ลิ้นจี่ : ราคาลิ้นจี่คาดว่าจะตกต่ำ
ปริมาณผลผลิตลิ้นจี่ทั้งประเทศ ปี 2544 คาดว่าจะมีจำนวน 20,000 ตันลดลงจาก 40,000 ตัน ในปีที่ผ่านมาร้อยละ 50 ซึ่งเป็นผลจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้นยังส่งผลให้ฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตลิ้นจี่ในปีนี้ล่าช้ากว่าปกติ 15-20 วัน ทั้งนี้แหล่งผลิตที่สำคัญที่สุดกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตทั้งหมด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะที่อำเภอฝาง และกิ่งอำเภอไชยปราการ รองลงมาได้แก่ จังหวัดเชียงราย สมุทรสงคราม และพะเยา
เนื่องจากผลผลิตลิ้นจี่ในปีนี้มีจำนวนไม่มาก ดังนั้น ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดในช่วงต้นฤดู ส่วนใหญ่จึงเป็นการส่งออกในรูปลิ้นจี่สดแช่เย็น ซึ่งราคาที่เกษตรกรขายได้ (เกรดส่งออก) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2544 กิโลกรัมละ 40-60 บาท ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2544 เหลือเพียงกิโลกรัมละ 25-30 บาท ในขณะที่เกรดคละกิโลกรัมละ 15 บาท การที่ราคารับซื้อลดลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุหนึ่งเกิดจากโรงงานแปรรูปลิ้นจีกระป๋องยังไม่ได้เปิดรับซื้อ เนื่องจากราคาลิ้นจี่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือนพฤษภาคม ซึ่งผลผลิตกระจุกตัวออกสู่ตลาดมาก ในขณะที่ผลผลิตลิ้นจี่ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคุณภาพดีกว่าของไทย (ผลโต รสหวาน เมล็ดเล็ก) เริ่มออกสู่ตลาดเช่นกัน คาดว่าจะส่งผลให้ราคาสิ้นจี่ลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
อนึ่ง เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ทางราชการเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาราคาลิ้นจี่ตกต่ำดังกล่าว
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งอาจขายผลผลิตได้ไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับแจ้งจากจังหวัดพะเยาว่าได้ประสานงานกับกรมการค้าภายใน เพื่อดำเนินการแทรกแซงตลาดลิ้นจี่โดยเร่งด่วน ซึ่งทางกรมการค้าภายใน แจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีเงินช่วยเหลือทางการตลาด โดยไม่ต้องขออนุมัติ คชก.ในกรณีเร่งด่วน และขณะนี้ได้นำเงินจำนวน 15 ล้านบาท เข้ารับซื้อเพื่อแทรกแซงตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาราคาลิ้นจี่ที่คาดว่าจะตกต่ำแล้ว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 7-13 พ.ค. 2544--
-สส-
ปริมาณผลผลิตลิ้นจี่ทั้งประเทศ ปี 2544 คาดว่าจะมีจำนวน 20,000 ตันลดลงจาก 40,000 ตัน ในปีที่ผ่านมาร้อยละ 50 ซึ่งเป็นผลจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนั้นยังส่งผลให้ฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตลิ้นจี่ในปีนี้ล่าช้ากว่าปกติ 15-20 วัน ทั้งนี้แหล่งผลิตที่สำคัญที่สุดกว่าร้อยละ 50 ของผลผลิตทั้งหมด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเฉพาะที่อำเภอฝาง และกิ่งอำเภอไชยปราการ รองลงมาได้แก่ จังหวัดเชียงราย สมุทรสงคราม และพะเยา
เนื่องจากผลผลิตลิ้นจี่ในปีนี้มีจำนวนไม่มาก ดังนั้น ผลผลิตที่ออกสู่ตลาดในช่วงต้นฤดู ส่วนใหญ่จึงเป็นการส่งออกในรูปลิ้นจี่สดแช่เย็น ซึ่งราคาที่เกษตรกรขายได้ (เกรดส่งออก) ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2544 กิโลกรัมละ 40-60 บาท ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2544 เหลือเพียงกิโลกรัมละ 25-30 บาท ในขณะที่เกรดคละกิโลกรัมละ 15 บาท การที่ราคารับซื้อลดลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุหนึ่งเกิดจากโรงงานแปรรูปลิ้นจีกระป๋องยังไม่ได้เปิดรับซื้อ เนื่องจากราคาลิ้นจี่ยังอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือนพฤษภาคม ซึ่งผลผลิตกระจุกตัวออกสู่ตลาดมาก ในขณะที่ผลผลิตลิ้นจี่ของประเทศคู่ค้าที่สำคัญ คือ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งคุณภาพดีกว่าของไทย (ผลโต รสหวาน เมล็ดเล็ก) เริ่มออกสู่ตลาดเช่นกัน คาดว่าจะส่งผลให้ราคาสิ้นจี่ลดลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง
อนึ่ง เกษตรกรผู้ปลูกลิ้นจี่อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องให้ทางราชการเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาราคาลิ้นจี่ตกต่ำดังกล่าว
ดังนั้น เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร ซึ่งอาจขายผลผลิตได้ไม่คุ้มกับต้นทุนการผลิต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับแจ้งจากจังหวัดพะเยาว่าได้ประสานงานกับกรมการค้าภายใน เพื่อดำเนินการแทรกแซงตลาดลิ้นจี่โดยเร่งด่วน ซึ่งทางกรมการค้าภายใน แจ้งให้ทราบว่าคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) มีเงินช่วยเหลือทางการตลาด โดยไม่ต้องขออนุมัติ คชก.ในกรณีเร่งด่วน และขณะนี้ได้นำเงินจำนวน 15 ล้านบาท เข้ารับซื้อเพื่อแทรกแซงตลาดเพื่อแก้ไขปัญหาราคาลิ้นจี่ที่คาดว่าจะตกต่ำแล้ว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 17 ประจำวันที่ 7-13 พ.ค. 2544--
-สส-