แท็ก
เซลล์
บทสรุปสำหรับนักลงทุน
แผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลในต่างประเทศนั้นได้พัฒนามานานนับสิบปี ส่วนในประเทศไทยนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในระหว่างการทดสอบขั้นสุดท้ายของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ทั้งนี้แผ่นไคติน-ไคโตซานมีคุณสมบัติในการรักษาแผลโดยสามารถป้องกันการติดเชื้อของแผล และกระตุ้นให้มีการผลิตและสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษกว่าพลาสเตอร์ปิดแผลทั่วไป ทั้งนี้หากการทดสอบของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติเสร็จสิ้นลงและได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลจะเป็นสินค้าตัวใหม่ที่เข้ามาแทนการใช้พลาสเตอร์ยาได้อย่างมีอนาคต
จากคุณสมบัติพิเศษของไคติน-ไคโตซานดังกล่าว โดยสามารถเข้าตลาดได้ทั้งในกลุ่มโรงพยาบาล สถานพยาบาล และผู้ใช้ทั่วไปในลักษณะของพลาสเตอร์ปิดแผลซึ่งมีจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป
ปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลในเชิงพาณิชย์ หากแต่การทดลองของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โดยการผลิตนั้นใช้วัตถุดิบ คือ ไคติน-ไคโตซานที่ผลิตได้จากผู้ผลิตไคติน-ไคโตซานทั่วไป โดยใช้ชนิดเกรด A ราคากิโลกรัมละประมาณ 40 บาท สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ส่วนเกรดอื่นๆ จะประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรเป็นหลัก ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลนั้นมีการลงทุนรวมประมาณ 1 แสนบาท โดยต้นทุนของการผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลด้วยแรงงานคนเฉลี่ยประมาณ 100-120 บาท/ตารางเมตร
ดังนั้นหากต้องการผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานในเชิงพาณิชย์ ผู้ประกอบการขนาดเล็กอาจเริ่มต้นดำเนินการด้วยเงินลงทุนประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป โดยประมาณด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตประมาณ 1 แสนบาท และที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีราคาค่อนข้างสูง (40บาท/กิโลกรัม) และที่สำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตลาด ซึ่งมีทั้งการขายตรงเข้าสู่โรงพยาบาลและสถานพยาบาล และการขายสู่ผู้บริโภคในตลาดทั่วไป ซึ่งต้องอาศัยงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามในเรื่องของการประชาสัมพันธ์นั้น ควรขอความร่วมมือในการรณรงค์ส่งเสริมและการให้ความรู้ด้านไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผล โดยประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสมาคมไคติน-ไคโตซาน เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ได้มีการพัฒนาการที่ยาวนานเกี่ยวกับไคติน-ไคโตซาน ในรูปแบบของการใช้ในงานต่างๆ มาแล้ว ดังนั้นจะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณในการตลาดได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
แผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลในต่างประเทศนั้นได้พัฒนามานานนับสิบปี ส่วนในประเทศไทยนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยังอยู่ในระหว่างการทดสอบขั้นสุดท้ายของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
ทั้งนี้แผ่นไคติน-ไคโตซานมีคุณสมบัติในการรักษาแผลโดยสามารถป้องกันการติดเชื้อของแผล และกระตุ้นให้มีการผลิตและสร้างเซลล์ผิวใหม่ ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษกว่าพลาสเตอร์ปิดแผลทั่วไป ทั้งนี้หากการทดสอบของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติเสร็จสิ้นลงและได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแล้ว ไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลจะเป็นสินค้าตัวใหม่ที่เข้ามาแทนการใช้พลาสเตอร์ยาได้อย่างมีอนาคต
จากคุณสมบัติพิเศษของไคติน-ไคโตซานดังกล่าว โดยสามารถเข้าตลาดได้ทั้งในกลุ่มโรงพยาบาล สถานพยาบาล และผู้ใช้ทั่วไปในลักษณะของพลาสเตอร์ปิดแผลซึ่งมีจำหน่ายในร้านขายยาทั่วไป
ปัจจุบันยังไม่มีผู้ผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลในเชิงพาณิชย์ หากแต่การทดลองของศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ โดยการผลิตนั้นใช้วัตถุดิบ คือ ไคติน-ไคโตซานที่ผลิตได้จากผู้ผลิตไคติน-ไคโตซานทั่วไป โดยใช้ชนิดเกรด A ราคากิโลกรัมละประมาณ 40 บาท สำหรับผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ ส่วนเกรดอื่นๆ จะประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์ทางด้านการเกษตรเป็นหลัก ส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลนั้นมีการลงทุนรวมประมาณ 1 แสนบาท โดยต้นทุนของการผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผลด้วยแรงงานคนเฉลี่ยประมาณ 100-120 บาท/ตารางเมตร
ดังนั้นหากต้องการผลิตแผ่นไคติน-ไคโตซานในเชิงพาณิชย์ ผู้ประกอบการขนาดเล็กอาจเริ่มต้นดำเนินการด้วยเงินลงทุนประมาณ 1 ล้านบาทขึ้นไป โดยประมาณด้านเครื่องมือเครื่องใช้ในการผลิตประมาณ 1 แสนบาท และที่เหลือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีราคาค่อนข้างสูง (40บาท/กิโลกรัม) และที่สำคัญ คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตลาด ซึ่งมีทั้งการขายตรงเข้าสู่โรงพยาบาลและสถานพยาบาล และการขายสู่ผู้บริโภคในตลาดทั่วไป ซึ่งต้องอาศัยงบโฆษณาประชาสัมพันธ์ค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตามในเรื่องของการประชาสัมพันธ์นั้น ควรขอความร่วมมือในการรณรงค์ส่งเสริมและการให้ความรู้ด้านไคติน-ไคโตซานสำหรับรักษาแผล โดยประสานงานกับหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และสมาคมไคติน-ไคโตซาน เนื่องจากหน่วยงานเหล่านี้ได้มีการพัฒนาการที่ยาวนานเกี่ยวกับไคติน-ไคโตซาน ในรูปแบบของการใช้ในงานต่างๆ มาแล้ว ดังนั้นจะสามารถช่วยประหยัดงบประมาณในการตลาดได้
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--