รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ (นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม e-ASEAN Working Group และ e-ASEAN Task Force ครั้งที่ ๘ ระหว่างวันที่ ๔-๕ และ ๖ กรกฎาคม ๒๕๔๔ ตามลำดับ ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา
สาระการประชุมสรุปได้ดังนี้
ที่ประชุมได้หารือเพื่อเร่งรัดแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลง e-ASEAN Framework Agreement ให้มีความคืบหน้ายิ่งขึ้น อาทิ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (facilitate the establishment of the ASEAN Information Infrastructure) : ให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทนำในการต่อเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN Regional Internet Exchange : ARIX) และจะพิจารณาการเชื่อมต่อโครงข่ายด้านการศึกษาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Asia Pacific Advance Network : APAN) เป็นต้น
การพัฒนาโครงสร้างกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : ที่ประชุมได้เร่งรัดอินโดนีเซียและพม่าให้รายงานแผนงานในการออกกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ ส่วนประเทศสมาชิกอื่นๆ มีเป้าหมายที่จะใช้บังคับกฎหมายดังกล่าว ไม่เกินปี ๒๐๐๒
ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ : ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอโครงการในเรื่องดังกล่าว และจะเสนอให้ที่ประชุมของอาเซียนด้านการคลังพิจารณา
ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์ ซึ่งกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Passport) โดยจะทดลองใช้กับกลุ่มแรงงานที่มีการข้ามเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศเป็นประจำทุกวัน
โครงการพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี (e-Society) : ประเทศไทยในฐานะประเทศที่รับผิดชอบได้ดำเนินการจัดการสัมมนาและฝึกอบรมบุคลากรของอาเซียนมาแล้วหลายครั้ง และในระหว่างวันที่ ๖-๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๔ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกันเนคเทคจะจัดฝึกอบรมด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) ให้แก่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ณ กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดช่องว่างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาค
ได้มีการประชุมร่วมระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีในระดับคณะทำงานเป็นครั้งแรกโดยที่ประชุมได้มีมติที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในด้านเทคนิค และการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน
ไทย โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางนโยบาย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นประธานคนใหม่ ซึ่งจะเข้ารับหน้าที่หลังจากการประชุม-รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ซึ่งมีกำหนดในเดือนกันยายน ๒๕๔๔
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2544--
-ปส-
สาระการประชุมสรุปได้ดังนี้
ที่ประชุมได้หารือเพื่อเร่งรัดแผนการดำเนินงานภายใต้กรอบความตกลง e-ASEAN Framework Agreement ให้มีความคืบหน้ายิ่งขึ้น อาทิ
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (facilitate the establishment of the ASEAN Information Infrastructure) : ให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทนำในการต่อเชื่อมโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศของอาเซียน (ASEAN Regional Internet Exchange : ARIX) และจะพิจารณาการเชื่อมต่อโครงข่ายด้านการศึกษาระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค (Asia Pacific Advance Network : APAN) เป็นต้น
การพัฒนาโครงสร้างกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ : ที่ประชุมได้เร่งรัดอินโดนีเซียและพม่าให้รายงานแผนงานในการออกกฎหมายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๔๔ ส่วนประเทศสมาชิกอื่นๆ มีเป้าหมายที่จะใช้บังคับกฎหมายดังกล่าว ไม่เกินปี ๒๐๐๒
ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ : ที่ประชุมได้พิจารณาข้อเสนอโครงการในเรื่องดังกล่าว และจะเสนอให้ที่ประชุมของอาเซียนด้านการคลังพิจารณา
ที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างมาเลเซียกับสิงคโปร์ ซึ่งกำลังพิจารณาความเป็นไปได้ในการใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Passport) โดยจะทดลองใช้กับกลุ่มแรงงานที่มีการข้ามเขตแดนระหว่างทั้งสองประเทศเป็นประจำทุกวัน
โครงการพัฒนาสังคมแห่งเทคโนโลยี (e-Society) : ประเทศไทยในฐานะประเทศที่รับผิดชอบได้ดำเนินการจัดการสัมมนาและฝึกอบรมบุคลากรของอาเซียนมาแล้วหลายครั้ง และในระหว่างวันที่ ๖-๑๐ สิงหาคม ๒๕๔๔ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ร่วมกันเนคเทคจะจัดฝึกอบรมด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (SchoolNet) ให้แก่ประเทศกัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ณ กรุงเทพฯ ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดช่องว่างด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในภูมิภาค
ได้มีการประชุมร่วมระหว่างอาเซียนกับประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลีในระดับคณะทำงานเป็นครั้งแรกโดยที่ประชุมได้มีมติที่จะเสริมสร้างความร่วมมือในด้านเทคนิค และการค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน
ไทย โดย ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมทางนโยบาย มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าธนบุรีและรักษาการผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ เป็นประธานคนใหม่ ซึ่งจะเข้ารับหน้าที่หลังจากการประชุม-รัฐมนตรีเศรษฐกิจ ซึ่งมีกำหนดในเดือนกันยายน ๒๕๔๔
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2544--
-ปส-