13 ตุลาคม 2542 ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม 2542 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ------------------------------ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศเอเชีย -ยุโรป 25 ประเทศ และกรรมาธิการการค้าของ สหภาพยุโรปได้ พบปะหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและพิจารณาขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเอเชีย-ยุโรปใน การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจเอเชีย-ยุโรป (Economic Ministers' Meeting - EMM) ครั้งที่ 2 ซึ่ง มีขึ้นระหว่างวันที่ 9-10 ตุลาคม 2542 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วย รัฐมนตรีของประเทศ สมาชิกอื่น ๆ เช่น รัฐมนตรี Rafidah Aziz ของมาเลเซีย Mr. Pascal Lamy กรรมาธิการการค้าคนใหม่ของ สหภาพยุโรป รัฐมนตรี Han Duck-soo ของสาธารณรัฐเกาหลี และ รัฐมนตรี Leif Pagrotsky แห่งสวีเดน รัฐมนตรีได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับสถานะการณ์ทางเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเรื่องวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในเอเชียกำลังจะผ่านพ้นไปด้วยดีด้วยความพยายามอย่าง จริงจังของทุก ๆ ฝ่าย รวมทั้ง การเริ่มใช้ยูโร รัฐมนตรีเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับโครงสร้างทาง เศรษฐกิจและภาคการเงินอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งให้คงนโยบายเปิดตลาดและเลิกการใช้มาตรการปกป้อง การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจที่ไปในทิศทางที่ดีขึ้นและความสำเร็จของเข้าสู่ระบบการเงินของยูโร จะเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะเร่งให้การค้าและการลงทุนของเอเชียและยุโรปเกิดการขยายตัวอย่างกว้างขวางรัฐมนตรีได้ ให้ความเห็นชอบมาตรการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ 9 ประการ เพื่อให้ประเทศสมาชิกใช้เป็น แนวทาง รวมทั้ง ให้เริ่มเปิดใช้อาเซ็มวีไออีโฮมเพจ (ASEM VIE Homepage) เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยน ข้อมูลและกฎระเบียบด้านการลงทุนของอาเซ็มผ่านอินเตอร์เนต นอกจากนี้ รัฐมนตรีได้ต่ออายุการทำงาน ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนไปอีก 2 ปี เพื่อดำเนินกิจกรรมภายใต้แผนปฏิบัติการส่งเสริมการลงทุน (Investment Promotion Action Plan - IPAP) จนถึงการประชุม EMM ครั้งต่อไปในปี 2544 ทางด้าน การค้า รัฐมนตรีมีเจตนารมณ์ที่จะลดเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTBs) ระหว่างกันอย่าง จริงจังเพื่อให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมและสอดคล้องกับความต้องการของภาคเอกชน โดยเห็นชอบให้ รวบรวมมาตรการ NTBs สำคัญที่ประเทศอาเซ็มปฏิบัติต่อกันอยู่ เพื่อให้ประเทศสมาชิกพิจารณาปรับลด การใช้มาตรการเหล่านั้น และรายงานความคืบหน้าเป็นประจำทุกปี สภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรปได้เข้ารายงาน รัฐมนตรีเกี่ยวกับความคืบหน้าของความร่วมมือในส่วน ของภาคชน ซึ่งยืนยันที่จะสนับสนุนการดำเนินการ และร่วมประชุมหารือกับภาครัฐอาเซ็มอย่างใกล้ชิด และได้ขอให้ภาครัฐดำเนินนโยบายเศรษฐกิจอย่าง โปร่งใสและมีเสถียรภาพ ออสเตรียจะเป็นเจ้าภาพ จัดการประชุมสภาธุรกิจเอเชีย-ยุโรป ครั้งที่ 5 ในปี 2543 ในส่วนขององค์การการค้าโลก (WTO) รัฐมนตรีได้มีการหารือแลกเปลี่ยนความเห็นกันอย่าง กว้างขวาง โดยเฉพาะการเปิดการเจรจารอบใหม่ โดยรัฐมนตรีให้การสนับสนุนการเปิดเจรจารอบใหม่ ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกซึ่งจะจัดขึ้นที่ซีแอตเติลในระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2542 โดยเห็นว่าจะต้องเป็นการเจรจาที่มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเสรีการค้า และปรับปรุง กฎระเบียบให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งจะต้องมีความสมดุล และคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ สมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา เพื่อให้ประเทศเหล่านี้มีบทบาทเข้มแข็งขึ้นในเศรษฐกิจโลก แม้ว่า ในเรื่องที่เกี่ยวกับการเจรจารอบใหม่จะมีบางประเด็นที่ประเทศสมาชิกยังมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็นับได้ว่าการประชุมครั้งนี้มีประโยชน์อย่างมากที่เปิดโอกาสให้ประเทศสมาชิกแลกเปลี่ยนความเห็น เรื่องการเจรจารอบใหม่อย่างกว้างขวางก่อนการประชุมที่ซีแอตเติลประเด็นสำคัญที่รัฐมนตรีมีความเห็น ร่วมกัน อาทิเช่น - สนับสนุนให้การเจรจารอบใหม่เป็นการเจรจาเพื่อการพัฒนา (development round) โดยเห็นว่าการเจรจา รอบใหม่ควรคำนึงถึงประโยชน์ที่ประเทศกำลังพัฒนาจะได้รับ - การเจรจารอบใหม่จะต้องมีความสมดุล ครอบคลุมประเด็นที่ทุกประเทศสมาชิกต่างมีความสนใจร่วมกัน - การเจรจารอบใหม่จะต้องครอบคลุมทั้งเรื่องการเปิดเสรีเพิ่มขึ้น และการปรับปรุงกฎระเบียบของ องค์การการค้าโลกให้เข้มแข็งขึ้น เช่น ในเรื่องการทุ่มตลาด - การเจรจารอบใหม่จะต้องสั้น ใช้เวลาไม่เกิน 3 ปี และเป็น single package คือมี ผลสรุปเดียว - เห็นด้วยที่จะให้มีการหารือเรื่องพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ต่อในกรอบขององค์การการค้าโลก เพื่อให้สมาชิก ได้รับประโยชน์จากเทคโนโลยีใหม่อย่างเต็มที่ รวมทั้ง สนับสนุนการต่อเวลาการไม่เก็บภาษีศุลกากรกับ การค้าผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อไปชั่วคราวรัฐมนตรีเห็นว่าควรคำนึงถึงผลประโยชน์และข้อกังวลของ ประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจาการค้ารอบใหม่ด้วย อาทิ การเปิดตลาดให้มากขึ้น การปรับปรุง กฎระเบียบ การให้การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่างกับประเทศกำลังพัฒนาให้มีประสิทธิภาพและมีผล ในทางปฏิบัติมากขึ้น การปฏิบัติตามพันธกรณีซึ่งเป็นผลของการเจรจารอบอุรุกวัยให้จริงจังยิ่งขึ้น การเพิ่ม ขีดความสามารถและการให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา เป็นต้น นอกจากนั้น รัฐมนตรียังเห็น ควรให้ความช่วยเหลือประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เพื่อให้ประเทศเหล่านี้สามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบ การค้าพหุภาคีได้มากขึ้น ทั้งนี้ สหภาพยุโรปแจ้งว่าต้องการให้ที่ประชุมที่ซีแอตเติลมีข้อตัดสินใจให้ ประเทศพัฒนาแล้ว และอาจรวมไปถึงประเทศกำลังพัฒนา หากเป็นไปได้ เสนอไม่เก็บภาษีศุลกากรกับ สินค้าส่งออกของประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ในเรื่องการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก รัฐมนตรีมี ความเห็นร่วมกันว่าควรเร่งรัด ให้กระบวนการเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกเสร็จสิ้นโดยเร็ว ประเทศ ที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกควรได้รับความช่วยเหลือที่เหมาะสม และควรได้รับโอกาสให้เข้า มีส่วนร่วมในการเจรจาในอนาคต ทั้งนี้ ที่ประชุมแสดงความยินดีที่จีนเริ่มเจรจาสองฝ่ายกับสหรัฐฯ และ สหภาพยุโรปอีกครั้ง
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-