กรุงเทพ--2 ก.พ.--กระทรวงการต่างประเทศ
1. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา (JC) ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ที่นครเสียมราฐ หลังจากที่ได้ว่างเว้นมาเป็นเวลา 3 ปี โดยฝ่ายกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) เมื่อ 31 มกราคม 2543 เพื่อหารือในรายละเอียดของประเด็นความร่วมมือต่างๆ โดยฝ่ายไทยนำโดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และมีผู้แทนจากหน่วยราชการต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการในการประชุมรวมทั้งภาครัฐวิสาหกิจต่างๆ ของไทย (อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค)
2. การประชุม JC ครั้งนี้ ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากว่างเว้นมาตั้งแต่ปี 2540 ดังนั้น จึงมีความสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เป็นโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายได้มาพบปะและหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีในทุกๆ ด้าน เนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเป็นกลไกระดับชาติที่มีบทบาทสำคัญในการทบทวนความร่วมมือที่ได้ดำเนินมา และในการแสวงหาลู่ทางที่จะเพิ่มพูนและสร้างเสริมความสัมพันธ์กับมิตรประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการติดต่อกันในด้านต่างๆ ประการที่สอง การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาที่จะต้องแก้ไขระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับรัฐบาล ประการที่สาม จะเป็นโอกาสอันดีที่ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้สร้างความรู้จักคุ้นเคยระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจอันดีและความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งจะช่วยเกื้อกูลต่อการทำงานร่วมกันต่อไป
3. การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกนับแต่กัมพูชามีรัฐบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีสมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นการประชุมหลังกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน (เมื่อ 30 เมษายน 2542) ดังนั้นจึงนับว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยและกัมพูชาในสหัสวรรษใหม่ ในการนี้ ฝ่ายไทยจึงประสงค์ให้การประชุมครั้งนี้วางรากฐานความร่วมมือต่อไปในอนาคต
4. ที่ประชุมได้มีการหารือกันในเรื่องต่างๆ ซึ่งครอบคลุมประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีทุกด้านในบรรยากาศของความสัมพันธ์ฉันมิตร ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความพอใจต่อผลความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ทั้งในระดับทวิภาคีและเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียน ซึ่งไทยได้พยายามผลักดันให้มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เสนอในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ที่กรุง มะนิลา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 และสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในด้านดังกล่าว
5. สิ่งที่มีความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 3 คือ การลงนามความตกลงว่าด้วยบริการเดินทางอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกับ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือในด้านคมนาคมขนส่ง และจะยังประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเพิ่มปริมาณการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนของไทยและกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมและมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเก่าแก่
6. เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายได้รับรายงานจากที่ประชุมครั้งนี้ว่า ปัจจุบันไทยและกัมพูชามีโครงการความร่วมมือทางวิชาการที่ครอบคลุมในสาขาที่สำคัญทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือด้านเกษตร ป่าไม้ ประมง สาธารณสุข การศึกษา สิ่งแวดล้อม ข่าวสาร การท่องเที่ยว และแรงงาน โดยฝ่ายกัมพูชาแจ้งว่า บัดนี้ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชาที่อำเภอปูนพนม ชานกรุงพนมเปญ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือมาตั้งแต่ปี 2538 จนปัจจุบันเป็นจำนวน 110 ล้านบาท พร้อมที่จะส่งมอบ และอธิบดีกรมวิเทศสหการซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการความช่วยเหลือดังกล่าว จะเดินทางไปตรวจความพร้อมของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชา เพื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะร่วมในพิธีเปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะเยือนกัมพูชาตามคำเชิญของสมเด็จฮุน เซนในช่วงครึ่งแรกของปี 2543
7. ความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะขยายต่อไปในอนาคตคือ ความร่วมมือด้านพลังงาน โดยได้มีการตกลงกันว่าจะมีการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องโครงการความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อขยายความร่วมมือของทั้งสองประเทศในด้านการซื้อขายไฟฟ้า การร่วมพัฒนาไฟฟ้าและความร่วมมือด้านการฝึกอบรม โดย ฯพณฯ นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายซุย เซม (Suy Sem) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเมืองแร่และพลังงานของกัมพูชาจะร่วมลงนามที่กรุงพนมเปญในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 ปัจจุบัน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของไทยขายไฟฟ้าให้จังหวัดเกาะกงของกัมพูชาและจะขายให้จังหวัดปอยเปตเมื่อระบบการจ่ายไฟฟ้าของกัมพูชาเสร็จเรียบร้อย นอกจากนี้ กัมพูชาได้ขอให้ไทยขายไฟฟ้าให้แก่จังหวัดพระตะบอง ไพลิน และจังหวัดปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งฝ่ายไทยก็พร้อมที่จะตอบสนองคำขอดังกล่าว นอกจากนี้ ฝ่ายกัมพูชารับที่จะเร่งรัดการพิจารณาให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเสียภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันและอำนวยความสะดวกในการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันไปยังท่าเรือน้ำมันที่ฐานทัพเรือเรียม
8. สำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงและชายแดน ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความพึงพอใจต่อความร่วมมือของกลไกของฝ่ายความมั่นคง ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานร่วม และฝ่ายกัมพูชารับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวในปีนี้หลังจากที่มิได้ประชุมมา 5 ปีแล้วตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงในระดับสูงสุด นอกจากนี้ ก็มีกลไกการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานร่วมคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน (Border Peace-Keeping Committee : BPKC) ซึ่งมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธานร่วม รวมทั้ง คณะกรรมการระดับท้องถิ่น (Regional Border Committee : RBC) ซึ่งมีผู้บัญชาการกองกำลังที่มีเขตความรับผิดชอบบริเวณชายแดนของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม เพื่อร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม การค้า ยาเสพติด การกระทำอันเป็นโจรสลัด การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การลักลอบวัตถุโบราณและรถยนต์ ฯลฯ อย่างได้ผล ทำให้ปัญหาต่างๆ บรรเทา เบาบางลง ซึ่งจะทำให้เจตนารมณ์ของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะทำให้ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็น “ชายแดนแห่งความร่วมมือ ผลประโยชน์ร่วมกัน สันติภาพอันยั่งยืน เสถียรภาพและมิตรภาพ” บรรลุผลเร็วขึ้น
9. อนึ่ง การที่การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่จังหวัดเสียมราฐ ซึ่งมีปราสาทนครวัดอันเป็นที่เลื่องชื่อ เพื่อเน้นความสำคัญของความร่วมมือในการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุซึ่งเป็นมรดกร่วมกันไม่เพียงพอเฉพาะชาวไทยและกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังเป็นมรดกของชาวโลก และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยก็ได้แจ้งการส่งมอบวัตถุโบราณจำนวน 122 ชิ้น ที่ส่วนใหญ่ถูกโจรกรรมไปจากปราสาทบันทาย ฉมาร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการขนส่งกลับไปยังกัมพูชาต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ จะจัดนิทรรศการ “โบราณวัตถุศิลปเขมรคืนสู่ราชอาณาจักรกัมพูชา” ที่กรุงเทพฯ ใน 29 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนชาวไทยและนานาประเทศตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์โบราณวัตถุและร่วมมือกันอนุรักษ์ โดยจะเชิญเจ้าหญิงบุปผาเทวี รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปากรของกัมพูชาไปร่วมพิธีเปิดด้วย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงไทย-กัมพูชาว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับวัตถุทางวัฒนธรรมพร้อมด้วยร่างความตกลงไทย-กัมพูชาว่าด้วยความร่วมมือในการส่งคืนรถยนต์ที่ถูกโจรกรรม เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือในสองด้านนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามได้ระหว่างการเยือนกัมพูชาของ ฯพณฯ นายกรรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้
10. โดยสรุปการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 ในวันนี้ มีผลที่เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย และสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจอันดี ไมตรีจิต และเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ที่จะร่วมมือกันเพื่อประโยชน์สุขและความเจริญของประเทศทั้งสองบรรยากาศของการหารือเต็มไปด้วยความจริงใจและความสมานฉันท์ อันจะเกื้อกูลต่อการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีในอนาคต--จบ--
1. การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา (JC) ครั้งที่ 3 จัดขึ้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2543 ที่นครเสียมราฐ หลังจากที่ได้ว่างเว้นมาเป็นเวลา 3 ปี โดยฝ่ายกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) เมื่อ 31 มกราคม 2543 เพื่อหารือในรายละเอียดของประเด็นความร่วมมือต่างๆ โดยฝ่ายไทยนำโดยปลัดกระทรวงการต่างประเทศ และมีผู้แทนจากหน่วยราชการต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการในการประชุมรวมทั้งภาครัฐวิสาหกิจต่างๆ ของไทย (อาทิ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ และการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค)
2. การประชุม JC ครั้งนี้ ได้จัดให้มีขึ้นหลังจากว่างเว้นมาตั้งแต่ปี 2540 ดังนั้น จึงมีความสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ ประการแรก เป็นโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายได้มาพบปะและหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทวิภาคีในทุกๆ ด้าน เนื่องจากการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเป็นกลไกระดับชาติที่มีบทบาทสำคัญในการทบทวนความร่วมมือที่ได้ดำเนินมา และในการแสวงหาลู่ทางที่จะเพิ่มพูนและสร้างเสริมความสัมพันธ์กับมิตรประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเพื่อนบ้านซึ่งมีการติดต่อกันในด้านต่างๆ ประการที่สอง การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ได้มีการหารือเกี่ยวกับปัญหาที่จะต้องแก้ไขระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่นไปจนถึงระดับรัฐบาล ประการที่สาม จะเป็นโอกาสอันดีที่ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้สร้างความรู้จักคุ้นเคยระหว่างกัน ซึ่งจะช่วยสร้างความเข้าใจอันดีและความสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งจะช่วยเกื้อกูลต่อการทำงานร่วมกันต่อไป
3. การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครั้งแรกนับแต่กัมพูชามีรัฐบาลที่ได้จัดตั้งขึ้นโดยการเลือกตั้งเมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีสมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรี รวมทั้งเป็นการประชุมหลังกัมพูชาเข้าเป็นสมาชิกอาเซียน (เมื่อ 30 เมษายน 2542) ดังนั้นจึงนับว่าเป็นการเปิดศักราชใหม่ในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างไทยและกัมพูชาในสหัสวรรษใหม่ ในการนี้ ฝ่ายไทยจึงประสงค์ให้การประชุมครั้งนี้วางรากฐานความร่วมมือต่อไปในอนาคต
4. ที่ประชุมได้มีการหารือกันในเรื่องต่างๆ ซึ่งครอบคลุมประเด็นความสัมพันธ์ทวิภาคีทุกด้านในบรรยากาศของความสัมพันธ์ฉันมิตร ซึ่งทั้งสองฝ่ายต่างแสดงความพอใจต่อผลความก้าวหน้าในความสัมพันธ์ทั้งในระดับทวิภาคีและเป็นการเตรียมความพร้อมไปสู่ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียน ซึ่งไทยได้พยายามผลักดันให้มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีได้เสนอในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 3 ที่กรุง มะนิลา เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2542 และสมเด็จฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมมือกับไทยในด้านดังกล่าว
5. สิ่งที่มีความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 3 คือ การลงนามความตกลงว่าด้วยบริการเดินทางอากาศระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกับ รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความร่วมมือในด้านคมนาคมขนส่ง และจะยังประโยชน์อย่างยิ่งต่อการเพิ่มปริมาณการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนการไปมาหาสู่ระหว่างประชาชนของไทยและกัมพูชา ซึ่งเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีความใกล้ชิดสนิทสนมและมีขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมอันเก่าแก่
6. เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายได้รับรายงานจากที่ประชุมครั้งนี้ว่า ปัจจุบันไทยและกัมพูชามีโครงการความร่วมมือทางวิชาการที่ครอบคลุมในสาขาที่สำคัญทุกสาขา ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือด้านเกษตร ป่าไม้ ประมง สาธารณสุข การศึกษา สิ่งแวดล้อม ข่าวสาร การท่องเที่ยว และแรงงาน โดยฝ่ายกัมพูชาแจ้งว่า บัดนี้ ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชาที่อำเภอปูนพนม ชานกรุงพนมเปญ ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือมาตั้งแต่ปี 2538 จนปัจจุบันเป็นจำนวน 110 ล้านบาท พร้อมที่จะส่งมอบ และอธิบดีกรมวิเทศสหการซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการความช่วยเหลือดังกล่าว จะเดินทางไปตรวจความพร้อมของศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานไทย-กัมพูชา เพื่อ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะร่วมในพิธีเปิดศูนย์ฯ อย่างเป็นทางการในโอกาสที่ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีจะเยือนกัมพูชาตามคำเชิญของสมเด็จฮุน เซนในช่วงครึ่งแรกของปี 2543
7. ความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายตกลงกันว่าจะขยายต่อไปในอนาคตคือ ความร่วมมือด้านพลังงาน โดยได้มีการตกลงกันว่าจะมีการลงนามร่างบันทึกความเข้าใจเรื่องโครงการความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อขยายความร่วมมือของทั้งสองประเทศในด้านการซื้อขายไฟฟ้า การร่วมพัฒนาไฟฟ้าและความร่วมมือด้านการฝึกอบรม โดย ฯพณฯ นายสาวิตต์ โพธิวิหค รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนายซุย เซม (Suy Sem) รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรมเมืองแร่และพลังงานของกัมพูชาจะร่วมลงนามที่กรุงพนมเปญในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2543 ปัจจุบัน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคของไทยขายไฟฟ้าให้จังหวัดเกาะกงของกัมพูชาและจะขายให้จังหวัดปอยเปตเมื่อระบบการจ่ายไฟฟ้าของกัมพูชาเสร็จเรียบร้อย นอกจากนี้ กัมพูชาได้ขอให้ไทยขายไฟฟ้าให้แก่จังหวัดพระตะบอง ไพลิน และจังหวัดปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งฝ่ายไทยก็พร้อมที่จะตอบสนองคำขอดังกล่าว นอกจากนี้ ฝ่ายกัมพูชารับที่จะเร่งรัดการพิจารณาให้การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยเสียภาษีนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันและอำนวยความสะดวกในการขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันไปยังท่าเรือน้ำมันที่ฐานทัพเรือเรียม
8. สำหรับความร่วมมือด้านความมั่นคงและชายแดน ทั้งสองฝ่ายได้แสดงความพึงพอใจต่อความร่วมมือของกลไกของฝ่ายความมั่นคง ได้แก่ คณะกรรมการชายแดนทั่วไป (General Border Committee : GBC) ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นประธานร่วม และฝ่ายกัมพูชารับจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าวในปีนี้หลังจากที่มิได้ประชุมมา 5 ปีแล้วตั้งแต่ปี 2538 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการกระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงในระดับสูงสุด นอกจากนี้ ก็มีกลไกการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดชายแดนซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานร่วมคณะกรรมการรักษาความสงบเรียบร้อยบริเวณชายแดน (Border Peace-Keeping Committee : BPKC) ซึ่งมีผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นประธานร่วม รวมทั้ง คณะกรรมการระดับท้องถิ่น (Regional Border Committee : RBC) ซึ่งมีผู้บัญชาการกองกำลังที่มีเขตความรับผิดชอบบริเวณชายแดนของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม เพื่อร่วมมือกันปราบปรามอาชญากรรม การค้า ยาเสพติด การกระทำอันเป็นโจรสลัด การลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การลักลอบวัตถุโบราณและรถยนต์ ฯลฯ อย่างได้ผล ทำให้ปัญหาต่างๆ บรรเทา เบาบางลง ซึ่งจะทำให้เจตนารมณ์ของรัฐบาลทั้งสองประเทศที่จะทำให้ชายแดนไทย-กัมพูชา เป็น “ชายแดนแห่งความร่วมมือ ผลประโยชน์ร่วมกัน สันติภาพอันยั่งยืน เสถียรภาพและมิตรภาพ” บรรลุผลเร็วขึ้น
9. อนึ่ง การที่การประชุมคณะกรรมาธิการร่วมฯ ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่จังหวัดเสียมราฐ ซึ่งมีปราสาทนครวัดอันเป็นที่เลื่องชื่อ เพื่อเน้นความสำคัญของความร่วมมือในการอนุรักษ์โบราณสถานและโบราณวัตถุซึ่งเป็นมรดกร่วมกันไม่เพียงพอเฉพาะชาวไทยและกัมพูชาเท่านั้น แต่ยังเป็นมรดกของชาวโลก และเมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลไทยก็ได้แจ้งการส่งมอบวัตถุโบราณจำนวน 122 ชิ้น ที่ส่วนใหญ่ถูกโจรกรรมไปจากปราสาทบันทาย ฉมาร์ ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจะหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการขนส่งกลับไปยังกัมพูชาต่อไป นอกจากนี้ กระทรวงศึกษาธิการ จะจัดนิทรรศการ “โบราณวัตถุศิลปเขมรคืนสู่ราชอาณาจักรกัมพูชา” ที่กรุงเทพฯ ใน 29 กุมภาพันธ์ 2543 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนชาวไทยและนานาประเทศตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์โบราณวัตถุและร่วมมือกันอนุรักษ์ โดยจะเชิญเจ้าหญิงบุปผาเทวี รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมและศิลปากรของกัมพูชาไปร่วมพิธีเปิดด้วย นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะหารือในรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงไทย-กัมพูชาว่าด้วยความร่วมมือในการป้องกันอาชญากรรมเกี่ยวกับวัตถุทางวัฒนธรรมพร้อมด้วยร่างความตกลงไทย-กัมพูชาว่าด้วยความร่วมมือในการส่งคืนรถยนต์ที่ถูกโจรกรรม เพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือในสองด้านนี้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถลงนามได้ระหว่างการเยือนกัมพูชาของ ฯพณฯ นายกรรัฐมนตรีในเร็วๆ นี้
10. โดยสรุปการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-กัมพูชา ครั้งที่ 3 ในวันนี้ มีผลที่เป็นที่พึงพอใจของทั้งสองฝ่าย และสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจอันดี ไมตรีจิต และเจตนารมณ์ที่แน่วแน่ที่จะร่วมมือกันเพื่อประโยชน์สุขและความเจริญของประเทศทั้งสองบรรยากาศของการหารือเต็มไปด้วยความจริงใจและความสมานฉันท์ อันจะเกื้อกูลต่อการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือทวิภาคีในอนาคต--จบ--