สรุปข่าวในประเทศ
1. สศช.ทบทวนประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 43 รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.กำลังอยู่ระหว่างการปรับประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจปี 43 โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 4.7 จากเป้าหมายเดิมที่ระดับร้อยละ 5 เนื่องจากตัวแปรทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไป เช่นราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าที่ สศช.คาดการณ์ไว้ และเงินบาทอ่อนค่าลง นอกจากนี้ยังได้ปรับลดตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้เหลือเพียงร้อยละ 6.0-6.5 จากเดิมที่คาดว่าจะเกินดุลฯ ประมาณร้อยละ 6.8 ของจีดีพี และในปี 44 จะเกินดุลฯ ร้อยละ 2.5-3.0 จากประมาณการเดิมร้อยละ 4 สำหรับปี 45 หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลง คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะติดลบแน่นอน เนื่องจากเดือน มิ.ย. มูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 แสดงถึงทิศทางการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดที่น้อยลง จนกระทั่งขาดดุลในปี 45 (กรุงเทพธุรกิจ,เดลินิวส์ 10)
2. ธปท.ชี้แจงภาวะเศรษฐกิจให้สมาคมธนาคารต่างประเทศรับทราบและความคิดเห็นของนายธนาคาร รายงานข่าวจาก ธปท.กล่าวว่าในการประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารต่างประเทศเมื่อวันที่ 9 ส.ค.43 ธปท.ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศว่า ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่ายในประเทศ และการส่งออก แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางประการจากการว่างงาน การลดลงของราคาพืชผลเกษตร และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน กรรมการผู้จัดการสำนักตัวแทน ธ.นัทเอ็กซิส จากประเทศฝรั่งเศสกล่าวว่า จากการหารือกับนักลงทุนต่างประเทศที่เป็นลูกค้าของธนาคาร ส่วนใหญ่ต้องการให้มีความชัดเจนเรื่องรัฐบาลชุดใหม่ก่อน รวมถึงนโยบายการบริหารประเทศว่าจะมีความต่อเนื่องหรือไม่ หลังจากนั้นจึงจะตัดสินใจว่าจะเข้ามาลงทุนหรือไม่ อย่างไร ส่วนนโยบายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารต่างประเทศยังเป็นไปตามปกติ (กรุงเทพธุรกิจ,วัฏจักร 10)
3. ปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของตลาดหลักทรัพย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "ถึงเวลาฟื้นฟูตลาดทุนไทย" ว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดหุ้นได้รับความนิยมมี 3 ประการคือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน คุณภาพและปริมาณหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และสภาพคล่องในตลาด สำหรับปัญหาในอนาคตประกอบด้วย กรณีการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กระแสโลกาภิวัตน์ และการผลักดันการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ของผู้ให้บริการทางการเงิน (วัฏจักร 10)
4. กองทุนฟื้นฟูฯ คัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา ธ.นครหลวงไทย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเมื่อ 9 ส.ค.43 เพื่อพิจารณาคัดเลือกแนวทางแก้ปัญหา ธ.นครหลวงไทยว่า ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาทางเลือกเพียง 5 แนวทาง ประกอบด้วยประเด็นหลักๆ ได้แก่ แยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากมาขาย โดยหนี้เสียให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) ดูแล ส่วนหนี้ดีให้รวมกับ ธ.ไทยธนาคาร หรือประมูลขายทั้งหนี้ดีและหนี้เสียพร้อมกัน หรือแยกหนี้เสียรวมกับเอเอ็มซีของ ธ.นครหลวงไทยที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ส่วนหนี้ดีกองทุนฟื้นฟูฯ จะบริหารเอง อย่างไรก็ตาม ประมาณปลายเดือนส.ค. จะมีการประชุมอีกครั้งเพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 2-3 แนวทาง (มติชน 10)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังระดับขายส่งเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 9 ส.ค. 43 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 สินค้าคงคลังในระดับขายส่ง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อยู่ที่มูลค่า 323.45 พัน ล. ดอลลาร์ เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ในเดือน พ.ค. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 และสูงกว่าการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจต่างๆคาดหวังว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน มิ.ย. 43 ยอดขายส่งสินค้า ที่ปรับตัวเลขฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.4 อยู่ที่มูลค่า 250.76 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 43 โดยยอดขายรถยนต์ และ อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดขายสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันกับเดือน พ.ค. 43 ส่วนยอดขายสินค้าไม่คงทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 43.(รอยเตอร์ 9)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 9 ส.ค.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานว่า เดือน ก.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 42 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ในเดือน มิ.ย.43 และสูงกว่าการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์ คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 นักวิเคราะห์กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นมากดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับจีนสามารถขจัดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานได้แล้ว โดยในเดือน ก.ค.43 การส่งออกผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 42 มาอยู่ที่มูลค่า 117.7 พัน ล.หยวน (14 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ผลผลิตฯ ขยายตัว และผลผลิตฯ จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตลอดทั้งปี 43 แม้จะมีการคาดกันว่าการส่งออกจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปี เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศเริ่มขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ.(รอยเตอร์ 9)
3. GDP ของญี่ปุ่นในช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อไตรมาส รายงานจากโตเกียวเมื่อ 10 ส.ค. 43 สำนักวางแผนเศรษฐกิจ (EPA) ของญี่ปุ่น รายงานว่า ในเดือน ม.ค. - มี.ค. 43 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (GDP) ที่ปรับตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามราคาที่แท้จริงเมื่อเทียบต่อไตรมาส โดยในไตรมาสแรกปี 43 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนภาคเอกชน ที่ปรับตัวเลขแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 การบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบต่อไตรมาส ต่ำกว่าตัวเลขที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วง 3 เดือนแรกในปี 43 เริ่มกลับดีขึ้น และเศรษฐกิจในปี งปม. 42/43 ซึ่งสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 43 ขยายตัวร้อยละ 0.5. (รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ส.ค. 43 41.082 (41.004)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 9 ส.ค.43
ซื้อ 40.9042 (40.7338) ขาย 41.2131 (41.0393)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,350) ขาย 5,400 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.84 (27.00)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.59 (13.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. สศช.ทบทวนประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 43 รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.กำลังอยู่ระหว่างการปรับประมาณการตัวเลขทางเศรษฐกิจปี 43 โดยคาดว่าผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 4.7 จากเป้าหมายเดิมที่ระดับร้อยละ 5 เนื่องจากตัวแปรทางเศรษฐกิจได้เปลี่ยนแปลงไป เช่นราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าที่ สศช.คาดการณ์ไว้ และเงินบาทอ่อนค่าลง นอกจากนี้ยังได้ปรับลดตัวเลขเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้เหลือเพียงร้อยละ 6.0-6.5 จากเดิมที่คาดว่าจะเกินดุลฯ ประมาณร้อยละ 6.8 ของจีดีพี และในปี 44 จะเกินดุลฯ ร้อยละ 2.5-3.0 จากประมาณการเดิมร้อยละ 4 สำหรับปี 45 หากสถานการณ์เศรษฐกิจยังไม่เปลี่ยนแปลง คาดว่าดุลบัญชีเดินสะพัดจะติดลบแน่นอน เนื่องจากเดือน มิ.ย. มูลค่าการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 20 แสดงถึงทิศทางการเกินดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดที่น้อยลง จนกระทั่งขาดดุลในปี 45 (กรุงเทพธุรกิจ,เดลินิวส์ 10)
2. ธปท.ชี้แจงภาวะเศรษฐกิจให้สมาคมธนาคารต่างประเทศรับทราบและความคิดเห็นของนายธนาคาร รายงานข่าวจาก ธปท.กล่าวว่าในการประชุมร่วมกับสมาคมธนาคารต่างประเทศเมื่อวันที่ 9 ส.ค.43 ธปท.ได้สรุปภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศว่า ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งภาคการผลิต การใช้จ่ายในประเทศ และการส่งออก แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงบางประการจากการว่างงาน การลดลงของราคาพืชผลเกษตร และราคาน้ำมันที่สูงขึ้น ขณะเดียวกัน กรรมการผู้จัดการสำนักตัวแทน ธ.นัทเอ็กซิส จากประเทศฝรั่งเศสกล่าวว่า จากการหารือกับนักลงทุนต่างประเทศที่เป็นลูกค้าของธนาคาร ส่วนใหญ่ต้องการให้มีความชัดเจนเรื่องรัฐบาลชุดใหม่ก่อน รวมถึงนโยบายการบริหารประเทศว่าจะมีความต่อเนื่องหรือไม่ หลังจากนั้นจึงจะตัดสินใจว่าจะเข้ามาลงทุนหรือไม่ อย่างไร ส่วนนโยบายการปล่อยสินเชื่อของธนาคารต่างประเทศยังเป็นไปตามปกติ (กรุงเทพธุรกิจ,วัฏจักร 10)
3. ปัจจัยสำคัญต่อการฟื้นตัวของตลาดหลักทรัพย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวในการสัมมนาเรื่อง "ถึงเวลาฟื้นฟูตลาดทุนไทย" ว่า ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดหุ้นได้รับความนิยมมี 3 ประการคือ ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียน คุณภาพและปริมาณหลักทรัพย์ของบริษัทฯ และสภาพคล่องในตลาด สำหรับปัญหาในอนาคตประกอบด้วย กรณีการปฏิบัติด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กระแสโลกาภิวัตน์ และการผลักดันการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ของผู้ให้บริการทางการเงิน (วัฏจักร 10)
4. กองทุนฟื้นฟูฯ คัดเลือกแนวทางแก้ไขปัญหา ธ.นครหลวงไทย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเมื่อ 9 ส.ค.43 เพื่อพิจารณาคัดเลือกแนวทางแก้ปัญหา ธ.นครหลวงไทยว่า ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาทางเลือกเพียง 5 แนวทาง ประกอบด้วยประเด็นหลักๆ ได้แก่ แยกหนี้ดีและหนี้เสียออกจากมาขาย โดยหนี้เสียให้บรรษัทบริหารสินทรัพย์ (บบส.) ดูแล ส่วนหนี้ดีให้รวมกับ ธ.ไทยธนาคาร หรือประมูลขายทั้งหนี้ดีและหนี้เสียพร้อมกัน หรือแยกหนี้เสียรวมกับเอเอ็มซีของ ธ.นครหลวงไทยที่จัดตั้งขึ้นแล้ว ส่วนหนี้ดีกองทุนฟื้นฟูฯ จะบริหารเอง อย่างไรก็ตาม ประมาณปลายเดือนส.ค. จะมีการประชุมอีกครั้งเพื่อคัดเลือกให้เหลือเพียง 2-3 แนวทาง (มติชน 10)
สรุปข่าวต่างประเทศ
1. สินค้าคงคลังระดับขายส่งเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมายในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อ 9 ส.ค. 43 ก.พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 สินค้าคงคลังในระดับขายส่ง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 อยู่ที่มูลค่า 323.45 พัน ล. ดอลลาร์ เทียบกับตัวเลขปรับใหม่ในเดือน พ.ค. 43 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จากตัวเลขเบื้องต้นที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.8 และสูงกว่าการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดไว้ว่า จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 17 ชี้ให้เห็นว่า ธุรกิจต่างๆคาดหวังว่าการใช้จ่ายของผู้บริโภคยังคงเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ในเดือน มิ.ย. 43 ยอดขายส่งสินค้า ที่ปรับตัวเลขฯ เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1.4 อยู่ที่มูลค่า 250.76 พัน ล. ดอลลาร์ จากที่เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 43 โดยยอดขายรถยนต์ และ อิเล็กทรอนิกส์ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ยอดขายสินค้าคงทนเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ซึ่งเพิ่มขึ้นในอัตราเดียวกันกับเดือน พ.ค. 43 ส่วนยอดขายสินค้าไม่คงทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ในเดือน พ.ค. 43.(รอยเตอร์ 9)
2. ผลผลิตอุตสาหกรรมของจีนเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากปักกิ่ง เมื่อวันที่ 9 ส.ค.43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของจีนรายงานว่า เดือน ก.ค.43 ผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 42 หลังจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 ในเดือน มิ.ย.43 และสูงกว่าการสำรวจของรอยเตอร์ที่นักเศรษฐศาสตร์ คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 นักวิเคราะห์กล่าวว่า การเพิ่มขึ้นมากดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ประกอบกับจีนสามารถขจัดความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานได้แล้ว โดยในเดือน ก.ค.43 การส่งออกผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 42 มาอยู่ที่มูลค่า 117.7 พัน ล.หยวน (14 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของความต้องการภายในประเทศมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ผลผลิตฯ ขยายตัว และผลผลิตฯ จะขยายตัวอย่างแข็งแกร่งตลอดทั้งปี 43 แม้จะมีการคาดกันว่าการส่งออกจะชะลอตัวในครึ่งหลังของปี เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศเริ่มขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ.(รอยเตอร์ 9)
3. GDP ของญี่ปุ่นในช่วงเดือน ม.ค. - มี.ค. 43 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบต่อไตรมาส รายงานจากโตเกียวเมื่อ 10 ส.ค. 43 สำนักวางแผนเศรษฐกิจ (EPA) ของญี่ปุ่น รายงานว่า ในเดือน ม.ค. - มี.ค. 43 ผลิตภัณฑ์ภายในประเทศ (GDP) ที่ปรับตัวเลขแล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามราคาที่แท้จริงเมื่อเทียบต่อไตรมาส โดยในไตรมาสแรกปี 43 การใช้จ่ายเพื่อการลงทุนภาคเอกชน ที่ปรับตัวเลขแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 การบริโภคส่วนบุคคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 เมื่อเทียบต่อไตรมาส ต่ำกว่าตัวเลขที่ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ที่ร้อยละ 1.8 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นในช่วง 3 เดือนแรกในปี 43 เริ่มกลับดีขึ้น และเศรษฐกิจในปี งปม. 42/43 ซึ่งสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 43 ขยายตัวร้อยละ 0.5. (รอยเตอร์ 10)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 9 ส.ค. 43 41.082 (41.004)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 9 ส.ค.43
ซื้อ 40.9042 (40.7338) ขาย 41.2131 (41.0393)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,300 (5,350) ขาย 5,400 (5,450)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 26.84 (27.00)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.49 (16.49)
ดีเซลหมุนเร็ว 13.59 (13.59)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-