นางพันธ์ทิพย์ สุรทิณฑ์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงข้อมูลหนี้สาธารณะ ซึ่งรายงาน
โดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ว่าหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,819,203.22
ล้านบาท หรือร้อยละ 56.04 ของ GDP และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 2,806,507.33 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 55.78 ของ GDP
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หนี้คงค้าง (Principal Outstanding) ประกอบด้วย
1.1 หนี้คงค้างที่รัฐบาลกู้โดยตรง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 1,123,729.32 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.34 ของ GDP
และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 1,139,938.35 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.66 ของ GDP จำแนกเป็น
(1) หนี้ต่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,076.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,269.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 193.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากมีการเบิกถอนเงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)
รวมจำนวน 294.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชำระคืนเงินกู้ให้ไปกับแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ จำนวน 20.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่วนต่างเนื่อง
จากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 80.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม หากเทียบหนี้ต่างประเทศคงค้างเป็นเงินบาท จะเห็นว่า ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า
399,676.49 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 398,962.52 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน
เป็นจำนวน 713.97 ล้านบาท เนื่องจากค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นจาก 44.0361 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2543 เป็น
43.0397 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม 2543 มูลค่าของหนี้ต่างประเทศจึงลดลงเมื่อเทียบเป็นสกุลเงินบาท ซึ่งเป็นผลของอัตราแลก
เปลี่ยนดังกล่าว
(2) หนี้ในประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 724,052.83 ล้านบาท และ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 740,975.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 16,923 ล้านบาท เนื่องจากมีการออก
ตั๋วเงินคลัง จำนวน 31,000 ล้านบาท ออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 11,000 ล้านบาท และออกพันธบัตรโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุน
ขั้นที่ 2 จำนวน 2,923 ล้านบาท ชำระคืนต้นเงินกู้ของตั๋วเงินคลัง จำนวน 28,000 ล้านบาท
1.2 หนี้คงค้างของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 903,671.50 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.96
ของ GDP และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 890,329.68 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.69 ของ GDP จำแนกเป็น
1.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้าง จำนวน 760,345.38 ล้านบาท และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 751,938.70 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) หนี้ต่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,422.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,268.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 154.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากมีการเบิกถอนเงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารโลก (IBRD) ธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
(JBIC) และแหล่งเงินกู้อื่น ๆ รวมจำนวน 53.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับแหล่งต่าง ๆ จำนวน 48.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
และส่วนต่างเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 159.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหากเทียบหนี้ต่างประเทศคงค้างเป็นเงินบาท จะเห็นว่า
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 414,949.53 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 398,905.28
ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน เป็นจำนวน 16,044.25 ล้านบาท
(2) หนี้ในประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 345,395.85 ล้านบาท และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 353,033.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 7,637.57 ล้านบาท เนื่องจากมี
การค้ำประกันพันธบัตรเพิ่มขึ้นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 8,218 ล้านบาท ค้ำประกันเงินกู้ Term Loan เพิ่มขึ้น ของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
จำนวน 919.57 ล้านบาท และชำระคืนพันธบัตรที่ครบกำหนด ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 1,500 ล้านบาท
1.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 143,326.12 ล้านบาท และ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 138,390.98 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) หนี้ต่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 1,129.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 1,123.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 5.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากมีการชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ มากกว่าการเบิกถอนเงินกู้ต่างประเทศ และหากเทียบหนี้ต่างประเทศคงค้างเป็นเงินบาท
จะเห็นว่า ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 49,749.34 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า
48,374.90 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน เป็นจำนวน 1,374.44 ล้านบาท
(2) หนี้ในประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 93,576.78 ล้านบาท และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 90,016.08 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 3,560.70 ล้านบาท เนื่องจากชำระคืนพันธบัตรที่
ครบกำหนด ของการเคหะแห่งชาติและบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,800 ล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ Team Loan ของ
รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำนวน 760.70 ล้านบาท
1.3 หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 791,802.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.74 ของ GDP และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 776,239.30 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.43 ของ GDP
2. ภาระหนี้เงินกู้ของรัฐบาลที่ครบกำหนดชำระโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ (Debt Services) ในเดือนธันวาคม 2543 ประกอบด้วย
2.1 ภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศเดือนธันวาคม 2543 จำนวน 1,578.24 ล้านบาท จำแนกเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้
จำนวน 705.67 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ จำนวน 862.90 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมผูกพันและอื่น ๆ จำนวน 9.67 ล้านบาท
2.2 ภาระหนี้เงินกู้ในประเทศเดือนธันวาคม 2543 จำนวน 6,144.01 ล้านบาท เป็นการชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งจำนวน
--ข่าวกระทรวงการคลัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2544 22 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-
โดยสำนักบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง ว่าหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีจำนวนทั้งสิ้น 2,819,203.22
ล้านบาท หรือร้อยละ 56.04 ของ GDP และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 2,806,507.33 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 55.78 ของ GDP
โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. หนี้คงค้าง (Principal Outstanding) ประกอบด้วย
1.1 หนี้คงค้างที่รัฐบาลกู้โดยตรง ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 1,123,729.32 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.34 ของ GDP
และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 1,139,938.35 ล้านบาท หรือร้อยละ 22.66 ของ GDP จำแนกเป็น
(1) หนี้ต่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,076.11 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,269.64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 193.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากมีการเบิกถอนเงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)
รวมจำนวน 294.08 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชำระคืนเงินกู้ให้ไปกับแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ จำนวน 20.22 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และส่วนต่างเนื่อง
จากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 80.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
อย่างไรก็ตาม หากเทียบหนี้ต่างประเทศคงค้างเป็นเงินบาท จะเห็นว่า ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า
399,676.49 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 398,962.52 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน
เป็นจำนวน 713.97 ล้านบาท เนื่องจากค่าเงินบาทได้ปรับตัวแข็งขึ้นจาก 44.0361 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2543 เป็น
43.0397 บาท/ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนธันวาคม 2543 มูลค่าของหนี้ต่างประเทศจึงลดลงเมื่อเทียบเป็นสกุลเงินบาท ซึ่งเป็นผลของอัตราแลก
เปลี่ยนดังกล่าว
(2) หนี้ในประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 724,052.83 ล้านบาท และ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 740,975.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 16,923 ล้านบาท เนื่องจากมีการออก
ตั๋วเงินคลัง จำนวน 31,000 ล้านบาท ออกพันธบัตรเพื่อชดเชยการขาดดุล จำนวน 11,000 ล้านบาท และออกพันธบัตรโครงการช่วยเพิ่มเงินกองทุน
ขั้นที่ 2 จำนวน 2,923 ล้านบาท ชำระคืนต้นเงินกู้ของตั๋วเงินคลัง จำนวน 28,000 ล้านบาท
1.2 หนี้คงค้างของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 903,671.50 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.96
ของ GDP และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 890,329.68 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.69 ของ GDP จำแนกเป็น
1.2.1 หนี้ที่รัฐบาลค้ำประกัน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้าง จำนวน 760,345.38 ล้านบาท และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 751,938.70 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) หนี้ต่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,422.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 9,268.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 154.63 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากมีการเบิกถอนเงินกู้ต่างประเทศจากธนาคารโลก (IBRD) ธนาคารพัฒนาเอเซีย (ADB) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
(JBIC) และแหล่งเงินกู้อื่น ๆ รวมจำนวน 53.85 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับแหล่งต่าง ๆ จำนวน 48.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
และส่วนต่างเนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนจำนวน 159.60 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และหากเทียบหนี้ต่างประเทศคงค้างเป็นเงินบาท จะเห็นว่า
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 414,949.53 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 398,905.28
ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน เป็นจำนวน 16,044.25 ล้านบาท
(2) หนี้ในประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 345,395.85 ล้านบาท และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 353,033.42 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 7,637.57 ล้านบาท เนื่องจากมี
การค้ำประกันพันธบัตรเพิ่มขึ้นของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย จำนวน 8,218 ล้านบาท ค้ำประกันเงินกู้ Term Loan เพิ่มขึ้น ของรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ
จำนวน 919.57 ล้านบาท และชำระคืนพันธบัตรที่ครบกำหนด ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 1,500 ล้านบาท
1.2.2 หนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกัน ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 143,326.12 ล้านบาท และ ณ
วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 138,390.98 ล้านบาท ประกอบด้วย
(1) หนี้ต่างประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 1,129.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 1,123.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 5.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เนื่องจากมีการชำระคืนต้นเงินกู้ให้กับแหล่งเงินกู้ต่าง ๆ มากกว่าการเบิกถอนเงินกู้ต่างประเทศ และหากเทียบหนี้ต่างประเทศคงค้างเป็นเงินบาท
จะเห็นว่า ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า 49,749.34 ล้านบาท และ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 มีหนี้คงค้างเทียบเท่า
48,374.90 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน เป็นจำนวน 1,374.44 ล้านบาท
(2) หนี้ในประเทศ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 มีหนี้คงค้างจำนวน 93,576.78 ล้านบาท และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 90,016.08 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤศจิกายน จำนวน 3,560.70 ล้านบาท เนื่องจากชำระคืนพันธบัตรที่
ครบกำหนด ของการเคหะแห่งชาติและบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จำนวน 2,800 ล้านบาท และชำระคืนเงินกู้ Team Loan ของ
รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ จำนวน 760.70 ล้านบาท
1.3 หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2543 จำนวน 791,802.40 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.74 ของ GDP และ
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2543 จำนวน 776,239.30 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.43 ของ GDP
2. ภาระหนี้เงินกู้ของรัฐบาลที่ครบกำหนดชำระโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณ (Debt Services) ในเดือนธันวาคม 2543 ประกอบด้วย
2.1 ภาระหนี้เงินกู้ต่างประเทศเดือนธันวาคม 2543 จำนวน 1,578.24 ล้านบาท จำแนกเป็นการชำระหนี้ต้นเงินกู้
จำนวน 705.67 ล้านบาท ค่าดอกเบี้ยเงินกู้ จำนวน 862.90 ล้านบาท และค่าธรรมเนียมผูกพันและอื่น ๆ จำนวน 9.67 ล้านบาท
2.2 ภาระหนี้เงินกู้ในประเทศเดือนธันวาคม 2543 จำนวน 6,144.01 ล้านบาท เป็นการชำระค่าดอกเบี้ยเงินกู้ทั้งจำนวน
--ข่าวกระทรวงการคลัง ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กองกลาง สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 11/2544 22 กุมภาพันธ์ 2544--
-อน-