อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือน ปี 2541-2548 (มกราคม-ตุลาคม 2548)

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 24, 2005 15:14 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          อุตสาหกรรมเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือน เป็นอุตสาหกรรมที่มีการพัฒนาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือน หรืออุตสาหกรรมพื้นบ้านมาเป็นอุตสาหกรรมโรงงาน โดยมีการเพิ่มเงินลงทุนหรือร่วมลงทุนกับชาวต่างประเทศการขยายกำลังการผลิตเพื่อจำหน่ายทั้งภายในประเทศและส่งออกจำนวนเพิ่มมากขึ้น และบางรายเน้นผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลักทำให้มูลค่าส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบทุกปี และมีตลาดส่งออกกว้างขวางทั่วโลก
1. ประเภทของสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือน ประกอบด้วยสินค้าที่ทำด้วยวัตถุดิบต่างๆ 8 ประเภทหลัก โดยระบุตามระบบฮาร์โมไนซ์ของสินค้า ดังนี้
1.1 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยเซรามิก (6911, 6912, 6913, 6914)
1.2 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยไม้ (4419)
1.3 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยอลูมิเนียม (7615)
1.4 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำด้วยเหล็ก เหล็กกล้าหรือสเตนเลส (7323)
1.5 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยพลาสติก (3924 )
1.6 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำด้วยแก้ว (7013)
1.7 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำด้วยโลหะมีค่า (8215)
1.8 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยทองแดง (7418)
2. การผลิตสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือนของไทย
*จำนวนผู้ผลิต : รวม 750 ราย
- ขนาดเล็ก (คนงานไม่เกิน 50 คน) 200 ราย
- ขนาดกลาง (คนงาน 51-200 คน) 450 ราย
- ขนาดใหญ่ (คนงานมากกว่า 200 คน) 100 ราย
*จำนวนคนงาน รวมทั้งสิ้น : 150,000 คน
*กำลังการผลิต
- เซรามิค ประมาณ 70,000 ตัน/ปี
- แก้ว ประมาณ 95,000 ตัน/ปี
- สแตนเลสสตีล ประมาณ 10,000 ตัน/ปี
จำนวนผู้ส่งออก : รวม 140 ราย
- สินค้าทำจากพลาสติกและเมลามีน 28 ราย
- สินค้าทำจากไม้/ผลิตภัณฑ์จากไม้ 32 ราย
- สินค้าทำจากโลหะ/สเตนเลส 12 ราย
- สินค้าทำจากแก้ว 14 ราย
- สินค้าทำจากเซรามิก 22 ราย
- อื่นๆ 32 ราย
หมายเหตุ: สมาชิกของกรมส่งเสริมการส่งออก/สมาคมการค้าเครื่องใช้ ในครัวไทย)
สัดส่วนการส่งออก/จำหน่ายในประเทศ 70/30
*โครงสร้างราคา (ร้อยละ) :
- การใช้ปัจจัยการผลิตโดยใช้วัตถุดิบในประเทศ 74.1
- การใช้ปัจจัยการผลิตโดยใช้วัตถุดิบต่างประเทศ 18.5
- มูลค่าเพิ่มภายในประเทศ (Approximate Margin) 7.4
*โครงสร้างสินค้าส่งออก (ร้อยละ):
-เซรามิก : 30.05 -พลาสติก : 10.83
-อลูมิเนียม : 13.90 -แก้ว : 9.13
-สแตนเลสสตีล : 15.87 -โลหะมีค่า: 2.99
-ไม้ : 17.16 -ทองแดง : 0.08
3. การส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและของใช้ในครัวเรือนของไทย
ยอดการส่งออก (เปรียบเทียบ 7 ปี):
ปี 2541 ประเทศไทยส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนได้ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 561.65 ล้านเหรียญสหรัฐ
ปี 2542 ส่งออกได้มูลค่าลดลงเหลือ 544.46 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 3.06
ปี 2543 ส่งออกได้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 624.80 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.46
ปี 2544 ส่งออกได้มูลค่าลดลงเป็น 575.64 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลงร้อยละ 7.87 โดยลดลงทุกรายการในสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวเรือนทำด้วยวัตถุดิบต่างๆ
ปี 2545 ส่งออกได้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 597.85 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 3.86 โดยสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวเรือนทำด้วยทองแดง เซรามิก ไม้ พลาสติก และแก้วส่งออกได้มากขึ้น แต่กลุ่มวัตถุดิบโลหะ เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม โลหะมีค่าส่งออกลดลง
ปี 2546 ส่งออกได้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 620.62 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 3.81โดยสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวเรือนทำด้วยโลหะมีค่า แก้ว เซรามิก และพลาสติก ส่งออกได้มากขึ้น แต่กลุ่มทำด้วยทองแดง เหล็ก อะลูมิเนียม ไม้ ส่งออกลดลง
ปี 2547 ส่งออกได้มูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 528.95 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัว ร้อยละ 3.85 โดยกลุ่มสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวเรือนทำด้วยแก้ว เซรามิก และพลาสติก ยังคง ส่งออกได้มากขึ้น แต่กลุ่มทำด้วยทองแดง เหล็ก อะลูมิเนียม ไม้ และโลหะมีค่า ส่งออกลดลง
ปี 2548 การส่งออกในช่วง ม.ค.-ต.ค. มีมูลค่า 490.00 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.79 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปี 2547 คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะเป็นไปตามเป้าหมาย โดยสินค้าที่มีลู่ทางการส่งออกขยายตัวดี ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยอลูมิเนียม เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารทำด้วยพลาสติก คิดเป็นอัตราการขยายตัวร้อยละ 45.57, 31.07 ตามลำดับ ประเทศที่สั่งซื้อสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนไทยมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส และอิตาลี
ตารางสถิติการส่งออกสินค้าในกลุ่มเครื่องใช้ในครัวเรือนในภาพรวม ดังนี้
ปี ล้านเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลงร้อยละ
2541 561.65
2542 544.46 -3.05
2543 624.80 14.46
2544 575.64 -7.87
2545 597.85 3.86
2546 620.62 3.81
2547 528.95 3.85
2548 (ม.ค.-ต.ค.) 490.00 11.79
ตลาดหลัก : สำคัญตามลำดับสัดส่วนมูลค่าส่งออกในปี 2548 ในช่วง10 เดือน ตลาดสำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส
อิตาลี เยอรมนี ฮ่องกง ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ และ เบลเยี่ยม คิดเป็นสัดส่วนตลาด ร้อยละ 42.74 6.84 5.84 4.39 3.25 3.03 2.25 2.08 1.86 และ 1.85 ตามลำดับ สรุปเฉพาะ 4 ตลาดแรกที่ยังครองตลาดส่งออกของสินค้ากลุ่มนี้อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
สหรัฐอเมริกา เป็นตลาดใหญ่ที่สุดสำหรับการส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนของไทยที่ได้มูลค่าส่งออกมากที่สุด แต่มีอัตราส่งออกขยายตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2541 ยกเว้นปี 2543 ที่ส่งออกได้มากขึ้น คือ
สำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนที่ไทยส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา มีมูลค่ามากที่สุด คือ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยอลูมิเนียม รองลงมาได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยเซรามิก เหล็ก เหล็กเซรา โลหะมีค่า และแก้ว เป็นต้น
คู่แข่งของสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนไทยในสตลาดสหรัฐอเมริกาที่สำคัญ คือ จีน ฟิลิปปินส์ เวียดนาม
สหราชอาณาจักร เป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใชัในครัวของประเทศไทยที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากสหรัฐอเมริกา โดยในช่วงปี 2544-2545 มีสัดส่วนตลาดเพิ่มขึ้น และปี 2546-2547 สัดส่วนลดลงเล็กน้อย ส่วนในด้านอัตราการขยายตัวของตลาดเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 โดยเฉพาะปี 2545 สูงถึงร้อยละ 21.09 และเพิ่งเริ่มชลอตัวลดลงในต้นปี 2547 ดังนี้
ปี ล้านเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลงร้อยละ
2541 50.45
2542 45.18 -10.45
2543 50.34 11.43
2544 56.17 11.58
2545 68.01 21.09
2546 68.01 0.00
2547 42.72 26.48
2548(ม.ค.-ต.ค.) 33.99 -5.58
สำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่ประเทศไทยส่งออกไปยังสหราชอาณาจักรได้มูลค่ามากที่สุด คือ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยเซรามิก เหล็กกล้าสเตนเลส ไม้ แก้ว โลหะมีค่า อลูมิเนียมและพลาสติก
ญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนที่สำคัญเป็นอันดับ 3 ของตลาดทั้งหมดและเป็นอันดับ 1 ในเอเชีย และมีสัดส่วนตลาดประมาณร้อยละ 8-11 ทั้งนี้มีความต้องการนำเข้าสินค้าไทยผกผันตามสถานการณ์เศรษฐกิจและปัจจัยเกื้อหนุน เช่น ระเบียบการนำเข้าของญี่ปุ่นต่อสินค้าคู่แข่งของไทย (จีน) ทำให้ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นกลับมานำเข้าสินค้าไทย
ปี ล้านเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลงร้อยละ
2541 41.53
2542 44.39 6.89
2543 52.70 18.74
2544 42.63 -19.12
2545 41.96 -1.55
2546 50.08 19.35
2547 34.49 -9.58
2548 (ม.ค.-ต.ค.) 28.87 -4.67
สินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่ประเทศไทย ส่งไปยังตลาดญี่ปุ่นได้มูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยเหล็กกล้า/สเตนเลส แก้ว เซรามิก และไม้
ฝรั่งเศส เป็นตลาดส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนที่สำคัญของไทยเป็นอันดับ 4 ซึ่งนับเป็นสัดส่วนตลาดเฉลี่ยร้อยละ 4.3-4.8 โดยนำเข้าจากไทยผกผันเช่นเดียวกับตลาดญี่ปุ่น ดังนี้
ปี ล้านเหรียญสหรัฐ เปลี่ยนแปลงร้อยละ
2541
2542
2543
2544 14.63
2545 16.71 14.21
2546 21.39 28.04
2547 20.33 -4.96
2548(ม.ค.-ต.ค.) 20.38 21.58
สินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่ประเทศไทยส่งไปยังตลาดฝรั่งเศสได้มูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยเซรามิก และโลหะมีค่า และพลาสติก
ตลาดศักยภาพ : สำคัญตามลำดับสัดส่วนมูลค่าส่งออกในปี 2548(มกราคม-กันยายน) ได้แก่ อินเดีย ร้อยละ 87.37 เวียดนาม ร้อยละ 47.90 กัมพูชา ร้อยละ 1.57 กัมพูชา ร้อยละ 43.03 และซาอุดิอาราเบีย ร้อยละ 35.09 สรุปเป็นภาพรวม ดังนี้
- ตลาดตะวันออกกลาง ประกอบด้วยตลาดสำคัญที่ประเทศไทยส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใชัในครัวได้มูลค่าสูงสุดได้แก่ สหรัฐอาหรับเอมิ-เรตส์ รองลงมาได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย คูเวต และอิสราเอล โดยสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่ประเทศไทยส่งออกไปยังประเทศเหล่านี้มีมูลค่าสูง ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยพลาสติก ไม้ และเซรามิก
- ตลาดอาเซียน เป็นตลาดส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่สำคัญของประเทศไทยอีกแห่งหนึ่งที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้นอย่าง ต่อเนื่องนับตั้งแต่ ปี 2541 เป็นต้นมา โดยสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่ประเทศไทยส่งออกไปยังตลาดอาเซียนที่มีมูลค่ามาก ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยแก้ว เหล็ก เหล็กกล้าหรือสเตนเลส และพลาสติก
4. ส่วนแบ่งตลาดส่งออกของไทยในตลาดโลก
ตามสถิติการส่งออกของตลาดโลกรวมและรายประเทศ โดยใช้ฐานข้อมูลปี 2546 พิจารณาแยกตามรายสินค้า ดังนี้
4.1 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยเซรามิก
- ประเภทพอซ์เลน/ไชน่า (6911)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 9 คิดเป็นร้อยละ 2.38 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้จีนเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1(ร้อยละ 39.94) รองลงมาเป็นเยอรมัน (ร้อยละ 14.35) สหราชอาณาจักร(ร้อยละ 6.97) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 5.34) โปแลนด์(ร้อยละ 3.78) อิตาลี(ร้อยละ 2.94) ญี่ปุ่น(ร้อยละ 2.71) ฮ่องกง(ร้อยละ 2.39) และไทย ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวสูง(ร้อยละ 20.81) เมื่อเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของตลาดโลก(ร้อยละ 16.82) ทำให้คาดการณ์ว่าแนวโน้มส่งออกของไทยในกลุ่มสินค้านี้ค่อนข้างดี โดยไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 20 ในขณะที่ประเทศที่มีสัดส่วนตลาดมากกว่าไทย มีอัตราขยายตัวต่ำกว่าไทย และต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยเกือบทั้งหมด ยกเว้นจีนและโปแลนด์ที่อัตราขยายตัวสูงกว่า (ร้อยละ 22.1และ 19.89 ตามลำดับ) แต่อย่างไรก็ตามต้องเฝ้าระวังประเทศที่ผลิตสินค้าใกล้เคียงกับไทย คือ อินโดนิเซีย มาเลเซีย อินเดีย ซึ่งแม้ว่าจะมีสัดส่วนตลาดน้อยกว่าไทยแต่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง(ร้อยละ 24.87, 60.5 และ 56.32)
- ประเภทไม่ใช่พอร์ซเลน (6912)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 3 คิดเป็นร้อยละ 10.75 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้สหราชอาณาจักรฯ เป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1(ร้อยละ 15.54) รองลงมาเป็นอิตาลี(ร้อยละ 11.62) และไทย ซึ่งอีก 7 ประเทศที่มีอันดับต่อจากไทย ได้แก่ โปรตุเกส(ร้อยละ 9.87) จีน(ร้อยละ 7.96) ฮ่องกง (ร้อยละ 7.65) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 4.92) สหรัฐฯ(ร้อยละ 4.3) เยอรมัน(ร้อยละ 3.12) และเบลเยี่ยม(ร้อยละ 2.52) ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 25 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลก(ไทย ร้อยละ 7.65 /ทั่วโลก ร้อยละ 11.83) ทำให้คาดการณ์ว่าแนวโน้ม สัดส่วนส่งออกของไทยในกลุ่มสินค้านี้ลดลงเล็กน้อย ส่วนประเทศใน 10 อันดับแรกที่มีศักย-ภาพส่งออกมากขึ้น คือ มีอัตราขยายตัวสูงกว่าอัตราเฉลี่ย คือ โปรตุเกส จีน สหรัฐฯ (ร้อยละ 18.92, 22.15 และ 23.17 ตามลำดับ) และประเทศที่มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูง 5 อันดับแรก ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ยกเว้นตุรกี อาฟริกาใต้(ร้อยละ 83.94 และ 50.65) ได้แก่ เดนมาร์ค เบลเยี่ยม นอรเว(ร้อยละ 111.61,46.9 และ 43.09)
- ประเภทStatuettes & Ornamental Ceramics Articles (6913)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 10 คิดเป็นร้อยละ 2.33 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้จีนเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1(ร้อยละ 40.72) รองลงมาเป็นสเปน(ร้อยละ 8.24) ฮ่องกง (ร้อยละ 7.46) โปรตุเกส (ร้อยละ 6.88) เยอรมัน(ร้อยละ 6.5) อิตาลี(ร้อยละ 4.08) เนเธอร์แลนด์(ร้อยละ 3.87) เม็กซิโก(ร้อยละ 3.22) สหราชอาณาจักร(ร้อยละ 2.68) และไทย ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 26 ในอัตราที่ใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวของตลาดโลก(ไทย ร้อยละ 2.5 /ทั่วโลก ร้อยละ 2.72) ทำให้คาดการณ์ว่า ไทยยังคงรักษาสัดส่วนตลาดส่งออกได้อยู่ แต่ประเทศใน 10 อันดับแรกส่วนใหญ่ที่มีศักยภาพส่งออกมากขึ้น คือ มีอัตราขยายตัวสูงกว่าอัตราเฉลี่ย และมีสัดส่วนตลาดเพิ่มมากขึ้น ยกเว้นฮ่องกงและอิตาลีที่อัตราขยายตัวลดลงมาก ทั้งนี้ฟิลิปปินส์ และอินโดนิเซีย มีสัดส่วนตลาดเป็นอันดับที่ 15 และ 17
- ประเภท Ceramic Article (6914)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 13 คิดเป็นร้อยละ 2.8 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 14.52) รองลงมาเป็นอิตาลี(ร้อยละ 12.5) จีน(ร้อยละ 12.29) เยอรมัน(ร้อยละ 7.36) ญี่ปุ่น(ร้อยละ 6.75) มาเลเซีย(ร้อยละ 5.8) สเปน(ร้อยละ 4.22) เบลเยี่ยม(ร้อยละ 3.64) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 3.52) เนเธอร์แลนด์(ร้อยละ 3.13) เม็กซิโก(ร้อยละ 33.03) ไอร์แลนด์(ร้อยละ 2.98) และไทย ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 31 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลก แม้ว่าตลาดส่งออกรวมลดลง (ไทย ลดลงร้อยละ 17.48 /ทั่วโลก ร้อยละ 7.02) แสดงให้เห็นว่า ตลาดส่งออกสินค้ากลุ่มนี้หดตัวลงในภาพรวม และสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะสูญเสียสัดส่วนตลาดให้จีนได้ในอนาคตอันใกล้ เนื่องจากสหรัฐฯ มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 49.43 ในขณะที่จีนมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.62
4.2 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยไม้ (4419)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 12.18 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้จีนเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 55.32) อันดับต่อจากไทยเป็นสหราชอาณาจักร(ร้อยละ 3.44) ฮ่องกง(ร้อยละ 3.38) เยอรมัน(ร้อยละ 2.25) โปแลนด์(ร้อยละ 2.19) ไต้หวัน(ร้อยละ 2.12) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 1.76) เดนมาร์ค(ร้อยละ 1.67) อิตาลี(ร้อยละ 1.51) ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัว ส่งออกลดลง (ลดลงร้อยละ 9.95) และต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (ทั่วโลกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.51) แสดงให้เห็นว่า ตลาดส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ของไทยหดตัวลง แต่เนื่องจากส่วนแบ่งตลาดสินค้านี้ของไทยห่างจากอันดับที่ 3 มาก ไทยจึงยังคงครองตลาดนี้ได้อยู่ แต่ จำเป็นต้องเร่งปรับกลยุทธ์การตลาด/พัฒนาสินค้าเพื่อให้รักษาส่วนแบ่งตลาดได้ ทั้งนี้ตลาดโลกมีการส่งออกเพิ่มขึ้นไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าของใช้บนโต๊ะอาหารและในครัวเรือนที่ทำจากวัสดุอื่น
4.3 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยอลูมิเนียม (7615)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 5 คิดเป็นร้อยละ 5.08 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้ อิตาลีเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 22.26) รองลงมาเป็นจีน(ร้อยละ 17.36) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 12.64) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 6.62) และไทย ส่วนประเทศนำส่งออกอีก 5 อันดับต่อมาจากไทย ได้แก่ สหรัฐฯ(ร้อยละ 4.57) เยอรมัน(ร้อยละ 2.85) แคนาดา(ร้อยละ 2.84) ออสเตรีย(ร้อยละ 2.11) บราซิล(ร้อยละ 2.0) ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 34 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลกมาก โดยไทยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 10.58 ในขณะที่ทั่วโลกส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.73 และจากสถิติย้อนหลัง 3 ปี ไทยยังคงรักษาอันดับของสัดส่วนส่งออกในตลาดโลกแต่มีแบ่งส่วนตลาดสินค้ากลุ่มนี้ลดลง ในขณะที่จีนได้ส่วนแบ่งตลาดนี้ไป
4.4 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำด้วยเหล็ก เหล็กกล้าหรือสเตนเลส (7323)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 14 คิดเป็นร้อยละ 1.93 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้จีนเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 33.94) รองลงมาเป็นฮ่องกง(ร้อยละ 9.01) อินเดีย(ร้อยละ 7.36) ไต้หวัน(ร้อยละ 6.46) อิตาลี(ร้อยละ 6.43) เยอรมัน(ร้อยละ 6.21) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 3.68) เบลเยี่ยม(ร้อยละ 33.28) สหรัฐฯ (ร้อยละ 2.96) ตุรกี(ร้อยละ 2.55) สเปน(ร้อยละ 2.45) เกาหลีใต้(ร้อยละ 1.95) เนเธอร์แลนด์(ร้อยละ 1.94) และไทย ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 27 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (ไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.38 /ทั่วโลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.08) ซึ่งไทยเสียส่วนแบ่งตลาดไปบ้างแล้วให้แก่จีนและอินเดีย เช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ที่มีส่วนแบ่งตลาดลดลงเช่นกัน
4.5 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยพลาสติก (3924 )
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 14 คิดเป็นร้อยละ 14 ของมูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้จีนเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1(ร้อยละ 24.37) รองลงมาเป็นฮ่องกง(ร้อยละ 9.72) สหรัฐฯ(ร้อยละ 9.64) เบลเยี่ยม(ร้อยละ 7.51) อิตาลี(ร้อยละ 5.53) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 5.33) เยอรมัน(ร้อยละ 4.49) ไต้หวัน(ร้อยละ 4.33) เนเธอ์แลนด์(ร้อยละ 2.38) สหราชอาณาจักร(ร้อยละ 2.35) แคนาดา(ร้อยละ 2.34) สเปน(ร้อยละ 2.31) โปแลนด์ (ร้อยละ 1.94) และไทย และไทยมีอัตราขยายตัวค่อนข้างต่ำ(ร้อยละ 0.58) เมื่อเปรียบเทียบอัตราการขยายตัวของตลาดโลก(ร้อยละ 13.79) ทำให้คาดการณ์ว่าแนวโน้มส่งออกของไทยในกลุ่มสินค้านี้ไม่ค่อยดีนัก โดยไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 36 ในขณะที่ประเทศที่ครองตลาด 13 อันดับแรก ส่วนใหญ่มีอัตราขยายตัวสูงกว่าอัตราเฉลี่ย ยกเว้นฮ่องกง และไต้หวันที่อัตราขยายตัวลดลง และสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ แคนาดาที่อัตราขยายตัวต่ำกว่าอัตราเฉลี่ย อย่างไรก็ตามสัดส่วนตลาดของไทยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมายังคงอยู่ระหว่างร้อยละ 1.7-1.9 และเป็นอันดับ 13-14
4.6 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำด้วยแก้ว (7013)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 21 คิดเป็นร้อยละ 1.07 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้ฝรั่งเศสสหรัฐฯ เป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 19.65) รองลงมาเป็นเยอรมัน(ร้อยละ 10.72) จีน(ร้อยละ 9.15) อิตาลี(ร้อยละ 8.02) ตุรกี(ร้อยละ 5.91) ออสเตรีย(ร้อยละ 5.5) โปแลนด์(ร้อยละ 5.22) สวิส(ร้อยละ 3.97) สเปน(ร้อยละ 2.84) ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวนับเป็นอันดับที่ 21 ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลกมาก (ไทย เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.8 /ทั่วโลก ร้อยละ 11.1) แสดงให้เห็นว่า ไทยมีแนวโน้มตลาดสินค้านี้ค่อนข้างดีมาก เนื่องจากมีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่ามาเลเซีย(ลดลงร้อยละ 3.99) และอินโดนิเซีย(ลดลงร้อยละ 3.93) แม้ว่าทั้ง 2 ประเทศนี้มีสัดส่วนตลาดมากกว่าไทยเล็กน้อย
4.7 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือน ทำด้วยโลหะมีค่า (8215)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 14 คิดเป็นร้อยละ 1.43 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้ จีนเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 47.48) รองลงมาเป็นฮ่องกง(ร้อยละ 14.56) เยอรมัน(ร้อยละ 5.51) เกาหลีใต้(ร้อยละ 4.03) อิตาลี(ร้อยละ 3.79) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 3.24) อินโดนิเซีย(ร้อยละ 2.04) ญี่ปุ่น(ร้อยละ 1.84) โปรตุเกส(ร้อยละ 1.69) สหรัฐฯ(ร้อยละ 1.6) เบลเยี่ยม(ร้อยละ 1.6) เนเธอร์แลนด์(ร้อยละ 1.55) และไทย ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวเป็นอันดับที่ 12 ซึ่งสูงกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลก (ไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.99 /ทั่วโลก ร้อยละ 9.57) แสดงให้เห็นว่า ไทยมีแนวโน้มตลาดค่อนข้างดีมาก
4.8 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวเรือนทำด้วยทองแดง (7418)
ไทยมีส่วนแบ่งตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 13 คิดเป็นร้อยละ 1.61 ของ มูลค่าส่งออกรวมในตลาดโลก โดยสินค้ากลุ่มนี้ไต้หวันเป็นประเทศที่ครองตลาดเป็นอันดับ 1 (ร้อยละ 28.24) รองลงมาเป็นอิตาลี(ร้อยละ 12.37) เยอรมัน(ร้อยละ 9.75) จีน(ร้อยละ 9.65) อินเดีย(ร้อยละ 6.86) สิงคโปร์(ร้อยละ 4.47) เนเธอร์แลนด์(ร้อยละ 3.98) สเปน(ร้อยละ 3.68) ฝรั่งเศส(ร้อยละ 3.37) สหราชอาณาจักร(ร้อยละ 2.94) สหรัฐฯ(ร้อยละ 2.94) ฮ่องกง(ร้อยละ 1.84) และไทย ทั้งนี้ไทยมีอัตราขยายตัวนับเป็นอันดับที่ 38 ซึ่งมีอัตราการขยายตัวลดลงมากและต่ำกว่าอัตราการขยายตัวของตลาดโลกมาก (ไทย ลดลงร้อยละ 42.74 /ทั่วโลก เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.47) ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วในยุโรปที่ติดอันดับเป็นผู้มีส่วนแบ่งตลาดมากข้างต้นส่วนใหญ่ (ยกเว้นสหราชอาณาจักร) มีอัตราการขยายตัวค่อนข้างสูงมาก (เพิ่มขึ้นร้อยละ 14-30) ในขณะที่ประเทศทางเอเชียมีอัตราขยายตัวลดลง
5. ประเทศคู่แข่งในตลาดหลัก
กลุ่มสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารส่วนใหญ่จะมีคู่แข่งขันที่สำคัญ คือ จีน ฮ่องกง มาเลเซีย เกาหลี อินเดีย เวียดนาม ซึ่งคู่แข่งขันส่วนใหญ่ได้เปรียบไทยในกรณีที่มีวัตถุดิบ และค่าแรงงานที่ถูกกว่าทำให้ราคาสินค้าถูกกว่าของไทย และในระยะหลังคู่แข่งขันได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพและรูปแบบมากขึ้น จึงควรที่ผู้ส่งออกไทยจะต้องให้ความสำคัญต่อการพัฒนาสินค้าตัวอย่างต่อเนื่อง การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวของไทยจึงต้องเผชิญกับภาวะการแข่งขันอย่างรุนแรงกับประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ ที่สำคัญ อาทิเช่น
- จีน เป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวรายใหญ่ของโลก สามารถยึดครองส่วนแบ่งตลาดโลกประมาณร้อยละ 40 และเป็นคู่แข่งขันสำคัญในตลาดสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย สำหรับสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่จีนยึดครองส่วนแบ่งตลาดส่งออก ดังกล่าวได้มาก ได้แก่ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยพลาสติก ทำด้วยไม้ เหล็ก เหล็กกล้าหรือ สเตนเลส เซรามิก แก้ว
- ไต้หวัน เป็นคู่แข่งขันสำคัญในตลาดแถบเอเชีย สหรัฐอเมริกา และสหภาพ-ยุโรป โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวที่ทำด้วยพลาสติก ไม้ เหล็ก เหล็กกล้าหรือสเตนเลส และทองแดง มีความได้เปรียบกว่าไทยด้านราคาถูกกว่า
- เยอรมนี อิตาลี ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร เป็นคู่แข่งขันสำคัญในตลาดสหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ในการส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยแก้ว และทำด้วยเซรามิก ซึ่งเป็นสินค้าคุณภาพดี ราคาแพง สำหรับตลาดบน
- โปแลนด์ และสาธารณรัฐเช็ก เป็นคู่แข่งขันสำคัญในตลาดสหภาพยุโรปในการส่งออกสินค้าเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและเครื่องใช้ในครัวทำด้วยแก้ว และทำด้วยเซรามิก ซึ่งมีคุณภาพดีและราคาถูกกว่าของไทย
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ