กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเม็กซิโกออกประกาศห้ามนำเข้าข้าวจากไทย เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2536 โดยอ้างว่า ข้าวไทยมีเชื้อรา Tilletia Barclayana ต่อมาในปี 2541 เม็กซิโกได้เบี่ยงเบนประเด็นโดยอ้างว่า สาเหตุสำคัญของการห้ามนำเข้าจากไทย เพราะพบแมลงด้วงอิฐ (Khapra Beetle) ในข้าวไทย ซึ่งไทยกับเม็กซิโกได้มีการเจรจาแก้ไขปัญหานี้มาโดยตลอด ทั้งในการเจรจาสองฝ่ายและการหารือภายใต้คณะกรรมการ SPS ขององค์การการค้าโลก หลังจากนั้นไทยได้ยกประเด็นกรณีเม็กซิโกห้ามนำเข้าข้าวจากไทยขึ้นหารืออีกในการประชุมคณะกรรมการ SPS ครั้งที่ 15 เมื่อวันที่ 7-8 กรกฎาคม 2542 และจากการหารือดังกล่าวทำให้เม็กซิโกยอมรับแล้วว่า ข้าวสารไทยไม่มีเชื้อราและด้วงอิฐ รวมทั้งรับที่จะเปลี่ยนแปลงมาตรการนำเข้าข้าวจากไทย
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเม็กซิโกได้ออกใบอนุญาตนำเข้าข้าวจากประเทศไทยให้แก่บริษัทผู้นำเข้าแล้วจำนวน 3 ราย รวมปริมาณ 1,238 ตัน โดยเม็กซิโกได้นำเข้าข้าวจากประเทศไทยล๊อตแรกจำนวน 21 ตัน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ถือเป็นการนำเข้าครั้งแรก หลังจากที่รัฐบาลเม็กซิโกประกาศห้ามนำเข้าข้าวจากประเทศไทยมาเป็นเวลาถึง 6 ปี โดยข้าวที่นำเข้าเป็นข้าวหอมมะลิเกรด A ทั้งหมดผ่านการสีแล้ว และบรรจุถุงพลาสติกปิดสนิท ผ่านการตรวจตามระเบียบนำเข้าซึ่งไม่พบปัญหาด้านสุขอนามัย และรัฐบาลเม็กซิโกยอมรับเอกสารของฝ่ายไทย เช่น ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Phytosanitary Certificate ฯลฯ
รัฐบาลเม็กซิโกได้ออกประกาศใน Official Gazette เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2544 กำหนดราคาประกันของข้าวที่ผ่านการสีแล้ว พิกัดศุลกากร 1006.30.01 ในอัตรา 0.383 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับ 383 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องราคาข้าวภายในประเทศของเม็กซิโก ซึ่งกำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำ เนื่องจากถูกข้าวนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด โดยราคาประกันของข้าวนำเข้าเป็นการบังคับใช้ทั่วไปกับทุกประเทศ ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยจึงควรระวังในการเสนอราคาอย่าให้ต่ำกว่าราคาประกันของเม็กซิโก
ส่วนข้าวที่นำเข้าจากไทยจะมีต้นทุนที่สูงกว่าข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสมาชิก NAFTA ที่เสียภาษีร้อยละ 0 และมีค่าขนส่งที่ถูกกว่า แต่บริษัทผู้นำเข้าข้าวจากไทยมีความมั่นใจว่าจะสามารถจำหน่ายข้าวที่นำเข้าจากไทยได้แน่นอน แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่าข้าวที่ผลิตภายในประเทศและข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ โดยใช้คุณสมบัติพิเศษของข้าวหอมมะลิเป็นจุดขาย และเน้นจำหน่ายให้แก่ภัตตาคารและกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงเป็นหลัก
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2544 กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเม็กซิโกได้ออกใบอนุญาตนำเข้าข้าวจากประเทศไทยให้แก่บริษัทผู้นำเข้าแล้วจำนวน 3 ราย รวมปริมาณ 1,238 ตัน โดยเม็กซิโกได้นำเข้าข้าวจากประเทศไทยล๊อตแรกจำนวน 21 ตัน เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2544 ถือเป็นการนำเข้าครั้งแรก หลังจากที่รัฐบาลเม็กซิโกประกาศห้ามนำเข้าข้าวจากประเทศไทยมาเป็นเวลาถึง 6 ปี โดยข้าวที่นำเข้าเป็นข้าวหอมมะลิเกรด A ทั้งหมดผ่านการสีแล้ว และบรรจุถุงพลาสติกปิดสนิท ผ่านการตรวจตามระเบียบนำเข้าซึ่งไม่พบปัญหาด้านสุขอนามัย และรัฐบาลเม็กซิโกยอมรับเอกสารของฝ่ายไทย เช่น ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า Phytosanitary Certificate ฯลฯ
รัฐบาลเม็กซิโกได้ออกประกาศใน Official Gazette เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2544 กำหนดราคาประกันของข้าวที่ผ่านการสีแล้ว พิกัดศุลกากร 1006.30.01 ในอัตรา 0.383 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อกิโลกรัม หรือเท่ากับ 383 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน มีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องราคาข้าวภายในประเทศของเม็กซิโก ซึ่งกำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำ เนื่องจากถูกข้าวนำเข้าจากต่างประเทศเข้ามาตีตลาด โดยราคาประกันของข้าวนำเข้าเป็นการบังคับใช้ทั่วไปกับทุกประเทศ ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยจึงควรระวังในการเสนอราคาอย่าให้ต่ำกว่าราคาประกันของเม็กซิโก
ส่วนข้าวที่นำเข้าจากไทยจะมีต้นทุนที่สูงกว่าข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นสมาชิก NAFTA ที่เสียภาษีร้อยละ 0 และมีค่าขนส่งที่ถูกกว่า แต่บริษัทผู้นำเข้าข้าวจากไทยมีความมั่นใจว่าจะสามารถจำหน่ายข้าวที่นำเข้าจากไทยได้แน่นอน แม้ว่าจะมีต้นทุนที่สูงกว่าข้าวที่ผลิตภายในประเทศและข้าวที่นำเข้าจากสหรัฐฯ โดยใช้คุณสมบัติพิเศษของข้าวหอมมะลิเป็นจุดขาย และเน้นจำหน่ายให้แก่ภัตตาคารและกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้สูงเป็นหลัก
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-