซียนสอดคล้องกับปฏิญญาความมุ่งมั่นเพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ ซึ่งรับรองโดยสมัชชาใหญ่แห่งองค์การสหประชาชาติวาระพิเศษว่าด้วยเชื้อเอช ไอ วี/โรคเอดส์ เมื่อวันที่ 25-27 มิถุนายน 2544 ณ นครนิวยอร์ก
48. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนยินดีต่อปฏิญญาย่างกุ้ง 2543 ว่าด้วยการเตรียมเยาวชนอาเซียนสำหรับสิ่งท้าทายของโลกาภิวัตน์ ซึ่งประกาศโดยที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้าน เยาวชน ครั้งที่ 3 ที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ซึ่งได้เสนอแนวทางสำหรับการเตรียมและการให้ความสำคัญแก่เยาวชนของภูมิภาคในการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่ได้รับและในการเผชิญกับสิ่งท้าทายที่เกิดจากโลกาภิวัตน์
49. รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนรับทราบถึงความสำคัญของความพยายามที่กำลังดำเนินอยู่ในการต่อต้านไฟป่าและปัญหาหมอกควันในภูมิภาค ซึ่งรวมถึงการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการของภูมิภาค ว่าด้วยหมอกควัน และแผนปฏิบัติการเร่งด่วน การตรวจสอบไฟป่าและหมอกควัน และการเจรจาความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษหมอกควันข้ามแดนซึ่งคาดว่าจะมีการลงนามได้ในปลายปีนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนย้ำถึงความสำคัญของพันธกรณีระหว่างประเทศสมาชิก การเพิ่มความตระหนักและการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน และการได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากประเทศผู้ให้ความช่วยเหลือเพื่อประกันความสำเร็จและการพึ่งตนเองได้ของกิจกรรม ในการนี้ รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนแสดงความชื่นชมต่อความช่วยเหลือของธนาคารพัฒนาแห่งแ เอเชีย องค์การระหว่างประเทศบางองค์การ และประเทศคู่เจรจา
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7(ยังมีต่อ)
-อน-