Everything But Arms (EBA) คือ โครงการที่สหภาพยุโรป (European Union: EU) ให้สิทธิพิเศษด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีนำเข้าและยกเลิกการกำหนดโควตานำเข้าให้แก่สินค้านำเข้าที่มีแหล่งกำเนิดจากกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Countries: LLDCs) โดยครอบคลุมสินค้าทุกประเภท ยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อช่วยให้กลุ่ม LLDCs มีรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้น อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจของกลุ่ม LLDCs ขยายตัวสูงขึ้นด้วย
ข้อตกลง EBA เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2544 เมื่อ EU ประกาศใช้ Council Regulation No. 416/2001 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม Regulation No. 2820/98 ว่าด้วยการให้ GSP (Generalized System of Preferences) เป็นการทั่วไปแก่ประเทศกำลังพัฒนา สาระสำคัญของ EBA ที่แตกต่างจากการให้ GSP โดยทั่วไปของกลุ่ม EU พอสรุปได้ดังนี้
1. ประเทศที่ได้รับสิทธิ (Country Coverage)
GSP ทั่วไป ครอบคลุมประเทศกำลังพัฒนา (Less Developed Countries: LDCs) และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LLDCs) รวมทั้งสิ้น 142 ประเทศ
EBA ครอบคลุมเฉพาะประเทศในกลุ่ม LLDCs รวมทั้งสิ้น 48 ประเทศ ตามการจำแนกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ซึ่งประกอบด้วย
- ประเทศในทวีปแอฟริกา จำนวน 33 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี เคปเวิร์ด ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อิเควทอเรียลกินี เอริเทรีย เอธิโอเปีย แกมเบีย กินีบิสเซา กินี เลโซโท ไลบีเรีย มอริเตเนีย มาลี มาดากัสการ์ มาลาวี โมซัมบิก ไนเจอร์ รวันดา เซียร์ราลีโอน เซาโตเมและปรินซิเป โซมาเลีย ซูดาน โตโก แทนซาเนีย ยูกันดา และแซมเบีย
- ประเทศในแถบแคริบเบียนและแปซิฟิก จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ เฮติ คิริบาส หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว-ตะวันตก ตูวาลู และวานูอาตู
- ประเทศในทวีปเอเชีย จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ เนปาล เยเมน และพม่า (ปัจจุบัน EU ระงับการให้ GSP แก่พม่าเนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า พม่าจึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลง EBA)
2. รายการสินค้า (Product Coverage)
GSP ทั่วไป เดิม EU ให้ GSP แก่กลุ่ม LDCs และ LLDCs ครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมหลายชนิด ต่อมาในปี 2541 EU ขยายการให้สิทธิ GSP แก่ประเทศ LLDCs โดยยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมทุกประเภทและสินค้าเกษตรขั้นปฐมบางชนิด ขณะที่สินค้าเกษตรแปรรูปได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป
EBA EU ยกเว้นภาษีนำเข้าและยกเลิกการกำหนดโควตานำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มอีกจำนวน 919 รายการจากกลุ่ม LLDCs โดยการให้สิทธิประโยชน์ตาม EBA ครอบคลุมสินค้าทุกประเภท ยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวน 24 รายการ สำหรับสินค้าเกษตรจำนวน 3 รายการ คือ น้ำตาล กล้วย และข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงมาก (Most Sensitive Product) ในตลาด EU โดยกลุ่ม EU จะทยอยลดภาษีและยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าเกษตรทั้ง 3 รายการภายในระยะเวลา 5-9 ปี
3. การเพิกถอนสิทธิ (Safeguard Provisions)
GSP ทั่วไป EU สามารถเพิกถอน GSP ที่ให้กับประเทศต่างๆ ได้โดยยึดหลักเกณฑ์ 2 ประการดังนี้
1. การตัดสิทธิเป็นรายประเทศ ในกรณีที่ประเทศที่ได้รับ GSP มีรายได้ประชาชาติเฉลี่ยเกิน 8,210 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี
2. การตัดสิทธิเป็นรายสินค้า ในกรณีที่สินค้าของประเทศใดมีสัดส่วนการนำเข้าใน EU ตั้งแต่ 25% ขึ้นไปของมูลค่ารวมของสินค้าชนิดเดียวกันที่ EU นำเข้าจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP ทั้งหมดทุกประเทศ ประเทศดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิ GSP ทันที
EBA EU เพิ่มเติมเงื่อนไขในการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ตาม EBA ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่การนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม EBA ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในกลุ่ม EU และตลาดภายใน EU
4. การบังคับใช้
GSP ทั่วไป โครงการให้สิทธิ GSP ของ EU มีกำหนดอายุแน่นอน โดย EU จะพิจารณาต่ออายุให้คราวละ 2 ปีสำหรับโครงการปัจจุบันครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2544 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ EU ได้ต่ออายุโครงการให้ GSP แก่ประเทศในกลุ่ม LDCs ออกไปอีก 2 ปี เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546
EBA เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2544 โดยไม่กำหนดวันสิ้นสุดโครงการ แต่ในกรณีที่มีความจำเป็น EU อาจทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ตาม EBA ได้ในปี 2548
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2544--
-อน-
ข้อตกลง EBA เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2544 เมื่อ EU ประกาศใช้ Council Regulation No. 416/2001 ลงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2544 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม Regulation No. 2820/98 ว่าด้วยการให้ GSP (Generalized System of Preferences) เป็นการทั่วไปแก่ประเทศกำลังพัฒนา สาระสำคัญของ EBA ที่แตกต่างจากการให้ GSP โดยทั่วไปของกลุ่ม EU พอสรุปได้ดังนี้
1. ประเทศที่ได้รับสิทธิ (Country Coverage)
GSP ทั่วไป ครอบคลุมประเทศกำลังพัฒนา (Less Developed Countries: LDCs) และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (LLDCs) รวมทั้งสิ้น 142 ประเทศ
EBA ครอบคลุมเฉพาะประเทศในกลุ่ม LLDCs รวมทั้งสิ้น 48 ประเทศ ตามการจำแนกขององค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) ซึ่งประกอบด้วย
- ประเทศในทวีปแอฟริกา จำนวน 33 ประเทศ ได้แก่ แองโกลา เบนิน บูร์กินาฟาโซ บุรุนดี เคปเวิร์ด ชาด สาธารณรัฐแอฟริกากลาง คอโมโรส สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก จิบูตี อิเควทอเรียลกินี เอริเทรีย เอธิโอเปีย แกมเบีย กินีบิสเซา กินี เลโซโท ไลบีเรีย มอริเตเนีย มาลี มาดากัสการ์ มาลาวี โมซัมบิก ไนเจอร์ รวันดา เซียร์ราลีโอน เซาโตเมและปรินซิเป โซมาเลีย ซูดาน โตโก แทนซาเนีย ยูกันดา และแซมเบีย
- ประเทศในแถบแคริบเบียนและแปซิฟิก จำนวน 6 ประเทศ ได้แก่ เฮติ คิริบาส หมู่เกาะโซโลมอน ซามัว-ตะวันตก ตูวาลู และวานูอาตู
- ประเทศในทวีปเอเชีย จำนวน 9 ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ เนปาล เยเมน และพม่า (ปัจจุบัน EU ระงับการให้ GSP แก่พม่าเนื่องจากปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในพม่า พม่าจึงไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามข้อตกลง EBA)
2. รายการสินค้า (Product Coverage)
GSP ทั่วไป เดิม EU ให้ GSP แก่กลุ่ม LDCs และ LLDCs ครอบคลุมทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมหลายชนิด ต่อมาในปี 2541 EU ขยายการให้สิทธิ GSP แก่ประเทศ LLDCs โดยยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมทุกประเภทและสินค้าเกษตรขั้นปฐมบางชนิด ขณะที่สินค้าเกษตรแปรรูปได้รับการลดหย่อนภาษีนำเข้าในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป
EBA EU ยกเว้นภาษีนำเข้าและยกเลิกการกำหนดโควตานำเข้าสินค้าเกษตรเพิ่มอีกจำนวน 919 รายการจากกลุ่ม LLDCs โดยการให้สิทธิประโยชน์ตาม EBA ครอบคลุมสินค้าทุกประเภท ยกเว้นอาวุธยุทโธปกรณ์จำนวน 24 รายการ สำหรับสินค้าเกษตรจำนวน 3 รายการ คือ น้ำตาล กล้วย และข้าว ซึ่งเป็นสินค้าที่มีความอ่อนไหวสูงมาก (Most Sensitive Product) ในตลาด EU โดยกลุ่ม EU จะทยอยลดภาษีและยกเลิกโควตานำเข้าสินค้าเกษตรทั้ง 3 รายการภายในระยะเวลา 5-9 ปี
3. การเพิกถอนสิทธิ (Safeguard Provisions)
GSP ทั่วไป EU สามารถเพิกถอน GSP ที่ให้กับประเทศต่างๆ ได้โดยยึดหลักเกณฑ์ 2 ประการดังนี้
1. การตัดสิทธิเป็นรายประเทศ ในกรณีที่ประเทศที่ได้รับ GSP มีรายได้ประชาชาติเฉลี่ยเกิน 8,210 ดอลลาร์สหรัฐฯ/คน/ปี
2. การตัดสิทธิเป็นรายสินค้า ในกรณีที่สินค้าของประเทศใดมีสัดส่วนการนำเข้าใน EU ตั้งแต่ 25% ขึ้นไปของมูลค่ารวมของสินค้าชนิดเดียวกันที่ EU นำเข้าจากประเทศผู้รับสิทธิ GSP ทั้งหมดทุกประเทศ ประเทศดังกล่าวจะถูกตัดสิทธิ GSP ทันที
EBA EU เพิ่มเติมเงื่อนไขในการเพิกถอนสิทธิประโยชน์ตาม EBA ให้ครอบคลุมถึงกรณีที่การนำเข้าสินค้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตาม EBA ส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตในกลุ่ม EU และตลาดภายใน EU
4. การบังคับใช้
GSP ทั่วไป โครงการให้สิทธิ GSP ของ EU มีกำหนดอายุแน่นอน โดย EU จะพิจารณาต่ออายุให้คราวละ 2 ปีสำหรับโครงการปัจจุบันครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2543 ถึง 31 ธันวาคม 2544 อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ EU ได้ต่ออายุโครงการให้ GSP แก่ประเทศในกลุ่ม LDCs ออกไปอีก 2 ปี เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2546
EBA เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม 2544 โดยไม่กำหนดวันสิ้นสุดโครงการ แต่ในกรณีที่มีความจำเป็น EU อาจทบทวนการให้สิทธิประโยชน์ตาม EBA ได้ในปี 2548
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ตุลาคม 2544--
-อน-