ข่าวในประเทศ
1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 24 พ.ค.44 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินว่า ที่ประชุมประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันว่า ยังคงทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับที่เคยประมาณการไว้ในเดือน เม.ย.44 และคณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี ด้านภาวะเงินเฟ้อในเดือน เม.ย.44 ที่แม้จะสูงขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตของรัฐบาล ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนตัวลง แต่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้ายังอยู่ในเป้าหมายที่ร้อยละ 0-3.5 โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า หากรัฐสามารถใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้ตามที่คาดภายในครึ่งหลังของปี 44 รวมทั้งการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่คาดว่าจะเริ่มโอนหนี้ได้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จะช่วยให้ระบบสถาบันการเงินคล่องตัวขึ้น อันจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต สำหรับการไหลออกของเงินทุน เกิดจากการชำระหนี้ต่างประเทศเป็นหลัก ทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงจากกลางปี 40 ที่ 112 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เหลือ 76 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปัจจุบัน ส่งผลให้ภาระการชำระหนี้ในแต่ละปีลดลงเหลือ 2 ใน 3 ซึ่งช่วยให้การดูแลค่าเงินบาทสามารถกระทำได้ดีขึ้น (เดลินิวส์, โลกวันนี้ 25)
2. นรม.และ รมว.คลังหารือร่วมกับธนาคารรัฐเพื่อวางนโยบายการดำเนินการ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับผู้บริหารธนาคารรัฐและธนาคารเฉพาะกิจรวม 9 แห่งว่า นรม.ได้ให้นโยบายในการดำเนินการของ ธพ.ดังกล่าวในอนาคต โดยมุ่งเน้นให้เพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการแข่งขัน และปรับโครงสร้างของธนาคารไปสู่การเป็นเอกชนมากขึ้น การปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสีย ตลอดจนการช่วยเหลือภาคธุรกิจให้มากขึ้น (เดลินิวส์ 25)
3. ธนาคารเพื่อประชาชนพร้อมเปิดบริการปลายเดือน มิ.ย. 44 นรม. เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน ปลัด ก.คลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานธนาคารเพื่อประชาชน โดยยืนยันพร้อมเปิดดำเนินการได้ประมาณปลายเดือน มิ.ย. 44 และจะให้บริการสินเชื่อกับประชาชนในวงเงินเริ่มต้นไม่เกิน 15,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและให้ผู้ที่ว่างงานสามารถมีทุนเริ่มต้นอาชีพเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ (โลกวันนี้ 25)
4. รัฐบาลจะเสนอร่างกฎหมายการจัดตั้งทีเอเอ็มซีเข้า ครม. ในสัปดาห์หน้า นรม. เปิดเผยว่า ร่างกฎหมายการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะเสนอเป็น พ.ร.บ. จัดตั้งทีเอเอ็มซี โดยรัฐบาลจะนำเสนอที่ประชุม ครม. พิจารณาในวันที่ 29 พ.ค. 44 นี้ ซึ่งรายละเอียดของร่างกฎหมายจะยังคงเป็นไปตามโครงสร้างเดิมคือ แยกหนี้เสียอกจากระบบทั้งของ ธพ. และธนาคารรัฐในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ทั้งหนี้ หากไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวได้ทันสมัยการประชุมนี้ก็จะออกเป็นพระราชกำหนดแทน (โลกวันนี้ 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านครอบครัวเดี่ยวของ สรอ.ลดลงร้อยละ 9.5 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 24 พ.ค.44 ก.พาณิชย์รายงานว่า เดือน เม.ย.44 ยอดขายบ้านครอบครัวเดี่ยวโดยรวมมีจำนวน 894,000 หลังต่อปี ลดลงร้อยละ 9.5 จากเดือน มี.ค.44 ที่มีจำนวน 988,000 หลังต่อปี (หลังปรับฤดูกาล) และต่ำกว่าจำนวน 977,000 หลังต่อปีที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหมายไว้ ซึ่งยอดขายฯในเดือน เม.ย.ดังกล่าวนับว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.40 ที่ลดลงร้อยละ 10.0 แต่หากเทียบกับเดือน เม.ย.43 ยอดขายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยอดขายฯ จะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลายเดือน ท่ามกลางตลาดแรงงานที่อ่อนแอ และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่แจ่มใส (รอยเตอร์ 24,25)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ.เพิ่มขึ้นขณะที่ยอดขายบ้านโน้มต่ำลง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 24 พ.ค.44 Freddie Mac เปิดเผยว่า ในสัปดาห์สิ้นสุด 25 พ.ค.44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และ 15 ปี สูงขึ้น เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การถูกออกจากงาน รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงเป็นสาเหตุให้ประชาชนลังเลที่จะซื้อบ้านที่ต้องจ่ายเงินจำนวนมาก โดยดอกเบี้ยเงินกู้ฯระยะ 30 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.20 จากร้อยละ 7.14 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยฯ ระยะ 15 ปี เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยร้อยละ 6.76 จากร้อยละ 6.67 (รอยเตอร์ 25)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่19พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 24 พ.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ค. 44 เพิ่มขึ้น 15,000 คน เป็นจำนวน 407,000 คน จากตัวเลขหลังปรับฤดูกาลจำนวน 392,000 คน ในสัปดาห์ก่อน นับเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 และสูงที่สุดตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 เม.ย. 44 ที่มีจำนวน 425,000 คน อย่างไรก็ตาม ผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ที่ไม่รวมความผันผวนรายสัปดาห์ ลดลงอยู่ที่จำนวน 403,000 คนในสัปดาห์สิ้นสุดที่ 19 พ.ค. 44 จากตัวเลขหลังปรับฤดูกาล จำนวน 404,250 คน ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์24)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 25 พ.ค. 44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Posts and Telecommunication เปิดเผยว่า ดัชนีผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ทั่วประเทศของญี่ปุ่น ที่ไม่รวมราคาอาหารสดที่ผันผวน ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน เม.ย. 44 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 และเป็นไปตามการคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งย้ำให้เห็นแรงกดดันด้านเงินฝืดที่ญี่ปุ่นยังเผชิญอย่างต่อเนื่อง ในวันเดียวกัน Ministry of Economy, Trade and Industry ( METI ) รายงานว่า ในเดือน เม.ย. 44 ยอดการค้าปลีกทั่วประเทศของญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันของปี 43 ขณะเดียวกัน ยอดการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ลดลงถึงร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี (รอยเตอร์25)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24พ.ค. 44 45.413(45.506)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 24 พ.ค. 44ซื้อ 45.2175 (45.3426) ขาย 45.5076 (45.6541)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,900 (5,950) ขาย 6,000 (6,050)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.36 (26.02)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินวันที่ 24 พ.ค.44 ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินว่า ที่ประชุมประเมินการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันว่า ยังคงทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับที่เคยประมาณการไว้ในเดือน เม.ย.44 และคณะกรรมการฯ มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี ด้านภาวะเงินเฟ้อในเดือน เม.ย.44 ที่แม้จะสูงขึ้นค่อนข้างมาก เนื่องจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตของรัฐบาล ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และค่าเงินบาทอ่อนตัวลง แต่แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้ายังอยู่ในเป้าหมายที่ร้อยละ 0-3.5 โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า หากรัฐสามารถใช้จ่ายเพิ่มขึ้นได้ตามที่คาดภายในครึ่งหลังของปี 44 รวมทั้งการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทยที่คาดว่าจะเริ่มโอนหนี้ได้ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จะช่วยให้ระบบสถาบันการเงินคล่องตัวขึ้น อันจะนำไปสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจในอนาคต สำหรับการไหลออกของเงินทุน เกิดจากการชำระหนี้ต่างประเทศเป็นหลัก ทำให้หนี้ต่างประเทศลดลงจากกลางปี 40 ที่ 112 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. เหลือ 76 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.ในปัจจุบัน ส่งผลให้ภาระการชำระหนี้ในแต่ละปีลดลงเหลือ 2 ใน 3 ซึ่งช่วยให้การดูแลค่าเงินบาทสามารถกระทำได้ดีขึ้น (เดลินิวส์, โลกวันนี้ 25)
2. นรม.และ รมว.คลังหารือร่วมกับธนาคารรัฐเพื่อวางนโยบายการดำเนินการ รมว.คลัง กล่าวภายหลังการหารือร่วมกับผู้บริหารธนาคารรัฐและธนาคารเฉพาะกิจรวม 9 แห่งว่า นรม.ได้ให้นโยบายในการดำเนินการของ ธพ.ดังกล่าวในอนาคต โดยมุ่งเน้นให้เพิ่มประสิทธิภาพความสามารถในการแข่งขัน และปรับโครงสร้างของธนาคารไปสู่การเป็นเอกชนมากขึ้น การปล่อยสินเชื่ออย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสีย ตลอดจนการช่วยเหลือภาคธุรกิจให้มากขึ้น (เดลินิวส์ 25)
3. ธนาคารเพื่อประชาชนพร้อมเปิดบริการปลายเดือน มิ.ย. 44 นรม. เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับผู้อำนวยการ ธ.ออมสิน ปลัด ก.คลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการดำเนินงานธนาคารเพื่อประชาชน โดยยืนยันพร้อมเปิดดำเนินการได้ประมาณปลายเดือน มิ.ย. 44 และจะให้บริการสินเชื่อกับประชาชนในวงเงินเริ่มต้นไม่เกิน 15,000 บาท ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและให้ผู้ที่ว่างงานสามารถมีทุนเริ่มต้นอาชีพเล็ก ๆ น้อย ๆ ได้ (โลกวันนี้ 25)
4. รัฐบาลจะเสนอร่างกฎหมายการจัดตั้งทีเอเอ็มซีเข้า ครม. ในสัปดาห์หน้า นรม. เปิดเผยว่า ร่างกฎหมายการจัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (ทีเอเอ็มซี) ได้ข้อสรุปเบื้องต้นว่าจะเสนอเป็น พ.ร.บ. จัดตั้งทีเอเอ็มซี โดยรัฐบาลจะนำเสนอที่ประชุม ครม. พิจารณาในวันที่ 29 พ.ค. 44 นี้ ซึ่งรายละเอียดของร่างกฎหมายจะยังคงเป็นไปตามโครงสร้างเดิมคือ แยกหนี้เสียอกจากระบบทั้งของ ธพ. และธนาคารรัฐในกรณีที่มีเจ้าหนี้ตั้งแต่ 2 รายขึ้นไป ทั้งหนี้ หากไม่สามารถเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวได้ทันสมัยการประชุมนี้ก็จะออกเป็นพระราชกำหนดแทน (โลกวันนี้ 25)
ข่าวต่างประเทศ
1. ยอดขายบ้านครอบครัวเดี่ยวของ สรอ.ลดลงร้อยละ 9.5 ในเดือน เม.ย.44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 24 พ.ค.44 ก.พาณิชย์รายงานว่า เดือน เม.ย.44 ยอดขายบ้านครอบครัวเดี่ยวโดยรวมมีจำนวน 894,000 หลังต่อปี ลดลงร้อยละ 9.5 จากเดือน มี.ค.44 ที่มีจำนวน 988,000 หลังต่อปี (หลังปรับฤดูกาล) และต่ำกว่าจำนวน 977,000 หลังต่อปีที่นักเศรษฐศาสตร์คาดหมายไว้ ซึ่งยอดขายฯในเดือน เม.ย.ดังกล่าวนับว่าลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือน เม.ย.40 ที่ลดลงร้อยละ 10.0 แต่หากเทียบกับเดือน เม.ย.43 ยอดขายฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.0 ทั้งนี้ นักวิเคราะห์กล่าวว่า ยอดขายฯ จะมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องต่อไปอีกหลายเดือน ท่ามกลางตลาดแรงงานที่อ่อนแอ และภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่แจ่มใส (รอยเตอร์ 24,25)
2. ดอกเบี้ยเงินกู้จำนองของ สรอ.เพิ่มขึ้นขณะที่ยอดขายบ้านโน้มต่ำลง รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 24 พ.ค.44 Freddie Mac เปิดเผยว่า ในสัปดาห์สิ้นสุด 25 พ.ค.44 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองระยะ 30 ปี และ 15 ปี สูงขึ้น เนื่องจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ การถูกออกจากงาน รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลงเป็นสาเหตุให้ประชาชนลังเลที่จะซื้อบ้านที่ต้องจ่ายเงินจำนวนมาก โดยดอกเบี้ยเงินกู้ฯระยะ 30 ปี เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.06 มาอยู่ที่ระดับเฉลี่ยร้อยละ 7.20 จากร้อยละ 7.14 ในสัปดาห์ก่อน ส่วนอัตราดอกเบี้ยฯ ระยะ 15 ปี เพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยร้อยละ 6.76 จากร้อยละ 6.67 (รอยเตอร์ 25)
3. ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานใหม่ของ สรอ. เพิ่มขึ้นสูงสุดในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่19พ.ค. 44 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 24 พ.ค. 44 ก. แรงงาน สรอ. เปิดเผยว่า ผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานในสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 พ.ค. 44 เพิ่มขึ้น 15,000 คน เป็นจำนวน 407,000 คน จากตัวเลขหลังปรับฤดูกาลจำนวน 392,000 คน ในสัปดาห์ก่อน นับเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 2 และสูงที่สุดตั้งแต่สัปดาห์ที่ 28 เม.ย. 44 ที่มีจำนวน 425,000 คน อย่างไรก็ตาม ผู้ขอรับสวัสดิการฯ เฉลี่ย 4 สัปดาห์ ที่ไม่รวมความผันผวนรายสัปดาห์ ลดลงอยู่ที่จำนวน 403,000 คนในสัปดาห์สิ้นสุดที่ 19 พ.ค. 44 จากตัวเลขหลังปรับฤดูกาล จำนวน 404,250 คน ในสัปดาห์ก่อน (รอยเตอร์24)
4. ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของญี่ปุ่นลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน เม.ย. 44 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 25 พ.ค. 44 Ministry of Public Management, Home Affairs, Posts and Telecommunication เปิดเผยว่า ดัชนีผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) ทั่วประเทศของญี่ปุ่น ที่ไม่รวมราคาอาหารสดที่ผันผวน ลดลงร้อยละ 0.5 ในเดือน เม.ย. 44 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 19 และเป็นไปตามการคาดหมายของนักเศรษฐศาสตร์ ซึ่งย้ำให้เห็นแรงกดดันด้านเงินฝืดที่ญี่ปุ่นยังเผชิญอย่างต่อเนื่อง ในวันเดียวกัน Ministry of Economy, Trade and Industry ( METI ) รายงานว่า ในเดือน เม.ย. 44 ยอดการค้าปลีกทั่วประเทศของญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 1.2 จากระยะเดียวกันของปี 43 ขณะเดียวกัน ยอดการค้าปลีกของห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ลดลงถึงร้อยละ 3.5 เทียบต่อปี (รอยเตอร์25)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์ สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 24พ.ค. 44 45.413(45.506)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน) ณ สิ้นวันทำการ 24 พ.ค. 44ซื้อ 45.2175 (45.3426) ขาย 45.5076 (45.6541)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,900 (5,950) ขาย 6,000 (6,050)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 25.36 (26.02)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 17.09 (17.09) ดีเซลหมุนเร็ว 14.54 (14.54)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-