แท็ก
WTO
เผยโฉมใม่ของกระบวนการคัดเลือก ผู้อำนวยการใหญ่ WTO -------------------------------------------------------------------------------- กระบวนการคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ WTO ได้เริ่มอุ่นเครื่องเพื่อเดินหน้าต่อไปแล้วภายใต้ การนำของประธานคณะมนตรีใหญ่คนใหม่ คือ นาย Ali Said Mchumo ชาวแทนซาเนีย ซึ่ง เพิ่งเข้ารับตำแหน่งต่อจากนาย John Weekes (แคนาดา) ที่หมดวาระการดำรงตำแหน่ง ดังกล่าว โดยประธานคณะมนตรีใหญ่คนใหม่แสดงข้อคิดว่ากระบวนการคัดเลือกฯ กำลังเริ่ม เข้าสู่อีกขั้นตอนหนึ่งที่แตกต่างจากเดิม (new phase) แล้ว ซึ่งประธานฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบ บริหารกระบวนการคัดเลือกฯ ทั้งหมด และขอร้องให้นาย William Rossier เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งทำหน้าที่ในฐานะ facilitator อยู่เดิมตั้งแต่เริ่มกระบวนการฯ เป็นผู้ช่วยแนวทางในการหารือในอีกขั้นตอนหนึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างรัฐสมาชิกกันเองและระหว่างรัฐสมาชิกกับผู้สมัคร เพื่อที่จะนำไปสู่ ฉันทามติ ประธานฯ ถือว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดที่คณะมนตรีใหญ่จะต้องดำเนินการให้แล้ว เสร็จ และอย่างช้าที่สุดไม่ควรเกินสิ้นเดือนมีนาคม อย่างไรก็ดี เนื่องจากกระบวนการ คัดเลือกฯ เป็นของรัฐสมาชิก (member driven process) ดังนั้นกระบวนการฯ จะคืบหน้าเร็ว หรือช้ามากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับรัฐสมาชิกและจะบรรลุความสำเร็จได้ก็ด้วยความสนับสนุน และความเชื่อมั่นจากรัฐสมาชิก เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ ได้มีการประชุมคณะมนตรีใหญ่ อย่างไม่เป็นทางการเพื่อหารือเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือผู้อำนวยการใหญ่ WTO คนต่อไป โดยประธานคณะมนตรีใหญ่คนใหม่ซึ่งเป็นเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรแทนซาเนียได้กล่าว ถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงกระบวนการคัดเลือกฯ ว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่สุดที่คณะมนตรีใหญ่ จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จ และหลังจากที่ตนได้รับตำแหน่งประธานคณะมนตรีใหญ่ เมื่อวันที่ 16 ก.พ. ศกนี้ ก็ได้หารือกับรัฐสมาชิกจำนวนหนึ่งเท่าที่เวลาจะอำนวย และสรุป ได้ว่า 1) ประธานฯ จะเป็นผู้รับผิดชอบในการหารือเพื่อให้สามารถคัดเลือกผู้อำนวยการใหญ่ คนต่อไปได้ตามระเบียบ (Procedures for Future Appointment of the Director- General) ที่ได้ตกลงไว้ในปี ค.ศ. 1986 2) ประธานฯ ได้ตัดสินใจขอร้องให้ออท. Rossier ซึ่งรับทราบ ข้อมูลต่างๆ ในเรื่องนี้เป็นอย่างดี ช่วยเหลือประธานฯ ในการหารือต่อไป 3) ก่อนที่จะถึงอีก ขั้นตอนหนึ่งที่แตกต่างจากเดิม (new phase) ประธานฯ จะจัดการประชุมคณะมนตรีใหญ่ อย่างเป็นทางการเพื่อให้รัฐสมาชิกรับทราบรายงานสถานการณ์ล่าสุดของขั้นตอนที่แล้ว ซึ่ง ออท. Rossier ได้หารือและรับทราบข้อมูลจากรัฐสมาชิกในระหว่างวันที่ 20 ม.ค.-21 ก.พ. ทั้งนี้ จะแจ้งกำหนดวันและเวลาที่แน่นอนให้ทราบโดยเร็วที่สุด 4) การหารือในช่วงอีกขั้นตอน หนึ่งต้องมีความแตกต่างจากการหารือในช่วงที่ผ่านมา โดยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมาชิกกันเองและระหว่างรัฐสมาชิกกับผู้สมัคร เพื่อที่จะนำไปสู่ ฉันทามติ ทั้งนี้ประธานฯ และออท. Rossier จะแจ้งถึงวิธีการ สถานที่ และเวลาในการหารือ ตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นให้รัฐสมาชิกทราบโดยเร็ว 5) ประธานฯ และออท. Rossier จะรายงานผลการหารือต่อที่ประชุมถึงข้อมูลที่ได้รับทั้งหมดให้บ่อยครั้งที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากมีพัฒนาการที่มีนัยสำคัญ และ 6) โดยที่รัฐสมาชิกทั้งหมดต้องการให้กระบวนการ คัดเลือกฯ เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และไม่ควรกำหนดกรอบเวลาสิ้นสุดกระบวน การฯ (deadline) ที่อาจต้องเลื่อนออกไปอีก ดังนั้นในชั้นนี้ ควรมุ่งหมายให้กระบวนการฯ สิ้นสุดโดยเร็วที่สุด และอย่างช้าที่สุดไม่ควรเกินสิ้นเดือนมีนาคมรัฐสมาชิกจำนวนมาก ทั้งที่ เป็นประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วรวมทั้งสหรัฐฯ ได้กล่าวสนับสนุนถ้อยแถลง ของประธานฯ โดยเม็กซิโก ปากีสถาน และอียิปต์มีความเห็นเพิ่มเติมว่า มีความเร่งด่วนที่จะ ดำเนินกระบวนการให้สิ้นสุดโดยเร็ว ดังนั้น ควรจัดให้ฟังรายงานสถานการณ์ล่าสุดหลังจากที่ มีการรายงานคะแนนนิยมไปเมื่อวันที่ 20 ม.ค. ภายในสัปดาห์นี้ และควรกำหนดให้วันที่ 12 มีนาคม เป็นวันสิ้นสุดกระบวนการฯ และสหรัฐฯ กล่าวย้ำว่า จะพยายามให้กระบวนการได้รับ ฉันทามติ (will work to achieve consensus) ปากีสถานยังได้กล่าวถึงหลักการพื้นฐานที่สำคัญ ของกระบวนการคัดเลือกฯ 4 ประการ คือ 1) ความเร่งด่วน: เพื่อให้ผู้อำนวยการใหญ่คน ต่อไปมีเวลาเตรียมตัวก่อนเข้ารับหน้าที่ กระบวนการคัดเลือกฯ ต้องเดินหน้าต่อไปโดยเร็วและ ต้องกำหนดกรอบเวลาสิ้นสุดของกระบวนการฯ ในกลางเดือนมีนาคม 2) ความโปร่งใส: รัฐสมาชิก จะต้องได้ทราบว่า ผู้สมัครแต่ละคนได้รับเสียงสนับสนุนมากน้อยเท่าใด และถ้า ผู้สมัครที่ได้คะแนนนำประสบปัญหารัฐสมาชิกก็จะต้องทราบที่มาของปัญหานั้น 3) ความเป็น ประชาธิปไตย: คณะมนตรีใหญ่จะมีข้อตัดสินใจเลือกผู้สมัคร ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก รัฐสมาชิกอย่างกว้างขวางที่สุด (widest support) มิใช่ผู้สมัครที่ได้รับการสนับสนุนน้อยกว่า และ 4) ความรับผิดชอบ: ในการสร้างฉันทามตินั้น รัฐสมาชิกจะต้องแสดงความรับผิดชอบ ในการพิจารณาทบทวน ประเมินและเปลี่ยนท่าที ไปในทิศทางของความเห็นของเสียงส่วน ใหญ่ และย้ำให้รัฐสมาชิกตระหนักถึงความรับผิดชอบดังกล่าวด้วย ซึ่งหลักการทั้งหมดนี้มีนัย ว่า ไม่ต้องการให้มีรัฐสมาชิก veto ผู้สมัครคนหนึ่งคนใดในที่สุดประธานฯ สรุปว่าจะจัด การประชุมคณะมนตรีใหญ่อย่างเป็นทางการ เพื่อฟังรายงานสถานการณ์ล่าสุดขึ้นโดยเร็วที่สุด และจะไม่ช้ากว่าวันที่ 1 มีนาคม เวลา 15.00 น. สำหรับกำหนดกรอบเวลาการสิ้นสุด กระบวนการฯ ในกลางเดือนมีนาคมนั้น ประธานฯ ได้ตั้งความหวังว่าจะเป็นวันที่ 12 มีนาคม เช่นกัน แต่ที่มิได้ ระบุวันดังกล่าวอย่างแน่นอน ก็เพื่อที่จะให้คณะมนตรีใหญ่มีความยืดหยุ่น ได้เมื่อจำเป็น ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมผ่าน E-mail mailto:thai(WTO)@lprolink.ch หรือ http://www.dbe.moc.go.th/MOCOff/Oversea/OverSeaPart.html More Information Contact to The Permanent Mission of Thailand to the World Trade Organization (WTO)
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กุมภาพันธ์ 2543--
-ปส-