ประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ครั้งที่ 3/32 ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน ศกนี้ ณ โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานการประชุมและเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ซึ่งประกอบด้วยอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
นอกจากการประชุม SEOM ยังมีการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 18 - 19 มิถุนายน 2544 ได้แก่การประชุมคณะทำงานด้านการรวมกลุ่มภูมิภาค กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (Closer Economic Partnership : CEP) และการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียน กับผู้ช่วยรองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (Deputy Assistant USTR) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
การประชุม SEOM
1. การดำเนินการตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 7 ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา
1.1 การกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน ตามที่ AEM Retreat ได้มีมติเกี่ยวกับแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี (GSP) ของประเทศสมาชิกเดิมแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (CLMV) ได้แก่ การให้ฝ่ายเดียว โดยไม่มีการเจรจาต่อรองและให้เป็นความตกลงระหว่างสองประเทศนั้น SEOM ได้ย้ำว่า GSP เป็นสิทธิพิเศษซึ่งจะช่วยให้ประเทศสมาชิกใหม่พัฒนาประเทศเพื่อลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกใหม่และเก่า โดยพยายามให้มีการประกาศโครงการในปี 2002 ทั้งนี้ สมาชิกใหม่จะต้องดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อาฟต้าอย่างเคร่งครัด
นอกจากการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีโครงการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การฝึกอบรม/ดูงาน การส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำแนะนำ เป็นต้น รวมทั้ง จะมีการประเมินความต้องการด้านการฝึกอบรมเพื่อให้ความช่วยเหลือดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 ความตกลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการเร่งรัดการดำเนินการตามความตกลง e-ASEAN ซึ่งผู้นำได้ลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 เพื่อเสริมสร้างให้อาเซียนสามารถแข่งขันได้ในเศรษฐกิจระบบใหม่ ทั้งนี้ อาเซียนมีแผนงานที่ชัดเจนอยู่แล้ว SEOM จึงขอให้คณะทำงาน e-ASEAN เร่งรัดการปฏิบัติตามแผนงาน ส่วนในเรื่องเงินทุน ให้ขอความช่วยเหลือจากประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนช่วยสมทบด้วย
2. การหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซีย กรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ในอาฟต้า ขณะนี้ ระยะเวลาการหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซียใกล้จะสิ้นสุดลง คือจะครบกำหนด 180 วัน ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2544 และ SEOM จะต้องรายงานผลการพิจารณารวมทั้งความเห็นเพื่อให้คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA Council) ตัดสินภายในระยะเวลาดังกล่าว ในการนี้ SEOM ได้เร่งรัดให้ทั้งสองฝ่ายหาทางตกลงกันให้ได้ในการเจรจาครั้งต่อไประหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม ศกนี้ เพื่อรักษาและเพิ่มพูนความเชื่อมั่นของโลกต่ออาเซียน
3. งานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) อาเซียนมีมติจะจัดงานแสดงสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีศักยภาพและดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ ไทยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้าอาเซียนได้รายงานความคืบหน้าของการจัดงานว่าจะจัดระหว่างวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 ณ ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี กรุงเทพฯ รวมทั้งการเตรียมงานด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดประชุมนักธุรกิจพร้อมกันไปด้วย โดยได้กำหนดอุตสาหกรรมที่จะร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งอุตสาหกรรมอาเซียนที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อีเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า อาหาร เครื่องตกแต่งบ้าน และนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้น
การประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านการรวมกลุ่มภูมิภาค (Working Group on Regional Integration : WGRI) ที่ประชุมได้หารือกำหนดท่าทีของอาเซียนในการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ เพื่อรายงานผลการศึกษาแนวทางการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจต่อเจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรี และผู้นำภายในปี 2544
อาเซียน-จีน จะจัดตั้งทีมวิจัยร่วมกันเพื่อศึกษาการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน และความเป็นไปได้ในการเปิดเสรีระหว่างอาเซียนและจีน
อาเซียน-ญี่ปุ่น กำหนดกรอบการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเสนอแนะ มาตรการที่จะขยายความร่วมมือ และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนและญี่ปุ่นให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (CER) ที่ประชุมได้จัดทำกรอบแนวทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างใกล้ชิด (Closer Economic Partnership : CEP) และเห็นชอบความร่วมมือกัน 5 ด้าน ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การเสริมสร้างขีดความสามารถ การส่งเสริมการค้าและการลงทุน เศรษฐกิจใหม่ และอื่นๆ
การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียนกับรองผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (Deputy Assistant USTR) ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการจัดการประชุมอาเซียนและสหรัฐฯ ในระดับ รัฐมนตรี (AEM-USTR) หรือเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองฝ่ายภายในปี 2544 เพื่อรื้อฟื้นการหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าร่วมกัน โดยหารือเกี่ยวกับวาระการประชุมและรูปแบบการประชุม ซึ่งจะเตรียมการประชุมในรายละเอียดต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
นอกจากการประชุม SEOM ยังมีการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 18 - 19 มิถุนายน 2544 ได้แก่การประชุมคณะทำงานด้านการรวมกลุ่มภูมิภาค กลุ่มผู้เชี่ยวชาญของอาเซียนและออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ด้านความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (Closer Economic Partnership : CEP) และการหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียน กับผู้ช่วยรองผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (Deputy Assistant USTR) โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
การประชุม SEOM
1. การดำเนินการตามมติที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 7 ณ เมืองเสียมราฐ กัมพูชา
1.1 การกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน ตามที่ AEM Retreat ได้มีมติเกี่ยวกับแนวทางการให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี (GSP) ของประเทศสมาชิกเดิมแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (CLMV) ได้แก่ การให้ฝ่ายเดียว โดยไม่มีการเจรจาต่อรองและให้เป็นความตกลงระหว่างสองประเทศนั้น SEOM ได้ย้ำว่า GSP เป็นสิทธิพิเศษซึ่งจะช่วยให้ประเทศสมาชิกใหม่พัฒนาประเทศเพื่อลดช่องว่างระหว่างประเทศสมาชิกใหม่และเก่า โดยพยายามให้มีการประกาศโครงการในปี 2002 ทั้งนี้ สมาชิกใหม่จะต้องดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อาฟต้าอย่างเคร่งครัด
นอกจากการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวแล้ว ยังมีโครงการให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ เช่น การฝึกอบรม/ดูงาน การส่งผู้เชี่ยวชาญไปให้คำแนะนำ เป็นต้น รวมทั้ง จะมีการประเมินความต้องการด้านการฝึกอบรมเพื่อให้ความช่วยเหลือดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
1.2 ความตกลงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ประชุมได้พิจารณาแนวทางการเร่งรัดการดำเนินการตามความตกลง e-ASEAN ซึ่งผู้นำได้ลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 เพื่อเสริมสร้างให้อาเซียนสามารถแข่งขันได้ในเศรษฐกิจระบบใหม่ ทั้งนี้ อาเซียนมีแผนงานที่ชัดเจนอยู่แล้ว SEOM จึงขอให้คณะทำงาน e-ASEAN เร่งรัดการปฏิบัติตามแผนงาน ส่วนในเรื่องเงินทุน ให้ขอความช่วยเหลือจากประเทศจีน เกาหลี ญี่ปุ่น และขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนช่วยสมทบด้วย
2. การหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซีย กรณีมาเลเซียชะลอการลดภาษีสินค้ายานยนต์ในอาฟต้า ขณะนี้ ระยะเวลาการหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับมาเลเซียใกล้จะสิ้นสุดลง คือจะครบกำหนด 180 วัน ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2544 และ SEOM จะต้องรายงานผลการพิจารณารวมทั้งความเห็นเพื่อให้คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน(AFTA Council) ตัดสินภายในระยะเวลาดังกล่าว ในการนี้ SEOM ได้เร่งรัดให้ทั้งสองฝ่ายหาทางตกลงกันให้ได้ในการเจรจาครั้งต่อไประหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม ศกนี้ เพื่อรักษาและเพิ่มพูนความเชื่อมั่นของโลกต่ออาเซียน
3. งานแสดงสินค้าอาเซียน (ASEAN Trade Fair) อาเซียนมีมติจะจัดงานแสดงสินค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมที่อาเซียนมีศักยภาพและดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ภูมิภาค ทั้งนี้ ไทยซึ่งจะเป็นเจ้าภาพจัดงานแสดงสินค้าอาเซียนได้รายงานความคืบหน้าของการจัดงานว่าจะจัดระหว่างวันที่ 14-20 ตุลาคม 2545 ณ ศูนย์แสดงสินค้าเมืองทองธานี กรุงเทพฯ รวมทั้งการเตรียมงานด้านต่าง ๆ รวมถึงการจัดประชุมนักธุรกิจพร้อมกันไปด้วย โดยได้กำหนดอุตสาหกรรมที่จะร่วมงานแสดงสินค้า ซึ่งอุตสาหกรรมอาเซียนที่มีศักยภาพ ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์ อีเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า อาหาร เครื่องตกแต่งบ้าน และนวัตกรรมใหม่ๆ เป็นต้น
การประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านการรวมกลุ่มภูมิภาค (Working Group on Regional Integration : WGRI) ที่ประชุมได้หารือกำหนดท่าทีของอาเซียนในการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญของ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น และอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ เพื่อรายงานผลการศึกษาแนวทางการขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจต่อเจ้าหน้าที่อาวุโส รัฐมนตรี และผู้นำภายในปี 2544
อาเซียน-จีน จะจัดตั้งทีมวิจัยร่วมกันเพื่อศึกษาการเข้าเป็นสมาชิก WTO ของจีน และความเป็นไปได้ในการเปิดเสรีระหว่างอาเซียนและจีน
อาเซียน-ญี่ปุ่น กำหนดกรอบการปฏิบัติงานของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเสนอแนะ มาตรการที่จะขยายความร่วมมือ และการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของอาเซียนและญี่ปุ่นให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้น
การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญอาเซียน-ออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (CER) ที่ประชุมได้จัดทำกรอบแนวทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจร่วมกันอย่างใกล้ชิด (Closer Economic Partnership : CEP) และเห็นชอบความร่วมมือกัน 5 ด้าน ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การเสริมสร้างขีดความสามารถ การส่งเสริมการค้าและการลงทุน เศรษฐกิจใหม่ และอื่นๆ
การหารืออย่างไม่เป็นทางการระหว่างอาเซียนกับรองผู้ช่วยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (Deputy Assistant USTR) ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการจัดการประชุมอาเซียนและสหรัฐฯ ในระดับ รัฐมนตรี (AEM-USTR) หรือเจ้าหน้าที่อาวุโสของทั้งสองฝ่ายภายในปี 2544 เพื่อรื้อฟื้นการหารือเพื่อขยายความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการค้าร่วมกัน โดยหารือเกี่ยวกับวาระการประชุมและรูปแบบการประชุม ซึ่งจะเตรียมการประชุมในรายละเอียดต่อไป
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-