คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าขององค์การการค้าโลก( WTO) ซึ่งประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 543 ได้พิจารณาเรื่องการขอต่ออายุ local content ของประเทศสมาชิก แต่ยังไม่สามารถหาข้อยุติได้ จึงต้องระงับการประชุมในวาระนี้ไว้ชั่วคราว เพื่อรอผลการหารือในเรื่องกระบวนการที่จะขอต่ออายุ และผลการหารือสองฝ่ายระหว่างประเทศผู้ขอต่ออายุ local content กับประเทศสมาชิกอื่นๆ
ประเทศไทยได้ขอยื่นต่ออายุ local content นมต่อคณะกรรมการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 และได้เริ่มหารือเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้กับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกที่เป็นผู้ส่งออกนมผงเข้ามายังประเทศไทย โดยคณะผู้แทนไทยประกอบด้วย นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้แทนจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ตลอดจนผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้แทนชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยเข้าร่วมหารือสองฝ่ายกับประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น และเข้าร่วมประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า(Council for Trade in Goods ) ซึ่งมีวาระพิจารณาการขอต่ออายุ local content ของประเทศสมาชิกจำนวน 9 ประเทศ( ฟิลิปปินส์ โคลัมเบีย เม็กซิโก อาร์เจนตินา ชิลี โรมาเนีย มาเลเซีย ปากีสถาน และไทย) ในระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2543 ที่องค์การการค้าโลก นครเจนีวา
การหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับประเทศดังกล่าวข้างต้น ประสบกับปัญหาที่คู่หารือต่างนำเรื่องความล่าช้าที่ไทยยื่นต่ออายุมาเป็นข้ออ้าง โดยเห็นว่าไทยยื่นขอช้ากว่าที่ความตกลงกำหนดไว้ คือภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 และมีท่าทีว่าจะยกประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญ ถึงแม้ในเรื่องสาระจะแสดงท่าทีว่าจะพิจารณาปัญหาของไทยด้วยความเห็นอกเห็นใจก็ตาม และถึงแม้ว่าไทยได้ยืนยันการตีความที่แตกต่างกัน
สำหรับการประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าได้มีการถกเถียงในเรื่องกระบวนการ รวมถึงระยะเวลาที่ควรยื่นขอต่ออายุการใช้มาตรการ local content โดยประเทศกลุ่ม QUAD ( สหรัฐฯ ประชาคมยุโรปแคนาดา และญี่ปุ่น) ต่างมีท่าทีเหมือนกันว่า วันที่ 31 ธันวาคม 2542 คือเส้นตาย แต่ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศรวมทั้งอาเซียนเห็นว่า ความตกลงกำหนดเวลาเพียงเรื่องการยกเลิกมาตรการ แต่ไม่ได้กำหนดเวลาการยื่นเรื่องขอต่ออายุมาตรการว่าควรจะเป็นเมื่อใด นอกจากนี้ ยังมีมติที่ประชุมคณะมนตรีทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ที่ให้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าพิจารณาในเชิงสร้างสรรค์ต่อการขอขยายเวลาของประเทศกำลังพัฒนา และหารือถึงแนวทางการพิจารณาโดยเร่งด่วนในกรณีที่ประเทศสมาชิกยังไม่ได้แจ้งหรือขอขยายเวลาการใช้มาตรการตามความตกลง TRIMs
TRIMs หรือความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า กำหนดให้ประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยที่มีการบังคับใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นสัดส่วนกับการนำเข้า(local content ) สามารถใช้มาตรการดังกล่าวต่อไปได้อีก 5 ปี นับจากปี 2538 และต้องยกเลิกมาตรการนั้นภายในสิ้นปี 2542 แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้มาตรการนั้นต่อไปก็สามารถยื่นคำร้องขอต่ออายุได้ภายใต้มาตรา 5.3 ของความตกลง TRIMs
สำหรับประเทศไทยได้แจ้งว่ามีมาตรการ local content ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมนม โดยได้ประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ไปแล้วเมื่อปลายปี 2542 ส่วนการกำหนด local content นม เท่าที่ผ่านมา ได้มีการประสานงานมาโดยตลอดระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นที่ทราบว่าจะสามารถยกเลิกมาตรการนี้ได้ภายในกำหนดเวลา โดยมีคำยืนยันจากคณะกรรมการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(กนศ.) คณะอนุกรรมการเจรจาการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ เป็นต้น ไทยจึงไม่ได้แจ้งขอต่ออายุ จนถึงเมื่อต้นปี 2543 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้คงมาตรการ local content นมไว้โดยให้กระทรวงพาณิชย์ยื่นขอขยายเวลาต่อองค์การการค้าโลกไปอีก 5 ปี จนถึงปี 2547
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2543--
-ปส-
ประเทศไทยได้ขอยื่นต่ออายุ local content นมต่อคณะกรรมการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้าเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 และได้เริ่มหารือเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมนี้กับประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกที่เป็นผู้ส่งออกนมผงเข้ามายังประเทศไทย โดยคณะผู้แทนไทยประกอบด้วย นางพวงรัตน์ อัศวพิศิษฐ์ รองอธิบดีกรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ เป็นหัวหน้าคณะ และมีผู้แทนจากคณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก ตลอดจนผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และผู้แทนชุมนุมสหกรณ์โคนมแห่งประเทศไทยเข้าร่วมหารือสองฝ่ายกับประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป แคนาดา นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น และเข้าร่วมประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้า(Council for Trade in Goods ) ซึ่งมีวาระพิจารณาการขอต่ออายุ local content ของประเทศสมาชิกจำนวน 9 ประเทศ( ฟิลิปปินส์ โคลัมเบีย เม็กซิโก อาร์เจนตินา ชิลี โรมาเนีย มาเลเซีย ปากีสถาน และไทย) ในระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2543 ที่องค์การการค้าโลก นครเจนีวา
การหารือสองฝ่ายระหว่างไทยกับประเทศดังกล่าวข้างต้น ประสบกับปัญหาที่คู่หารือต่างนำเรื่องความล่าช้าที่ไทยยื่นต่ออายุมาเป็นข้ออ้าง โดยเห็นว่าไทยยื่นขอช้ากว่าที่ความตกลงกำหนดไว้ คือภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 และมีท่าทีว่าจะยกประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญ ถึงแม้ในเรื่องสาระจะแสดงท่าทีว่าจะพิจารณาปัญหาของไทยด้วยความเห็นอกเห็นใจก็ตาม และถึงแม้ว่าไทยได้ยืนยันการตีความที่แตกต่างกัน
สำหรับการประชุมคณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าได้มีการถกเถียงในเรื่องกระบวนการ รวมถึงระยะเวลาที่ควรยื่นขอต่ออายุการใช้มาตรการ local content โดยประเทศกลุ่ม QUAD ( สหรัฐฯ ประชาคมยุโรปแคนาดา และญี่ปุ่น) ต่างมีท่าทีเหมือนกันว่า วันที่ 31 ธันวาคม 2542 คือเส้นตาย แต่ประเทศกำลังพัฒนาหลายประเทศรวมทั้งอาเซียนเห็นว่า ความตกลงกำหนดเวลาเพียงเรื่องการยกเลิกมาตรการ แต่ไม่ได้กำหนดเวลาการยื่นเรื่องขอต่ออายุมาตรการว่าควรจะเป็นเมื่อใด นอกจากนี้ ยังมีมติที่ประชุมคณะมนตรีทั่วไปเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2543 ที่ให้คณะมนตรีว่าด้วยการค้าสินค้าพิจารณาในเชิงสร้างสรรค์ต่อการขอขยายเวลาของประเทศกำลังพัฒนา และหารือถึงแนวทางการพิจารณาโดยเร่งด่วนในกรณีที่ประเทศสมาชิกยังไม่ได้แจ้งหรือขอขยายเวลาการใช้มาตรการตามความตกลง TRIMs
TRIMs หรือความตกลงว่าด้วยมาตรการการลงทุนที่เกี่ยวกับการค้า กำหนดให้ประเทศสมาชิกที่เป็นประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งประเทศไทยที่มีการบังคับใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นสัดส่วนกับการนำเข้า(local content ) สามารถใช้มาตรการดังกล่าวต่อไปได้อีก 5 ปี นับจากปี 2538 และต้องยกเลิกมาตรการนั้นภายในสิ้นปี 2542 แต่ถ้ามีความจำเป็นต้องใช้มาตรการนั้นต่อไปก็สามารถยื่นคำร้องขอต่ออายุได้ภายใต้มาตรา 5.3 ของความตกลง TRIMs
สำหรับประเทศไทยได้แจ้งว่ามีมาตรการ local content ในอุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมนม โดยได้ประกาศยกเลิกมาตรการดังกล่าวในอุตสาหกรรมยานยนต์ไปแล้วเมื่อปลายปี 2542 ส่วนการกำหนด local content นม เท่าที่ผ่านมา ได้มีการประสานงานมาโดยตลอดระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงอุตสาหกรรม และเป็นที่ทราบว่าจะสามารถยกเลิกมาตรการนี้ได้ภายในกำหนดเวลา โดยมีคำยืนยันจากคณะกรรมการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ(กนศ.) คณะอนุกรรมการเจรจาการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ เป็นต้น ไทยจึงไม่ได้แจ้งขอต่ออายุ จนถึงเมื่อต้นปี 2543 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้คงมาตรการ local content นมไว้โดยให้กระทรวงพาณิชย์ยื่นขอขยายเวลาต่อองค์การการค้าโลกไปอีก 5 ปี จนถึงปี 2547
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กรกฎาคม 2543--
-ปส-