กรุงเทพฯ--22 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
ตามสถิติข้อมูลของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติเมื่อปลายปี 2543 มีผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทยประมาณ 984,000 คน และในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5.8 ล้านคน กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดในการติดเชื้อเอดส์ คือ กลุ่มวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-39 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศรวมทั้งภูมิภาคอาเซียน การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดภาพลบต่อด้านธุรกิจการ ท่องเที่ยวของไทยและอาเซียนด้วย
ในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการพัฒนาสังคม (ASEAN Committee on Social Development — COSD) ครั้งที่ 22 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย คณะผู้แทนไทย โดยมีนายนพปฏล คุณวิบูลย์ รองอธิบดี กรมอาเซียน เป็นหัวหน้าคณะได้มีการหารือกับผู้แทนของประเทศอาเซียนเกี่ยวกับการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ต่อเนื่องกับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม โดยที่ประชุม COSD เห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจัดทำเอกสารรายงานประเทศของตน (country paper) ซึ่งจะครอบคลุมสาระเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ป่วยเอดส์และกลยุทธ์ในการดำเนินการควบคุมและแก้ไข โดยเอกสารดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดทำร่างแถลงการณ์ร่วมและแผนงานระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 (2544-2548) เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ต่อไป
อาเซียนได้เล็งเห็นความสำคัญและส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ จึงได้ริเริ่มให้มีการก่อตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านโรคเอดส์ (ASEAN Task Force on AIDS : ATFOA) ขึ้นในปี 2536 เพื่อจัดทำแผนงานระดับภูมิภาคช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2540-2543 เพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โดยมีโครงการความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 โครงการ โดยกองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวง สาธารณสุข ได้เป็นหน่วยประสานงานหลัก 4 โครงการ คือ
(1) การจัดตั้งเครือข่ายสารสนเทศและวิจัยด้านเอดส์ของอาเซียน (ASEAN-AIDS Information and Research Reference Network)
(2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในอาเซียนสำหรับหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธาณสุข (HIV/AIDS Prevention and Control Programme for Non-Health Sector)
(3) การพัฒนาระบบการสนับสนุนชุมชนผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ Development of Community Support Systems for Members with HIV/AIDS) และ
(4) การศึกษารูปแบบ ผลกระทบของการเคลื่อนย้ายประชากรที่มีต่อการแพร่กระจายของโรคเอดส์ (Patterns and Effects of Population Movement which may contribute to the spread of HIV) คณะทำงานอาเซียนด้านโรคเอดส์ได้ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งในการควบคุมป้องกัน และแก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทั้งนี้ เนื่องมาจากความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังของ ทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยและอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
ตามสถิติข้อมูลของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติเมื่อปลายปี 2543 มีผู้ติดเชื้อเอดส์ในประเทศไทยประมาณ 984,000 คน และในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 5.8 ล้านคน กลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดในการติดเชื้อเอดส์ คือ กลุ่มวัยทำงานที่มีอายุระหว่าง 20-39 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศรวมทั้งภูมิภาคอาเซียน การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการพัฒนาทั้งด้านเศรษฐกิจและด้านสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ดังกล่าวจะก่อให้เกิดภาพลบต่อด้านธุรกิจการ ท่องเที่ยวของไทยและอาเซียนด้วย
ในการประชุมคณะกรรมการอาเซียนด้านการพัฒนาสังคม (ASEAN Committee on Social Development — COSD) ครั้งที่ 22 ซึ่งมีขึ้นระหว่างวันที่ 12-15 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย คณะผู้แทนไทย โดยมีนายนพปฏล คุณวิบูลย์ รองอธิบดี กรมอาเซียน เป็นหัวหน้าคณะได้มีการหารือกับผู้แทนของประเทศอาเซียนเกี่ยวกับการจัดประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ต่อเนื่องกับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 7 ซึ่งกำหนดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 พฤศจิกายน 2544 ณ บันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ดารุสซาลาม โดยที่ประชุม COSD เห็นชอบให้ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจัดทำเอกสารรายงานประเทศของตน (country paper) ซึ่งจะครอบคลุมสาระเกี่ยวกับสถานการณ์ของผู้ป่วยเอดส์และกลยุทธ์ในการดำเนินการควบคุมและแก้ไข โดยเอกสารดังกล่าวจะเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดทำร่างแถลงการณ์ร่วมและแผนงานระดับภูมิภาค ระยะที่ 2 (2544-2548) เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนสมัยพิเศษว่าด้วยเรื่องโรคเอดส์ต่อไป
อาเซียนได้เล็งเห็นความสำคัญและส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ จึงได้ริเริ่มให้มีการก่อตั้งคณะทำงานอาเซียนด้านโรคเอดส์ (ASEAN Task Force on AIDS : ATFOA) ขึ้นในปี 2536 เพื่อจัดทำแผนงานระดับภูมิภาคช่วงระยะเวลาระหว่างปี 2540-2543 เพื่อต่อต้านการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ โดยมีโครงการความร่วมมือ ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 โครงการ โดยกองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวง สาธารณสุข ได้เป็นหน่วยประสานงานหลัก 4 โครงการ คือ
(1) การจัดตั้งเครือข่ายสารสนเทศและวิจัยด้านเอดส์ของอาเซียน (ASEAN-AIDS Information and Research Reference Network)
(2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ในอาเซียนสำหรับหน่วยงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธาณสุข (HIV/AIDS Prevention and Control Programme for Non-Health Sector)
(3) การพัฒนาระบบการสนับสนุนชุมชนผู้ป่วยที่ติดเชื้อเอดส์ Development of Community Support Systems for Members with HIV/AIDS) และ
(4) การศึกษารูปแบบ ผลกระทบของการเคลื่อนย้ายประชากรที่มีต่อการแพร่กระจายของโรคเอดส์ (Patterns and Effects of Population Movement which may contribute to the spread of HIV) คณะทำงานอาเซียนด้านโรคเอดส์ได้ประสบความสำเร็จระดับหนึ่งในการควบคุมป้องกัน และแก้ไขปัญหา การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ทั้งนี้ เนื่องมาจากความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจังของ ทั้งภาครัฐและเอกชนของไทยและอาเซียน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-