แท็ก
จังหวัดแพร่
เศรษฐกิจจังหวัดแพร่ ปี 2542 ยังอยู่ในช่วงการฟื้นตัว ทั้งนี้เนื่องจากการผลิตในภาคเกษตรซึ่งเป็นแหล่งรายได้สำคัญของจังหวัดมีผลผลิตลดลงจากปีก่อน ขณะที่สถานการณ์ทางด้านการจ้างงานยังไม่กระเตื้องขึ้น เช่นเดียวกับทางด้านภาคการเงินที่ยังคงลดลงต่อเนื่องจากปีก่อน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังคงซบเซา อย่างไรก็ตาม จากการใช้จ่ายภาคเอกชนที่มีแนวโน้มดีขึ้น และการใช้จ่ายภาครัฐที่เพิ่มขึ้น ทำให้ภาวะเศรษฐกิจจังหวัดแพร่โดยรวมเริ่มกระเตื้องขึ้น
ภาคเกษตร แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรปีก่อนจะอยู่ในเกณฑ์สูงแต่ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ กลับลดลง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะความแห้งแล้งทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหาย โดยเฉพาะข้าวนาปี ผลผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.6 เหลือ 134,269 เมตริกตัน อ้อย ลดลงร้อยละ 33.7 เหลือ 150,026 เมตริกตัน จากการลดพื้นที่ปลูกเป็นสำคัญเนื่องจากเกษตรกรขาดแคลนเงินทุนในการเพาะปลูกและบำรุงรักษา เช่นเดียวกับ ข้าวโพด ที่ผลผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.1 เหลือ 45,997 เมตริกตัน ส่วน ใบยาเวอร์จิเนีย ลดลงในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 78.5 เหลือ 5,424 เมตริกตัน จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตพืชอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดภายในประเทศได้แก่ ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เป็น 18,306 เมตริกตัน กระเทียมและหอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และร้อยละ 7.7 เป็น 1,536 เมตริกตัน และ 1,090 เมตริกตัน ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้านาปีราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ใบยาเวอร์จิเนียราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.23 บาท ลดลง จากปีก่อนร้อยละ 3.2 ถั่วเหลืองราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.13 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 14.5 ส่วน กระเทียมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.39 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.5 ข้าวโพดราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.90 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตาม ราคาพืชผลส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
ภาคนอกเกษตร แม้ว่ารายได้จากภาคเกษตรจะลดลง รวมทั้งภาวะการจ้างงานยังไม่กระเตื้องขึ้นจากปีก่อน พิจารณาจากจำนวนผู้ประกันตนในจังหวัดแพร่ จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 28.5 แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้ ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ต่ำลงทำให้ผู้ฝากเงินบางส่วนถอนเงินเพื่อใช้จ่ายมากขึ้น โดยจำนวนการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เทียบกับลดลงถึงร้อยละ 84.9 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.3 เป็น 147 ล้านบาท เทียบกับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 23.3 ปีก่อน ประกอบกับมีรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.3 ขณะที่จำนวนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 17.9 แต่ต่ำกว่า เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 64.9 ปีก่อน ภาคเหมืองแร่ การผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 32.4 ปีก่อน เนื่องจากมีการเร่งก่อสร้างถนน 4 เลนที่เป็นโครงการต่อเนื่องจากที่ชะลอลงในปีก่อนหน้า
การลงทุน/ก่อสร้าง ภาวะการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังซบเซาต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปีนี้ยังคงไม่มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเกิดขึ้น การลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่มีเพียง 16 โรงงาน เงินลงทุน 22 ล้านบาท เทียบกับ 38 โรงงาน เงินลงทุน 65 ล้านบาทปีก่อน โรงงานที่น่าสนใจได้แก่ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ โรงงานผลิตนมสดพาสเจอร์ไรส์ โรงงานผลิตเครื่องเจียระไนพลอยและอะไหล่ เป็นต้น การก่อสร้าง พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 60.5 ปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์รายย่อยเท่านั้น ส่วนการก่อสร้างภาครัฐ ยังเป็นในลักษณะเช่นเดียวกับปีก่อนกล่าวคือเป็นการเร่งก่อสร้างถนน 4 เลน การก่อสร้างอาคารสำนักงานของ หน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาเป็นสำคัญ ทางด้านการให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและสินเชื่อเพื่อธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ลดลงร้อยละ 19.7 และร้อยละ 17.1 ตามลำดับ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดแพร่) ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 1.0 เหลือ 22,985 ล้านบาท โดยเงินนำฝากลดลง จากปีก่อนร้อยละ 1.7 เหลือ 13,753 ล้านบาท ส่วนเงินเบิกถอนมีจำนวน 9,232 ล้านบาทเท่ากับปีก่อน ส่งผลให้ มียอดเงินนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 4.9 เหลือ 4,521 ล้านบาท
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 7,027 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.1 ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงโดยเฉพาะในเขตอำเภอรอบนอกที่ลดลงร้อยละ 4.3 ส่วนอำเภอเมืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.6 ทางด้าน สินเชื่อ มียอดคงค้าง ทั้งสิ้น 5,388 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.2 ปีก่อน โดยสินเชื่อที่ลดลงมากได้แก่ สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล แต่เพิ่มขึ้นในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรมและสินเชื่อเพื่อการบริการ ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัดแพร่ เช็คเรียกเก็บมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.2 เป็น 127,843 ฉบับ แต่มูลค่าเช็คเรียกเก็บกลับลดลงร้อยละ 17.8 เหลือ 5,724 ล้านบาท ตามการลดลงของมูลค่าการทำธุรกรรมทางการค้าเป็นสำคัญ ทางด้านเช็คคืนลดลงจากปีก่อนทั้งจำนวนเช็คและมูลค่าร้อยละ 33.1 และร้อยละ 26.5 ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 เทียบกับระดับร้อยละ 2.5 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงาน ของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 1,256 ราย วงเงิน 1,586.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,233 ราย วงเงิน 1,384.3 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 63 ราย วงเงิน 61.3 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,193 ราย เป็นเงิน 1,525.4 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดแพร่ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 4,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 3,749 ล้านบาทปีก่อน จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการ ต่อเนื่องเป็นสำคัญ โดยมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.9 ส่วนทางด้านการจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 5.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเงินได้ดอกเบี้ยตามการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลลดลงเหลือ 4,501 ล้านบาท เทียบกับเกินดุล 4,924 ล้านบาท ทำให้เงินสดเกินดุล 482 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,175 ล้านบาทปีก่อน ทางด้านการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐโครงการมิยาซาวา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 314 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเพื่อการจ้างงานเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
ภาคเกษตร แม้ว่าราคาสินค้าเกษตรปีก่อนจะอยู่ในเกณฑ์สูงแต่ผลผลิตพืชเศรษฐกิจสำคัญ กลับลดลง ทั้งนี้ส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะความแห้งแล้งทำให้ผลผลิตบางส่วนเสียหาย โดยเฉพาะข้าวนาปี ผลผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.6 เหลือ 134,269 เมตริกตัน อ้อย ลดลงร้อยละ 33.7 เหลือ 150,026 เมตริกตัน จากการลดพื้นที่ปลูกเป็นสำคัญเนื่องจากเกษตรกรขาดแคลนเงินทุนในการเพาะปลูกและบำรุงรักษา เช่นเดียวกับ ข้าวโพด ที่ผลผลิตลดลงจากปีก่อนร้อยละ 2.1 เหลือ 45,997 เมตริกตัน ส่วน ใบยาเวอร์จิเนีย ลดลงในเกณฑ์สูงถึงร้อยละ 78.5 เหลือ 5,424 เมตริกตัน จากความต้องการของตลาดต่างประเทศที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ผลผลิตพืชอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นตามความต้องการของตลาดภายในประเทศได้แก่ ถั่วเหลือง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 เป็น 18,306 เมตริกตัน กระเทียมและหอมแดง เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 และร้อยละ 7.7 เป็น 1,536 เมตริกตัน และ 1,090 เมตริกตัน ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชผลที่เกษตรกรขายได้ส่วนใหญ่ลดลงจากปีก่อนได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้านาปีราคาเฉลี่ยเมตริกตันละ 5,191 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 22.4 หอมแดงราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 18.61 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 8.7 ใบยาเวอร์จิเนียราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.23 บาท ลดลง จากปีก่อนร้อยละ 3.2 ถั่วเหลืองราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 9.13 บาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 14.5 ส่วน กระเทียมราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 23.39 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.5 ข้าวโพดราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 3.90 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 2.4 อย่างไรก็ตาม ราคาพืชผลส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์สูงเมื่อเทียบกับปี 2540
ภาคนอกเกษตร แม้ว่ารายได้จากภาคเกษตรจะลดลง รวมทั้งภาวะการจ้างงานยังไม่กระเตื้องขึ้นจากปีก่อน พิจารณาจากจำนวนผู้ประกันตนในจังหวัดแพร่ จากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 28.5 แต่จากสถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้น ทำให้ ประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น ส่งผลให้การใช้จ่ายภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ต่ำลงทำให้ผู้ฝากเงินบางส่วนถอนเงินเพื่อใช้จ่ายมากขึ้น โดยจำนวนการจดทะเบียนรถยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.7 เทียบกับลดลงถึงร้อยละ 84.9 ปีก่อน ภาษีมูลค่าเพิ่มเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 4.3 เป็น 147 ล้านบาท เทียบกับ ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ปีก่อน จากการปรับลดอัตราจัดเก็บ แต่เมื่อเทียบในอัตราภาษีร้อยละ 7 เดียวกันแล้ว เพิ่มขึ้น ร้อยละ 35.9 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 23.3 ปีก่อน ประกอบกับมีรายได้จากแรงงานที่ไปทำงานในต่างประเทศ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.3 ขณะที่จำนวนการจดทะเบียนรถจักรยานยนต์แม้ว่าจะลดลงร้อยละ 17.9 แต่ต่ำกว่า เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 64.9 ปีก่อน ภาคเหมืองแร่ การผลิตหินปูนเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.4 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 32.4 ปีก่อน เนื่องจากมีการเร่งก่อสร้างถนน 4 เลนที่เป็นโครงการต่อเนื่องจากที่ชะลอลงในปีก่อนหน้า
การลงทุน/ก่อสร้าง ภาวะการลงทุนภาคเอกชนโดยรวมยังซบเซาต่อเนื่องจากปีก่อน โดยในปีนี้ยังคงไม่มีกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนเกิดขึ้น การลงทุนจัดตั้งโรงงานอุตสาหกรรมใหม่มีเพียง 16 โรงงาน เงินลงทุน 22 ล้านบาท เทียบกับ 38 โรงงาน เงินลงทุน 65 ล้านบาทปีก่อน โรงงานที่น่าสนใจได้แก่ โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์จากไม้ โรงงานผลิตนมสดพาสเจอร์ไรส์ โรงงานผลิตเครื่องเจียระไนพลอยและอะไหล่ เป็นต้น การก่อสร้าง พื้นที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 10.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 60.5 ปีก่อน เป็นการเพิ่มขึ้นของการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและอาคารพาณิชย์รายย่อยเท่านั้น ส่วนการก่อสร้างภาครัฐ ยังเป็นในลักษณะเช่นเดียวกับปีก่อนกล่าวคือเป็นการเร่งก่อสร้างถนน 4 เลน การก่อสร้างอาคารสำนักงานของ หน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาเป็นสำคัญ ทางด้านการให้สินเชื่อเพื่อการก่อสร้างและสินเชื่อเพื่อธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ลดลงร้อยละ 19.7 และร้อยละ 17.1 ตามลำดับ
ภาคการเงิน ปริมาณเงินนำฝากและเบิกถอนของสาขาธนาคารพาณิชย์ที่ผู้แทนธนาคารแห่ง ประเทศไทย (คลังจังหวัดแพร่) ลดลงต่อเนื่องจากปีก่อนร้อยละ 1.0 เหลือ 22,985 ล้านบาท โดยเงินนำฝากลดลง จากปีก่อนร้อยละ 1.7 เหลือ 13,753 ล้านบาท ส่วนเงินเบิกถอนมีจำนวน 9,232 ล้านบาทเท่ากับปีก่อน ส่งผลให้ มียอดเงินนำฝากสุทธิลดลงร้อยละ 4.9 เหลือ 4,521 ล้านบาท
ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 เงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์มียอดคงค้าง 7,027 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 3.5 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 1.1 ตามอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ลดลงโดยเฉพาะในเขตอำเภอรอบนอกที่ลดลงร้อยละ 4.3 ส่วนอำเภอเมืองเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.6 ทางด้าน สินเชื่อ มียอดคงค้าง ทั้งสิ้น 5,388 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.6 เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 14.2 ปีก่อน โดยสินเชื่อที่ลดลงมากได้แก่ สินเชื่อเพื่อการพาณิชยกรรม สินเชื่อเพื่อการก่อสร้าง และสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคส่วนบุคคล แต่เพิ่มขึ้นในส่วนของสินเชื่อเพื่อการอุตสาหกรรมและสินเชื่อเพื่อการบริการ ปริมาณการใช้เช็ค ผ่านสำนักหักบัญชีจังหวัดแพร่ เช็คเรียกเก็บมีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.2 เป็น 127,843 ฉบับ แต่มูลค่าเช็คเรียกเก็บกลับลดลงร้อยละ 17.8 เหลือ 5,724 ล้านบาท ตามการลดลงของมูลค่าการทำธุรกรรมทางการค้าเป็นสำคัญ ทางด้านเช็คคืนลดลงจากปีก่อนทั้งจำนวนเช็คและมูลค่าร้อยละ 33.1 และร้อยละ 26.5 ตามลำดับ สำหรับสัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บลดลงอยู่ที่ระดับร้อยละ 1.5 เทียบกับระดับร้อยละ 2.5 ปีก่อน
สำหรับความก้าวหน้าทางด้านการประนอมหนี้ปรากฏว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 จากรายงาน ของสาขาธนาคารพาณิชย์มีสินเชื่อที่อยู่ในขบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวนทั้งสิ้น 1,256 ราย วงเงิน 1,586.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1,233 ราย วงเงิน 1,384.3 ล้านบาท ประกอบด้วยที่อยู่ในระหว่างการปรับปรุงโครงสร้างหนี้จำนวน 63 ราย วงเงิน 61.3 ล้านบาท และปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วเสร็จจำนวน 1,193 ราย เป็นเงิน 1,525.4 ล้านบาท
ฐานะการคลังรัฐบาลจังหวัดแพร่ปีงบประมาณ 2542 เงินในงบประมาณขาดดุล 4,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเทียบกับที่ขาดดุล 3,749 ล้านบาทปีก่อน จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อใช้ในการก่อสร้างโครงการ ต่อเนื่องเป็นสำคัญ โดยมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 5.9 ส่วนทางด้านการจัดเก็บรายได้ลดลงร้อยละ 5.6 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการลดลงของการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จากเงินได้ดอกเบี้ยตามการลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ เมื่อรวมกับเงินนอกงบประมาณที่เกินดุลลดลงเหลือ 4,501 ล้านบาท เทียบกับเกินดุล 4,924 ล้านบาท ทำให้เงินสดเกินดุล 482 ล้านบาท เทียบกับที่เกินดุล 1,175 ล้านบาทปีก่อน ทางด้านการใช้จ่ายตามโครงการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐโครงการมิยาซาวา ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีทั้งสิ้น 314 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการใช้จ่ายเพื่อการจ้างงานเพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-