กรุงเทพฯ--26 เม.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงต่อสื่อมวลชนว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้เพียรพยายามหยิบยกเรื่องปัญหายาเสพติดขึ้นหารือกับพม่าอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาตลอด อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ยุติลง แม้ว่าเป็นปัญหาที่ไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นเรื่องหนึ่ง โดยในการดำเนินความสำพันธ์กับพม่า ไทยได้ยกเรื่องการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขึ้นหารือกับฝ่ายพม่ามาโดยตลอด ซึ่งนอกเหนือไปจากการย้ำเรื่องนี้ในระหว่างการประชุม JC ตลอดทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2536 ครั้งที่ 2 ปี 2537 ครั้งที่ 3 ปี 2537 ครั้งที่ 4 ปี 2540 และครั้งที่ 5 ปี 2542) ก็ได้มีการยกเรื่องนี้ในโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ อันได้แก่
1. ระหว่างการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ ธ.ค.2540 ฯพณฯ นรม.ได้แจ้งพลเอกอาวุโส ดาน ฉ่วย นรม.พม่า ถึงความกังวลเกี่ยวกับปัญหายาบ้าที่หลั่งไหลจากพม่าผ่านเข้ามาทางชายแดนภาคเหนือของไทย และได้ย้ำให้มีการร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายพม่าในการกำจัดยาเสพติด
2. ระหว่างการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำอาเซียนที่กรุงฮานอยเมื่อปลายปี 2541 ฯพณฯ นรม.ได้ย้ำกับ นรม.พม่าเกี่ยวกับความจำเป็นที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด และได้เชิญ นรม.พม่ามาเยือนไทยเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าวต่อไป
3. ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ นรม.พม่า เมื่อ 8-9 มี.ค.2542 ฯพณฯ นรม.ได้หารือกับพม่าเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่สั่งการให้ จนท.ของไทยและพม่าที่เกี่ยงข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดร่วมประชุมหารือภายในระหว่างกันที่พม่า เพื่อแสวงหามาตรการที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน ทั้ง 2 ฝ่ายได้ออกคำแถลงร่วม โดยเน้นในเรื่องพันธกรณีของรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะทำให้เขตแดนระหว่างไทยกับพม่าเป็นเขตแดนแห่งมิตรภาพ สมานฉันท์ ความมั่งคั่ง รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือและการประสานในความพยามยามที่จะบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่จะขจัดการค้ากระบวนการ การผลิต และการใช้ยาเสพติดอย่างผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาคอาเซียนภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020)
4. เมื่อ 24-26 พ.ค.2542 เลขาธิการ ป.ป.ส. ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ (รวมทั้งจาก กต.) ไปประชุมกับเจ้าหน้าที่พม่าที่กรุงย่างกุ้ง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีด้านการปราบปรามยาเสพติในโอกาสดังกล่าว ฝ่ายพม่าได้ขอให้ไทยให้ความสนับสนุนในเรื่องการฝึกอบรมด้านการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดและสารตั้งต้นใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตยาเสพติด ซึ่งไทยรับจะจัดโครงการให้โดยผ่านกรมวิเทศสหการ
5. ในระหว่างการเยือนพม่าของ ฯพณฯ รอง นรม.พิชัย รัตตกุล เมื่อ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 2542 ฯพณฯ รอง นรม.ได้หารือข้อราชการกับพลโท ขิ่น ยุ้น และได้กล่าวย้ำถึงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ฝ่ายพม่าได้แจ้งว่า การประชุมระหว่างเลขาธิการ ปปส. และเจ้าหน้าที่ของไทยกับพม่าที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2542 แสดงให้เห็นถึงความจริงจังและจริงใจที่ทั้ง 2 ฝ่าย จะร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติด
6. ในระหว่างการเยือนพม่าของ ฯพณฯ รมว.กต.เมื่อ 24 สิงหาคม 2542 เพื่อเข้าร่วมการประชุม JC ครั้งที่ 5 ที่กรุงย่างกุ้ง ฯพณฯ รมว.กต.ได้เข้าพบข้อราชการกับ นรม.พม่า และพลโท ขิ่น ยุ้น เลขาธิการที่ 1 ของ SPDC และได้แจ้งฝ่ายพม่าว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญสูงสุดต่อความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด พร้อมทั้งเท้าความว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะให้ภูมิภาคอาเซี่ยนเป็นเขตปลอดยาเสพติดภายในปี ค.ศ.2000 ซึ่งฝ่ายพม่าเองก็ได้ประกาศว่าจะกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากพม่าใน 15 ปีด้วย ฝ่ายพม่าได้กล่าวตอบว่า หลังจากการเยือนไทยของนรม.พม่าเมื่อเดือน มี.ค.2542 ความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติดของไทยและพม่ามีมากขึ้น ได้มีการพบปะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้ง 2 ฝ่ายบ่อยครั้ง และได้ให้คำมั่นว่า รัฐบาลพม่าจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการปราบปรามยาเสพติดตามที่ นรม.ทั้งสองได้ตกลงกันไว้--จบ--
-สส-
นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงต่อสื่อมวลชนว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้เพียรพยายามหยิบยกเรื่องปัญหายาเสพติดขึ้นหารือกับพม่าอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องมาตลอด อย่างไรก็ดี ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่ยุติลง แม้ว่าเป็นปัญหาที่ไทยให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นเรื่องหนึ่ง โดยในการดำเนินความสำพันธ์กับพม่า ไทยได้ยกเรื่องการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดขึ้นหารือกับฝ่ายพม่ามาโดยตลอด ซึ่งนอกเหนือไปจากการย้ำเรื่องนี้ในระหว่างการประชุม JC ตลอดทั้ง 5 ครั้งที่ผ่านมา (ครั้งที่ 1 เมื่อปี 2536 ครั้งที่ 2 ปี 2537 ครั้งที่ 3 ปี 2537 ครั้งที่ 4 ปี 2540 และครั้งที่ 5 ปี 2542) ก็ได้มีการยกเรื่องนี้ในโอกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ อันได้แก่
1. ระหว่างการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ ธ.ค.2540 ฯพณฯ นรม.ได้แจ้งพลเอกอาวุโส ดาน ฉ่วย นรม.พม่า ถึงความกังวลเกี่ยวกับปัญหายาบ้าที่หลั่งไหลจากพม่าผ่านเข้ามาทางชายแดนภาคเหนือของไทย และได้ย้ำให้มีการร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายพม่าในการกำจัดยาเสพติด
2. ระหว่างการประชุมสุดยอดอย่างไม่เป็นทางการของผู้นำอาเซียนที่กรุงฮานอยเมื่อปลายปี 2541 ฯพณฯ นรม.ได้ย้ำกับ นรม.พม่าเกี่ยวกับความจำเป็นที่ทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องร่วมมือกันอย่างจริงจังเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด และได้เชิญ นรม.พม่ามาเยือนไทยเพื่อหารือในเรื่องดังกล่าวต่อไป
3. ในระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ นรม.พม่า เมื่อ 8-9 มี.ค.2542 ฯพณฯ นรม.ได้หารือกับพม่าเรื่องความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ทั้ง 2 ฝ่ายเห็นชอบร่วมกันที่สั่งการให้ จนท.ของไทยและพม่าที่เกี่ยงข้องกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดร่วมประชุมหารือภายในระหว่างกันที่พม่า เพื่อแสวงหามาตรการที่เป็นรูปธรรมร่วมกัน ทั้ง 2 ฝ่ายได้ออกคำแถลงร่วม โดยเน้นในเรื่องพันธกรณีของรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะทำให้เขตแดนระหว่างไทยกับพม่าเป็นเขตแดนแห่งมิตรภาพ สมานฉันท์ ความมั่งคั่ง รวมทั้งการเพิ่มความร่วมมือและการประสานในความพยามยามที่จะบังคับใช้กฎหมายให้เข้มงวดยิ่งขึ้น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่จะขจัดการค้ากระบวนการ การผลิต และการใช้ยาเสพติดอย่างผิดกฎหมายให้หมดไปจากภูมิภาคอาเซียนภายใน พ.ศ. 2563 (ค.ศ.2020)
4. เมื่อ 24-26 พ.ค.2542 เลขาธิการ ป.ป.ส. ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ (รวมทั้งจาก กต.) ไปประชุมกับเจ้าหน้าที่พม่าที่กรุงย่างกุ้ง เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคีด้านการปราบปรามยาเสพติในโอกาสดังกล่าว ฝ่ายพม่าได้ขอให้ไทยให้ความสนับสนุนในเรื่องการฝึกอบรมด้านการตรวจพิสูจน์ยาเสพติดและสารตั้งต้นใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการผลิตยาเสพติด ซึ่งไทยรับจะจัดโครงการให้โดยผ่านกรมวิเทศสหการ
5. ในระหว่างการเยือนพม่าของ ฯพณฯ รอง นรม.พิชัย รัตตกุล เมื่อ 29 ก.ค. - 1 ส.ค. 2542 ฯพณฯ รอง นรม.ได้หารือข้อราชการกับพลโท ขิ่น ยุ้น และได้กล่าวย้ำถึงความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหายาเสพติด ฝ่ายพม่าได้แจ้งว่า การประชุมระหว่างเลขาธิการ ปปส. และเจ้าหน้าที่ของไทยกับพม่าที่กรุงย่างกุ้ง เมื่อ พ.ศ. 2542 แสดงให้เห็นถึงความจริงจังและจริงใจที่ทั้ง 2 ฝ่าย จะร่วมมือกันในการปราบปรามยาเสพติด
6. ในระหว่างการเยือนพม่าของ ฯพณฯ รมว.กต.เมื่อ 24 สิงหาคม 2542 เพื่อเข้าร่วมการประชุม JC ครั้งที่ 5 ที่กรุงย่างกุ้ง ฯพณฯ รมว.กต.ได้เข้าพบข้อราชการกับ นรม.พม่า และพลโท ขิ่น ยุ้น เลขาธิการที่ 1 ของ SPDC และได้แจ้งฝ่ายพม่าว่า รัฐบาลไทยให้ความสำคัญสูงสุดต่อความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติด พร้อมทั้งเท้าความว่า ประเทศสมาชิกอาเซียนได้มีการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะให้ภูมิภาคอาเซี่ยนเป็นเขตปลอดยาเสพติดภายในปี ค.ศ.2000 ซึ่งฝ่ายพม่าเองก็ได้ประกาศว่าจะกำจัดยาเสพติดให้หมดไปจากพม่าใน 15 ปีด้วย ฝ่ายพม่าได้กล่าวตอบว่า หลังจากการเยือนไทยของนรม.พม่าเมื่อเดือน มี.ค.2542 ความร่วมมือในการปราบปรามยาเสพติดของไทยและพม่ามีมากขึ้น ได้มีการพบปะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของทั้ง 2 ฝ่ายบ่อยครั้ง และได้ให้คำมั่นว่า รัฐบาลพม่าจะให้ความร่วมมือกับรัฐบาลไทยในการปราบปรามยาเสพติดตามที่ นรม.ทั้งสองได้ตกลงกันไว้--จบ--
-สส-