มาตรการราคาที่ดำเนินการในปี 2543 สรุปได้ดังนี้
การปรับราคาปูนซิเมนต์
กระทรวงพาณิชย์เห็นชอบให้บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ปรับขึ้นราคาจำหน่ายปูนซิเมนต์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2543 รายละเอียด ดังนี้
- ปูนซิเมนต์ผสม ราคา ณ โรงงานจากเดิมราคาตันละ 1,778 บาท ปรับเป็นราคาตันละ 1,878 บาท ปรับขึ้นตันละ 100 บาท
- ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ราคา ณ โรงงาน จากเดิมราคาตันละ 2,380 บาท ปรับเป็นราคา ตันละ 2,490 บาท ปรับขึ้นตันละ 110 บาท
การปรับอัตราค่าโทรศัพท์
คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ปรับอัตราค่าบริการโทรศัพท์ สาระสำคัญ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์การคิดเวลาค่าใช้โทรศัพท์ทางไกลกรณีมากกว่า 1 นาที
แนวทางที่ 1 เศษ 1-30 วินาทีไม่คิด ค่าบริการ และเศษ 31-60 วินาทีคิดเป็น 1 นาที
แนวทางที่ 2 คิดทุก ๆ 6 วินาที (เศษ 1-5 วินาที คิดเป็น 6 วินาที)
2. ปรับอัตราค่าเช่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 470 Mhz จากเดิมเดือนละ 450 บาทต่อ 1 เลขหมาย เป็นเดือนละ 300 บาทต่อ 1 เลขหมาย
3. การเพิ่มรูปแบบการคิดค่าบริการ
รูปแบบที่ 1
- อัตราค่าเช่าเดือนละ 100 บาทต่อ 1 เลขหมาย
- ค่าใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่น อัตราครั้งละ 3 บาท
- ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล อัตรา 3, 6, 9, 12, 15, 18 บาทต่อนาที
รูปแบบที่ 2
- อัตราค่าเช่าเดือนละ 120 บาทต่อ 1 เลขหมาย
- ค่าใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่น อัตราครั้งละ 3 บาท
- ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล อัตรา 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาทต่อนาที
รูปแบบที่ 3
- อัตราค่าเช่าเดือนละ 90 บาทต่อ 1 เลขหมาย
- ค่าใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่น อัตรา 1 บาทต่อ 1 นาที
- ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล อัตรา 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาทต่อนาที
4. ปรับอัตราลดค่าบริการโทรศัพท์สาธารณะ ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล จากอัตราเดิม 3, 6, 8, 12, 15, 20 บาทต่อนาที เป็นอัตราใหม่ 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาทต่อนาที
การปรับอัตราค่าไฟฟ้า
คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ ปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ตามต้นทุน เชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ระยะเวลาในการปรับ 4 เดือนต่อครั้ง ซึ่งในรอบปี 2543 มีการปรับ 2 ครั้ง ดังนี้ (1) การปรับในเดือนเมษายน 2543 ทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 2.3 และ (2) การปรับในเดือนสิงหาคม 2543 ทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.31 ในวันที่ 3 ตุลาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับต้นทุน ที่แท้จริงและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 สรุปสาระสำคัญดังนี้
- อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงประมาณร้อยละ 2
- แยกค่าไฟฟ้าให้ชัดเจน โดยแยกเป็น กิจการระบบผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และกิจการค้าปลีก
- ปรับปรุงราคาและช่วงเวลาอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของวัน (Time of Use : TOU) และขยายขอบเขตให้ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน และกำหนดใช้กับกิจการเฉพาะอย่างทุกราย รวมทั้งเป็นอัตราเลือกสำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก
- ปรับค่าไฟฟ้าฐานใหม่ และกำหนด Ft ใหม่ ณ จุดเริ่มต้นเท่ากับ 0
การกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์กำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 มิถุนายน 2543
1. ราคาจำหน่ายส่ง ส่งมอบ ณ โรงงาน
- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กระสอบละ 1,284 บาท เดิมกระสอบละ 1,200 บาท (กระสอบ = 100 กิโลกรัม)
- น้ำตาลทรายขาว กระสอบละ 1,177 บาท เดิมกระสอบละ 1,100 บาท
2. ราคาจำหน่ายส่ง (ตั้งแต่ 3 กระสอบขึ้นไป) ส่งมอบ ณ สถานที่จำหน่ายของผู้จำหน่ายส่ง
- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กระสอบละ 1,353.55 บาท เดิมกระสอบละ 1,265 บาท
- น้ำตาลทรายขาว กระสอบละ 1,246.55 บาท เดิมกระสอบละ 1,165 บาท
- น้ำตาลทรายสีรำ กระสอบละ 1,219.80 บาท เดิมกระสอบละ 1,140 บาท
3. ราคาจำหน่ายปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 14.25 บาท เดิมกิโลกรัมละ 13.50 บาท
- น้ำตาลทรายสีรำ กิโลกรัมละ 12.75 บาท เดิมกิโลกรัมละ 12.00 บาท
การปรับค่าโดยสารรถปรับอากาศ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปรับราคา ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศ เริ่มตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2543 โดยการปรับราคาค่าโดยสารครั้งนี้เป็นการปรับราคาค่าโดยสารรถปรับอากาศของ ขสมก. และรถปรับอากาศ เอกชนร่วมบริการ จากเดิมราคา 6, 8, 10, 12, 14, 16 บาท เป็นราคา 8, 10, 12, 14, 16 บาท ตามระยะทาง และปรับราคาค่าโดยสารรถปรับอากาศ ยูโรวัน และยูโรทู มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2544 จากราคาเดิม 8, 10, 12, 14, 16, 18 บาท เป็นราคา 10, 12, 14, 16, 18, 20 บาท ตามระยะทาง
การปรับค่าโดยสารรถประจำทางต่างจังหวัดและระหว่างจังหวัด
คณะกรรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ปรับอัตราค่าโดยสารรถประจำทางและ รถขนาดเล็กที่วิ่งระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัด มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2543 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับสูงขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การปรับราคาปูนซิเมนต์
กระทรวงพาณิชย์เห็นชอบให้บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ปรับขึ้นราคาจำหน่ายปูนซิเมนต์ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2543 รายละเอียด ดังนี้
- ปูนซิเมนต์ผสม ราคา ณ โรงงานจากเดิมราคาตันละ 1,778 บาท ปรับเป็นราคาตันละ 1,878 บาท ปรับขึ้นตันละ 100 บาท
- ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์ ราคา ณ โรงงาน จากเดิมราคาตันละ 2,380 บาท ปรับเป็นราคา ตันละ 2,490 บาท ปรับขึ้นตันละ 110 บาท
การปรับอัตราค่าโทรศัพท์
คณะรัฐมนตรีมีมติให้องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) ปรับอัตราค่าบริการโทรศัพท์ สาระสำคัญ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์การคิดเวลาค่าใช้โทรศัพท์ทางไกลกรณีมากกว่า 1 นาที
แนวทางที่ 1 เศษ 1-30 วินาทีไม่คิด ค่าบริการ และเศษ 31-60 วินาทีคิดเป็น 1 นาที
แนวทางที่ 2 คิดทุก ๆ 6 วินาที (เศษ 1-5 วินาที คิดเป็น 6 วินาที)
2. ปรับอัตราค่าเช่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 470 Mhz จากเดิมเดือนละ 450 บาทต่อ 1 เลขหมาย เป็นเดือนละ 300 บาทต่อ 1 เลขหมาย
3. การเพิ่มรูปแบบการคิดค่าบริการ
รูปแบบที่ 1
- อัตราค่าเช่าเดือนละ 100 บาทต่อ 1 เลขหมาย
- ค่าใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่น อัตราครั้งละ 3 บาท
- ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล อัตรา 3, 6, 9, 12, 15, 18 บาทต่อนาที
รูปแบบที่ 2
- อัตราค่าเช่าเดือนละ 120 บาทต่อ 1 เลขหมาย
- ค่าใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่น อัตราครั้งละ 3 บาท
- ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล อัตรา 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาทต่อนาที
รูปแบบที่ 3
- อัตราค่าเช่าเดือนละ 90 บาทต่อ 1 เลขหมาย
- ค่าใช้โทรศัพท์ในท้องถิ่น อัตรา 1 บาทต่อ 1 นาที
- ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล อัตรา 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาทต่อนาที
4. ปรับอัตราลดค่าบริการโทรศัพท์สาธารณะ ค่าใช้โทรศัพท์ทางไกล จากอัตราเดิม 3, 6, 8, 12, 15, 20 บาทต่อนาที เป็นอัตราใหม่ 3, 6, 9, 12, 12, 12 บาทต่อนาที
การปรับอัตราค่าไฟฟ้า
คณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ ปรับอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (Ft) ตามต้นทุน เชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ระยะเวลาในการปรับ 4 เดือนต่อครั้ง ซึ่งในรอบปี 2543 มีการปรับ 2 ครั้ง ดังนี้ (1) การปรับในเดือนเมษายน 2543 ทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 2.3 และ (2) การปรับในเดือนสิงหาคม 2543 ทำให้ค่ากระแสไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.31 ในวันที่ 3 ตุลาคม 2543 คณะรัฐมนตรีมีมติให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคปรับปรุงโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับต้นทุน ที่แท้จริงและภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2543 สรุปสาระสำคัญดังนี้
- อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยลดลงประมาณร้อยละ 2
- แยกค่าไฟฟ้าให้ชัดเจน โดยแยกเป็น กิจการระบบผลิต กิจการระบบส่ง กิจการระบบจำหน่าย และกิจการค้าปลีก
- ปรับปรุงราคาและช่วงเวลาอัตราค่าไฟฟ้าตามช่วงเวลาของวัน (Time of Use : TOU) และขยายขอบเขตให้ครอบคลุมการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยเกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน และกำหนดใช้กับกิจการเฉพาะอย่างทุกราย รวมทั้งเป็นอัตราเลือกสำหรับประเภทบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก
- ปรับค่าไฟฟ้าฐานใหม่ และกำหนด Ft ใหม่ ณ จุดเริ่มต้นเท่ากับ 0
การกำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์กำหนดราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย มีผลบังคับใช้ วันที่ 1 มิถุนายน 2543
1. ราคาจำหน่ายส่ง ส่งมอบ ณ โรงงาน
- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กระสอบละ 1,284 บาท เดิมกระสอบละ 1,200 บาท (กระสอบ = 100 กิโลกรัม)
- น้ำตาลทรายขาว กระสอบละ 1,177 บาท เดิมกระสอบละ 1,100 บาท
2. ราคาจำหน่ายส่ง (ตั้งแต่ 3 กระสอบขึ้นไป) ส่งมอบ ณ สถานที่จำหน่ายของผู้จำหน่ายส่ง
- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กระสอบละ 1,353.55 บาท เดิมกระสอบละ 1,265 บาท
- น้ำตาลทรายขาว กระสอบละ 1,246.55 บาท เดิมกระสอบละ 1,165 บาท
- น้ำตาลทรายสีรำ กระสอบละ 1,219.80 บาท เดิมกระสอบละ 1,140 บาท
3. ราคาจำหน่ายปลีก ในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
- น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ กิโลกรัมละ 14.25 บาท เดิมกิโลกรัมละ 13.50 บาท
- น้ำตาลทรายสีรำ กิโลกรัมละ 12.75 บาท เดิมกิโลกรัมละ 12.00 บาท
การปรับค่าโดยสารรถปรับอากาศ
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ปรับราคา ค่าโดยสารรถประจำทางปรับอากาศ เริ่มตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2543 โดยการปรับราคาค่าโดยสารครั้งนี้เป็นการปรับราคาค่าโดยสารรถปรับอากาศของ ขสมก. และรถปรับอากาศ เอกชนร่วมบริการ จากเดิมราคา 6, 8, 10, 12, 14, 16 บาท เป็นราคา 8, 10, 12, 14, 16 บาท ตามระยะทาง และปรับราคาค่าโดยสารรถปรับอากาศ ยูโรวัน และยูโรทู มีผลบังคับใช้ 1 มกราคม 2544 จากราคาเดิม 8, 10, 12, 14, 16, 18 บาท เป็นราคา 10, 12, 14, 16, 18, 20 บาท ตามระยะทาง
การปรับค่าโดยสารรถประจำทางต่างจังหวัดและระหว่างจังหวัด
คณะกรรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม ปรับอัตราค่าโดยสารรถประจำทางและ รถขนาดเล็กที่วิ่งระหว่างจังหวัดและภายในจังหวัด มีผลตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2543 เนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ปรับสูงขึ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-