ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2544 ทางการได้ดำเนินนโยบายรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงิน โดยการออกมาตรการนโยบายการเงิน มาตรการสนับสนุนการพัฒนาตลาดตราสาร มาตรการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน ตลอดจนปรับปรุงมาตรการปริวรรตเงินตรา การแก้ไขปัญหาสถาบันการเงินและสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามนโยบายของรัฐบาล ดังนี้
1. มาตรการนโยบายการเงินและการพัฒนาตลาดตราสาร
1.1 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 18 มกราคม 2544
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งผลต่อการ ส่งออกของไทย แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่มี แนวโน้มลดต่ำลงและการลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อย่างรวดเร็ว ยังเป็นปัจจัยบวกอยู่บ้าง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับเดิมที่อัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 13/2544 ลงวันที่ 18 มกราคม 2544)
1.2 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 1 มีนาคม 2544
คณะกรรมการนโยบายการเงินประเมินแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงนักเพราะมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวลงอีกของเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยรวมทั้งได้มีการพิจารณาถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลใหม่ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และคาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่าย เม็ดเงินเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยยังต่ำกว่าศักยภาพ จึงเห็นว่าแรงกระตุ้นจากภาคการคลังจะยังไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ใน เป้าหมายที่กำหนด ประกอบกับผลจากการที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งสัญญาณในการดำเนินนโยบาย การเงินในลักษณะผ่อนคลายมาโดยตลอด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ไว้ในระดับเดิม คือ อัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 39/2544 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2544)
1.3 การจัดตั้งศูนย์ Hotline อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (ศอยพ.)
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งศูนย์ Hotline ขึ้น เพื่อให้ความรู้ด้านข้อมูลของราคา และรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อย โดยเริ่มเปิดดำเนินการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 13.30 น.
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 23/2544 ลงวันที่ 31 มกราคม 2544)
2. มาตรการปริวรรตเงินตรา
การปรับปรุงรายงานวัตถุประสงค์ของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนแก่ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวม BIBF) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ถือปฏิบัติในการรายงานการขายหรือซื้อเงินตราต่างประเทศในแบบรายงาน ธ.ต.3 (ข) ข้อ 6 และ ธ.ต.4 (ข) ข้อ 6 ตามลำดับ ในกรณีที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ หรือคู่ค้าที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หากมีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในด้านหลังของแบบรายงาน ธ.ต. ดังกล่าว ให้ตัวแทนรับอนุญาตมีหน้าที่รายงานและ/หรือแจ้งคู่ค้าให้รายงานข้อมูลเพิ่มเติม
(หนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม 2544)
3. มาตรการสินเชื่อ
3.1 การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนแก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามระเบียบว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ทั้งรายใหม่และรายเก่า โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินที่รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และให้ธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตรา ดอกเบี้ย MLR ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี ส่วนสถาบันการเงินที่ขายตั๋วซึ่งมิใช่ธนาคารพาณิชย์ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MLR โดยเฉลี่ยตามประกาศของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง (ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์) ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารแห่ง ประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากเดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เหลือร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี และกำหนดระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือตามโครงการนี้ไม่เกิน 1 ปี
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้ทันที)
3.2 การกำหนดเป้าสินเชื่อปี 2544 แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศส่งแบบรายงานเป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ SMEs สำหรับปี 2544 มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 21 ของเดือนกรกฎาคม 2544 สำหรับงวดครึ่งแรกของปี 2544 และ วันที่ 21 มกราคม 2545 สำหรับงวดครึ่งหลังของปี 2544 โดยให้ตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งเป้าหมายให้สามารถปฎิบัติได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
(หนังสือเวียนลงวันที่ 1 มีนาคม 2544)
4. มาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
4.1 การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนแก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กรมสรรพากรได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินที่ได้รับโอนมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น เพื่อนำไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ ต้องเป็นอสังหาฯ ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินนั้น นอกจากนี้ ธนาคารฯ ได้แนบสำเนาพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สถาบันการเงิน ทราบด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 24 มกราคม 2544)
4.2 การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจ Escrow Account
ธนาคารแห่งประเทศไทยขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ โดยอนุญาตให้บริการรับฝากเงินในรูปแบบ Escrow Account จากผู้ฝากที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ กับผู้ขายได้ โดยที่ธนาคารพาณิชย์จะ ดูแลให้มีการเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีครบถ้วนแล้ว และต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ คือ ธนาคารพาณิชย์สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการเปิดบัญชี ค่าบริการ และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากผู้ใช้บริการได้ แต่ต้องกำหนดไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนและในสัญญาการเปิดบัญชี Escrow ต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ของคู่สัญญา ข้อมูลสินทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเปิดบัญชี การฝาก การถอน และการปิดบัญชี ตลอดจน ค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมในการเปิดบัญชี วันเริ่มต้น และสิ้นสุดการเปิดบัญชี Escrow
อนึ่ง การประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน มิฉะนั้น อาจถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ Escrow Account
(หนังสือเวียนลงวันที่ 8 มีนาคม 2544)
4.3 การเลิกบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด
ด้วยกระทรวงการคลังได้มีคำสั่ง แต่งตั้งให้สำนักงานปิติเสวีทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแจ้งแก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด ทราบถึง ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของบริษัท ตามข้อบังคับ ว่าด้วยการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โดยกองทุนฯ จะจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ซึ่งได้ไปติดต่อแสดงเจตนาขอรับเงิน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ระหว่างเวลา 9.30 — 15.30 น. ณ ที่ทำการของบริษัทเครดิต ฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด
2) ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่ ครบกำหนดแล้วรวมทั้งบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับเช็คสั่งจ่ายจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด แต่ยัง มิได้นำเช็คเข้าฝากให้นำเช็คดังกล่าวไปแสดง ณ ที่ทำการของบริษัทเงินทุน กรณีเป็นเช็คจ่ายชำระคืนเงินฝากและเงินกู้ยืมให้ยื่นขอรับเงินจากเจ้าหน้าที่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ไปประจำที่บริษัท เงินทุน กรณีเป็นเช็คสั่งจ่ายเพื่อการอื่นๆ ให้นำไป ยื่นต่อผู้ชำระบัญชี
3) สำหรับลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนจะขอไถ่ถอนหลักประกันที่จำนองไว้ได้ เมื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยครบตามสัญญา
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 35/2544 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544)
4.4 การกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ยื่นรายงาน
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ยื่นรายงานที่ เกี่ยวข้องกับ Non Performing Loans การปรับปรุง โครงสร้างหนี้ ข้อมูลเงินให้สินเชื่อที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมาย และรายงานที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดลูกค้าผู้ประกอบการ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารลงวันที่ 25 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544)
5. มาตรการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
5.1 การดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ ซึ่งประกาศยกเลิกการอนุญาตให้นับเงินลงทุนที่สาขาธนาคารต่างประเทศใช้เงินกองทุนไปลงทุนในหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งในที่สุดจะนำไปลงทุนในหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่ จดทะเบียนในประเทศไทยตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเงินลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็น สินทรัพย์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
(หนังสือเวียนลงวันที่ 11 มกราคม 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 และมีผลบังคับใช้วันที่ 19 ธันวาคม 2543)
5.2 การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจ ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การใช้บริการ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สรุปรายละเอียด ดังนี้
1) ขยายประเภทและขอบเขตธุรกรรมที่บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สามารถใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในธุรกรรม ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดำเนินการ
สำหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับอนุญาต ตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2543 ในเรื่องเดียวกันไปแล้วนั้น ให้ดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของประกาศฉบับนี้ได้ทันที
2) การเชื่อมโยง WebSite ของบริษัทเงินทุนฯ กับธุรกิจอื่นจะต้องไม่แสดงเครื่องหมายการค้าหรือข้อความของธุรกิจอื่นบน หน้าจอภาพแรกของบริษัทเงินทุนฯ และไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะเป็นการโฆษณาชี้ชวนให้ลูกค้าไปใช้บริการใน WebSite ของธุรกิจอื่น และห้าม ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างลูกค้ากับธุรกิจอื่นบน WebSite ของบริษัทเงินทุนฯ นอกจากนี้ ให้บริษัทเงินทุนฯ คิดค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) จากลูกค้าผู้ใช้บริการและธุรกิจอื่นตามกลไกตลาด โดยต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อลูกค้าผู้ใช้บริการ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 22 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544)
5.3 การกำหนดให้ผู้สอบบัญชี จัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติเรื่อง การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ โดยให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและการควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543 และที่จะแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้ต้องปฏิบัติในเรื่อง การรับเงินและการจ่ายเงิน การให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายทรัพย์สิน โดยให้ตรวจสอบและจัดทำรายงานในประเด็นที่ว่า ระบบควบคุมภายในตามระเบียบดังกล่าวในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร และบริษัทมีการละเว้นการดำเนินการตามระเบียบพิธีปฏิบัติดังกล่าวทุกเรื่องหรือไม่
ทั้งนี้ ให้บริษัทเงินทุนฯ จัดให้ ผู้สอบบัญชีดำเนินการและจัดทำรายงานดังกล่าว ส่งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมกับงบการเงินงวดประจำปี โดยเริ่มตั้งแต่งวดประจำปีบัญชีที่เริ่มต้นหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544)
5.4 การกำหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเรื่องการกู้ยืม หรือ รับเงิน หรือจัดหาเงินทุนจากประชาชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมหรือรับฝากเงินจากประชาชน โดยต้องจัดให้ลูกค้าแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอย่างละเอียดและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐานด้วย เช่น บุคคลธรรมดา อย่างน้อยต้องมีเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลนั้น เป็นต้น และให้เก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือสำเนาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ชำระเงินคืนแก่ลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ นอกจากนี้ ลูกค้าจะปกปิดชื่อจริงโดยใช้ชื่อแฝงหรือชื่อปลอมมิได้ สำหรับลูกค้าที่มีเงินให้กู้ยืมหรือเงินฝากอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้บริษัทเงินทุนดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่บังคับใช้ เว้นแต่ลูกค้าที่ติดต่อไม่ได้ และบริษัทได้แจ้งทางจดหมายลงทะเบียนให้ลูกค้าดำเนินการแล้ว
(หนังสือเวียนลงวันที่ 29 ธันวาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารลงวันที่ 21 ธันวาคม 2543 และมีผลบังคับใช้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. มาตรการนโยบายการเงินและการพัฒนาตลาดตราสาร
1.1 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 18 มกราคม 2544
คณะกรรมการนโยบายการเงิน ประเมินภาพรวมเศรษฐกิจและแนวโน้มเงินเฟ้อว่า การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ จะส่งผลต่อการ ส่งออกของไทย แต่อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันที่มี แนวโน้มลดต่ำลงและการลดอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ อย่างรวดเร็ว ยังเป็นปัจจัยบวกอยู่บ้าง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาด ซื้อคืนระยะ 14 วันไว้ในระดับเดิมที่อัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 13/2544 ลงวันที่ 18 มกราคม 2544)
1.2 การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน วันที่ 1 มีนาคม 2544
คณะกรรมการนโยบายการเงินประเมินแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราที่ไม่สูงนักเพราะมีความเสี่ยงจากการชะลอตัวลงอีกของเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยรวมทั้งได้มีการพิจารณาถึงนโยบายต่างๆ ของรัฐบาลใหม่ที่ได้แถลงต่อรัฐสภา และคาดว่าจะทำให้มีการใช้จ่าย เม็ดเงินเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2544 เป็นต้นไป อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยยังต่ำกว่าศักยภาพ จึงเห็นว่าแรงกระตุ้นจากภาคการคลังจะยังไม่สร้างแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อ และแนวโน้มเงินเฟ้อพื้นฐานยังคงอยู่ใน เป้าหมายที่กำหนด ประกอบกับผลจากการที่คณะกรรมการฯ ได้ส่งสัญญาณในการดำเนินนโยบาย การเงินในลักษณะผ่อนคลายมาโดยตลอด ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยระยะยาวลดลง คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนระยะ 14 วัน ไว้ในระดับเดิม คือ อัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 39/2544 ลงวันที่ 1 มีนาคม 2544)
1.3 การจัดตั้งศูนย์ Hotline อำนวยความสะดวกแก่ผู้ลงทุนรายย่อยในการซื้อพันธบัตรรัฐบาลในตลาดรอง (ศอยพ.)
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งศูนย์ Hotline ขึ้น เพื่อให้ความรู้ด้านข้อมูลของราคา และรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการตัดสินใจลงทุนของผู้ลงทุนรายย่อย โดยเริ่มเปิดดำเนินการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544 ระหว่างเวลา 10.00 น. ถึง 13.30 น.
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 23/2544 ลงวันที่ 31 มกราคม 2544)
2. มาตรการปริวรรตเงินตรา
การปรับปรุงรายงานวัตถุประสงค์ของการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนแก่ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวม BIBF) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเชีย จำกัด (มหาชน) ถือปฏิบัติในการรายงานการขายหรือซื้อเงินตราต่างประเทศในแบบรายงาน ธ.ต.3 (ข) ข้อ 6 และ ธ.ต.4 (ข) ข้อ 6 ตามลำดับ ในกรณีที่มีการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับสถาบันการเงินในต่างประเทศ หรือคู่ค้าที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ หากมีวัตถุประสงค์นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในด้านหลังของแบบรายงาน ธ.ต. ดังกล่าว ให้ตัวแทนรับอนุญาตมีหน้าที่รายงานและ/หรือแจ้งคู่ค้าให้รายงานข้อมูลเพิ่มเติม
(หนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 และมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มีนาคม 2544)
3. มาตรการสินเชื่อ
3.1 การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนแก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม โดยจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามระเบียบว่าด้วยการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินฯ เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการฟื้นฟูกิจการเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ประกอบธุรกิจที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้ เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2543 ทั้งรายใหม่และรายเก่า โดยจะคิดอัตราดอกเบี้ยจากสถาบันการเงินที่รับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และให้ธนาคารพาณิชย์คิดดอกเบี้ยจากลูกค้าในอัตรา ดอกเบี้ย MLR ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี ส่วนสถาบันการเงินที่ขายตั๋วซึ่งมิใช่ธนาคารพาณิชย์ให้ใช้อัตราดอกเบี้ย MLR โดยเฉลี่ยตามประกาศของธนาคารพาณิชย์ 4 แห่ง (ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.กสิกรไทย และ ธ.ไทยพาณิชย์) ลบด้วยร้อยละ 2.75 ต่อปี
นอกจากนี้ ธนาคารแห่ง ประเทศไทยปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่คิดจากสถาบันการเงินในการรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่เกิดจากการประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจากเดิมในอัตราร้อยละ 3 ต่อปี เหลือร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 1 ปี และกำหนดระยะเวลาในการให้ความช่วยเหลือตามโครงการนี้ไม่เกิน 1 ปี
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้ทันที)
3.2 การกำหนดเป้าสินเชื่อปี 2544 แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศส่งแบบรายงานเป้าหมายการให้สินเชื่อแก่ SMEs สำหรับปี 2544 มายังธนาคารแห่งประเทศไทย ภายในวันที่ 21 ของเดือนกรกฎาคม 2544 สำหรับงวดครึ่งแรกของปี 2544 และ วันที่ 21 มกราคม 2545 สำหรับงวดครึ่งหลังของปี 2544 โดยให้ตระหนักถึงความสำคัญในการตั้งเป้าหมายให้สามารถปฎิบัติได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง
(หนังสือเวียนลงวันที่ 1 มีนาคม 2544)
4. มาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
4.1 การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีลูกหนี้ของสถาบันการเงินโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนแก่ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สถาบันการเงินพิเศษของรัฐ และบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อแจ้งให้ทราบว่า กรมสรรพากรได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงิน สำหรับเงินที่ได้รับโอนมาจากการโอนอสังหาริมทรัพย์แก่ผู้อื่น เพื่อนำไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้สถาบันการเงิน ซึ่งได้ดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ทั้งนี้ ต้องเป็นอสังหาฯ ที่ลูกหนี้นำมาจำนองเป็นประกันหนี้ของสถาบันการเงินนั้น นอกจากนี้ ธนาคารฯ ได้แนบสำเนาพระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 373) พ.ศ. 2543 เพื่อให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ลูกหนี้ของสถาบันการเงินตลอดจนเอกสารที่เกี่ยวข้องให้สถาบันการเงิน ทราบด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 24 มกราคม 2544)
4.2 การอนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์ประกอบธุรกิจ Escrow Account
ธนาคารแห่งประเทศไทยขยายขอบเขตการประกอบธุรกิจของธนาคารพาณิชย์ โดยอนุญาตให้บริการรับฝากเงินในรูปแบบ Escrow Account จากผู้ฝากที่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญาซื้อขายสินทรัพย์ต่างๆ กับผู้ขายได้ โดยที่ธนาคารพาณิชย์จะ ดูแลให้มีการเบิกถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เมื่อผู้ซื้อและผู้ขายได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาประกอบการเปิดบัญชีครบถ้วนแล้ว และต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้ คือ ธนาคารพาณิชย์สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจากการเปิดบัญชี ค่าบริการ และ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ จากผู้ใช้บริการได้ แต่ต้องกำหนดไว้ในสัญญาอย่างชัดเจนและในสัญญาการเปิดบัญชี Escrow ต้องมีรายการ ชื่อ ที่อยู่ของคู่สัญญา ข้อมูลสินทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเปิดบัญชี การฝาก การถอน และการปิดบัญชี ตลอดจน ค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียมในการเปิดบัญชี วันเริ่มต้น และสิ้นสุดการเปิดบัญชี Escrow
อนึ่ง การประกอบธุรกิจที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดดังกล่าว ธนาคารพาณิชย์ต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน มิฉะนั้น อาจถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ Escrow Account
(หนังสือเวียนลงวันที่ 8 มีนาคม 2544)
4.3 การเลิกบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด
ด้วยกระทรวงการคลังได้มีคำสั่ง แต่งตั้งให้สำนักงานปิติเสวีทำหน้าที่เป็นผู้ชำระบัญชีบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศแจ้งแก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด ทราบถึง ขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้
1) กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน จะช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของบริษัท ตามข้อบังคับ ว่าด้วยการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540 โดยกองทุนฯ จะจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยแก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ ซึ่งได้ไปติดต่อแสดงเจตนาขอรับเงิน ตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544 จนถึงวันที่ 16 พฤษภาคม 2544 ระหว่างเวลา 9.30 — 15.30 น. ณ ที่ทำการของบริษัทเครดิต ฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด
2) ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ที่ ครบกำหนดแล้วรวมทั้งบุคคลอื่นๆ ที่ได้รับเช็คสั่งจ่ายจากบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ออมทรัพย์ จำกัด แต่ยัง มิได้นำเช็คเข้าฝากให้นำเช็คดังกล่าวไปแสดง ณ ที่ทำการของบริษัทเงินทุน กรณีเป็นเช็คจ่ายชำระคืนเงินฝากและเงินกู้ยืมให้ยื่นขอรับเงินจากเจ้าหน้าที่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่ไปประจำที่บริษัท เงินทุน กรณีเป็นเช็คสั่งจ่ายเพื่อการอื่นๆ ให้นำไป ยื่นต่อผู้ชำระบัญชี
3) สำหรับลูกหนี้ที่กู้ยืมเงินจากบริษัทเงินทุนจะขอไถ่ถอนหลักประกันที่จำนองไว้ได้ เมื่อชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยครบตามสัญญา
(ข่าวธปท.ฉบับที่ 35/2544 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2544)
4.4 การกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ยื่นรายงาน
ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์ยื่นรายงานที่ เกี่ยวข้องกับ Non Performing Loans การปรับปรุง โครงสร้างหนี้ ข้อมูลเงินให้สินเชื่อที่อยู่ระหว่างการดำเนินการทางกฎหมาย และรายงานที่เกี่ยวข้องกับรายละเอียดลูกค้าผู้ประกอบการ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารลงวันที่ 25 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2544)
5. มาตรการกำกับและพัฒนาสถาบันการเงิน
5.1 การดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งประกาศกระทรวงการคลัง เกี่ยวกับการดำรงสินทรัพย์ของสาขาธนาคารต่างประเทศ ซึ่งประกาศยกเลิกการอนุญาตให้นับเงินลงทุนที่สาขาธนาคารต่างประเทศใช้เงินกองทุนไปลงทุนในหุ้นของบริษัทจำกัด ซึ่งในที่สุดจะนำไปลงทุนในหุ้นสามัญ หรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่ จดทะเบียนในประเทศไทยตามโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย และเงินลงทุนในหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิของธนาคารพาณิชย์และบริษัทเงินทุนที่จดทะเบียนในประเทศไทยเป็น สินทรัพย์ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการธนาคารพาณิชย์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522
(หนังสือเวียนลงวันที่ 11 มกราคม 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 8 ธันวาคม 2543 และมีผลบังคับใช้วันที่ 19 ธันวาคม 2543)
5.2 การใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจ ของบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทยนำส่งประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การใช้บริการ เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ในการประกอบธุรกิจของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สรุปรายละเอียด ดังนี้
1) ขยายประเภทและขอบเขตธุรกรรมที่บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ สามารถใช้บริการเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในธุรกรรม ทุกประเภทที่ได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิต ฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยต้องได้รับอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนดำเนินการ
สำหรับบริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ที่ได้รับอนุญาต ตามประกาศกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 27 มกราคม 2543 ในเรื่องเดียวกันไปแล้วนั้น ให้ดำเนินการภายใต้ข้อกำหนดของประกาศฉบับนี้ได้ทันที
2) การเชื่อมโยง WebSite ของบริษัทเงินทุนฯ กับธุรกิจอื่นจะต้องไม่แสดงเครื่องหมายการค้าหรือข้อความของธุรกิจอื่นบน หน้าจอภาพแรกของบริษัทเงินทุนฯ และไม่กระทำการใดๆ ในลักษณะเป็นการโฆษณาชี้ชวนให้ลูกค้าไปใช้บริการใน WebSite ของธุรกิจอื่น และห้าม ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างลูกค้ากับธุรกิจอื่นบน WebSite ของบริษัทเงินทุนฯ นอกจากนี้ ให้บริษัทเงินทุนฯ คิดค่าธรรมเนียมการให้บริการผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) จากลูกค้าผู้ใช้บริการและธุรกิจอื่นตามกลไกตลาด โดยต้องคำนึงถึงความเป็นธรรมต่อลูกค้าผู้ใช้บริการ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2544 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 22 มกราคม 2544 และมีผลบังคับใช้วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2544)
5.3 การกำหนดให้ผู้สอบบัญชี จัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกหนังสือเวียนให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ถือปฏิบัติเรื่อง การกำหนดให้ผู้สอบบัญชีจัดทำรายงานให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นกรณีพิเศษ โดยให้ตรวจสอบการปฏิบัติงานตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับการรับและจ่ายเงิน การตรวจสอบและการควบคุมภายในของบริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2543 และที่จะแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้ต้องปฏิบัติในเรื่อง การรับเงินและการจ่ายเงิน การให้กู้ยืมเงินและการก่อภาระผูกพัน การลงทุนในหลักทรัพย์ และการขายทรัพย์สิน โดยให้ตรวจสอบและจัดทำรายงานในประเด็นที่ว่า ระบบควบคุมภายในตามระเบียบดังกล่าวในแต่ละเรื่องมีความเหมาะสมหรือไม่ ควรมีการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร และบริษัทมีการละเว้นการดำเนินการตามระเบียบพิธีปฏิบัติดังกล่าวทุกเรื่องหรือไม่
ทั้งนี้ ให้บริษัทเงินทุนฯ จัดให้ ผู้สอบบัญชีดำเนินการและจัดทำรายงานดังกล่าว ส่งไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยพร้อมกับงบการเงินงวดประจำปี โดยเริ่มตั้งแต่งวดประจำปีบัญชีที่เริ่มต้นหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2544 เป็นต้นไป
(หนังสือเวียนลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2544)
5.4 การกำหนดให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเรื่องการกู้ยืม หรือ รับเงิน หรือจัดหาเงินทุนจากประชาชน
ธนาคารแห่งประเทศไทยออกข้อกำหนดด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเกี่ยวกับการกู้ยืมหรือรับฝากเงินจากประชาชน โดยต้องจัดให้ลูกค้าแสดงข้อมูลเกี่ยวกับตนเองอย่างละเอียดและลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้องของสำเนาเอกสารหลักฐานด้วย เช่น บุคคลธรรมดา อย่างน้อยต้องมีเอกสารที่ระบุเลขประจำตัวประชาชนของบุคคลนั้น เป็นต้น และให้เก็บรักษาเอกสารหลักฐานหรือสำเนาไว้ไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่ชำระเงินคืนแก่ลูกค้าเพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ นอกจากนี้ ลูกค้าจะปกปิดชื่อจริงโดยใช้ชื่อแฝงหรือชื่อปลอมมิได้ สำหรับลูกค้าที่มีเงินให้กู้ยืมหรือเงินฝากอยู่ก่อนวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้ ให้บริษัทเงินทุนดำเนินการให้เป็นไปตามประกาศฉบับนี้ภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่บังคับใช้ เว้นแต่ลูกค้าที่ติดต่อไม่ได้ และบริษัทได้แจ้งทางจดหมายลงทะเบียนให้ลูกค้าดำเนินการแล้ว
(หนังสือเวียนลงวันที่ 29 ธันวาคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศธนาคารลงวันที่ 21 ธันวาคม 2543 และมีผลบังคับใช้วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2544)
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-