แท็ก
ธนาคารแห่งประเทศไทย
1. มาตรการด้านการพัฒนานโยบายการเงินและตลาดการเงิน
1.1 การรับซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาว่า ผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงวิธีการให้เงินสภาพคล่องระหว่างวัน และให้ใช้ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน พ.ศ. 2543
(ประกาศลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2543)
1.2 การนำรายการชำระเงินบาทที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าระบบบาทเนต
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเปลี่ยนแปลงเวลาการส่งมอบเงินบาทของธนาคารพาณิชย์จากเวลา ไม่เกิน 12.00 น. เป็นไม่เกิน 11.00 น. ตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อพึงปฎิบัติของธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 2 กรกฏาคม 2540 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารคู่ค้าจะนำรายการชำระ เงินบาทที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเข้าระบบบาทเนตแทนการใช้เช็ค
ทั้งนี้ ให้รวมถึงธุรกรรมที่ได้มีการตกลงกันมาก่อนหน้านี้ แต่จะมีการชำระเงินกันตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2543 เป็นต้นไปด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 7 มีนาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2543)
1.3 การแต่งตั้งสถาบันการเงินเป็น Primary Dealers
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ แต่งตั้งสถาบันการเงิน 9 แห่ง เป็น Primary Dealers ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และบริษัท หลักทรัพย์ 1 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประมูลตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรกเป็นไปตามเป้าหมาย และเพื่อเป็นคู่ค้าของธนาคารแห่งประเทศไทยใน การซื้อขายตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ตลอดจนทำหน้าที่เสริมสภาพคล่องในตลาดรองและช่วยพัฒนาตลาดรองให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการเสนออัตราผลตอบแทนรับซื้อ ( two - way Quote) ให้ผู้ร่วมตลาดทราบอย่างต่อเนื่อง
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 68/2543 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2543)
1.4 แนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาค เอกชน ( Bilateral Repo ) ของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรให้มีการพัฒนาตลาดซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo Market) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในระยะแรก ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดขอบเขตการทำธุรกรรม เช่น ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนเฉพาะในตราสารหนี้ภาครัฐประเภท เดียวกับตราสารที่ซื้อขายในตลาดซื้อคืนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และให้ทำธุรกรรมซื้อคืนเฉพาะสกุลเงินบาท เป็นต้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน ภาคเอกชน (Bilateral Repo) ระหว่างธนาคารกับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) แล้ว โดยในระยะแรกธนาคารยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่านทั้งตลาดซื้อคืนของธนาคารแห่งประเทศไทย และตลาดซื้อคืนภาคเอกชน ควบคู่กันไป ส่วนในระยะต่อไปธนาคารจะทยอยถอนตัวออกจากตลาดซื้อคืนและดำเนินนโยบายการเงินผ่าน ตลาดซื้อคืนภาคเอกชนเป็นหลัก
(หนังสือเวียนลงวันที่ 25 ธันวาคม 2543 และประกาศข่าวธปท.ฉบับที่148/2543 และ149/2543 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2543)
1.5 การประกาศใช้เป้าหมายอัตราดอกเบี้ยภายใต้กรอบนโยบายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting)
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประกาศ เป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate) เป็นครั้งแรก ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 โดยใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่อัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
นอกจากนี้ ยังได้เผยแพร่รายงานแนวโน้ม เงินเฟ้อ (Inflation Report) เป็นฉบับแรกในเดือนกรกฏาคม 2543 และฉบับที่ 2 ในเดือนตุลาคม 2543 โดยที่คณะกรรมการ ฯ ยังให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
(ประกาศข่าวธปท.ฉบับที่ 65/2543 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ฉบับที่ 85/2543 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และฉบับที่ 116/2543 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2543).
2. มาตรการด้านการปริวรรตเงินตราและการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
2.1 การขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อให้ลูกค้าในประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะขายต่อหลักทรัพย์ เงินตราต่างประเทศที่ออกจำหน่ายในต่างประเทศ จะขายได้เฉพาะแก่ผู้ซื้อที่เป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และให้ชำระราคาเป็นเงินบาทเทียบเท่าเท่านั้น โดยที่ยอดขายแต่ละรายจะต้องไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. และวงเงินรวมของหลักทรัพย์ที่นำมาขายต่อ ทุกรายรวมกันจะต้องไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อปี
(หนังสือเวียนลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2543)
2.2 การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติในหลักการให้บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด ส่งเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศในวงเงินรวมไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. ภายใน 1 ปี โดยให้ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะพันธบัตรของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ธนาคารพาณิชย์ไทย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ที่ออกจำหน่ายในต่างประเทศ
(ประกาศข่าวธปท.ฉบับที่ 26/2543 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543)
2.3 การระงับสิทธิการทำธุรกรรมของสถาบันการเงินที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรการ ป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป หากธนาคารแห่งประเทศไทยยังพบว่าสถาบันการเงิน ไม่ดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรการในการจำกัด การทำธุรกรรมทางการเงินที่เป็นการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท หรือสร้างภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินตรา ต่างประเทศในอนาคตให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยไม่มีธุรกิจการค้าหรือการลงทุนรองรับสถาบันการเงินดังกล่าวจะถูกระงับสิทธิการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืน รวมทั้งอาจถูกระงับสิทธิอื่นๆ ในอนาคตด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 11 สิงหาคม 2543)
2.4 การปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
เพื่อให้การรายงานข้อมูลการซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศของสถาบันการเงินมีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารจึงได้ออกหนังสือเวียนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศ ธนกิจ) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) ขอปรับปรุงแบบรายงาน ธ.ต.3 ธ.ต.4 และแบบรายงาน ธ.ต. 5 ด้วย เพื่อให้ตัวแทนรับอนุญาตดูแลให้ลูกค้า จัดทำรายงานให้ครบถ้วนโดยระบุรายละเอียดหรือ วัตถุประสงค์ของการซื้อ ขาย ฝาก ถอนเงินตรา ต่างประเทศให้ตรงกับเอกสารหลักฐาน
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543)
2.5 แนวทางปฏิบัติในการรับซื้อเงินตรา ต่างประเทศแลกเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่ นอกประเทศที่มีกำหนดส่งมอบในวันเดียวกัน (Value same day)
เพื่อแก้ไขปัญหาตลาดเงินในประเทศตึงตัว หลังจากที่เกิดปัญหาขาดแคลนเงินบาทในตลาด Offshore ที่มีผลกระทบต่อระบบการชำระเงินภายในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุนสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) ถือปฏิบัติ ดังนี้
1) ธุรกรรมที่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนว่า ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศมีธุรกิจการค้า การลงทุน ในประเทศรองรับ (Underlying) ให้สถาบันการเงิน ส่งหนังสือขออนุญาตไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยโดยทางโทรสาร พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดของ Underlying หลังจากได้รับอนุญาตแล้วให้ติดตามหลักฐานการจ่ายชำระเงินส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยในวันเดียวกัน
2) สำหรับธุรกรรมที่ไม่มี Underlying ให้สถาบันการเงินรับซื้อเงินดอลลาร์สรอ.จากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและนำมาขายต่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งจำนวนในวันเดียวกันและอัตราแลกเปลี่ยนอัตราเดียวกัน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราตลาด 1.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สถาบันการเงินในประเทศต้องส่งรายงานการรับซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. Value same day พร้อมหลักฐานการรับซื้อ และเหตุผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทางโทรสาร โดยการดำเนินการในข้อ 2 นี้ ให้มีผลระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2543 เท่านั้น
อนึ่ง สถาบันการเงินมีหน้าที่เร่งรัดให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศหาสภาพคล่องมาปิดบัญชี O/D หรือจ่ายเงินบาทตามภาระที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน หากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไม่สามารถดำเนินการตามกฎเกณฑ์ปล่อยให้สภาพคล่องเกิน 50 ล้านบาท และพิสูจน์ไม่ได้ว่ามี Underlying รองรับแล้ว สถาบันการเงินนั้นจะต้องถูกลงโทษตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้โดยไม่มีการผ่อนผัน
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543)
2.6 การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 8)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุนสินเอเซีย จำกัด เพื่อนำส่งประกาศของเจ้าพนักงานควบคุมการ แลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 8) โดยให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ แลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 เมษายน 2535 ที่ให้ตัวแทนรับอนุญาตขาย ให้แลกเปลี่ยน ให้กู้ยืม แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะ จัดตั้งขึ้น หรือให้บุคคลดังกล่าวถอนเงินจากบัญชี เงินฝากเงินตราต่างประเทศของตนได้ทุกกรณี และได้แก้ไขความในข้อ 8 เพื่อให้สอดคล้องกับความ ในข้อ 6 ด้วยโดยไม่อนุญาตให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล ฯลฯ ตามที่กล่าวในข้อ 6 นำเงินตรา ต่างประเทศฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2543 เพื่อ นำส่งประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินลงวันที่เดียวกัน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2543)
3. มาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
3.1 การกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้อง ถือปฏิบัติ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง การกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ โดยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่จำหน่ายจ่ายโอนนั้น นอกจากจะ หมายถึง สินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกจัดชั้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2542 แล้ว ยังให้หมายถึงสินทรัพย์จัดชั้น ที่สถาบันการเงินได้จำหน่ายออกจากบัญชีแล้วและทรัพย์สินรอการขายที่อยู่ในข่ายต้องจัดชั้น เนื่องจากมีมูลค่าตลาดต่ำกว่าต้นทุนด้วย โดยที่บริษัทบริหารสินทรัพย์จะต้องยื่นแผนงานการรับซื้อหรือรับโอน สินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบก่อนทุกครั้งและจะถือครองอสังหาริมทรัพย์ ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินได้เป็น ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถาบันการเงินถือหุ้น เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้ว โดยให้ จัดทำงบการเงินรวมกับสถาบันการเงินนั้น ตาม มาตรฐานการบัญชี และต้องนำสินทรัพย์และภาระ ผูกพันของบริษัทบริหารสินทรัพย์รวมเข้ากับของสถาบันการเงินในการคำนวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง รวมทั้งให้เปิดเผยจำนวนเงินให้ สินเชื่อหรือเงินให้กู้ยืมที่ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และให้ผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 7 มกราคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 5 มกราคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2543 และ 7 มกราคม 2543 สำหรับย่อหน้าแรกและย่อหน้าหลัง ตามลำดับ)
3.2 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ใหม่ โดยได้ปรับปรุงจากหลักเกณฑ์เดิม มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1) ปรับปรุงหนังสือเวียน เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ในประเด็น ความหมายของราคายุติธรรมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการโอนและการรับโอนสินทรัพย์ทางการเงินลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
2) ตามข้อกำหนดของแนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการโอนและการรับโอนสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติให้สถาบันการเงินที่จัดตั้ง AMC แล้วเสร็จก่อนการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ หรือ ภายหลังเกณฑ์ใหม่ประกาศใช้ ให้แสดงความประสงค์มายังธนาคารแห่งประเทศไทยว่าประสงค์จะโอนขายสินทรัพย์ในลักษณะขายขาดหรือไม่ เพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดให้เป็นไปตามความประสงค์
3) ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และ หลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปฏิบัติโดยให้สถาบันการเงินโอนขายสินทรัพย์ให้แก่ AMC ได้โดยไม่ต้องรอให้ด้อยค่า และ AMC สามารถนำโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับซื้อหรือรับโอนมาและที่ได้รับจากการชำระหนี้ซึ่งก่อสร้างค้างไว้ไปพัฒนาต่อให้เสร็จได้ แต่ไม่รวมถึงการนำที่ดินเปล่าไปพัฒนาต่อ เป็นต้น
อนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนขอความร่วมมือจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อยินยอมให้ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามกฎหมายการธนาคารพาณิชย์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ เข้าตรวจสอบฐานะผลการดำเนินงาน ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่างๆ ภายในอาคารสถานที่ทำการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ตามควร
(หนังสือเวียนลงวันที่ 6 ตุลาคม 2543 และหนังสือเวียนเพื่อนำส่ง เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องถือปฏิบัติ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 )
3.3 การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง อันเนื่อง มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ฉบับที่ 2)
ทางการได้อนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ฉบับที่ 2) ซึ่งได้ขยายระยะเวลาในการอนุญาตออกไปอีก 2 ปี โดยให้สิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2544 (เดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542) เพื่อให้สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบในการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และค่าธรรมเนียมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 6 มกราคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 29 ธันวาคม 2542 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543)
3.4 การเลิกบริษัทเงินทุนไทยแคปิตอล จำกัด
ตามที่กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งแต่งตั้ง สำนักงานปิติเสวีเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเงินทุนไทยแคปิตอลตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2543 เป็นต้นไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศเพื่อแจ้ง ให้แก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับบริษัทเงินทุนไทยแคปิตอลให้ทราบว่ากองทุน เพื่อการฟื้นฟูฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของบริษัท ตามข้อบังคับว่าด้วยการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540
(ประกาศข่าว ธปท.ฉบับที่ 43/2543 โดยมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2543)
3.5 การขายหุ้นของบริษัทเงินทุนรัตนทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศข่าวธนาคารเพื่อแจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการจัดการกองทุนได้มีมติให้บริษัทเงินทุนเกียรตินาคินเป็น ผู้ชนะการประมูลหุ้นในราคา 1,385 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาตามบัญชีของบริษัทเงินทุนรัตนทุน ณ สิ้นปี 2542 อยู่ 153 ล้านบาท และได้ลงนาม ในสัญญาซื้อขายแล้วเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 41/2543 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543)
3.6 อสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้สถาบันการเงิน (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) ถือปฎิบัติในการดำเนินการลดยอดอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้รับมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ให้หมดไป ตาม หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในประกาศ โดยให้เสนอแผนการที่จะทยอยลดยอดอสังหาริมทรัพย์ รอการขายเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ทักท้วงภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแผนให้ถือว่าธนาคารอนุญาตให้ตามแผนที่เสนอมา
(หนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543)
3.7 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPL ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน ให้แก่สถาบันการเงิน (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) แจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้พิจารณาและเห็นชอบตามโครงการการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPL ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ต้องเป็นลูกหนี้ SMEs (ที่มีขนาดสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 200 ล้านบาท) ที่เป็น NPL ซึ่งมี ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจซึ่งได้ดำเนินการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดและได้ลงนามในสัญญา การปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว
2) สินเชื่อใหม่ที่ให้ จะเน้นเฉพาะเงินทุน หมุนเวียนในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยคิด ดอกเบี้ยในอัตรา MLR หรือ MOR โดยที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะค้ำประกันสินเชื่อใหม่ในสัดส่วนร้อยละ 75 และสถาบันการเงินจะเฉลี่ยความเสี่ยงในอัตรา ร้อยละ 25
3) อายุโครงการไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2545
อนึ่ง เมื่อสถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และให้ลูกหนี้ SMEs ลงนามในสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เรียบร้อยแล้ว ให้สถาบันการเงินจัดชั้นลูกหนี้ SMEs นั้นเป็นลูกหนี้ชั้นปกติได้ทันที
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ 7 เมษายน 2543 | 6 เมษายน 2545)
3.8 การซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฏหมายกำหนด
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน เรื่องการซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงิน (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ) ถือหุ้นในบริษัทจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เฉพาะกรณีการได้หุ้นนั้นมาจากการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
2) ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อกรรมสิทธิ์ของบริษัท ทั้งหมด มีมูลค่ารวมกันเกินกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุนได้ เฉพาะกรณีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ส่วนที่เกินนั้นเป็นหุ้นที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนธนาคารพาณิชย์ (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด ทั้งหมดมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของเงินกองทุนได้ เฉพาะกรณีหุ้นส่วนที่เกินนั้นเป็นหุ้นที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
3) สถาบันการเงิน (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ) ที่มีหุ้นเกินจำนวนดังกล่าว ต้องลดสัดส่วนลงให้เหลือตามที่กฎหมายกำหนดในทันทีที่สามารถทำได้โดย ไม่ก่อให้เกิดผลขาดทุนแก่สถาบันการเงิน แต่ต้อง ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2547
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 มีนาคม 2543 ให้แก่ ธนาคารพาณิชย์และสำนักงานวิเทศธนกิจและหนังสือเวียนลงวันที่ 4 เมษายน 2543 ให้แก่บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
3.9 หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ โดยขยายคำนิยามของ ผู้ประเมินราคาอิสระ ให้หมายความรวมถึงที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะในกรณีที่ต้องประเมินราคาหุ้นที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือนอกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และได้ขยายระยะเวลาที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระในการประเมินราคาหลักประกันออกไปอีก 1 ปี สำหรับสถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนตั้งแต่ 8,000 ล้านบาทขึ้นไป ต้องประเมินราคาหลักประกันโดยใช้ผู้ประเมินราคาอิสระตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ได้กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์จัดทำนโยบาย วิธีการ และขั้นตอนเกี่ยวกับการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประเมินมูลค่า หลักประกัน เสนอให้คณะกรรมการของบริษัทบริหารสินทรัพย์พิจารณาอนุมัติก่อนจัดส่งให้ธนาคาร แห่งประเทศไทยพิจารณาอนุมัติ โดยที่ ทั้งนโยบาย วิธีการ และขั้นตอนดังกล่าวอาจจะเหมือนกับของสถาบันการเงินที่เป็นผู้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ ก็ได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 4 ธันวาคม 2543 และวันที่ 28 ธันวาคม 2543)
3.10 หลักเกณฑ์การใช้บุคลากรร่วมกับบุคคลอื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ การใช้บุคลากร สถานที่ อุปกรณ์และบริการต่างๆ ให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเพิ่มขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1) ให้ใช้เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ติดตามและ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งได้ปรับปรุง โครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งที่เป็นลูกหนี้รายเดียวกันและ ไม่ใช่รายเดียวกันร่วมกับบุคคลอื่นได้
2) ต้องมีระเบียบปฏิบัติควบคุมดูแลบุคลากร ที่ใช้ร่วมกับผู้อื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีการนำข้อมูลของลูกหนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ใดๆ โดยมิชอบ และให้มีการดูแลปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด รวมทั้งมีบทกำหนดในการลงโทษ
3) ต้องควบคุมดูแลบุคลากรที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ รวมทั้งลูกหนี้ จะต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจนว่าบุคลากรดังกล่าวกำลังทำงานให้แก่บุคคลใด เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการที่บุคลากรนั้นทำงานให้บุคคลอื่นเกินกว่า 1 แห่ง เพื่อป้องกันความสับสนตลอดจนต้องกำหนด ตัวบุคคลผู้รับผิดชอบ หากเกิดความเสียหายแก่ ลูกหนี้โดยที่ลูกหนี้ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยที่พึงปฏิบัติแล้ว
(หนังสือเวียนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543)
3.11 ขอบเขตการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ฉบับใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ให้กิจการวิเทศธนกิจสามารถมีสินทรัพย์ เป็นเงินบาทไว้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินลงทุน ในหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิ ซื้อหุ้นของนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ได้ทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
2) กิจการวิเทศธนกิจสามารถลงทุนในหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเนื่องมาจากการปรับ โครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 มิถุนายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ 14 มิถุนายน 2543)
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
1.1 การรับซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาว่า ผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ปรับปรุงวิธีการให้เงินสภาพคล่องระหว่างวัน และให้ใช้ระเบียบธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับซื้อพันธบัตรโดยมีสัญญาว่าผู้ขายจะซื้อคืนเพื่อเป็นเงินสภาพคล่องระหว่างวัน พ.ศ. 2543
(ประกาศลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2543)
1.2 การนำรายการชำระเงินบาทที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศกับธนาคารแห่งประเทศไทยเข้าระบบบาทเนต
ธนาคารแห่งประเทศไทยขอเปลี่ยนแปลงเวลาการส่งมอบเงินบาทของธนาคารพาณิชย์จากเวลา ไม่เกิน 12.00 น. เป็นไม่เกิน 11.00 น. ตามหนังสือของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง ข้อพึงปฎิบัติของธนาคารพาณิชย์ในการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ ลงวันที่ 2 กรกฏาคม 2540 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารคู่ค้าจะนำรายการชำระ เงินบาทที่เกิดจากธุรกรรมการซื้อขายเงินตราต่างประเทศเข้าระบบบาทเนตแทนการใช้เช็ค
ทั้งนี้ ให้รวมถึงธุรกรรมที่ได้มีการตกลงกันมาก่อนหน้านี้ แต่จะมีการชำระเงินกันตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2543 เป็นต้นไปด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 7 มีนาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 มีนาคม 2543)
1.3 การแต่งตั้งสถาบันการเงินเป็น Primary Dealers
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ แต่งตั้งสถาบันการเงิน 9 แห่ง เป็น Primary Dealers ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ 8 แห่ง และบริษัท หลักทรัพย์ 1 แห่ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การประมูลตราสารหนี้ภาครัฐในตลาดแรกเป็นไปตามเป้าหมาย และเพื่อเป็นคู่ค้าของธนาคารแห่งประเทศไทยใน การซื้อขายตราสารหนี้ภาครัฐเพื่อการดำเนินนโยบายการเงิน ตลอดจนทำหน้าที่เสริมสภาพคล่องในตลาดรองและช่วยพัฒนาตลาดรองให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการเสนออัตราผลตอบแทนรับซื้อ ( two - way Quote) ให้ผู้ร่วมตลาดทราบอย่างต่อเนื่อง
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 68/2543 ลงวันที่ 5 มิถุนายน 2543)
1.4 แนวนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการประกอบธุรกรรมซื้อคืนภาค เอกชน ( Bilateral Repo ) ของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นควรให้มีการพัฒนาตลาดซื้อคืนภาคเอกชน (Private Repo Market) เพิ่มเติมจากที่มีอยู่ในปัจจุบันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยในระยะแรก ธนาคารแห่งประเทศไทยจะกำหนดขอบเขตการทำธุรกรรม เช่น ให้สถาบันการเงินทำธุรกรรมซื้อคืนภาคเอกชนเฉพาะในตราสารหนี้ภาครัฐประเภท เดียวกับตราสารที่ซื้อขายในตลาดซื้อคืนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย และให้ทำธุรกรรมซื้อคืนเฉพาะสกุลเงินบาท เป็นต้น ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มทำธุรกรรมซื้อขายพันธบัตร โดยมีสัญญาว่าจะขายคืนหรือซื้อคืน ภาคเอกชน (Bilateral Repo) ระหว่างธนาคารกับไพรมารีดีลเลอร์ (Primary Dealers) แล้ว โดยในระยะแรกธนาคารยังคงดำเนินนโยบายการเงินผ่านทั้งตลาดซื้อคืนของธนาคารแห่งประเทศไทย และตลาดซื้อคืนภาคเอกชน ควบคู่กันไป ส่วนในระยะต่อไปธนาคารจะทยอยถอนตัวออกจากตลาดซื้อคืนและดำเนินนโยบายการเงินผ่าน ตลาดซื้อคืนภาคเอกชนเป็นหลัก
(หนังสือเวียนลงวันที่ 25 ธันวาคม 2543 และประกาศข่าวธปท.ฉบับที่148/2543 และ149/2543 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2543)
1.5 การประกาศใช้เป้าหมายอัตราดอกเบี้ยภายใต้กรอบนโยบายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting)
คณะกรรมการนโยบายการเงินได้ประกาศ เป้าหมายอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Key Policy Rate) เป็นครั้งแรก ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 โดยใช้อัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน 14 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในระดับที่อัตราร้อยละ 1.5 ต่อปี
นอกจากนี้ ยังได้เผยแพร่รายงานแนวโน้ม เงินเฟ้อ (Inflation Report) เป็นฉบับแรกในเดือนกรกฏาคม 2543 และฉบับที่ 2 ในเดือนตุลาคม 2543 โดยที่คณะกรรมการ ฯ ยังให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 1.5 ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
(ประกาศข่าวธปท.ฉบับที่ 65/2543 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ฉบับที่ 85/2543 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และฉบับที่ 116/2543 ลงวันที่ 26 ตุลาคม 2543).
2. มาตรการด้านการปริวรรตเงินตราและการป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
2.1 การขายหลักทรัพย์เงินตราต่างประเทศต่อให้ลูกค้าในประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ที่จะขายต่อหลักทรัพย์ เงินตราต่างประเทศที่ออกจำหน่ายในต่างประเทศ จะขายได้เฉพาะแก่ผู้ซื้อที่เป็นผู้ลงทุนประเภทสถาบัน และให้ชำระราคาเป็นเงินบาทเทียบเท่าเท่านั้น โดยที่ยอดขายแต่ละรายจะต้องไม่เกิน 10 ล้านดอลลาร์ สรอ. และวงเงินรวมของหลักทรัพย์ที่นำมาขายต่อ ทุกรายรวมกันจะต้องไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อปี
(หนังสือเวียนลงวันที่ 29 พฤษภาคม 2543)
2.2 การอนุญาตให้บริษัทหลักทรัพย์ส่งเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติในหลักการให้บริษัทหลักทรัพย์ เมอร์ริล ลินช์ ภัทร จำกัด ส่งเงินไปลงทุนซื้อหลักทรัพย์ในต่างประเทศในวงเงินรวมไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ สรอ. ภายใน 1 ปี โดยให้ลงทุนซื้อหลักทรัพย์ได้เฉพาะพันธบัตรของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ธนาคารพาณิชย์ไทย และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ที่ออกจำหน่ายในต่างประเทศ
(ประกาศข่าวธปท.ฉบับที่ 26/2543 ลงวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2543)
2.3 การระงับสิทธิการทำธุรกรรมของสถาบันการเงินที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรการ ป้องปรามการเก็งกำไรค่าเงินบาท
ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2543 เป็นต้นไป หากธนาคารแห่งประเทศไทยยังพบว่าสถาบันการเงิน ไม่ดำเนินการให้สอดคล้องกับมาตรการในการจำกัด การทำธุรกรรมทางการเงินที่เป็นการปล่อยสภาพคล่องเงินบาท หรือสร้างภาระผูกพันที่ต้องจ่ายเงินตรา ต่างประเทศในอนาคตให้แก่ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ โดยไม่มีธุรกิจการค้าหรือการลงทุนรองรับสถาบันการเงินดังกล่าวจะถูกระงับสิทธิการทำธุรกรรมในตลาดซื้อคืน รวมทั้งอาจถูกระงับสิทธิอื่นๆ ในอนาคตด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 11 สิงหาคม 2543)
2.4 การปรับปรุงแบบรายงานการซื้อขายเงินตราต่างประเทศ
เพื่อให้การรายงานข้อมูลการซื้อขายเงินตรา ต่างประเทศของสถาบันการเงินมีความถูกต้องชัดเจนยิ่งขึ้น และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารจึงได้ออกหนังสือเวียนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ (ไม่รวมกิจการวิเทศ ธนกิจ) ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุน สินเอเซีย จำกัด (มหาชน) ขอปรับปรุงแบบรายงาน ธ.ต.3 ธ.ต.4 และแบบรายงาน ธ.ต. 5 ด้วย เพื่อให้ตัวแทนรับอนุญาตดูแลให้ลูกค้า จัดทำรายงานให้ครบถ้วนโดยระบุรายละเอียดหรือ วัตถุประสงค์ของการซื้อ ขาย ฝาก ถอนเงินตรา ต่างประเทศให้ตรงกับเอกสารหลักฐาน
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 และวันที่ 17 ตุลาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2543)
2.5 แนวทางปฏิบัติในการรับซื้อเงินตรา ต่างประเทศแลกเงินบาทจากผู้มีถิ่นที่อยู่ นอกประเทศที่มีกำหนดส่งมอบในวันเดียวกัน (Value same day)
เพื่อแก้ไขปัญหาตลาดเงินในประเทศตึงตัว หลังจากที่เกิดปัญหาขาดแคลนเงินบาทในตลาด Offshore ที่มีผลกระทบต่อระบบการชำระเงินภายในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน ให้แก่ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและ นำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุนสินเอเซีย จำกัด (มหาชน) ถือปฏิบัติ ดังนี้
1) ธุรกรรมที่สามารถตรวจสอบได้ชัดเจนว่า ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศมีธุรกิจการค้า การลงทุน ในประเทศรองรับ (Underlying) ให้สถาบันการเงิน ส่งหนังสือขออนุญาตไปยังธนาคารแห่งประเทศไทยโดยทางโทรสาร พร้อมทั้งแจ้งรายละเอียดของ Underlying หลังจากได้รับอนุญาตแล้วให้ติดตามหลักฐานการจ่ายชำระเงินส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยในวันเดียวกัน
2) สำหรับธุรกรรมที่ไม่มี Underlying ให้สถาบันการเงินรับซื้อเงินดอลลาร์สรอ.จากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศและนำมาขายต่อให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทั้งจำนวนในวันเดียวกันและอัตราแลกเปลี่ยนอัตราเดียวกัน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราตลาด 1.20 บาทต่อดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ สถาบันการเงินในประเทศต้องส่งรายงานการรับซื้อเงินดอลลาร์ สรอ. Value same day พร้อมหลักฐานการรับซื้อ และเหตุผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทางโทรสาร โดยการดำเนินการในข้อ 2 นี้ ให้มีผลระหว่างวันที่ 27-29 พฤศจิกายน 2543 เท่านั้น
อนึ่ง สถาบันการเงินมีหน้าที่เร่งรัดให้ผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศหาสภาพคล่องมาปิดบัญชี O/D หรือจ่ายเงินบาทตามภาระที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน หากผู้มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศไม่สามารถดำเนินการตามกฎเกณฑ์ปล่อยให้สภาพคล่องเกิน 50 ล้านบาท และพิสูจน์ไม่ได้ว่ามี Underlying รองรับแล้ว สถาบันการเงินนั้นจะต้องถูกลงโทษตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้โดยไม่มีการผ่อนผัน
(หนังสือเวียนลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543)
2.6 การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 8)
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้แก่ ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัทเงินทุนสินเอเซีย จำกัด เพื่อนำส่งประกาศของเจ้าพนักงานควบคุมการ แลกเปลี่ยนเงิน เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และ วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 8) โดยให้ยกเลิกความในข้อ 6 ของประกาศ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการ แลกเปลี่ยนเงิน (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 30 เมษายน 2535 ที่ให้ตัวแทนรับอนุญาตขาย ให้แลกเปลี่ยน ให้กู้ยืม แก่ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ หรือนิติบุคคลที่มีกฎหมายเฉพาะ จัดตั้งขึ้น หรือให้บุคคลดังกล่าวถอนเงินจากบัญชี เงินฝากเงินตราต่างประเทศของตนได้ทุกกรณี และได้แก้ไขความในข้อ 8 เพื่อให้สอดคล้องกับความ ในข้อ 6 ด้วยโดยไม่อนุญาตให้ส่วนราชการ องค์การของรัฐบาล ฯลฯ ตามที่กล่าวในข้อ 6 นำเงินตรา ต่างประเทศฝากเข้าบัญชีเงินฝากเงินตราต่างประเทศของบุคคลที่มีถิ่นที่อยู่นอกประเทศ
(หนังสือเวียนลงวันที่ 17 พฤศจิกายน 2543 เพื่อ นำส่งประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินลงวันที่เดียวกัน โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2543)
3. มาตรการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน
3.1 การกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้อง ถือปฏิบัติ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง การกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องถือปฏิบัติ โดยสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่จำหน่ายจ่ายโอนนั้น นอกจากจะ หมายถึง สินทรัพย์ของสถาบันการเงินที่ถูกจัดชั้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง สินทรัพย์ที่ไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้และสินทรัพย์ที่สงสัยว่าจะไม่มีราคาหรือเรียกคืนไม่ได้ลงวันที่ 24 ธันวาคม 2542 แล้ว ยังให้หมายถึงสินทรัพย์จัดชั้น ที่สถาบันการเงินได้จำหน่ายออกจากบัญชีแล้วและทรัพย์สินรอการขายที่อยู่ในข่ายต้องจัดชั้น เนื่องจากมีมูลค่าตลาดต่ำกว่าต้นทุนด้วย โดยที่บริษัทบริหารสินทรัพย์จะต้องยื่นแผนงานการรับซื้อหรือรับโอน สินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทราบก่อนทุกครั้งและจะถือครองอสังหาริมทรัพย์ ที่รับซื้อหรือรับโอนมาจากสถาบันการเงินได้เป็น ระยะเวลาสูงสุดไม่เกิน 10 ปี
นอกจากนี้ ยังได้กำหนดวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่มีสถาบันการเงินถือหุ้น เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้ว โดยให้ จัดทำงบการเงินรวมกับสถาบันการเงินนั้น ตาม มาตรฐานการบัญชี และต้องนำสินทรัพย์และภาระ ผูกพันของบริษัทบริหารสินทรัพย์รวมเข้ากับของสถาบันการเงินในการคำนวณอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง รวมทั้งให้เปิดเผยจำนวนเงินให้ สินเชื่อหรือเงินให้กู้ยืมที่ค้างชำระเกินกว่า 3 เดือน ในหมายเหตุประกอบงบการเงิน และให้ผู้สอบบัญชีของสถาบันการเงินเป็นผู้สอบบัญชีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ด้วย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 7 มกราคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 5 มกราคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2543 และ 7 มกราคม 2543 สำหรับย่อหน้าแรกและย่อหน้าหลัง ตามลำดับ)
3.2 หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์สำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ใหม่ โดยได้ปรับปรุงจากหลักเกณฑ์เดิม มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1) ปรับปรุงหนังสือเวียน เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ในประเด็น ความหมายของราคายุติธรรมให้เป็นไปตามข้อกำหนดของแนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการโอนและการรับโอนสินทรัพย์ทางการเงินลงวันที่ 30 สิงหาคม 2543 ของสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
2) ตามข้อกำหนดของแนวปฏิบัติทางบัญชีเกี่ยวกับการโอนและการรับโอนสินทรัพย์ทางการเงินดังกล่าวข้างต้น ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกำหนดแนวทางปฏิบัติให้สถาบันการเงินที่จัดตั้ง AMC แล้วเสร็จก่อนการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่ หรือ ภายหลังเกณฑ์ใหม่ประกาศใช้ ให้แสดงความประสงค์มายังธนาคารแห่งประเทศไทยว่าประสงค์จะโอนขายสินทรัพย์ในลักษณะขายขาดหรือไม่ เพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้กำหนดให้เป็นไปตามความประสงค์
3) ปรับปรุงประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยเกี่ยวกับการกำหนดสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และ หลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ต้องปฏิบัติโดยให้สถาบันการเงินโอนขายสินทรัพย์ให้แก่ AMC ได้โดยไม่ต้องรอให้ด้อยค่า และ AMC สามารถนำโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับซื้อหรือรับโอนมาและที่ได้รับจากการชำระหนี้ซึ่งก่อสร้างค้างไว้ไปพัฒนาต่อให้เสร็จได้ แต่ไม่รวมถึงการนำที่ดินเปล่าไปพัฒนาต่อ เป็นต้น
อนึ่ง ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนขอความร่วมมือจากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อยินยอมให้ผู้ตรวจการธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามกฎหมายการธนาคารพาณิชย์ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแต่งตั้งตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจเงินทุนฯ เข้าตรวจสอบฐานะผลการดำเนินงาน ตลอดจนเอกสารหลักฐานต่างๆ ภายในอาคารสถานที่ทำการของบริษัทบริหารสินทรัพย์ได้ตามควร
(หนังสือเวียนลงวันที่ 6 ตุลาคม 2543 และหนังสือเวียนเพื่อนำส่ง เรื่อง ข้อกำหนดเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติสำหรับบริษัทบริหารสินทรัพย์ และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่อง การกำหนดสินทรัพย์ ด้อยคุณภาพและหลักเกณฑ์ที่บริษัทบริหารสินทรัพย์ ต้องถือปฏิบัติ ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2543 )
3.3 การอนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง อันเนื่อง มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ฉบับที่ 2)
ทางการได้อนุญาตให้บริษัทเงินทุนประกอบธุรกิจให้เช่าซื้อและให้เช่าแบบลีสซิ่ง อันเนื่องมาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ (ฉบับที่ 2) ซึ่งได้ขยายระยะเวลาในการอนุญาตออกไปอีก 2 ปี โดยให้สิ้นสุดวันที่ 31ธันวาคม 2544 (เดิมสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2542) เพื่อให้สอดคล้องกับมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบในการขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร และค่าธรรมเนียมในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 6 มกราคม 2543 เพื่อนำส่งประกาศกระทรวงการคลังลงวันที่ 29 ธันวาคม 2542 โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2543)
3.4 การเลิกบริษัทเงินทุนไทยแคปิตอล จำกัด
ตามที่กระทรวงการคลังได้มีคำสั่งแต่งตั้ง สำนักงานปิติเสวีเป็นผู้ชำระบัญชีของบริษัทเงินทุนไทยแคปิตอลตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2543 เป็นต้นไป ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ออกประกาศเพื่อแจ้ง ให้แก่ผู้ฝากเงิน เจ้าหนี้ ลูกหนี้และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง กับบริษัทเงินทุนไทยแคปิตอลให้ทราบว่ากองทุน เพื่อการฟื้นฟูฯ จะจ่ายเงินให้แก่ผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของบริษัท ตามข้อบังคับว่าด้วยการประกันผู้ฝากเงินและเจ้าหนี้ของสถาบันการเงิน พ.ศ. 2540
(ประกาศข่าว ธปท.ฉบับที่ 43/2543 โดยมีผล บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2543)
3.5 การขายหุ้นของบริษัทเงินทุนรัตนทุน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศข่าวธนาคารเพื่อแจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการจัดการกองทุนได้มีมติให้บริษัทเงินทุนเกียรตินาคินเป็น ผู้ชนะการประมูลหุ้นในราคา 1,385 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าราคาตามบัญชีของบริษัทเงินทุนรัตนทุน ณ สิ้นปี 2542 อยู่ 153 ล้านบาท และได้ลงนาม ในสัญญาซื้อขายแล้วเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2543
(ประกาศข่าวธปท. ฉบับที่ 41/2543 ลงวันที่ 17 มีนาคม 2543)
3.6 อสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้มาจากการชำระหนี้
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้สถาบันการเงิน (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) ถือปฎิบัติในการดำเนินการลดยอดอสังหาริมทรัพย์รอการขายที่ได้รับมาก่อนวันที่ 1 มกราคม 2540 ให้หมดไป ตาม หลักเกณฑ์ต่างๆ ที่กำหนดไว้ในประกาศ โดยให้เสนอแผนการที่จะทยอยลดยอดอสังหาริมทรัพย์ รอการขายเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี หากธนาคารแห่งประเทศไทยมิได้ทักท้วงภายใน 30 วันนับจากวันที่ได้รับแผนให้ถือว่าธนาคารอนุญาตให้ตามแผนที่เสนอมา
(หนังสือเวียนลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2543)
3.7 การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPL ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน ให้แก่สถาบันการเงิน (ไม่รวมกิจการวิเทศธนกิจ) แจ้งให้ทราบว่า คณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้พิจารณาและเห็นชอบตามโครงการการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ SMEs ที่เป็น NPL ที่มีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ต้องเป็นลูกหนี้ SMEs (ที่มีขนาดสินทรัพย์ถาวรสุทธิไม่เกิน 200 ล้านบาท) ที่เป็น NPL ซึ่งมี ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจซึ่งได้ดำเนินการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคาร แห่งประเทศไทยกำหนดและได้ลงนามในสัญญา การปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว
2) สินเชื่อใหม่ที่ให้ จะเน้นเฉพาะเงินทุน หมุนเวียนในวงเงินไม่เกิน 20 ล้านบาท โดยคิด ดอกเบี้ยในอัตรา MLR หรือ MOR โดยที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) จะค้ำประกันสินเชื่อใหม่ในสัดส่วนร้อยละ 75 และสถาบันการเงินจะเฉลี่ยความเสี่ยงในอัตรา ร้อยละ 25
3) อายุโครงการไม่เกิน 2 ปีนับแต่วันที่ 7 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 6 เมษายน 2545
อนึ่ง เมื่อสถาบันการเงินได้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และให้ลูกหนี้ SMEs ลงนามในสัญญาการปรับปรุงโครงสร้างหนี้เรียบร้อยแล้ว ให้สถาบันการเงินจัดชั้นลูกหนี้ SMEs นั้นเป็นลูกหนี้ชั้นปกติได้ทันที
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 พฤษภาคม 2543 โดยมีผลบังคับใช้ 7 เมษายน 2543 | 6 เมษายน 2545)
3.8 การซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฏหมายกำหนด
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียน เรื่องการซื้อหรือมีหุ้นในบริษัทจำกัดเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ดังนี้
1) ให้สถาบันการเงิน (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ) ถือหุ้นในบริษัทจำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ได้เกินร้อยละ 10 ของหุ้นที่จำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เฉพาะกรณีการได้หุ้นนั้นมาจากการปรับปรุง โครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
2) ให้บริษัทเงินทุนและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์มีเงินลงทุนในหลักทรัพย์เพื่อกรรมสิทธิ์ของบริษัท ทั้งหมด มีมูลค่ารวมกันเกินกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุนได้ เฉพาะกรณีเงินลงทุนในหลักทรัพย์ส่วนที่เกินนั้นเป็นหุ้นที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ส่วนธนาคารพาณิชย์ (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ) และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ให้ถือหุ้นในบริษัทจำกัด ทั้งหมดมีมูลค่ารวมกันเกินกว่าร้อยละ 20 ของเงินกองทุนได้ เฉพาะกรณีหุ้นส่วนที่เกินนั้นเป็นหุ้นที่ได้มาจากการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
3) สถาบันการเงิน (รวมสำนักงานวิเทศธนกิจ) ที่มีหุ้นเกินจำนวนดังกล่าว ต้องลดสัดส่วนลงให้เหลือตามที่กฎหมายกำหนดในทันทีที่สามารถทำได้โดย ไม่ก่อให้เกิดผลขาดทุนแก่สถาบันการเงิน แต่ต้อง ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2547
(หนังสือเวียนลงวันที่ 16 มีนาคม 2543 ให้แก่ ธนาคารพาณิชย์และสำนักงานวิเทศธนกิจและหนังสือเวียนลงวันที่ 4 เมษายน 2543 ให้แก่บริษัทเงินทุน บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์)
3.9 หลักเกณฑ์การประเมินมูลค่าหลักประกันของสถาบันการเงิน
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกหนังสือเวียนให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ โดยขยายคำนิยามของ ผู้ประเมินราคาอิสระ ให้หมายความรวมถึงที่ปรึกษาทางการเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์เฉพาะในกรณีที่ต้องประเมินราคาหุ้นที่อยู่นอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือนอกศูนย์ซื้อขายหลักทรัพย์ และได้ขยายระยะเวลาที่กำหนดให้สถาบันการเงินต้องใช้ผู้ประเมินราคาอิสระในการประเมินราคาหลักประกันออกไปอีก 1 ปี สำหรับสถาบันการเงินที่มีเงินกองทุนตั้งแต่ 8,000 ล้านบาทขึ้นไป ต้องประเมินราคาหลักประกันโดยใช้ผู้ประเมินราคาอิสระตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ได้กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์จัดทำนโยบาย วิธีการ และขั้นตอนเกี่ยวกับการ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้และการประเมินมูลค่า หลักประกัน เสนอให้คณะกรรมการของบริษัทบริหารสินทรัพย์พิจารณาอนุมัติก่อนจัดส่งให้ธนาคาร แห่งประเทศไทยพิจารณาอนุมัติ โดยที่ ทั้งนโยบาย วิธีการ และขั้นตอนดังกล่าวอาจจะเหมือนกับของสถาบันการเงินที่เป็นผู้จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ ก็ได้
(หนังสือเวียนลงวันที่ 4 ธันวาคม 2543 และวันที่ 28 ธันวาคม 2543)
3.10 หลักเกณฑ์การใช้บุคลากรร่วมกับบุคคลอื่น
ธนาคารแห่งประเทศไทยเห็นสมควรเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ การใช้บุคลากร สถานที่ อุปกรณ์และบริการต่างๆ ให้ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์ถือปฏิบัติเพิ่มขึ้น โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
1) ให้ใช้เจ้าหน้าที่ผู้ทำหน้าที่ติดตามและ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ซึ่งได้ปรับปรุง โครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ทั้งที่เป็นลูกหนี้รายเดียวกันและ ไม่ใช่รายเดียวกันร่วมกับบุคคลอื่นได้
2) ต้องมีระเบียบปฏิบัติควบคุมดูแลบุคลากร ที่ใช้ร่วมกับผู้อื่นและผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ให้มีการนำข้อมูลของลูกหนี้ไปใช้เพื่อประโยชน์ใดๆ โดยมิชอบ และให้มีการดูแลปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าวโดยเคร่งครัด รวมทั้งมีบทกำหนดในการลงโทษ
3) ต้องควบคุมดูแลบุคลากรที่ใช้ร่วมกับบุคคลอื่นให้ปฏิบัติงานด้วยความรอบคอบ รวมทั้งลูกหนี้ จะต้องได้รับข้อมูลที่ชัดเจนว่าบุคลากรดังกล่าวกำลังทำงานให้แก่บุคคลใด เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดจากการที่บุคลากรนั้นทำงานให้บุคคลอื่นเกินกว่า 1 แห่ง เพื่อป้องกันความสับสนตลอดจนต้องกำหนด ตัวบุคคลผู้รับผิดชอบ หากเกิดความเสียหายแก่ ลูกหนี้โดยที่ลูกหนี้ได้ใช้ความระมัดระวังตามปกติวิสัยที่พึงปฏิบัติแล้ว
(หนังสือเวียนและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2543)
3.11 ขอบเขตการประกอบกิจการวิเทศธนกิจ
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ออกประกาศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบกิจการวิเทศธนกิจของธนาคารพาณิชย์ฉบับใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1) ให้กิจการวิเทศธนกิจสามารถมีสินทรัพย์ เป็นเงินบาทไว้ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเงินลงทุน ในหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิ ซื้อหุ้นของนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ได้ทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเนื่องมาจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
2) กิจการวิเทศธนกิจสามารถลงทุนในหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หรือใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้น ของนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม อันเนื่องมาจากการปรับ โครงสร้างหนี้ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย
(หนังสือเวียนลงวันที่ 12 มิถุนายน 2543 เพื่อนำส่งประกาศลงวันที่ 9 มิถุนายน 2543 โดยมีผลบังคับใช้ 14 มิถุนายน 2543)
-ยังมีต่อ-
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-