ข่าวในประเทศ
1. ธปท.กำหนดมาตรการควบคุมการนำเงินออกนอกประเทศ นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากการที่ ธปท.ได้ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินให้จำกัดการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่เป็นการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท หรือสร้างภาระผูกพันใดๆ ที่มีผลให้ต้องจ่ายเงินตราต่างประเทศในอนาคตแก่ผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ โดยไม่มีธุรกรรมการค้าหรือการลงทุนในประเทศรองรับ โดยมีการกำหนดให้มียอดวงเงินคงค้างสูงสุดไม่เกิน 50 ล.บาทต่อราย ตามมาตรการจำกัดการทำธุรกรรมการกู้ยืมเงิน กรณีไม่มีธุรกรรมรองรับ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของ ธปท.พบว่า ขณะนี้มีการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการของ ธปท. และเพื่อให้สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการดังกล่าวมากขึ้น ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.43 เป็นต้นไป สถาบันการเงินที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรการที่ ธปท.ประกาศบังคับใช้ จะถูกระงับสิทธิการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) กับ ธปท. รวมทั้งอาจถูกระงับสิทธิในการทำธุรกรรมอื่นๆ ในอนาคตด้วย โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ธปท. ว่าจะให้งดทำธุรกรรมด้านใด (วัฏจักร 17)
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกรายงานเรื่อง "ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจชี้ชัดเศรษฐกิจไทยถึงยุดชะลอตัว" ว่า หากพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของ ธปท. ดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจของ ก.พาณิชย์ และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะพบว่าดัชนีฯ ทั้งสามสถาบันล้วนมีค่าปรับตัวลดลงจากระดับ ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 43 และในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 42 ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มการอ่อนตัวของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะสอดคล้องกัน และจากการที่ดัชนีฯ เหล่านี้ สามารถใช้ในการพยากรณ์หรือคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจตามการทดสอบทางสถิติ ทำให้สรุปได้ว่า เครื่องชี้แนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าว ต่างบ่งถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในช่วง 1-2 ไตรมาสหน้า นอกจากนั้น หากพิจารณาสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ ก็น่าจะย้ำถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจริงตามที่ดัชนีฯ ของทั้ง 3 สถาบันได้คาดการณ์ไว้ ดังนั้น ทางการควรยอมรับความเป็นไปได้ดังกล่าว และเร่งหามาตรการรองรับดีกว่าตามแก้ไขเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤติอีกรอบไปแล้ว (ไทยโพสต์ 17)
3. ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน พ.ค.43 รายงานข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นเดือน พ.ค.43 มีจำนวน 89,196 ล.ดอลลาร์ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.43 ที่มีจำนวน 89,594 ล.ดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการที่ภาคเอกชนได้เร่งชำระหนี้ต่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ หนี้ต่างประเทศล่าสุดนั้นเป็นหนี้ของภาครัฐบาลจำนวน 22,899 ล.ดอลลาร์ แบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 22,548 ล.ดอลลาร์ หนี้ระยะสั้น 351 ล.ดอลลาร์ ส่วนหนี้ของ ธปท.มีจำนวน 12,479 ล.ดอลลาร์ ที่กู้ตามโปรแกรมความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อใช้เป็นทุนสำรองในช่วงวิกฤติ เป็นการกู้โดยตรงจากไอเอ็มเอฟจำนวน 3,300 ล.ดอลลาร์ และกู้จากแหล่งอื่นที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือกับไอเอ็มเอฟอีก 9,179 ล.ดอลลาร์ (แนวหน้า 17)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 16 ส.ค.43 ก.แรงงาน สรอ. รายงานว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของ สรอ. ซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดภาวะเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย.43 ส่วน CPI ที่เป็นแกนซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับเดือน มิ.ย.43 และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ CPI ในเดือน ก.ค.43 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ที่อยู่อาศัย ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่ารักษาพยาบาล แม้ราคาน้ำมันเบนซิน เสื้อผ้า และรองเท้าจะลดลงก็ตาม โดยในเดือน ก.ค.นี้ ราคาอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.43 และราคาพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในเดือน มิ.ย.43 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่กำหนดขึ้นในวันที่ 22 ส.ค.43 รวมทั้งตลาดการเงินก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อตัวเลข CPI มากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่าเฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมดังกล่าว (รอยเตอร์ 16)
2. ยอดการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของ สรอ. ลดลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ยอดการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 3.3 อยู่ที่จำนวน 1.512 ล. หลังต่อปี จากจำนวน 1.563 ล. หลังในเดือน มิ.ย. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดใว้ว่า จะมีจำนวน 1.555 ล. หลัง นอกจากนั้นยังลดลงกว่าร้อยละ 17 จากที่เคยสูงสุดในเดือน ก.พ. 43 และต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 40 ที่มีจำนวน 1.51 ล. หลัง รัฐบาล กล่าวว่า จากรายงานครั้งนี้ นับเป็นสัญญาณที่ดีว่าตลาดที่อยู่อาศัยได้ชะลอตัวลงตอบสนองกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในวันเดียวกัน ก. พาณิชย์ รายงานด้วยว่า คำขออนุญาตการก่อสร้าง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่จำนวน 1.497 ล. หลัง ในเดือน ก.ค. 43 จากจำนวน 1.528 ล. หลังในเดือน มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 16)
3. อัตราการเติบโตของรายได้โดยเฉลี่ยของอังกฤษลดลงในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากลอนดอนเมื่อ วันที่ 16 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 อัตราการเติบโตของรายได้ ที่ใช้เป็นเครื่องชี้ที่สำคัญของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.1 ต่อปี จากร้อยละ 4.6 ในเดือน พ.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค. 40 ทั้งนี้ รายได้ที่ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายได้โบนัสที่ลดลงในเดือนดังกล่าว (รอยเตอร์ 16)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 16ส.ค. 43 40.818(40.713)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 16ส.ค.43 ซื้อ 40.6191 (40.5252) ขาย 40.9178 (40.8260)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,300) ขาย 5,450 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.88 (27.36)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1. ธปท.กำหนดมาตรการควบคุมการนำเงินออกนอกประเทศ นายเชษฐทวี เจริญพิทักษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า จากการที่ ธปท.ได้ขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินให้จำกัดการทำธุรกรรมทางการเงิน ที่เป็นการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท หรือสร้างภาระผูกพันใดๆ ที่มีผลให้ต้องจ่ายเงินตราต่างประเทศในอนาคตแก่ผู้มีถิ่นฐานนอกประเทศ โดยไม่มีธุรกรรมการค้าหรือการลงทุนในประเทศรองรับ โดยมีการกำหนดให้มียอดวงเงินคงค้างสูงสุดไม่เกิน 50 ล.บาทต่อราย ตามมาตรการจำกัดการทำธุรกรรมการกู้ยืมเงิน กรณีไม่มีธุรกรรมรองรับ อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของ ธปท.พบว่า ขณะนี้มีการดำเนินการที่ไม่สอดคล้องกับมาตรการของ ธปท. และเพื่อให้สถาบันการเงินเพิ่มความระมัดระวังในการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการดังกล่าวมากขึ้น ดังนั้น นับตั้งแต่วันที่ 8 ส.ค.43 เป็นต้นไป สถาบันการเงินที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรการที่ ธปท.ประกาศบังคับใช้ จะถูกระงับสิทธิการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืนพันธบัตร (อาร์พี) กับ ธปท. รวมทั้งอาจถูกระงับสิทธิในการทำธุรกรรมอื่นๆ ในอนาคตด้วย โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของ ธปท. ว่าจะให้งดทำธุรกรรมด้านใด (วัฏจักร 17)
2. ศูนย์วิจัยกสิกรไทยวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกรายงานเรื่อง "ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจชี้ชัดเศรษฐกิจไทยถึงยุดชะลอตัว" ว่า หากพิจารณาการเคลื่อนไหวของดัชนีชี้นำทางเศรษฐกิจของ ธปท. ดัชนีชี้นำวัฏจักรธุรกิจของ ก.พาณิชย์ และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคตของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย จะพบว่าดัชนีฯ ทั้งสามสถาบันล้วนมีค่าปรับตัวลดลงจากระดับ ณ สิ้นไตรมาสแรกปี 43 และในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 42 ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ถึงแนวโน้มการอ่อนตัวของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างจะสอดคล้องกัน และจากการที่ดัชนีฯ เหล่านี้ สามารถใช้ในการพยากรณ์หรือคาดการณ์ภาวะเศรษฐกิจตามการทดสอบทางสถิติ ทำให้สรุปได้ว่า เครื่องชี้แนวโน้มเศรษฐกิจดังกล่าว ต่างบ่งถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจจะชะลอตัวลงในช่วง 1-2 ไตรมาสหน้า นอกจากนั้น หากพิจารณาสถานการณ์ราคาน้ำมันในขณะนี้ ก็น่าจะย้ำถึงความเป็นไปได้ที่เศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวลงจริงตามที่ดัชนีฯ ของทั้ง 3 สถาบันได้คาดการณ์ไว้ ดังนั้น ทางการควรยอมรับความเป็นไปได้ดังกล่าว และเร่งหามาตรการรองรับดีกว่าตามแก้ไขเมื่อเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะวิกฤติอีกรอบไปแล้ว (ไทยโพสต์ 17)
3. ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศ ณ สิ้นเดือน พ.ค.43 รายงานข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ยอดคงค้างหนี้ต่างประเทศของไทย ณ สิ้นเดือน พ.ค.43 มีจำนวน 89,196 ล.ดอลลาร์ ลดลงเมื่อเทียบกับเดือน เม.ย.43 ที่มีจำนวน 89,594 ล.ดอลลาร์ ซึ่งเป็นผลจากการที่ภาคเอกชนได้เร่งชำระหนี้ต่างประเทศมากขึ้น ทั้งนี้ หนี้ต่างประเทศล่าสุดนั้นเป็นหนี้ของภาครัฐบาลจำนวน 22,899 ล.ดอลลาร์ แบ่งเป็นหนี้ระยะยาว 22,548 ล.ดอลลาร์ หนี้ระยะสั้น 351 ล.ดอลลาร์ ส่วนหนี้ของ ธปท.มีจำนวน 12,479 ล.ดอลลาร์ ที่กู้ตามโปรแกรมความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อใช้เป็นทุนสำรองในช่วงวิกฤติ เป็นการกู้โดยตรงจากไอเอ็มเอฟจำนวน 3,300 ล.ดอลลาร์ และกู้จากแหล่งอื่นที่เข้าร่วมโครงการช่วยเหลือกับไอเอ็มเอฟอีก 9,179 ล.ดอลลาร์ (แนวหน้า 17)
ข่าวต่างประเทศ
1. ดัชนีราคาผู้บริโภคของ สรอ. เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ในเดือน ก.ค.43 รายงานจากวอชิงตัน เมื่อวันที่ 16 ส.ค.43 ก.แรงงาน สรอ. รายงานว่า เดือน ก.ค.43 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของ สรอ. ซึ่งใช้เป็นเครื่องวัดภาวะเงินเฟ้อ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาลแล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 ในเดือน มิ.ย.43 ส่วน CPI ที่เป็นแกนซึ่งไม่รวมราคาอาหารและพลังงานก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับเดือน มิ.ย.43 และเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของ CPI ในเดือน ก.ค.43 เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาอาหาร ที่อยู่อาศัย ค่าโดยสารเครื่องบิน และค่ารักษาพยาบาล แม้ราคาน้ำมันเบนซิน เสื้อผ้า และรองเท้าจะลดลงก็ตาม โดยในเดือน ก.ค.นี้ ราคาอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ในเดือน มิ.ย.43 และราคาพลังงานเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.1 จากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 ในเดือน มิ.ย.43 อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์กล่าวว่า แม้เงินเฟ้อจะเพิ่มขึ้นเร็วกว่าปีที่ผ่านมา แต่ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินที่กำหนดขึ้นในวันที่ 22 ส.ค.43 รวมทั้งตลาดการเงินก็ไม่ได้ให้ความสนใจต่อตัวเลข CPI มากนัก เนื่องจากนักลงทุนส่วนใหญ่เชื่อว่าเฟดจะไม่เปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในการประชุมดังกล่าว (รอยเตอร์ 16)
2. ยอดการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ของ สรอ. ลดลงในเดือน ก.ค. 43 รายงานจากวอชิงตันเมื่อวันที่ 16 ส.ค. 43 ก. พาณิชย์ สรอ. เปิดเผยว่า เดือน ก.ค. 43 ยอดการสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 3.3 อยู่ที่จำนวน 1.512 ล. หลังต่อปี จากจำนวน 1.563 ล. หลังในเดือน มิ.ย. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และต่ำกว่าผลการสำรวจของรอยเตอร์ ที่นักเศรษฐศาสตร์คาดใว้ว่า จะมีจำนวน 1.555 ล. หลัง นอกจากนั้นยังลดลงกว่าร้อยละ 17 จากที่เคยสูงสุดในเดือน ก.พ. 43 และต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน พ.ย. 40 ที่มีจำนวน 1.51 ล. หลัง รัฐบาล กล่าวว่า จากรายงานครั้งนี้ นับเป็นสัญญาณที่ดีว่าตลาดที่อยู่อาศัยได้ชะลอตัวลงตอบสนองกับอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น ในวันเดียวกัน ก. พาณิชย์ รายงานด้วยว่า คำขออนุญาตการก่อสร้าง ที่ปรับตัวเลขตามฤดูกาล ลดลงร้อยละ 2 อยู่ที่จำนวน 1.497 ล. หลัง ในเดือน ก.ค. 43 จากจำนวน 1.528 ล. หลังในเดือน มิ.ย. 43 (รอยเตอร์ 16)
3. อัตราการเติบโตของรายได้โดยเฉลี่ยของอังกฤษลดลงในเดือน มิ.ย. 43 รายงานจากลอนดอนเมื่อ วันที่ 16 ส.ค. 43 สำนักงานสถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า เดือน มิ.ย. 43 อัตราการเติบโตของรายได้ ที่ใช้เป็นเครื่องชี้ที่สำคัญของแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.1 ต่อปี จากร้อยละ 4.6 ในเดือน พ.ค. 43 นับเป็นการลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และต่ำที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค. 40 ทั้งนี้ รายได้ที่ลดลง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากรายได้โบนัสที่ลดลงในเดือนดังกล่าว (รอยเตอร์ 16)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ระหว่างธนาคาร ณ สิ้นวันทำการ 16ส.ค. 43 40.818(40.713)
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยเงินบาท/ดอลลาร์สรอ.ที่ ธพ.ซื้อขายกับลูกค้า(ตั๋วเงิน)ณสิ้นวันทำการ 16ส.ค.43 ซื้อ 40.6191 (40.5252) ขาย 40.9178 (40.8260)
ทองคำแท่ง(บาทละ) ซื้อ 5,350 (5,300) ขาย 5,450 (5,400)
น้ำมันดิบ(ดอลลาร์ สรอ./บาร์เรล) โอมาน 27.88 (27.36)
น้ำมันเบนซินพิเศษ(เพอร์ฟอร์มาโกลด์) 16.79 (16.79) ดีเซลหมุนเร็ว 13.89 (13.89)
หมายเหตุ ตัวเลขในวงเล็บเป็นตัวเลขของวันก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-