กรุงเทพฯ--22 ม.ค.--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์
ประเทศสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย หรือชื่อย่อว่า BIMST-EC จะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Group) เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอ (Concept Paper) เกี่ยวกับรูปแบบและผลกระทบของการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก อันจะนำไปสู่การพัฒนาการค้าให้เสรีและมีการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยการประชุมจะมีขึ้นในวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค ส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีสาขาความร่วมมือหลัก 6 สาขา ได้แก่ สาขาการค้าและการลงทุน สาขาเทคโนโลยี สาขาการคมนาคมและการ ขนส่ง สาขาพลังงาน สาขาการท่องเที่ยว และสาขาประมง
BIMST-EC ตลาดที่น่าสนใจ
หากพิจารณาถึงขนาดตลาดของประเทศสมาชิกในกลุ่ม BIMST-EC จะเห็นว่าเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีประชากรรวมกันเกือบ 1,200 ล้านคน และเป็นทั้งแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ เช่น เพชรพลอยและอัญมณี และทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นต้น
หากพิจารณาในด้านการค้า มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่มนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของการค้าทั้งหมดของไทย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2540-2542) มูลค่าการค้าของประเทศไทยกับกลุ่ม BIMST-EC มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,631 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.85 ต่อปี สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2543 (มค.-ตค.) การค้าของไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีมูลค่า 2,076.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 68 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประเทศในกลุ่ม BIMST-EC ยกเว้นประเทศอินเดีย
การส่งออก ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2540-2542) การส่งออกของไทยไปยังประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 983.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น
ร้อยละ 1.7 ของการการส่งออกทั้งหมดของไทย โดยมีพม่าเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.79 ของมูลค่าการส่งออของไทยไปยัง 4 ประเทศ รองลงมาได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 33.37) บังกลาเทศ (ร้อยละ 15.76) และศรีลังกา (ร้อยละ 13.08)
การนำเข้า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2540-2542) การนำเข้าของไทยจากประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 697.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย โดยอินเดียเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.27 ของการนำเข้าจาก 4 ประเทศ รองลงมาได้แก่ พม่า (ร้อยละ 16.96) ศรีลังกา (ร้อยละ 8.55) และบังกลาเทศ (ร้อยละ 6.22)
สินค้าออกสำคัญที่ประเทศไทยส่งไปขายในประเทศกลุ่ม BIMST-EC ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ น้ำตาลทราย ผ้าผืน ปูนซิเมนต์ สิ่งทออื่นๆ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์
สินค้าเข้าสำคัญที่ประเทศไทยนำเข้าจากประเทศกลุ่ม BIMST-EC ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่นๆ กากพืชน้ำมัน (ถั่วเหลือง ถั่งลิสง ผลปาล์ม เมล็ดฝ้าย) น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเบรก กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เหล็กและเหล็กกล้า
สำหรับความร่วมมือภายใต้สาขาการค้าและการลงทุนของ BIMST-EC เน้นความร่วมมือทั้งในด้านสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุนระหว่างกัน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถพัฒนาทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกัน
การประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลในครั้งนี้เป็นผลมาจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 ภายใต้กรอบ BIMST-EC เมื่อเดือนเมษายน 2543 ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของประเทศสมาชิกที่รับผิดชอบงานนโยบายด้านการค้าโดยตรง โดยการประชุมในครั้งนี้จะมีการพิจารณาเอกสารเบื้องต้นซึ่งอินเดียได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดทำข้อตกลงทางการค้าให้มีการพัฒนาไปสู่ความเป็นเสรีระหว่างกันมากขึ้น โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการและแนวทางปฏิบัติขององค์การการค้าโลก (WTO) เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ผลการประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จะนำเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 และรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 3 ภายใต้กรอบ BIMST-EC ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2544 ศกนี้ ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-
ประเทศสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจบังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา และไทย หรือชื่อย่อว่า BIMST-EC จะมีการประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาล (Inter-Governmental Group) เพื่อพิจารณาจัดทำข้อเสนอ (Concept Paper) เกี่ยวกับรูปแบบและผลกระทบของการจัดทำข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิก อันจะนำไปสู่การพัฒนาการค้าให้เสรีและมีการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยการประชุมจะมีขึ้นในวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2544 ณ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ BIMST-EC จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2540 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคมในภูมิภาค ส่งเสริมผลประโยชน์ร่วมกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี และให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศสมาชิก โดยมีสาขาความร่วมมือหลัก 6 สาขา ได้แก่ สาขาการค้าและการลงทุน สาขาเทคโนโลยี สาขาการคมนาคมและการ ขนส่ง สาขาพลังงาน สาขาการท่องเที่ยว และสาขาประมง
BIMST-EC ตลาดที่น่าสนใจ
หากพิจารณาถึงขนาดตลาดของประเทศสมาชิกในกลุ่ม BIMST-EC จะเห็นว่าเป็นตลาดส่งออกขนาดใหญ่ที่น่าสนใจสำหรับประเทศไทย โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภค เนื่องจากประเทศเหล่านี้มีประชากรรวมกันเกือบ 1,200 ล้านคน และเป็นทั้งแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญ เช่น เพชรพลอยและอัญมณี และทรัพยากรสัตว์น้ำ เป็นต้น
หากพิจารณาในด้านการค้า มูลค่าการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยการค้าระหว่างไทยกับประเทศในกลุ่มนี้คิดเป็นประมาณร้อยละ 1.5 ของการค้าทั้งหมดของไทย ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2540-2542) มูลค่าการค้าของประเทศไทยกับกลุ่ม BIMST-EC มีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 1,631 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.85 ต่อปี สำหรับในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2543 (มค.-ตค.) การค้าของไทยกับประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีมูลค่า 2,076.10 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ร้อยละ 68 โดยไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้าประเทศในกลุ่ม BIMST-EC ยกเว้นประเทศอินเดีย
การส่งออก ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2540-2542) การส่งออกของไทยไปยังประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 983.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น
ร้อยละ 1.7 ของการการส่งออกทั้งหมดของไทย โดยมีพม่าเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญที่สุดของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 37.79 ของมูลค่าการส่งออของไทยไปยัง 4 ประเทศ รองลงมาได้แก่ อินเดีย (ร้อยละ 33.37) บังกลาเทศ (ร้อยละ 15.76) และศรีลังกา (ร้อยละ 13.08)
การนำเข้า ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2540-2542) การนำเข้าของไทยจากประเทศในกลุ่ม BIMST-EC มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยมีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 697.1 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 1.1 ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย โดยอินเดียเป็นแหล่งนำเข้าที่สำคัญที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 68.27 ของการนำเข้าจาก 4 ประเทศ รองลงมาได้แก่ พม่า (ร้อยละ 16.96) ศรีลังกา (ร้อยละ 8.55) และบังกลาเทศ (ร้อยละ 6.22)
สินค้าออกสำคัญที่ประเทศไทยส่งไปขายในประเทศกลุ่ม BIMST-EC ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ยานพาหนะ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ น้ำตาลทราย ผ้าผืน ปูนซิเมนต์ สิ่งทออื่นๆ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์
สินค้าเข้าสำคัญที่ประเทศไทยนำเข้าจากประเทศกลุ่ม BIMST-EC ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ เคมีภัณฑ์ ไม้ซุง ไม้แปรรูปและไม้อื่นๆ กากพืชน้ำมัน (ถั่วเหลือง ถั่งลิสง ผลปาล์ม เมล็ดฝ้าย) น้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันเบรก กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ และเศษโลหะ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เหล็กและเหล็กกล้า
สำหรับความร่วมมือภายใต้สาขาการค้าและการลงทุนของ BIMST-EC เน้นความร่วมมือทั้งในด้านสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุนระหว่างกัน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถพัฒนาทั้งทางสังคมและเศรษฐกิจไปพร้อมกัน
การประชุมผู้เชี่ยวชาญระหว่างรัฐบาลในครั้งนี้เป็นผลมาจากมติที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 ภายใต้กรอบ BIMST-EC เมื่อเดือนเมษายน 2543 ณ กรุงนิวเดลี ซึ่งเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะทำงานซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของประเทศสมาชิกที่รับผิดชอบงานนโยบายด้านการค้าโดยตรง โดยการประชุมในครั้งนี้จะมีการพิจารณาเอกสารเบื้องต้นซึ่งอินเดียได้จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดทำข้อตกลงทางการค้าให้มีการพัฒนาไปสู่ความเป็นเสรีระหว่างกันมากขึ้น โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับหลักการและแนวทางปฏิบัติขององค์การการค้าโลก (WTO) เป็นสำคัญ ทั้งนี้ ผลการประชุมของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จะนำเสนอต่อที่ประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 2 และรัฐมนตรีทางเศรษฐกิจ/การค้า ครั้งที่ 3 ภายใต้กรอบ BIMST-EC ซึ่งจะมีขึ้นในระหว่างวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2544 ศกนี้ ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า
ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ โทร. 281-9723, 282-6171-9 : 1176-7 โทรสาร. 82-6623--จบ--
-สส-