กรุงเทพฯ--24 ธ.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
1) ความเป็นมา
1.1 เมื่อปี 2530 ได้มีการชุมนุมเคลื่อนไหวจากนักศึกษาพม่าและประชาชนชาวพม่าเพื่อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพม่า แต่รัฐบาลพม่าได้ปราบปราม เป็นเหตุให้นักศึกษาและประชาชนชาวพม่าหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่กับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-พม่า และบางส่วนหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย
1.2 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่นักศึกษาและประชาชนที่หลบหนีเข้ามา โดยรัฐบาลภายใต้การนำของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2534 อนุมัติให้จัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าขึ้นที่บ้านมณีลอย ต. วังมะนาว อ. ปากท่อ จ. ราชบุรีเพื่อเป็นพื้นที่พักพิงชั่วคราวของนักศึกษาพม่าที่อยู่ในประเทศไทย โดยการปรับปรุงอาคารของศูนย์ฯ ได้แล้วเสร็จและ เริ่มรับนักศึกษาพม่าเข้าพักอาศัยในศูนย์ฯ ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2535 เป็นต้นมา
1.3 ผู้ที่อาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ มีจำนวนมากกว่า 3,000 คน ประกอบด้วยนักศึกษา ข้าราชการ และนักการเมืองชาวพม่า ซึ่งได้รายงานตัวกับกระทรวงมหาดไทย และบุคคลสัญชาติพม่าที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งทางการไทยได้เปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นรายกรณี
1.4 เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2542 นักศึกษาพม่ากลุ่ม Vigorous Burmese Student Warriors (VBSW) ได้ทำการยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าและจับตัวประกัน
1.5 ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2542 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล (นอก.) ได้มีมติให้นักศึกษาพม่าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนกับทางการไทยไปรายงานตัวเพื่อเข้าไปอาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ รวมทั้งแสวงหาทางให้นักศึกษาพม่าที่จดทะเบียนดังกล่าวได้มีโอกาสไปตั้งถิ่น-ฐานในประเทศที่สามเพื่อจะได้รับโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น รวมทั้งลดภาระของประเทศไทย ต่อมาคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2542 ให้ผ่อนผันให้นักศึกษาพม่ามารายงานตัวภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 ปรากฏว่ามีนักศึกษามารายงานตัวเพิ่มเติมประมาณ 1,000 คน
2) การส่งนักศึกษาพม่าไปประเทศที่สาม
2.1 เมื่อนักศึกษาพม่าลงทะเบียนเข้าพักอาศัยอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ เรียบร้อยแล้ว UNHCR จะประสานกับสถานทูตของประเทศต่าง ๆ เพื่อดำเนินการขอให้นำนักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐาน โดยสอบถามความต้องการของนักศึกษาพม่า จากนั้นทางสถานทูตของประเทศต่าง ๆ จะส่งเจ้าหน้าที่ไป ดำเนินการสัมภาษณ์และคัดเลือกนักศึกษาพม่าเพื่อนำไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศของตน
2.2 จนถึงปัจจุบันมีนักศึกษาพม่าเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามแล้ว ดังนี้
สหรัฐอเมริกา 1,961 คน
แคนาดา 712 คน
ออสเตรเลีย 624 คน
สวีเดน 54 คน
อังกฤษ 1 คน
ฟินแลนด์ 97 คน
เดนมาร์ก 69 คน
นิวซีแลนด์ 325 คน
เนเธอร์แลนด์ 89 คน
นอร์เวย์ 39 คน
รวม 3,971 คน
3) สถานะปัจจุบันของศูนย์นักศึกษาฯ
3.1 ปัจจุบันยังคงมีบุคคลสัญชาติพม่าในศูนย์นักศึกษาฯ 3 กลุ่มคือ
3.1.1 นักศึกษาพม่าที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องในศูนย์นักศึกษาฯ จำนวน 197 คน โดยกลุ่ม เหล่านี้กำลังรอเดินทางไปตั้งถิ่น ฐานในประเทศที่สาม (นักศึกษาส่วนใหญ่เดินทางไป ตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามแล้วตามข้อ 2.1)
3.1.2 บุคคลสัญชาติพม่าที่หลบหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ โดยไม่ได้จดทะเบียน กับทางการไทยภายในห้วงเวลาที่ กำหนดคือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 แต่จด ทะเบียนกับ UNHCR เป็นบุคคลในความห่วงใย (Persons of Concern - POC)? จำนวนประมาณ 170 คน
3.1.3 ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่าที่หลบหนีเข้าประเทศไทยและลักลอบเข้าอยู่อาศัยใน ศูนย์นักศึกษาฯ ด้วยหวังว่าจะมี โอกาสไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามจำนวนประมาณ 130 คน
3.2 แนวความคิดที่จะปิดศูนย์นักศึกษาฯ ได้เริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์ยึดสถานเอกอัคร- ราชทูตพม่าเมื่อเดือนตุลาคม 2542 โดยในชั้นต้นคาดว่าจะดำเนินการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ได้ในปี 2543 แต่เนื่องจากยังมีนักศึกษาตกค้างอยู่ จึงต้องเลื่อนการดำเนินการออกไป ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ที่ประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติมีมติให้ดำเนินการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ภายในปี 2544 เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่ได้เดินทางไปประเทศที่สามแล้ว
3.3 หากยังคงมีนักศึกษาพม่าตกค้างอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ เนื่องจากประเทศที่สามยังดำเนินกรรมวิธีการรับตัวไปตั้งถิ่นฐานไม่เสร็จสิ้น ก็ให้นำตัวไปดำเนินกรรมวิธีต่อในพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยฯ บ้านถ้ำหิน อ. สวนผึ้ง จ. ราชบุรี เพื่อให้ประเทศที่สามดำเนินกรรมวิธีรับไปตั้งถิ่นฐานโดยเร็วต่อไป สำหรับกลุ่มบุคคลสัญชาติพม่าในศูนย์นักศึกษาฯ ที่มีสถานะ POC จำนวนประมาณ 170 คน ไปพำนักในพื้นที่ พักพิงผู้หนีภัยฯ บริเวณชายแดนเพื่อรอการพิจารณาเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นรายกรณี ต่อไป ส่วนกลุ่มบุคคลสัญชาติพม่าที่เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายในศูนย์บ้านมณีลอย จำนวน 130 คน ให้ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2542 และส่งออกนอกราชอาณาจักรเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวยต่อไป
3.4 UNHCR เห็นด้วยกับการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ภายในสิ้นปี 2544 และการนำนักศึกษาที่ตกค้างไปพักพิงชั่วคราวในพื้นที่พักพิงฯ เพื่อรอการดำเนินกรรมวิธีการรับไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามต่อไป ทั้งนี้ UNHCR ได้ปิดสำนักงานภายในศูนย์นักศึกษาฯ ตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคม 2544
4) บทสรุป: ความจำเป็นของทางการไทยในการปิดศูนย์นักศึกษาพม่าฯ
4.1 ในระยะที่ผ่านมาไทยได้ยึดถือหลักมนุษยธรรมในการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาพม่ามาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าที่บ้านมณีลอย อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี เพื่อใช้เป็นที่พำนักของนักศึกษาพม่า แต่การพักอาศัยของบุคคลดังกล่าวเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และในปัจจุบันได้ดำเนินการส่งนักศึกษาส่วนใหญ่ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามแล้ว
4.2 การดูแลนักศึกษาพม่าจำนวนกว่า 3,000 คน ได้สร้างภาระปัญหาและผลกระทบแก่ประเทศไทย อาทิ การหลบหนีออกจากศูนย์นักศึกษาพม่าไปดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบุกยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าเมื่อเดือนตุลาคม 2542 รวมทั้งการสร้างปัญหาและผลกระทบให้แก่ราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบศูนย์นักศึกษาฯ
4.3 การที่ประเทศไทยมีนโยบายให้นักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม ก็เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตในอันที่จะกลับไปพัฒนาประเทศบ้านเกิดเมืองนอนเมื่อโอกาสอำนวย
4.4 รัฐบาลไทยมีความจำเป็นที่จะต้องปิดศูนย์นักศึกษาฯ เนื่องจากปัจจุบันนักศึกษาพม่าได้ทยอยเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามจนเกือบหมดสิ้นแล้ว หากไม่ดำเนินการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ก็จะมีบุคคลสัญชาติพม่าลักลอบเข้าไปอาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ และสร้างปัญหาให้ราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบศูนย์นักศึกษาฯ ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
4.5 นักศึกษาพม่าที่ทางการไทยจะขนย้ายไปอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงบริเวณชายแดนเป็นบุคคลที่ประเทศที่สามได้คัดเลือกไปตั้งถิ่นฐานแล้ว การไปอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ของนักศึกษาพม่าเหล่านี้คือการพักรอการเดินทางไปประเทศที่สาม ซึ่งคาดว่าจะสามารถเดินทางได้หมดภายในต้นปี 2545 ทั้งนี้ ระหว่างที่นักศึกษาพม่าอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ก็จะได้รับ การดูแลจากองค์การพัฒนาเอกชนและ UNHCR เช่นเดียวกับผู้หนีภัยฯ พม่าอื่น ๆ 4.6 UNHCR ได้ให้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลไทยในการปิดศูนย์นักศึกษาพม่า อีกทั้งยังได้สนับสนุนงบประมาณในการขนย้ายนักศึกษาพม่าและการสร้างที่พักให้นักศึกษาเหล่านี้ในพื้นที่พักพิงฯ ด้วย
4.7 การที่บุคคลสัญชาติพม่าที่อยู่ในความห่วงใย (POC) ของ UNHCR ที่ลักลอบอาศัยอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ และจะถูกนำตัวไปอยู่ในพื้นที่พักพิงชายแดนนั้น แท้จริงแล้วบุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้หนีภัยการ สู้รบที่สมควรจะอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ตั้งแต่เริ่มแรก แต่ได้ลักลอบเข้ามาขอสถานะ POC จาก UNHCR ในกรุงเทพฯ ดังนั้น การปิดศูนย์นักศึกษาฯ จะทำให้ผู้หนีภัยฯ ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันมิใช่ปล่อยให้ ผู้ลักลอบเข้าไปอาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ มีวิถีความเป็นอยู่สะดวกสบายกว่าผู้หนีภัยฯ กลุ่มอื่น ๆ
4.8 ทางการไทยจะนำพื้นที่ศูนย์นักศึกษาฯ ดังกล่าวคืนให้แก่ ตชด. เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในราชการต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--0[--
-อน-
1) ความเป็นมา
1.1 เมื่อปี 2530 ได้มีการชุมนุมเคลื่อนไหวจากนักศึกษาพม่าและประชาชนชาวพม่าเพื่อเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในพม่า แต่รัฐบาลพม่าได้ปราบปราม เป็นเหตุให้นักศึกษาและประชาชนชาวพม่าหลบหนีเข้ามาอาศัยอยู่กับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดนไทย-พม่า และบางส่วนหลบหนีเข้ามาในประเทศไทย
1.2 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่นักศึกษาและประชาชนที่หลบหนีเข้ามา โดยรัฐบาลภายใต้การนำของนายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2534 อนุมัติให้จัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าขึ้นที่บ้านมณีลอย ต. วังมะนาว อ. ปากท่อ จ. ราชบุรีเพื่อเป็นพื้นที่พักพิงชั่วคราวของนักศึกษาพม่าที่อยู่ในประเทศไทย โดยการปรับปรุงอาคารของศูนย์ฯ ได้แล้วเสร็จและ เริ่มรับนักศึกษาพม่าเข้าพักอาศัยในศูนย์ฯ ตั้งแต่ วันที่ 1 ธันวาคม 2535 เป็นต้นมา
1.3 ผู้ที่อาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ มีจำนวนมากกว่า 3,000 คน ประกอบด้วยนักศึกษา ข้าราชการ และนักการเมืองชาวพม่า ซึ่งได้รายงานตัวกับกระทรวงมหาดไทย และบุคคลสัญชาติพม่าที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ซึ่งทางการไทยได้เปิดโอกาสให้บุคคลดังกล่าวได้เดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นรายกรณี
1.4 เมื่อต้นเดือนตุลาคม 2542 นักศึกษาพม่ากลุ่ม Vigorous Burmese Student Warriors (VBSW) ได้ทำการยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าและจับตัวประกัน
1.5 ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2542 คณะกรรมการนโยบายและอำนวยการแก้ไขปัญหาการก่อการร้ายสากล (นอก.) ได้มีมติให้นักศึกษาพม่าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนกับทางการไทยไปรายงานตัวเพื่อเข้าไปอาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ รวมทั้งแสวงหาทางให้นักศึกษาพม่าที่จดทะเบียนดังกล่าวได้มีโอกาสไปตั้งถิ่น-ฐานในประเทศที่สามเพื่อจะได้รับโอกาสทางการศึกษาที่สูงขึ้น รวมทั้งลดภาระของประเทศไทย ต่อมาคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหาความไม่สงบเรียบร้อยบริเวณชายแดนได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2542 ให้ผ่อนผันให้นักศึกษาพม่ามารายงานตัวภายในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 ปรากฏว่ามีนักศึกษามารายงานตัวเพิ่มเติมประมาณ 1,000 คน
2) การส่งนักศึกษาพม่าไปประเทศที่สาม
2.1 เมื่อนักศึกษาพม่าลงทะเบียนเข้าพักอาศัยอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ เรียบร้อยแล้ว UNHCR จะประสานกับสถานทูตของประเทศต่าง ๆ เพื่อดำเนินการขอให้นำนักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐาน โดยสอบถามความต้องการของนักศึกษาพม่า จากนั้นทางสถานทูตของประเทศต่าง ๆ จะส่งเจ้าหน้าที่ไป ดำเนินการสัมภาษณ์และคัดเลือกนักศึกษาพม่าเพื่อนำไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศของตน
2.2 จนถึงปัจจุบันมีนักศึกษาพม่าเดินทางไปตั้งถิ่นฐานยังประเทศที่สามแล้ว ดังนี้
สหรัฐอเมริกา 1,961 คน
แคนาดา 712 คน
ออสเตรเลีย 624 คน
สวีเดน 54 คน
อังกฤษ 1 คน
ฟินแลนด์ 97 คน
เดนมาร์ก 69 คน
นิวซีแลนด์ 325 คน
เนเธอร์แลนด์ 89 คน
นอร์เวย์ 39 คน
รวม 3,971 คน
3) สถานะปัจจุบันของศูนย์นักศึกษาฯ
3.1 ปัจจุบันยังคงมีบุคคลสัญชาติพม่าในศูนย์นักศึกษาฯ 3 กลุ่มคือ
3.1.1 นักศึกษาพม่าที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องในศูนย์นักศึกษาฯ จำนวน 197 คน โดยกลุ่ม เหล่านี้กำลังรอเดินทางไปตั้งถิ่น ฐานในประเทศที่สาม (นักศึกษาส่วนใหญ่เดินทางไป ตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามแล้วตามข้อ 2.1)
3.1.2 บุคคลสัญชาติพม่าที่หลบหนีเข้าไปอาศัยอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ โดยไม่ได้จดทะเบียน กับทางการไทยภายในห้วงเวลาที่ กำหนดคือวันที่ 21 พฤศจิกายน 2542 แต่จด ทะเบียนกับ UNHCR เป็นบุคคลในความห่วงใย (Persons of Concern - POC)? จำนวนประมาณ 170 คน
3.1.3 ผู้หลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่าที่หลบหนีเข้าประเทศไทยและลักลอบเข้าอยู่อาศัยใน ศูนย์นักศึกษาฯ ด้วยหวังว่าจะมี โอกาสไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามจำนวนประมาณ 130 คน
3.2 แนวความคิดที่จะปิดศูนย์นักศึกษาฯ ได้เริ่มขึ้นหลังจากเหตุการณ์ยึดสถานเอกอัคร- ราชทูตพม่าเมื่อเดือนตุลาคม 2542 โดยในชั้นต้นคาดว่าจะดำเนินการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ได้ในปี 2543 แต่เนื่องจากยังมีนักศึกษาตกค้างอยู่ จึงต้องเลื่อนการดำเนินการออกไป ต่อมาเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2544 ที่ประชุมส่วนราชการที่เกี่ยวข้องที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติมีมติให้ดำเนินการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ภายในปี 2544 เนื่องจากนักศึกษาส่วนใหญ่ได้เดินทางไปประเทศที่สามแล้ว
3.3 หากยังคงมีนักศึกษาพม่าตกค้างอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ เนื่องจากประเทศที่สามยังดำเนินกรรมวิธีการรับตัวไปตั้งถิ่นฐานไม่เสร็จสิ้น ก็ให้นำตัวไปดำเนินกรรมวิธีต่อในพื้นที่พักพิงผู้หนีภัยฯ บ้านถ้ำหิน อ. สวนผึ้ง จ. ราชบุรี เพื่อให้ประเทศที่สามดำเนินกรรมวิธีรับไปตั้งถิ่นฐานโดยเร็วต่อไป สำหรับกลุ่มบุคคลสัญชาติพม่าในศูนย์นักศึกษาฯ ที่มีสถานะ POC จำนวนประมาณ 170 คน ไปพำนักในพื้นที่ พักพิงผู้หนีภัยฯ บริเวณชายแดนเพื่อรอการพิจารณาเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามเป็นรายกรณี ต่อไป ส่วนกลุ่มบุคคลสัญชาติพม่าที่เป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองผิดกฎหมายในศูนย์บ้านมณีลอย จำนวน 130 คน ให้ดำเนินคดีตาม พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ. 2542 และส่งออกนอกราชอาณาจักรเมื่อสถานการณ์เอื้ออำนวยต่อไป
3.4 UNHCR เห็นด้วยกับการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ภายในสิ้นปี 2544 และการนำนักศึกษาที่ตกค้างไปพักพิงชั่วคราวในพื้นที่พักพิงฯ เพื่อรอการดำเนินกรรมวิธีการรับไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามต่อไป ทั้งนี้ UNHCR ได้ปิดสำนักงานภายในศูนย์นักศึกษาฯ ตั้งแต่สิ้นเดือนสิงหาคม 2544
4) บทสรุป: ความจำเป็นของทางการไทยในการปิดศูนย์นักศึกษาพม่าฯ
4.1 ในระยะที่ผ่านมาไทยได้ยึดถือหลักมนุษยธรรมในการให้ความช่วยเหลือนักศึกษาพม่ามาโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจัดตั้งศูนย์นักศึกษาพม่าที่บ้านมณีลอย อ. ปากท่อ จ. ราชบุรี เพื่อใช้เป็นที่พำนักของนักศึกษาพม่า แต่การพักอาศัยของบุคคลดังกล่าวเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น และในปัจจุบันได้ดำเนินการส่งนักศึกษาส่วนใหญ่ไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามแล้ว
4.2 การดูแลนักศึกษาพม่าจำนวนกว่า 3,000 คน ได้สร้างภาระปัญหาและผลกระทบแก่ประเทศไทย อาทิ การหลบหนีออกจากศูนย์นักศึกษาพม่าไปดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับพม่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบุกยึดสถานเอกอัครราชทูตพม่าเมื่อเดือนตุลาคม 2542 รวมทั้งการสร้างปัญหาและผลกระทบให้แก่ราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบศูนย์นักศึกษาฯ
4.3 การที่ประเทศไทยมีนโยบายให้นักศึกษาพม่าไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สาม ก็เพื่อให้บุคคลเหล่านี้มีการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตในอันที่จะกลับไปพัฒนาประเทศบ้านเกิดเมืองนอนเมื่อโอกาสอำนวย
4.4 รัฐบาลไทยมีความจำเป็นที่จะต้องปิดศูนย์นักศึกษาฯ เนื่องจากปัจจุบันนักศึกษาพม่าได้ทยอยเดินทางไปตั้งถิ่นฐานในประเทศที่สามจนเกือบหมดสิ้นแล้ว หากไม่ดำเนินการปิดศูนย์นักศึกษาฯ ก็จะมีบุคคลสัญชาติพม่าลักลอบเข้าไปอาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ และสร้างปัญหาให้ราษฎรไทยที่อาศัยอยู่ในบริเวณรอบศูนย์นักศึกษาฯ ต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
4.5 นักศึกษาพม่าที่ทางการไทยจะขนย้ายไปอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงบริเวณชายแดนเป็นบุคคลที่ประเทศที่สามได้คัดเลือกไปตั้งถิ่นฐานแล้ว การไปอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ของนักศึกษาพม่าเหล่านี้คือการพักรอการเดินทางไปประเทศที่สาม ซึ่งคาดว่าจะสามารถเดินทางได้หมดภายในต้นปี 2545 ทั้งนี้ ระหว่างที่นักศึกษาพม่าอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ก็จะได้รับ การดูแลจากองค์การพัฒนาเอกชนและ UNHCR เช่นเดียวกับผู้หนีภัยฯ พม่าอื่น ๆ 4.6 UNHCR ได้ให้การสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลไทยในการปิดศูนย์นักศึกษาพม่า อีกทั้งยังได้สนับสนุนงบประมาณในการขนย้ายนักศึกษาพม่าและการสร้างที่พักให้นักศึกษาเหล่านี้ในพื้นที่พักพิงฯ ด้วย
4.7 การที่บุคคลสัญชาติพม่าที่อยู่ในความห่วงใย (POC) ของ UNHCR ที่ลักลอบอาศัยอยู่ในศูนย์นักศึกษาฯ และจะถูกนำตัวไปอยู่ในพื้นที่พักพิงชายแดนนั้น แท้จริงแล้วบุคคลกลุ่มนี้เป็นผู้หนีภัยการ สู้รบที่สมควรจะอาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงฯ ตั้งแต่เริ่มแรก แต่ได้ลักลอบเข้ามาขอสถานะ POC จาก UNHCR ในกรุงเทพฯ ดังนั้น การปิดศูนย์นักศึกษาฯ จะทำให้ผู้หนีภัยฯ ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันมิใช่ปล่อยให้ ผู้ลักลอบเข้าไปอาศัยในศูนย์นักศึกษาฯ มีวิถีความเป็นอยู่สะดวกสบายกว่าผู้หนีภัยฯ กลุ่มอื่น ๆ
4.8 ทางการไทยจะนำพื้นที่ศูนย์นักศึกษาฯ ดังกล่าวคืนให้แก่ ตชด. เพื่อใช้เป็นประโยชน์ในราชการต่อไป
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--0[--
-อน-