แท็ก
ชายแดนภาคใต้
ข้อมูลพื้นฐาน
จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลตะวันออก มีเนื้อที่ ทั้งหมด 4,475.4 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 6.7แสนคน รายได้เฉลี่ยต่อหัวในปี 2539 เท่ากับ 32,998 บาท เป็นอันดับที่ 13 ของภาคใต้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (ณ ราคาคงที่ ปี 2531) ในปี 2539 มีมูลค่ารวม 13,467.4 ล้านบาท โครงสร้างการผลิตในภาคเศรษฐกิจสำคัญประกอบด้วยภาคเกษตรกรรมร้อยละ 39.9รองลงมาได้แก่ ภาคการค้าปลีกค้าส่งและภาคการบริการร้อยละ 20.2 และ 9.0ตามลำดับ
ในภาคเกษตรกรรมมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 1.5 ล้านไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ เพาะปลูกยางพารา 9.2 แสนไร่ นอกจากนี้ไม้ผลนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญรองจากยางพารา โดยเฉพาะทุเรียน ลองกอง และเงาะ นอกจากนี้ยังมีการทำประมงตามแนวชายฝั่งในบริเวณอำเภอที่อยู่ติดทะเล ได้แก่ อำเภอเมืองและตากใบ
ในภาคการบริการมีบทบาทสำคัญรองจากภาคเกษตรกรรม เนื่องจากมีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ทำให้มีการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับเนื่องการท่องเที่ยว โดยมีอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นแหล่งสำคัญ นักท่องเที่ยวหลักเป็นชาวมาเลเซีย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวปีละประมาณ 40,000 คน จุดขายที่สำคัญคือสถานบันเทิง โรงแรม และอาหารราคาไม่สูงนัก โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นจุดเสริม
ขณะเดียวกันการค้าชายแดนมีบทบาทสำคัญเช่นกัน โดยมีมูลค่าสินค้าส่งออกและนำเข้าปีละกว่า 3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้แปรรูปจากประเทศมาเลเซียเป็นสำคัญ
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 ของทั้งจังหวัดที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้และทำเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โครงการสนับสนุนแนวทางการผลิตทางการเกษตร ได้แก่
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกรรมและทำอาชีพเสริมด้านศิลปาชีพ
โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโก-ลก ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันน้ำท่วมและจัดหาน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ให้กับพื้นที่เกษตรกรรมของทั้ง 2 ประเทศ
ภาคอุตสาหกรรม มีวัตถุดิบจากภาคเกษตรกรรมหลายประเภท เช่น ยางพารา พืชผัก ไม้ผล ปศุสัตว์และสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังมีแรงงานมาก
ภาคการท่องเที่ยว เป็นเมืองชายแดนโดยเฉาพที่อำเภอสุไหงโก-ลก มีห้องพักมากกว่า 2,000 ห้อง และอัตราการเข้าพักประมาณร้อยละ 70 ตลอดทั้งปี นอกจากนี้มีงานประเพณีที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น งานประเพณของดีเมืองนรา งานแข่งเรือกอและ และงานประเพณีอื่นๆ ประกอบกับค่าครองชีพ เช่นอาหาร ที่พัก ราคาถูกและคุณภาพดีกว่ามาเลเซีย
ภาคพาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าทางใต้สุดของประเทศ ประกอบกับประเทศไทยและมาเลเซียมีพื้นฐานทางด้านการผลิตสินค้าที่แตกต่างกันหลายชนิด รวมทั้งคุณภาพและราคาสินค้าที่แตกต่างกันมาก ทำให้ธุรกิจการค้าบริเวณชายแดนเป็นไปอย่งคึกคัก
ข้อเสนอการลงทุน
สาขาเกษตรกรรม
การเพาะปลูก พืชที่ตลาดต้องการได้แก่ ผักชนิดต่างๆ ผลไม้ เช่น ส้ม เงาะ ทุเรียน ลองกอง เป็นต้น
ปศุสัตว์ การเลี้ยงโคเนื้อ แพะ เพื่อเป็นวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อกระป๋อง เป็นต้น
ประมงน้ำจืดและประมงน้ำกร่อย เพื่อส่งโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่จังหวัดปัตตานีและส่งออกประเทศมาเลเซีย
สาขาอุตสาหกรรมเกษตร โดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น เช่น ยางพารา แร่ดินขาว ผลไม้ มะพร้าว สัตว์น้ำและปศุสัตว์ เป็นต้น
สาขาการท่องเที่ยว โดยการจัดทำของที่ระลึกและธุรกิจต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดปีละ ประมาณ 600,000 คน สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น ป่าพรุสิรินธร อุทยานวัดเขากง เป็นต้น
สาขาพาณิชยกรรม การทำธุรกิจการค้าชายแดน โดยเฉพาะการจัดตั้งตลาดกลางผัก ผลไม้ เพื่อการส่งออกที่มีความต้องการ ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การบรรจุหีบห่อ เป็นต้น
โครงการสำคัญที่น่าลงทุน
โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น
วัตถุดิบ อุตสาหกรรมในครัวเรือน หัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น เรือกอและจำลอง ข้าวเกรียบปลา ผ้าปาเต๊ะ ฯลฯ
ตลาด นักท่องเที่ยวภายในและภายนอกประเทศ มีประมาณ 600,000 คน
โครงการกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมมพานต์
วัตถุดิบ จังหวัดนราธิวาสมีผลผลิตประมาณ 1 ล้านกิโลกรัม/ปี ปัตตานี 2.2 ล้านกิโลกรัม/ปี และยะลา 9 หมื่นกิโลกรัม/ปี
ตลาด มีทั้งตลาดภายใน ได้แก่ ตลาดหาดใหญ่ประมาณ 5 พันกิโลกรัม/ปี
โครงการอุตสาหกรรมแต่งแร่ดินขาว
วัตถุดิบ ปริมาณพื้นที่ของแร่ดินขาวประมาณเกินกว่า 1,000 ไร่ ที่อำเภอสุไหงปาดี สุไหงโก-ลก ระแงะ
ตลาดหรือเพื่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ โรงงานทำสีทาอาคาร โรงงานผลิตภัณฑ์เซรามิก โรงงานทำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมีโรงงานไทย - มาเลเซีย 1 โรง ที่อำเภอเมือง
โครงการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา
วัตถุดิบ มีพื้นที่ปลูกยางพันธุ์พื้นเมือง 151,135 ไร่ ยางพันธุ์ดี 622,204 ไร่ และสามารถหาวัตถุดิบเพิ่มเติมได้จากจังหวัดใกล้เคียง
ตลาด ตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมัน
โครงการอุตสาหกรรมยางใน ยางนอกรถจักรยานยนต์
วัตถุดิบ ปริมาณยางที่ผลิตได้ในจังหวัด 119,311 ตัน และสามารถหาได้จากจังหวัดใกล้เคียงเพิ่มเติม
ตลาด ส่งออกฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ศรีลังกา สิงคโปร์ บังคลาเทศ พม่า สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย และกลุ่มประเทศอินโดจีน
ปัจจุบันมีโรงงาน 1 แห่งที่จังหวัดสงขลา
โครงการจัดตั้งตลาดกลางผักและผลไม้เพื่อการส่งออก
วัตถุดิบ ผักสด ร้อยละ 70 ของผักตลาดหัวอิฐและผลไม้ร้อยละ 50 ของตลาดหัวอิฐ ส่งออกไปมาเลเซียโดยผ่านจังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ยังมีผลไม้จากจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดภาคกลางบางส่วนส่งออกมาเลเซีย
ตลาด ส่งออกมาเลเซีย มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท
โครงการอุตสาหกรรมยางรัดของ
วัตถุดิบ ปริมาณที่ผลิตได้ 119,311 ตันต่อปี และสามารถหาวัตถุดิบจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปัตตานี ยะลา
ตลาด ทั้งตลาดภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ไต้หวัน
ปัจจุบันในภาคใต้มี 5 โรงงาน ที่จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ตรังและยะลา ขณะที่จังหวัดนราธิวาสยังไม่มีการจัดตั้งโรงงานยางรัดของเลย
โครงการผลิตยางพาราอัดแท่ง
วัตถุดิบ ปริมาณที่ผลิตได้ 119,311 ตันต่อปี และสามารถหาวัตถุดิบจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปัตตานี ยะลา
ตลาด ส่งออกไปมาเลเซีย สิงคโปร์ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันมีโรงงานยางพาราอัดแท่งเพียง 1 โรง
โครงการจัดตั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง
วัตถุดิบ ปลาน้ำเค็มจับได้ประมาณ 2,700,000 กิโลกรัมต่อปี
ตลาด โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำในจังหวัดปัตตานี และส่งเป็นปลาสดไปตลาดมาเลเซีย และสิงคโปร์
โครงการผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับมุสลิม (แพะกระป๋อง)
วัตถุดิบ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลาและสตูล) มีแพะประมาณ 50,000 ตัวต่อปี
ตลาด ใน 3 จังหวัดขายแดนภาคใต้มีชาวไทยมุสลิมประมาณ 2.5 ล้านคน ในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจมีชาวมุสลิมประมาณ 160 ล้านคนและตลาดตะวันออกกลาง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-
จังหวัดนราธิวาสเป็นจังหวัดชายแดนภาคใต้ ตั้งอยู่บนฝั่งทะเลตะวันออก มีเนื้อที่ ทั้งหมด 4,475.4 ตารางกิโลเมตร มีประชากรทั้งสิ้น 6.7แสนคน รายได้เฉลี่ยต่อหัวในปี 2539 เท่ากับ 32,998 บาท เป็นอันดับที่ 13 ของภาคใต้
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (ณ ราคาคงที่ ปี 2531) ในปี 2539 มีมูลค่ารวม 13,467.4 ล้านบาท โครงสร้างการผลิตในภาคเศรษฐกิจสำคัญประกอบด้วยภาคเกษตรกรรมร้อยละ 39.9รองลงมาได้แก่ ภาคการค้าปลีกค้าส่งและภาคการบริการร้อยละ 20.2 และ 9.0ตามลำดับ
ในภาคเกษตรกรรมมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 1.5 ล้านไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ เพาะปลูกยางพารา 9.2 แสนไร่ นอกจากนี้ไม้ผลนับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญรองจากยางพารา โดยเฉพาะทุเรียน ลองกอง และเงาะ นอกจากนี้ยังมีการทำประมงตามแนวชายฝั่งในบริเวณอำเภอที่อยู่ติดทะเล ได้แก่ อำเภอเมืองและตากใบ
ในภาคการบริการมีบทบาทสำคัญรองจากภาคเกษตรกรรม เนื่องจากมีพื้นที่ชายแดนติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ทำให้มีการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวกับเนื่องการท่องเที่ยว โดยมีอำเภอสุไหงโก-ลก เป็นแหล่งสำคัญ นักท่องเที่ยวหลักเป็นชาวมาเลเซีย เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวปีละประมาณ 40,000 คน จุดขายที่สำคัญคือสถานบันเทิง โรงแรม และอาหารราคาไม่สูงนัก โดยมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเป็นจุดเสริม
ขณะเดียวกันการค้าชายแดนมีบทบาทสำคัญเช่นกัน โดยมีมูลค่าสินค้าส่งออกและนำเข้าปีละกว่า 3 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าไม้แปรรูปจากประเทศมาเลเซียเป็นสำคัญ
ศักยภาพและโอกาสในการลงทุน
ภาคเกษตรกรรม มีพื้นที่มากกว่าร้อยละ 50 ของทั้งจังหวัดที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกพืชผัก ผลไม้และทำเป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ โครงการสนับสนุนแนวทางการผลิตทางการเกษตร ได้แก่
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งมุ่งส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพหลักด้านเกษตรกรรมและทำอาชีพเสริมด้านศิลปาชีพ
โครงการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโก-ลก ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างไทยกับมาเลเซีย มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันน้ำท่วมและจัดหาน้ำเพื่อการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ให้กับพื้นที่เกษตรกรรมของทั้ง 2 ประเทศ
ภาคอุตสาหกรรม มีวัตถุดิบจากภาคเกษตรกรรมหลายประเภท เช่น ยางพารา พืชผัก ไม้ผล ปศุสัตว์และสัตว์น้ำ นอกจากนี้ยังมีแรงงานมาก
ภาคการท่องเที่ยว เป็นเมืองชายแดนโดยเฉาพที่อำเภอสุไหงโก-ลก มีห้องพักมากกว่า 2,000 ห้อง และอัตราการเข้าพักประมาณร้อยละ 70 ตลอดทั้งปี นอกจากนี้มีงานประเพณีที่ดึงดูดนักท่องเที่ยว เช่น งานประเพณของดีเมืองนรา งานแข่งเรือกอและ และงานประเพณีอื่นๆ ประกอบกับค่าครองชีพ เช่นอาหาร ที่พัก ราคาถูกและคุณภาพดีกว่ามาเลเซีย
ภาคพาณิชยกรรม เป็นศูนย์กลางธุรกิจการค้าทางใต้สุดของประเทศ ประกอบกับประเทศไทยและมาเลเซียมีพื้นฐานทางด้านการผลิตสินค้าที่แตกต่างกันหลายชนิด รวมทั้งคุณภาพและราคาสินค้าที่แตกต่างกันมาก ทำให้ธุรกิจการค้าบริเวณชายแดนเป็นไปอย่งคึกคัก
ข้อเสนอการลงทุน
สาขาเกษตรกรรม
การเพาะปลูก พืชที่ตลาดต้องการได้แก่ ผักชนิดต่างๆ ผลไม้ เช่น ส้ม เงาะ ทุเรียน ลองกอง เป็นต้น
ปศุสัตว์ การเลี้ยงโคเนื้อ แพะ เพื่อเป็นวัตถุดิบให้แก่อุตสาหกรรมเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อกระป๋อง เป็นต้น
ประมงน้ำจืดและประมงน้ำกร่อย เพื่อส่งโรงงานแปรรูปสัตว์น้ำที่จังหวัดปัตตานีและส่งออกประเทศมาเลเซีย
สาขาอุตสาหกรรมเกษตร โดยใช้วัตถุดิบจากท้องถิ่น เช่น ยางพารา แร่ดินขาว ผลไม้ มะพร้าว สัตว์น้ำและปศุสัตว์ เป็นต้น
สาขาการท่องเที่ยว โดยการจัดทำของที่ระลึกและธุรกิจต่อเนื่องจากการท่องเที่ยว เนื่องจากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจังหวัดปีละ ประมาณ 600,000 คน สถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น ป่าพรุสิรินธร อุทยานวัดเขากง เป็นต้น
สาขาพาณิชยกรรม การทำธุรกิจการค้าชายแดน โดยเฉพาะการจัดตั้งตลาดกลางผัก ผลไม้ เพื่อการส่งออกที่มีความต้องการ ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น การบรรจุหีบห่อ เป็นต้น
โครงการสำคัญที่น่าลงทุน
โครงการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการผลิตสินค้าท้องถิ่น
วัตถุดิบ อุตสาหกรรมในครัวเรือน หัตถกรรมพื้นบ้าน เช่น เรือกอและจำลอง ข้าวเกรียบปลา ผ้าปาเต๊ะ ฯลฯ
ตลาด นักท่องเที่ยวภายในและภายนอกประเทศ มีประมาณ 600,000 คน
โครงการกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมมพานต์
วัตถุดิบ จังหวัดนราธิวาสมีผลผลิตประมาณ 1 ล้านกิโลกรัม/ปี ปัตตานี 2.2 ล้านกิโลกรัม/ปี และยะลา 9 หมื่นกิโลกรัม/ปี
ตลาด มีทั้งตลาดภายใน ได้แก่ ตลาดหาดใหญ่ประมาณ 5 พันกิโลกรัม/ปี
โครงการอุตสาหกรรมแต่งแร่ดินขาว
วัตถุดิบ ปริมาณพื้นที่ของแร่ดินขาวประมาณเกินกว่า 1,000 ไร่ ที่อำเภอสุไหงปาดี สุไหงโก-ลก ระแงะ
ตลาดหรือเพื่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ โรงงานทำสีทาอาคาร โรงงานผลิตภัณฑ์เซรามิก โรงงานทำอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันมีโรงงานไทย - มาเลเซีย 1 โรง ที่อำเภอเมือง
โครงการอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์จากไม้ยางพารา
วัตถุดิบ มีพื้นที่ปลูกยางพันธุ์พื้นเมือง 151,135 ไร่ ยางพันธุ์ดี 622,204 ไร่ และสามารถหาวัตถุดิบเพิ่มเติมได้จากจังหวัดใกล้เคียง
ตลาด ตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และเยอรมัน
โครงการอุตสาหกรรมยางใน ยางนอกรถจักรยานยนต์
วัตถุดิบ ปริมาณยางที่ผลิตได้ในจังหวัด 119,311 ตัน และสามารถหาได้จากจังหวัดใกล้เคียงเพิ่มเติม
ตลาด ส่งออกฝรั่งเศส เยอรมัน อังกฤษ อิตาลี ศรีลังกา สิงคโปร์ บังคลาเทศ พม่า สาธารณรัฐประชาชนจีน มาเลเซีย และกลุ่มประเทศอินโดจีน
ปัจจุบันมีโรงงาน 1 แห่งที่จังหวัดสงขลา
โครงการจัดตั้งตลาดกลางผักและผลไม้เพื่อการส่งออก
วัตถุดิบ ผักสด ร้อยละ 70 ของผักตลาดหัวอิฐและผลไม้ร้อยละ 50 ของตลาดหัวอิฐ ส่งออกไปมาเลเซียโดยผ่านจังหวัดนราธิวาส นอกจากนี้ยังมีผลไม้จากจังหวัดนราธิวาสและจังหวัดภาคกลางบางส่วนส่งออกมาเลเซีย
ตลาด ส่งออกมาเลเซีย มูลค่าประมาณ 600 ล้านบาท
โครงการอุตสาหกรรมยางรัดของ
วัตถุดิบ ปริมาณที่ผลิตได้ 119,311 ตันต่อปี และสามารถหาวัตถุดิบจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปัตตานี ยะลา
ตลาด ทั้งตลาดภายในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสามารถส่งออกไปสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมัน อิตาลี ไต้หวัน
ปัจจุบันในภาคใต้มี 5 โรงงาน ที่จังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี ตรังและยะลา ขณะที่จังหวัดนราธิวาสยังไม่มีการจัดตั้งโรงงานยางรัดของเลย
โครงการผลิตยางพาราอัดแท่ง
วัตถุดิบ ปริมาณที่ผลิตได้ 119,311 ตันต่อปี และสามารถหาวัตถุดิบจากจังหวัดใกล้เคียง เช่น ปัตตานี ยะลา
ตลาด ส่งออกไปมาเลเซีย สิงคโปร์ ยุโรปและสหรัฐอเมริกา
ปัจจุบันมีโรงงานยางพาราอัดแท่งเพียง 1 โรง
โครงการจัดตั้งอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็ง
วัตถุดิบ ปลาน้ำเค็มจับได้ประมาณ 2,700,000 กิโลกรัมต่อปี
ตลาด โรงงานแปรรูปสัตว์น้ำในจังหวัดปัตตานี และส่งเป็นปลาสดไปตลาดมาเลเซีย และสิงคโปร์
โครงการผลิตอาหารสำเร็จรูปสำหรับมุสลิม (แพะกระป๋อง)
วัตถุดิบ ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ( นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลาและสตูล) มีแพะประมาณ 50,000 ตัวต่อปี
ตลาด ใน 3 จังหวัดขายแดนภาคใต้มีชาวไทยมุสลิมประมาณ 2.5 ล้านคน ในเขตสามเหลี่ยมเศรษฐกิจมีชาวมุสลิมประมาณ 160 ล้านคนและตลาดตะวันออกกลาง
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-สส-