กรุงเทพ--7 ม.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ด้วยวันนี้ (7 มกราคม 2543) เวลา 17.00 น นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข่าวแก่สื่อมวลชนว่า สืบเนื่องจากการหารือทวิภาคีระหว่าง ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนาย Mohammed Saeed Al-Sahaf รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิรักเมื่อเดือนกันยายน 2542 ณ การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือและเห็นชอบเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ไทยและอิรักจะขยายการค้าระหว่างสองประเทศ โดยประเทศอิรักได้ให้ความสนใจอุปกรณ์การแพทย์และสาธารณสุขจากไทย และประเทศไทย ก็ให้ความสนใจต่อการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิรัก นั้น
วันนี้ นายสุรงค์ บูลกุล รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เข้าพบดร. สุรินทร์ ฯ เพื่อแจ้งว่า การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ติดตามการหารือระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยกับอิรักเมื่อกันยายน 2542 ดังกล่าว และขณะนี้การปิโตรเลียมแห่งประเทศได้รับการตอบรับจากฝ่ายอิรักเกี่ยวกับการจำหน่ายน้ำมันดิบจำนวน 1 ล้านบาเรลต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2542 เป็นต้นไป (ในขณะเดียวกันอิรักก็ได้ให้โควต้าน้ำมันดิบแก่บริษัท ชัยพรค้าข้าว จำกัด จำนวน 3 ล้านบาเรลต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือนด้วยเช่นกัน เพื่อตอบแทนการที่บริษัทฯ ได้ขายข้าวให้แก่อิรักในช่วงที่อิรักขาดแคลนอาหาร)
สำหรับโควต้าน้ำมันดิบ 1 ล้านบาเรลดังกล่าว ได้ช่วยให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยสามารถประหยัดเงินได้ถึง 3 แสนเหรียญสหรัฐ หากต้องซื้อจากแหล่งผลิตน้ำมันอื่น
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า อุทาหรณ์จากการซื้อน้ำมันดิบดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการขยายความร่วมมือด้านการค้ากับประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งนอกจากการซื้อน้ำมันดิบครั้งนี้แล้ว ภาคเอกชนไทยที่เดินทางร่วมคณะไปกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยยังได้ทำสัญญาขายสินค้าบางชนิดให้แก่อิรักเพิ่มเติม เช่น อะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์ ฯลฯ ด้วย--จบ--
ด้วยวันนี้ (7 มกราคม 2543) เวลา 17.00 น นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้ให้ข่าวแก่สื่อมวลชนว่า สืบเนื่องจากการหารือทวิภาคีระหว่าง ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับนาย Mohammed Saeed Al-Sahaf รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอิรักเมื่อเดือนกันยายน 2542 ณ การประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้หารือและเห็นชอบเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ไทยและอิรักจะขยายการค้าระหว่างสองประเทศ โดยประเทศอิรักได้ให้ความสนใจอุปกรณ์การแพทย์และสาธารณสุขจากไทย และประเทศไทย ก็ให้ความสนใจต่อการนำเข้าน้ำมันดิบจากอิรัก นั้น
วันนี้ นายสุรงค์ บูลกุล รองประธานอาวุโสฝ่ายจัดซื้อของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้เข้าพบดร. สุรินทร์ ฯ เพื่อแจ้งว่า การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยได้ติดตามการหารือระหว่าง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทยกับอิรักเมื่อกันยายน 2542 ดังกล่าว และขณะนี้การปิโตรเลียมแห่งประเทศได้รับการตอบรับจากฝ่ายอิรักเกี่ยวกับการจำหน่ายน้ำมันดิบจำนวน 1 ล้านบาเรลต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2542 เป็นต้นไป (ในขณะเดียวกันอิรักก็ได้ให้โควต้าน้ำมันดิบแก่บริษัท ชัยพรค้าข้าว จำกัด จำนวน 3 ล้านบาเรลต่อวัน เป็นระยะเวลา 6 เดือนด้วยเช่นกัน เพื่อตอบแทนการที่บริษัทฯ ได้ขายข้าวให้แก่อิรักในช่วงที่อิรักขาดแคลนอาหาร)
สำหรับโควต้าน้ำมันดิบ 1 ล้านบาเรลดังกล่าว ได้ช่วยให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยสามารถประหยัดเงินได้ถึง 3 แสนเหรียญสหรัฐ หากต้องซื้อจากแหล่งผลิตน้ำมันอื่น
โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า อุทาหรณ์จากการซื้อน้ำมันดิบดังกล่าวเป็นการแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลไทยและกระทรวงการต่างประเทศได้ดำเนินการขยายความร่วมมือด้านการค้ากับประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลาง ซึ่งนอกจากการซื้อน้ำมันดิบครั้งนี้แล้ว ภาคเอกชนไทยที่เดินทางร่วมคณะไปกับการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยยังได้ทำสัญญาขายสินค้าบางชนิดให้แก่อิรักเพิ่มเติม เช่น อะไหล่และชิ้นส่วนรถยนต์ ฯลฯ ด้วย--จบ--