ภาพรวมเศรษฐกิจ
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจบราซิลกำลังก้าวผ่านระยะของการฟื้นตัวเข้าสู่ช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความมั่นคงเป็นปีแรกภายหลังที่บราซิลประสบวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อต้นปี 2542 และน่าจะกล่าวได้ว่าการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลบราซิลในกรอบข้อตกลงกับ IMF ได้ส่งผลที่ดีขึ้นต่อฐานะด้านการเงินและการคลังของประเทศ และนำไปสู่การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายใน ซึ่งเป็นสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งยังได้มีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเฮอัลและนำไปสู่ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปราศจากแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้.-
ภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีอุตสาหกรรมของบราซิลได้สะท้อนถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นกล่าวคือการฟื้นตัวของผลผลิตทางอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8 และยอดขายทางอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.1 ในไตรมาสแรกปี 2543 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการขยายตัวของ GDP อัตราร้อยละ 3.08 ในไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ซึ่งมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 1.23 ทั้งนี้ตามข้อมูลของ Brazillian Institute of Geogra-phy and Statistics - IBGE ภาคการผลิตเป็นภาคที่มีการขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 7.61 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และสินค้าคงทนเป็นภาคการผลิตที่มีการขยายตัวนำหน้าภาคการผลิตอื่น
การเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ถือเป็นพลังทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในลำดับแรก ๆ ในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของบราซิลในปีนี้ โดยในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ผลผลิตด้านรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 โดย Bra- zillian Auto Vehicles Manufacturing Association (Anfavea) คาดว่ายอดขายรถยนต์ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.23 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เกี่ยวกับเรื่องนี้นาย Jose Pinheiro ประธาน Anfavea ได้กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตและยอดขายรถยนต์ใน 6 เดือนแรกของปี 2543 ได้แสดงให้เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจของบราซิลได้จบลงแล้ว ทั้งนี้บริษัท GM ผู้ผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ จะลงทุน 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 3 ปี เพื่อปรับปรุงโรงงานที่มีอยู่ในรัฐ เซา เปาโล และเพื่อผลิตรถยนต์รุ่นใหม่
นอกจากนั้น ยังมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในภาคอื่น ๆ ด้วย อาทิ ภาคการก่อสร้าง และภาคเหมืองแร่เติบโตร้อยละ 4.67 และ 2.24 ตามลำดับ และในระยะเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 ภาคการขนส่ง เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและโทรคมนาคม และเหล็ก มีการเติบโตร้อยละ 18.6, 13.2 และ 9.2 ตามลำดับ ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตร้อยละ
การลงทุนจากต่างประเทศ บราซิลยังคงได้รับการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 69.5 อาทิ ด้านบริการสาธารณะร้อยละ 18.6 ด้านการสื่อสารร้อยละ 17.4 ด้านสถาบันการเงินร้อยละ 11.2 และด้านการค้าร้อยละ 10.7 การลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 36 มาจากสหรัฐอเมริกา และร้อยละ 15.2 มาจากฝรั่งเศส
การลงทุนจากต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม 2543 เท่ากับ 1.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากระยะเดียวกันของปี 2542 รวมมูลค่าการลงทุนระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 เท่ากับ 9.72 พันล้านดอล-ลาร์สหรัฐฯ แต่ยังคงต่ำกว่าระยะเดียวกันของปี 2542 ซึ่งอยู่ในระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งปีประมาณ 25.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเรื่องนี้ นาย Altamir Lopes หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของธนาคารชาติบราซิล กล่าวว่า การลงทุนจากต่างประเทศยังมีมูลค่าพอเพียงต่อการชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 ซึ่งมีมูลค่า 8.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนั้น ภายหลังที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแสดงสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ นักลงทุนต่างประเทศได้หันกลับมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของบราซิลเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของบราซิลปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระยะก่อนร้อยละ 13.5
อัตราดอกเบี้ย ระดับอัตราดอกเบี้ยของบราซิลเริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยในวันที่ 20 มิถุนายน 2543 คณะกรรม- การนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารชาติบราซิล (Copom) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18.5 เหลือร้อยละ 17.5 และในวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ได้ลดดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 17 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 Copom ก็ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเหลือร้อยละ 16.5 ซึ่งฝ่ายสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนักธุรกิจเห็นด้วย เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของบราซิลที่ปรับตัวดีขึ้นในระยะไตรมาสแรกของปีนี้ กอรปกับระดับความเสี่ยงในตลาดระหว่างประเทศได้ลดลงหลังจากที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ แสดงสัญญาณการชะลอตัว การลดดอกเบี้ยของบราซิลจะช่วยให้บริษัทบราซิลมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น และช่วยลดภาระการชำระหนี้สาธารณะลงร้อยละ 0.23 ของ GDP คาดว่าในสิ้นปี 2543 อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับร้อยละ 15.5 - 16 แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเตือนว่า การลดอัตราดอกเบี้ยลงนี้แสดงให้เห็นว่าธนาคารชาติบราซิลไม่ได้พิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองประกอบการตัดสินใจ
อัตราเงินเฟ้อ ในเดือนมิถุนายน 2543 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.66 จากร้อยละ 0.22 ในเดือนพฤษภาคม 2543 เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาสินค้าหลายประเภท อาทิ เครื่องใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้าเวชภัณฑ์ อาหาร แต่เมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อในระยะครึ่งแรกของปี 2543 ปรากฏว่าอยู่ในระดับ 3.16 ซึ่งเป็นระดับเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2482 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในระยะครึ่งหลังของปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในระดับประมาณ 3.6 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าบริการสาธารณะ รวมทั้งราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม สำหรับในปี 2543, 2544 และ 2545 รัฐบาลบราซิลได้กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 6.4 และ 3.5 ตามลำดับ
ดุลบัญชีต่างประเทศ
ดุลการค้า
บราซิลยังคงได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระยะครึ่งปีแรกของปี 2543 บราซิลได้ดุลการค้า 856 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งออก 26.153 พันล้านดอลลาร์ฯ และนำเข้า 25.297 พันล้านดอลลาร์ฯ ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2543 บราซิลได้เปรียบดุลการค้าทั้งหมด 950 ล้านดอลลาร์ฯ ทั้งนี้แม้ว่าการส่งออกจะต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่การส่งออกในปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นกว่าระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งบราซิลขาดดุลการค้า 620 ล้านดอลลาร์ฯ
นาย Lytha Spindole เลขาธิการสำนักงานการค้าต่างประเทศของบราซิล คาดว่า ในปีนี้บราซิลจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเกินดุลการค้าที่กำหนดไว้ในระดับ 4.4 พันล้านดอลลาร์ฯ รัฐบาลบราซิลจึงได้ทบทวนเป้าหมายการเกินดุลการค้าไว้ที่ระดับ 2.8 พันล้านดอลลาร์ฯ และคาดว่าการส่งออกของบราซิลจะขยายตัวร้อยละ 17.5 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.9 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บราซิลคาดว่าในปี 2543 บราซิลจะเกินดุลการค้าระหว่าง 1.5 - 2 พันล้านดอลลาร์ฯ สินค้าส่งออกของบราซิลที่เพิ่มสูงสุดในระยะมกราคม - เมษายน 2543 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมิคัล และน้ำมันเครื่อง ผลิตภัณฑ์อาหาร ชิ้นส่วนรถยนต์ และเหล็กกล้า
ในระยะ 5 เดือนแรกของปีนี้ การนำเข้าของบราซิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.7 เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยนาย Fenando Ribeiro นักเศรษฐศาสตร์สถาบันการค้าต่างประเทศ (Funax) กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 - 4 ซึ่งจะทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น และจะทำให้การเกินดุลการค้าในระยะต่อไปลดลง
ตามผลการสำรวจของธนาคารเพื่อการพัฒนาของบราซิล (BNDES) แสดงให้เห็นว่า แม้ว่ารัฐบาลบราซิลได้ดำเนินนโยบายสนับสนุนการส่งออกของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม แต่การส่งออกของบราซิลที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการดำเนินงานของบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ของบราซิล โดยบริษัทขนาดใหญ่ของบราซิลมีสัดส่วนร้อยละ 3.2 ของผู้ส่งออกทั้งหมด แต่เป็นผู้ส่งออกสินค้าในสัดส่วนร้อยละ 73.4 นอกจากนั้น บริษัทต่างชาติยังมีแนวโน้มที่จะส่งออกมากกว่าบริษัทบราซิลซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 25
ดุลบัญชีเดินสะพัด
บราซิลยังคงขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2543 เท่ากับ 7.15 พันล้านดอล-ลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 3.41 ของ GDP ลดลงจากปี 2542 ซึ่งอยู่ระหว่าง 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 4.3 ของ GDP รัฐบาลบราซิลคาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2543 จะอยู่ในระดับประมาณ 24.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของบราซิลในขณะนี้ มีแนวโน้มลดลงกว่าระยะต้นปี ทั้งนี้คงเป็นผลมาจากการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น และในเดือนพฤษภาคม 2543 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับ 1.6 พันล้านดอลลาร์ฯ ลดลงจากเดือนเมษายน 2543 ซึ่งมีการขาดดุลสูงถึง 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของบราซิลเพิ่มขึ้น
ปัจจัยอื่น ๆ
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของบราซิลข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยด้านตลาดต่างประ-เทศที่เอื้ออำนวยต่อเศรษฐกิจบราซิล เช่น การที่รัฐบาลบราซิลสามารถขายตราสารการเงินในตลาดการเงินต่างประเทศได้ในปีนี้เป็นมูลค่า 4.1 พันล้านดอลลาร์ฯ และกำลังนำตราสารการเงินออกขายอีก 1 พันล้านดอลลาร์ฯ รวมทั้งการขายตราสารการเงินของธนาคารพาณิชย์ของบราซิลในตลาดยุโรปอีก 750 ล้านดอลลาร์ฯ ขณะเดียวกัน การขยายตัวของสินเชื่อภายในสำหรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นระหว่างมกราคม-เมษายน 2543 มูลค่า 61.1 พันล้านเฮอัล หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30
ทิศทางและแนวโน้มของเศรษฐกิจบราซิล
ปัจจุบันรัฐบาลบราซิลยังดำเนินนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในกรอบข้อตกลงกับ IMF ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้ภาวะทางเศรษฐกิจพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ดังเห็นได้จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของ บราซิลอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างมีความมั่นคงตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2543 โดยเฉพาะการปรับตัวดีขึ้นของดุลบัญชีสาธารณะ ซึ่งสะท้อนถึงทิศทางเศรษฐกิจบราซิลที่ฟื้นตัวและกำลังก้าวเข้าสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ และน่าจะแสดงถึงการสิ้นสุดของวิกฤตเศรษฐกิจบราซิล การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้รับแรงสนับสนุนที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นในภาคการส่งออก การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และส่งผลต่อการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ซึ่งคงจะไม่เพิ่มสูงขึ้นมากในปีนี้ โดยจะอยู่ในระดับร้อยละ 7.5 จึงเป็นที่คาดว่าเศรษฐกิจของบราซิลในปีนี้จะเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.5
การเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นมากน้อยเพียงใดคงจะขึ้นอยู่กับการรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง การรักษาระดับการส่งออกซึ่งยังต้องได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การได้รับการลงทุนจากต่างประเทศที่พอเพียงต่อการชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งการเพิ่มระดับการออมภายในเนื่องจากบราซิลยังพึ่งพาทุนจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรัฐบาลบราซิลกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการสร้างตลาดทุนภายในเพื่อเป็นฐานเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสามารถรองรับแรงกดดันจากภายนอกได้
ในขณะนี้ แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในของบราซิลยังอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างมั่นคง แต่รัฐบาลยังคงต้องพยายามรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากปัจจัยที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจบราซิล น่าจะได้แก่การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก สถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจอาร์เจนตินาซึ่งประสบกับภาวะการขาดดุลการคลังที่ขยายตัว หรือสถานการณ์ความผันผวนของประเทศในลาตินอเมริกาอื่น ๆข้อเสนอแนะของสถานเอกอัครราชทูตฯ
การที่ภาคอุตสาหกรรมบราซิลได้ฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 และขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2543 โดยเฉพาะการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ของบราซิล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่กำลังเพิ่มปริมาณการผลิตในปีนี้ และทำให้คาดคะเนได้ว่าบราซิลกำลังต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางหรือยางธรรมชาติ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงอาจจะเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าวไปบราซิลเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่บราซิลลดการนำเข้าภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา
การเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าโดยรวมของประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยน่าจะสร้างโอกาสการส่งออกของไทยไปยังบราซิลเพิ่มขึ้น แต่โดยที่นักธุรกิจยังไม่รู้จักสินค้าไทยมากนัก และการค้าของไทยกับบราซิลส่วนใหญ่จะผ่านตัวกลางหรือตัวแทนจัดซื้อ การส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับบราซิลจึงจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในบราซิลด้วย อาทิ การจัดงานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้า และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติที่จัดขึ้นในบราซิล เพื่อให้ชาวบราซิลรู้จักประเทศไทยและสินค้าไทยมากขึ้น และเพื่อสร้างเครือข่ายการติดต่อระหว่างนักธุรกิจไทยและบราซิล
(ที่มา : สถานเอกอัครรราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 16/2543 วันที่ 31 สิงหาคม 2543--
-อน-
ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจบราซิลกำลังก้าวผ่านระยะของการฟื้นตัวเข้าสู่ช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างมีความมั่นคงเป็นปีแรกภายหลังที่บราซิลประสบวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อต้นปี 2542 และน่าจะกล่าวได้ว่าการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลบราซิลในกรอบข้อตกลงกับ IMF ได้ส่งผลที่ดีขึ้นต่อฐานะด้านการเงินและการคลังของประเทศ และนำไปสู่การฟื้นตัวของอุปสงค์ภายใน ซึ่งเป็นสภาพการณ์ทางเศรษฐกิจที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ รวมทั้งยังได้มีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยนเงินเฮอัลและนำไปสู่ภาวะการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ปราศจากแรงกดดันของภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญมีดังนี้.-
ภาคอุตสาหกรรม
ดัชนีอุตสาหกรรมของบราซิลได้สะท้อนถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ชัดเจนขึ้นกล่าวคือการฟื้นตัวของผลผลิตทางอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 8 และยอดขายทางอุตสาหกรรมขยายตัวร้อยละ 9.1 ในไตรมาสแรกปี 2543 ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีการขยายตัวของ GDP อัตราร้อยละ 3.08 ในไตรมาสแรกของปีนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการขยายตัวในไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 ซึ่งมีการขยายตัวเพียงร้อยละ 1.23 ทั้งนี้ตามข้อมูลของ Brazillian Institute of Geogra-phy and Statistics - IBGE ภาคการผลิตเป็นภาคที่มีการขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 7.61 โดยมีอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และสินค้าคงทนเป็นภาคการผลิตที่มีการขยายตัวนำหน้าภาคการผลิตอื่น
การเติบโตของอุตสาหกรรมรถยนต์ถือเป็นพลังทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในลำดับแรก ๆ ในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของบราซิลในปีนี้ โดยในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2543 ผลผลิตด้านรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 โดย Bra- zillian Auto Vehicles Manufacturing Association (Anfavea) คาดว่ายอดขายรถยนต์ในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.23 ล้านคัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เกี่ยวกับเรื่องนี้นาย Jose Pinheiro ประธาน Anfavea ได้กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นของกำลังการผลิตและยอดขายรถยนต์ใน 6 เดือนแรกของปี 2543 ได้แสดงให้เห็นว่าวิกฤตเศรษฐกิจของบราซิลได้จบลงแล้ว ทั้งนี้บริษัท GM ผู้ผลิตรถยนต์ของสหรัฐฯ จะลงทุน 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายใน 3 ปี เพื่อปรับปรุงโรงงานที่มีอยู่ในรัฐ เซา เปาโล และเพื่อผลิตรถยนต์รุ่นใหม่
นอกจากนั้น ยังมีการขยายตัวของอุตสาหกรรมในภาคอื่น ๆ ด้วย อาทิ ภาคการก่อสร้าง และภาคเหมืองแร่เติบโตร้อยละ 4.67 และ 2.24 ตามลำดับ และในระยะเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 ภาคการขนส่ง เครื่องจักรกล เครื่องไฟฟ้าและโทรคมนาคม และเหล็ก มีการเติบโตร้อยละ 18.6, 13.2 และ 9.2 ตามลำดับ ขณะที่ภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตร้อยละ
การลงทุนจากต่างประเทศ บราซิลยังคงได้รับการลงทุนจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในภาคบริการซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 69.5 อาทิ ด้านบริการสาธารณะร้อยละ 18.6 ด้านการสื่อสารร้อยละ 17.4 ด้านสถาบันการเงินร้อยละ 11.2 และด้านการค้าร้อยละ 10.7 การลงทุนจากต่างประเทศร้อยละ 36 มาจากสหรัฐอเมริกา และร้อยละ 15.2 มาจากฝรั่งเศส
การลงทุนจากต่างประเทศในเดือนพฤษภาคม 2543 เท่ากับ 1.66 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.4 จากระยะเดียวกันของปี 2542 รวมมูลค่าการลงทุนระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 เท่ากับ 9.72 พันล้านดอล-ลาร์สหรัฐฯ แต่ยังคงต่ำกว่าระยะเดียวกันของปี 2542 ซึ่งอยู่ในระดับ 10.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าการลงทุนจากต่างประเทศทั้งปีประมาณ 25.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเรื่องนี้ นาย Altamir Lopes หัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของธนาคารชาติบราซิล กล่าวว่า การลงทุนจากต่างประเทศยังมีมูลค่าพอเพียงต่อการชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2543 ซึ่งมีมูลค่า 8.76 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
นอกจากนั้น ภายหลังที่เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาแสดงสัญญาณการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ นักลงทุนต่างประเทศได้หันกลับมาลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ของบราซิลเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ของบราซิลปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระยะก่อนร้อยละ 13.5
อัตราดอกเบี้ย ระดับอัตราดอกเบี้ยของบราซิลเริ่มมีแนวโน้มลดลง โดยในวันที่ 20 มิถุนายน 2543 คณะกรรม- การนโยบายอัตราดอกเบี้ยของธนาคารชาติบราซิล (Copom) ได้ลดอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18.5 เหลือร้อยละ 17.5 และในวันที่ 7 กรกฎาคม 2543 ได้ลดดอกเบี้ยลงเหลือร้อยละ 17 ต่อมาเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 Copom ก็ได้ลดอัตราดอกเบี้ยลงอีกเหลือร้อยละ 16.5 ซึ่งฝ่ายสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และนักธุรกิจเห็นด้วย เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของบราซิลที่ปรับตัวดีขึ้นในระยะไตรมาสแรกของปีนี้ กอรปกับระดับความเสี่ยงในตลาดระหว่างประเทศได้ลดลงหลังจากที่เศรษฐกิจของสหรัฐฯ แสดงสัญญาณการชะลอตัว การลดดอกเบี้ยของบราซิลจะช่วยให้บริษัทบราซิลมีความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศมากขึ้น และช่วยลดภาระการชำระหนี้สาธารณะลงร้อยละ 0.23 ของ GDP คาดว่าในสิ้นปี 2543 อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในระดับร้อยละ 15.5 - 16 แต่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยเตือนว่า การลดอัตราดอกเบี้ยลงนี้แสดงให้เห็นว่าธนาคารชาติบราซิลไม่ได้พิจารณาสถานการณ์ทางการเมืองประกอบการตัดสินใจ
อัตราเงินเฟ้อ ในเดือนมิถุนายน 2543 อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.66 จากร้อยละ 0.22 ในเดือนพฤษภาคม 2543 เนื่องจากการเพิ่มสูงขึ้นของราคาสินค้าหลายประเภท อาทิ เครื่องใช้ภายในบ้าน เสื้อผ้าเวชภัณฑ์ อาหาร แต่เมื่อพิจารณาอัตราเงินเฟ้อในระยะครึ่งแรกของปี 2543 ปรากฏว่าอยู่ในระดับ 3.16 ซึ่งเป็นระดับเงินเฟ้อที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2482 ส่วนอัตราเงินเฟ้อในระยะครึ่งหลังของปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นในระดับประมาณ 3.6 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของค่าบริการสาธารณะ รวมทั้งราคาน้ำมัน อย่างไรก็ตาม สำหรับในปี 2543, 2544 และ 2545 รัฐบาลบราซิลได้กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อที่ระดับร้อยละ 6.4 และ 3.5 ตามลำดับ
ดุลบัญชีต่างประเทศ
ดุลการค้า
บราซิลยังคงได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในระยะครึ่งปีแรกของปี 2543 บราซิลได้ดุลการค้า 856 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยส่งออก 26.153 พันล้านดอลลาร์ฯ และนำเข้า 25.297 พันล้านดอลลาร์ฯ ในสัปดาห์แรกของเดือนกรกฎาคม 2543 บราซิลได้เปรียบดุลการค้าทั้งหมด 950 ล้านดอลลาร์ฯ ทั้งนี้แม้ว่าการส่งออกจะต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่การส่งออกในปี 2543 ปรับตัวดีขึ้นกว่าระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งบราซิลขาดดุลการค้า 620 ล้านดอลลาร์ฯ
นาย Lytha Spindole เลขาธิการสำนักงานการค้าต่างประเทศของบราซิล คาดว่า ในปีนี้บราซิลจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายการเกินดุลการค้าที่กำหนดไว้ในระดับ 4.4 พันล้านดอลลาร์ฯ รัฐบาลบราซิลจึงได้ทบทวนเป้าหมายการเกินดุลการค้าไว้ที่ระดับ 2.8 พันล้านดอลลาร์ฯ และคาดว่าการส่งออกของบราซิลจะขยายตัวร้อยละ 17.5 และการนำเข้าขยายตัวร้อยละ 8.9 ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บราซิลคาดว่าในปี 2543 บราซิลจะเกินดุลการค้าระหว่าง 1.5 - 2 พันล้านดอลลาร์ฯ สินค้าส่งออกของบราซิลที่เพิ่มสูงสุดในระยะมกราคม - เมษายน 2543 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมิคัล และน้ำมันเครื่อง ผลิตภัณฑ์อาหาร ชิ้นส่วนรถยนต์ และเหล็กกล้า
ในระยะ 5 เดือนแรกของปีนี้ การนำเข้าของบราซิลเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยมีอัตราการนำเข้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 31.7 เพื่อตอบสนองต่อการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โดยนาย Fenando Ribeiro นักเศรษฐศาสตร์สถาบันการค้าต่างประเทศ (Funax) กล่าวว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 - 4 ซึ่งจะทำให้การนำเข้าเพิ่มขึ้น และจะทำให้การเกินดุลการค้าในระยะต่อไปลดลง
ตามผลการสำรวจของธนาคารเพื่อการพัฒนาของบราซิล (BNDES) แสดงให้เห็นว่า แม้ว่ารัฐบาลบราซิลได้ดำเนินนโยบายสนับสนุนการส่งออกของบริษัทขนาดกลางและขนาดย่อม แต่การส่งออกของบราซิลที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากการดำเนินงานของบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ของบราซิล โดยบริษัทขนาดใหญ่ของบราซิลมีสัดส่วนร้อยละ 3.2 ของผู้ส่งออกทั้งหมด แต่เป็นผู้ส่งออกสินค้าในสัดส่วนร้อยละ 73.4 นอกจากนั้น บริษัทต่างชาติยังมีแนวโน้มที่จะส่งออกมากกว่าบริษัทบราซิลซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 25
ดุลบัญชีเดินสะพัด
บราซิลยังคงขาดดุลบัญชีเดินสะพัดระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2543 เท่ากับ 7.15 พันล้านดอล-ลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 3.41 ของ GDP ลดลงจากปี 2542 ซึ่งอยู่ระหว่าง 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือร้อยละ 4.3 ของ GDP รัฐบาลบราซิลคาดว่าการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2543 จะอยู่ในระดับประมาณ 24.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของบราซิลในขณะนี้ มีแนวโน้มลดลงกว่าระยะต้นปี ทั้งนี้คงเป็นผลมาจากการส่งออกที่เพิ่มสูงขึ้น และในเดือนพฤษภาคม 2543 การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอยู่ในระดับ 1.6 พันล้านดอลลาร์ฯ ลดลงจากเดือนเมษายน 2543 ซึ่งมีการขาดดุลสูงถึง 3.07 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากการจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ของบราซิลเพิ่มขึ้น
ปัจจัยอื่น ๆ
นอกจากการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของบราซิลข้างต้นแล้ว ยังมีปัจจัยด้านตลาดต่างประ-เทศที่เอื้ออำนวยต่อเศรษฐกิจบราซิล เช่น การที่รัฐบาลบราซิลสามารถขายตราสารการเงินในตลาดการเงินต่างประเทศได้ในปีนี้เป็นมูลค่า 4.1 พันล้านดอลลาร์ฯ และกำลังนำตราสารการเงินออกขายอีก 1 พันล้านดอลลาร์ฯ รวมทั้งการขายตราสารการเงินของธนาคารพาณิชย์ของบราซิลในตลาดยุโรปอีก 750 ล้านดอลลาร์ฯ ขณะเดียวกัน การขยายตัวของสินเชื่อภายในสำหรับผู้บริโภคเพิ่มขึ้นระหว่างมกราคม-เมษายน 2543 มูลค่า 61.1 พันล้านเฮอัล หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 30
ทิศทางและแนวโน้มของเศรษฐกิจบราซิล
ปัจจุบันรัฐบาลบราซิลยังดำเนินนโยบายการปฏิรูปทางเศรษฐกิจในกรอบข้อตกลงกับ IMF ผลของการดำเนินนโยบายดังกล่าวทำให้ภาวะทางเศรษฐกิจพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ดังเห็นได้จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญของ บราซิลอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างมีความมั่นคงตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2543 โดยเฉพาะการปรับตัวดีขึ้นของดุลบัญชีสาธารณะ ซึ่งสะท้อนถึงทิศทางเศรษฐกิจบราซิลที่ฟื้นตัวและกำลังก้าวเข้าสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ และน่าจะแสดงถึงการสิ้นสุดของวิกฤตเศรษฐกิจบราซิล การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นได้รับแรงสนับสนุนที่สำคัญจากการเพิ่มขึ้นในภาคการส่งออก การเติบโตของภาคอุตสาหกรรม และส่งผลต่อการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ซึ่งคงจะไม่เพิ่มสูงขึ้นมากในปีนี้ โดยจะอยู่ในระดับร้อยละ 7.5 จึงเป็นที่คาดว่าเศรษฐกิจของบราซิลในปีนี้จะเติบโตเฉลี่ยประมาณร้อยละ 3.5
การเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลดังกล่าวจะเพิ่มสูงขึ้นมากน้อยเพียงใดคงจะขึ้นอยู่กับการรักษาวินัยทางการเงินและการคลัง การรักษาระดับการส่งออกซึ่งยังต้องได้รับแรงหนุนจากการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การได้รับการลงทุนจากต่างประเทศที่พอเพียงต่อการชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งการเพิ่มระดับการออมภายในเนื่องจากบราซิลยังพึ่งพาทุนจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรัฐบาลบราซิลกำลังพิจารณาเกี่ยวกับการสร้างตลาดทุนภายในเพื่อเป็นฐานเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจและสามารถรองรับแรงกดดันจากภายนอกได้
ในขณะนี้ แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจภายในของบราซิลยังอยู่ในภาวะที่ค่อนข้างมั่นคง แต่รัฐบาลยังคงต้องพยายามรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจต่อไป เนื่องจากปัจจัยที่อาจส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจบราซิล น่าจะได้แก่การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ อาทิ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ การเพิ่มสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก สถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจอาร์เจนตินาซึ่งประสบกับภาวะการขาดดุลการคลังที่ขยายตัว หรือสถานการณ์ความผันผวนของประเทศในลาตินอเมริกาอื่น ๆข้อเสนอแนะของสถานเอกอัครราชทูตฯ
การที่ภาคอุตสาหกรรมบราซิลได้ฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2542 และขยายตัวเพิ่มขึ้นในไตรมาสแรกของปี 2543 โดยเฉพาะการขยายตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ของบราซิล ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่กำลังเพิ่มปริมาณการผลิตในปีนี้ และทำให้คาดคะเนได้ว่าบราซิลกำลังต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์ยางหรือยางธรรมชาติ เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ จึงอาจจะเป็นโอกาสที่ไทยจะส่งออกสินค้าประเภทดังกล่าวไปบราซิลเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่บราซิลลดการนำเข้าภายหลังวิกฤตเศรษฐกิจที่ผ่านมา
การเติบโตทางเศรษฐกิจของบราซิลส่งผลให้มีความต้องการนำเข้าโดยรวมของประเทศเพิ่มขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมการประชาสัมพันธ์สินค้าไทยน่าจะสร้างโอกาสการส่งออกของไทยไปยังบราซิลเพิ่มขึ้น แต่โดยที่นักธุรกิจยังไม่รู้จักสินค้าไทยมากนัก และการค้าของไทยกับบราซิลส่วนใหญ่จะผ่านตัวกลางหรือตัวแทนจัดซื้อ การส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับบราซิลจึงจำเป็นต้องดำเนินกิจกรรมการประชาสัมพันธ์ประเทศไทยในบราซิลด้วย อาทิ การจัดงานเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวไทย รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้า และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติที่จัดขึ้นในบราซิล เพื่อให้ชาวบราซิลรู้จักประเทศไทยและสินค้าไทยมากขึ้น และเพื่อสร้างเครือข่ายการติดต่อระหว่างนักธุรกิจไทยและบราซิล
(ที่มา : สถานเอกอัครรราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 16/2543 วันที่ 31 สิงหาคม 2543--
-อน-