1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ ผลการดำเนินงานนโยบายและมาตรการข้าวปี 2543/44
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 ซึ่งผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 - 31 มกราคม 2544 มีปริมาณ 74,813.57 ตัน มูลค่า 430.07 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส.ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 | 9 กุมภาพันธ์ 2544
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก จำนำที่ยุ้งฉาง 62,558 ราย ปริมาณข้าว 395,443 ตัน มูลค่า 2,092.93 ล้านบาท ประทวน อคส. จำนวน 29,149 ราย ปริมาณข้าว 462,645 ตัน มูลค่า 2,263.97 ล้านบาท ประทวน อ.ต.ก. จำนวน 3 ราย ปริมาณ 28 ตัน มูลค่า 0.288 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำที่ยุ้งฉาง 61,894 ราย ปริมาณ 392,327 ตัน มูลค่า 392.32 ล้านบาท ประทวน อคส. 29,146 ราย ปริมาณ 462,554 ตัน มูลค่า 2,266.52 ล้านบาท ประทวน อ.ต.ก. 3 ราย ปริมาณ 28 ตัน มูลค่า 0.288 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร จำนวน 10,744 ราย ปริมาณ 107,640 ตัน มูลค่า 908.68 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 10,728 ราย ปริมาณ 107,508 ตัน มูลค่า 907.50
ภาวะการซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มลดลงทุกตลาด ทั้งนี้เนื่องจากตลาดข้าวค่อนข้างซบเซา พ่อค้าส่วนใหญ่ต้องการเพียงปลายข้าวเจ้าหอมมะลิและปลายข้าวเหนียว เพื่อเตรียมส่งให้ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จึงส่งผลต่อราคาข้าวสารในตลาดกรุงเทพฯ ลด ต่ำลง เนื่องจากพ่อค้าโรงสี สีข้าวแล้วขายได้เฉพาะปลายข้าวทำให้เหลือข้าวต้นมากต้อง สต๊อกไว้รอขาย จึงทำให้พ่อค้าโรงสีกดราคาซื้อในตลาดข้าวเปลือกให้ลดต่ำลง
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม |14 กุมภาพันธ์ 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 769,469 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 204,067 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนถึง 3.77 เท่า
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,337 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,437 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,392 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,407 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,260 บาท ลดลงจากตันละ 7,380 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 190ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,041 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 195 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,233 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.56
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ บูลล๊อคอิโดนีเซียยืนยันจะไม่มีการนำเข้าข้าวในปี 2544
หน่วยงานควบคุมสินค้าแห่งชาติของอินโดนีเซีย “บูลล๊อค (Bulog)” ย้ำว่าจะไม่มีการนำเข้าข้าวในปี 2544 เนื่องจากยังมีข้าวจำนวนมากเหลืออยู่ในสต๊อกและคาดว่าการผลิตข้าวจะได้ผลดีในปีนี้ แต่ในส่วนของภาคเอกชนยังอนุญาติให้นำเข้าข้าวได้โดยต้องเสียภาษีการนำเข้าในอัตราร้อยละ 30
กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย คาดว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะได้ถึง 52-55 ล้านตัน เป็นผลจากภูมิอากาศเอื้ออำนวยและมีการขยายพื้นที่การเพาะปลูก จากการที่อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ในตลาดโลก การเคลื่อนไหวของบูลล๊อค ย่อมมีผลกระทบต่อไทย และเวียดนามที่เป็นผู้ส่งออกข้าวอันอับ 1 และ 2 ของโลก และยังเป็นผู้ส่งออกข้าวหลักให้กับอินโดนีเซีย
ในปี 2542 อินโดนีเซียนำเข้าข้าวจำนวน 3.6 ล้านตัน ซึ่งในปี 2543 ตัวเลข ทางการในการนำเข้ายังไม่มีการรายงาน แต่ในกลุ่มผู้ค้าข้าวประมาณว่ามีการนำเข้าประมาณ 1 ล้านตัน
อนึ่ง ข้าวฤดูหลักของอินโดนีเซียคาดว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในเดือน มีนาคม และเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวประมาณช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน นี้
ปากีสถานแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวไทย
ปากีสถานส่งเสริมการค้าข้าวเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาดโดยการกำหนดราคาขายต่ำกว่าประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะข้าวคุณภาพระดับกลางและต่ำ ตลาดหลักได้แก่ ตลาดในอัฟริกา ทำให้ผู้ส่งออกไทยประสบอุปสรรคในการแข่งขัน
การที่ราคาข้าวของปากีสถานลดต่ำลงและสามารถแข่งขันกับตลาดข้าวไทย เนื่องจากข้าวที่ค้างสค๊อกที่มีอยู่จำนวนมากจากปีก่อนและยังได้เปรียบเรื่องค่าระวางขนส่งที่ปากีสถาน มีมากว่าไทยถึงตันละ 4-5 เหรียญสหรัฐ ในขนาดลำเลียง 12,500 ตัน ในการขนส่งไปยังประเทศในอัฟริกา ข้าวที่ปากีสถานส่งขายไปตลาดอัฟริกาส่วนใหญ่จะเป็นข้าว 15%, 20%, และ 25% โดยเสนอขายข้าว 15% ในราคา FOB ตันละ 155 เหรียญสหรัฐ (6,559 บาท/ตัน) ในขณะที่ไทยเสนอขายในราคาต่ำสุดตันละ 165 เหรียญสหรัฐ (6,983 บาท/ตัน) ซึ่งจะทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดให้กับปากีสถาน ในปี 2544
ผู้ส่งออกในการาจี คาดว่า ปากีสถานจะส่งออกข้าวประมาณ 1.5 ล้านตัน ในปีนี้ สูงกว่าปีก่อนประมาณ 200,000 ตัน และในราคาต่ำเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดฟิลิปปินส์ หันมานำเข้าจากปากีสถาน อย่างไรก็ดี สถานการณ์ การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังจากที่ได้เลื่อนการเจรจาซื้อข้าวจากไทยและปากีสถาน จำนวน 200,000 ตัน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
หมายเหตุ 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 42.319
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2543/44 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ว่าจะมี 591.78 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจาก 604.22 ล้านตันข้าวเปลือก ของปี 2542/43 ร้อยละ 2.06 เป็นผลมาจากผลผลิตข้าวของจีน คาดว่าจะน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 8.48 ล้านตันข้าวเปลือก เนื่องจากการลดลงผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก อาทิเช่น จีน บังคลาเทศ ปากีสถาน พม่า อียู บราซิล และสหรัฐฯ
ส่วนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดว่าผลผลิตปี 2543/44 จะมี 397.78 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 406.34 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2542/43 ร้อยละ 2.11 ใช้ในประเทศจะมี 402.96 ล้านตันข้าวสาร การส่งออก 23.42 ล้านตันข้าวสาร ทำให้สต๊อกปลายปีคงเหลือ 60.73 ล้านตันข้าวสาร
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 5.39 เซนต์ (5.02 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.94 เซนต์(4.60 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 4.94 เซนต์ (4.60 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.70 เซนต์ (2.51 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 42.319 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-
ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แก่ โครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อ การผลิตและบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ปีการผลิต 2543/44 ซึ่งผลการรวบรวมข้าวเปลือก 1 พฤศจิกายน 2543 - 31 มกราคม 2544 มีปริมาณ 74,813.57 ตัน มูลค่า 430.07 ล้านบาท
ส่วนการดำเนินงานโครงการรับจำนำข้าวเปลือกและข้าวสารของ ธกส.ปีการผลิต 2543/44 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543 | 9 กุมภาพันธ์ 2544
1. โครงการรับจำนำข้าวเปลือก จำนำที่ยุ้งฉาง 62,558 ราย ปริมาณข้าว 395,443 ตัน มูลค่า 2,092.93 ล้านบาท ประทวน อคส. จำนวน 29,149 ราย ปริมาณข้าว 462,645 ตัน มูลค่า 2,263.97 ล้านบาท ประทวน อ.ต.ก. จำนวน 3 ราย ปริมาณ 28 ตัน มูลค่า 0.288 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอนจำนำที่ยุ้งฉาง 61,894 ราย ปริมาณ 392,327 ตัน มูลค่า 392.32 ล้านบาท ประทวน อคส. 29,146 ราย ปริมาณ 462,554 ตัน มูลค่า 2,266.52 ล้านบาท ประทวน อ.ต.ก. 3 ราย ปริมาณ 28 ตัน มูลค่า 0.288 ล้านบาท
2. โครงการรับจำนำข้าวสาร จำนวน 10,744 ราย ปริมาณ 107,640 ตัน มูลค่า 908.68 ล้านบาท คงเหลือจากไถ่ถอน 10,728 ราย ปริมาณ 107,508 ตัน มูลค่า 907.50
ภาวะการซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ ราคามีแนวโน้มลดลงทุกตลาด ทั้งนี้เนื่องจากตลาดข้าวค่อนข้างซบเซา พ่อค้าส่วนใหญ่ต้องการเพียงปลายข้าวเจ้าหอมมะลิและปลายข้าวเหนียว เพื่อเตรียมส่งให้ประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น จึงส่งผลต่อราคาข้าวสารในตลาดกรุงเทพฯ ลด ต่ำลง เนื่องจากพ่อค้าโรงสี สีข้าวแล้วขายได้เฉพาะปลายข้าวทำให้เหลือข้าวต้นมากต้อง สต๊อกไว้รอขาย จึงทำให้พ่อค้าโรงสีกดราคาซื้อในตลาดข้าวเปลือกให้ลดต่ำลง
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม |14 กุมภาพันธ์ 2544 ไทยส่งออกข้าวรวม 769,469 ตัน เพิ่มขึ้นจาก 204,067 ตัน ของการส่งออกช่วงระยะเดียวกันของปีก่อนถึง 3.77 เท่า
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 6,337 บาท ลดลงจากเกวียนละ 6,437 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.55
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,392 บาท ลดลงจากเกวียนละ 4,407 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34
ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ความชื้น 14-15 % ที่ท่าข้าวกำนันทรง จังหวัดนครสวรรค์ สัปดาห์นี้เฉลี่ยเกวียนละ 4,550 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 7,260 บาท ลดลงจากตันละ 7,380 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.63
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 190ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,041 บาท/ตัน) ลดลงจากตันละ 195 ดอลลาร์สหรัฐฯ (8,233 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.56
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ บูลล๊อคอิโดนีเซียยืนยันจะไม่มีการนำเข้าข้าวในปี 2544
หน่วยงานควบคุมสินค้าแห่งชาติของอินโดนีเซีย “บูลล๊อค (Bulog)” ย้ำว่าจะไม่มีการนำเข้าข้าวในปี 2544 เนื่องจากยังมีข้าวจำนวนมากเหลืออยู่ในสต๊อกและคาดว่าการผลิตข้าวจะได้ผลดีในปีนี้ แต่ในส่วนของภาคเอกชนยังอนุญาติให้นำเข้าข้าวได้โดยต้องเสียภาษีการนำเข้าในอัตราร้อยละ 30
กระทรวงเกษตรอินโดนีเซีย คาดว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะได้ถึง 52-55 ล้านตัน เป็นผลจากภูมิอากาศเอื้ออำนวยและมีการขยายพื้นที่การเพาะปลูก จากการที่อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้นำเข้ารายใหญ่ในตลาดโลก การเคลื่อนไหวของบูลล๊อค ย่อมมีผลกระทบต่อไทย และเวียดนามที่เป็นผู้ส่งออกข้าวอันอับ 1 และ 2 ของโลก และยังเป็นผู้ส่งออกข้าวหลักให้กับอินโดนีเซีย
ในปี 2542 อินโดนีเซียนำเข้าข้าวจำนวน 3.6 ล้านตัน ซึ่งในปี 2543 ตัวเลข ทางการในการนำเข้ายังไม่มีการรายงาน แต่ในกลุ่มผู้ค้าข้าวประมาณว่ามีการนำเข้าประมาณ 1 ล้านตัน
อนึ่ง ข้าวฤดูหลักของอินโดนีเซียคาดว่าจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ในเดือน มีนาคม และเสร็จสิ้นการเก็บเกี่ยวประมาณช่วงเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน นี้
ปากีสถานแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวไทย
ปากีสถานส่งเสริมการค้าข้าวเพื่อขยายส่วนแบ่งการตลาดโดยการกำหนดราคาขายต่ำกว่าประเทศคู่แข่งโดยเฉพาะข้าวคุณภาพระดับกลางและต่ำ ตลาดหลักได้แก่ ตลาดในอัฟริกา ทำให้ผู้ส่งออกไทยประสบอุปสรรคในการแข่งขัน
การที่ราคาข้าวของปากีสถานลดต่ำลงและสามารถแข่งขันกับตลาดข้าวไทย เนื่องจากข้าวที่ค้างสค๊อกที่มีอยู่จำนวนมากจากปีก่อนและยังได้เปรียบเรื่องค่าระวางขนส่งที่ปากีสถาน มีมากว่าไทยถึงตันละ 4-5 เหรียญสหรัฐ ในขนาดลำเลียง 12,500 ตัน ในการขนส่งไปยังประเทศในอัฟริกา ข้าวที่ปากีสถานส่งขายไปตลาดอัฟริกาส่วนใหญ่จะเป็นข้าว 15%, 20%, และ 25% โดยเสนอขายข้าว 15% ในราคา FOB ตันละ 155 เหรียญสหรัฐ (6,559 บาท/ตัน) ในขณะที่ไทยเสนอขายในราคาต่ำสุดตันละ 165 เหรียญสหรัฐ (6,983 บาท/ตัน) ซึ่งจะทำให้เสียส่วนแบ่งตลาดให้กับปากีสถาน ในปี 2544
ผู้ส่งออกในการาจี คาดว่า ปากีสถานจะส่งออกข้าวประมาณ 1.5 ล้านตัน ในปีนี้ สูงกว่าปีก่อนประมาณ 200,000 ตัน และในราคาต่ำเช่นนี้ อาจทำให้ตลาดฟิลิปปินส์ หันมานำเข้าจากปากีสถาน อย่างไรก็ดี สถานการณ์ การนำเข้าข้าวของฟิลิปปินส์ยังไม่ชัดเจน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังจากที่ได้เลื่อนการเจรจาซื้อข้าวจากไทยและปากีสถาน จำนวน 200,000 ตัน เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
หมายเหตุ 1 ดอลลาร์สหรัฐ = 42.319
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2543/44 ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2544 ว่าจะมี 591.78 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจาก 604.22 ล้านตันข้าวเปลือก ของปี 2542/43 ร้อยละ 2.06 เป็นผลมาจากผลผลิตข้าวของจีน คาดว่าจะน้อยกว่าปีที่แล้วถึง 8.48 ล้านตันข้าวเปลือก เนื่องจากการลดลงผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญของโลก อาทิเช่น จีน บังคลาเทศ ปากีสถาน พม่า อียู บราซิล และสหรัฐฯ
ส่วนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544 กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดว่าผลผลิตปี 2543/44 จะมี 397.78 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 406.34 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2542/43 ร้อยละ 2.11 ใช้ในประเทศจะมี 402.96 ล้านตันข้าวสาร การส่งออก 23.42 ล้านตันข้าวสาร ทำให้สต๊อกปลายปีคงเหลือ 60.73 ล้านตันข้าวสาร
ราคาข้าวในตลาดโลก
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ประกาศราคาข้าวในตลาดโลก ณ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2544 เทียบกับที่ประกาศไว้เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ดังนี้
ข้าวเมล็ดยาวปอนด์ละ 5.39 เซนต์ (5.02 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดกลางปอนด์ละ 4.94 เซนต์(4.60 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวเมล็ดสั้นปอนด์ละ 4.94 เซนต์ (4.60 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
ข้าวหักปอนด์ละ 2.70 เซนต์ (2.51 บาท/กก.) ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 42.319 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 6 ประจำวันที่ 12-18 ก.พ. 2544--
-สส-