1. สภาพคล่องและอัตราดอกเบี้ย
สภาพคล่องในเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายนปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย ตลาดเงินลดลงเล็กน้อยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับลดลงในเดือนกันยายน
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วงเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายน 2543 ปรับตัวสูงขึ้นจาก เดือนกรกฎาคม แม้ว่า สภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นบ้างเล็กน้อย ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกัน และบางช่วงของการประมูล พันธบัตรภาครัฐ รวมทั้งในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ที่ภาค เอกชนต้องนำส่งภาษีรายได้นิติบุคคลประะจำงวดครึ่งปี 2543 ให้กับภาครัฐ
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับลดลงตามสภาพคล่องที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.66 ต่อปีในเดือนสิงหาคม ลดลงจากร้อยละ 2.32 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม และอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.17 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 1.66 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
ณ วันที่ 25 กันยายน 2543 อัตราดอกเบี้ย Interbank อยู่ที่ร้อยละ 1.875 ต่อปี ขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรอายุ 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ในเดือนสิงหาคม
ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน ธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่งผลให้ ณ วันที่ 25 กันยายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและ อัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ในเดือนสิงหาคม ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.05 และ 5.925 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในช่วง ระยะเวลาดังกล่าว
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เงินฝากธนาคารพาณิชย์ปรับตัวสูงขึ้นสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ Non-BIBF
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนสิงหาคม 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 52.0 พันล้านบาท คิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ส่วนหนึ่ง เนื่องจาก ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่งออกจำหน่ายบัตรเงินฝากที่ให้อัตราผลตอบแทนร้อยละ 5.25 ต่อปี อายุ 3 ปี จำนวน 5.0 พันล้านบาท
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจำนวน 65.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ สินเชื่อที่ไม่ใช่ กิจการวิเทศธนกิจจำนวน 2.0 พันล้านบาท และเป็นการ เพิ่มขึ้นของสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจจำนวน 0.6 พันล้านบาท ส่งผลให้สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจำนวน 2.6 พันล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.05 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวมลดลงจำนวน 329.5 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 6.4ต่อปี โดยสาเหตุสำคัญของการลดลงของสินเชื่อรวม ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์มีการตัดบัญชีหนี้สูญ จำนวนประมาณ 240 พันล้านบาท ในช่วงเดือนมิถุนายน 2543
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง 206.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ต่อปี สำหรับ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ลดลง 122.7 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 31.4 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
ฐานเงินและปริมาณเงินฐานเงินมียอดคงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้าปัจจัยที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐบาล และการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรปริมาณเงิน M2A และ M3 เพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นจำนวน 24.6 พันล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ฐานเงินมียอดคงค้างลดลง 11.2 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงของเงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.
ปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐลดลง เนื่องจากเงินฝากของ รัฐบาลที่ธปท.เพิ่มขึ้น จากการที่รัฐบาลนำเงินกู้จาก ต่างประเทศที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทแล้ว มาฝากไว้ที่ธปท. นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกจำหน่ายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง ในวงเงินจำนวน 15 พันล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณปี 2543
2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงินลดลง เพราะธปท. ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.7 ต่อปี ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 และมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 84.7 พันล้านบาท โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงิน เพิ่มขึ้น คือ เงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี ตามการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
สภาพคล่องในเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายนปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนกรกฎาคม ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ย ตลาดเงินลดลงเล็กน้อยอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของธนาคารพาณิชย์ไทยขนาดใหญ่ 4 แห่ง ปรับลดลงในเดือนกันยายน
สภาพคล่องของระบบการเงินโดยรวม ในช่วงเดือนสิงหาคมต่อเนื่องถึงเดือนกันยายน 2543 ปรับตัวสูงขึ้นจาก เดือนกรกฎาคม แม้ว่า สภาพคล่องจะตึงตัวขึ้นบ้างเล็กน้อย ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ติดต่อกัน และบางช่วงของการประมูล พันธบัตรภาครัฐ รวมทั้งในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ที่ภาค เอกชนต้องนำส่งภาษีรายได้นิติบุคคลประะจำงวดครึ่งปี 2543 ให้กับภาครัฐ
อัตราดอกเบี้ยตลาดเงินปรับลดลงตามสภาพคล่องที่เพิ่มสูงขึ้น โดยอัตราดอกเบี้ย Interbank เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.66 ต่อปีในเดือนสิงหาคม ลดลงจากร้อยละ 2.32 ต่อปีในเดือนกรกฎาคม และอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรอายุ 1 วันเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.17 ต่อปี ลดลงจากร้อยละ 1.66 ต่อปี ในช่วงเวลาเดียวกัน
ณ วันที่ 25 กันยายน 2543 อัตราดอกเบี้ย Interbank อยู่ที่ร้อยละ 1.875 ต่อปี ขณะที่อัตรา ดอกเบี้ยตลาดซื้อคืน พันธบัตรอายุ 1 วันอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ต่อปี
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ อัตราดอกเบี้ย เงินฝากประจำ 3 เดือนและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.25 และ 8.125 ต่อปีตามลำดับ ในเดือนสิงหาคม
ทั้งนี้ ในเดือนกันยายน ธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่ ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือน และอัตรา ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ลงร้อยละ 0.25 ต่อปี ส่งผลให้ ณ วันที่ 25 กันยายน อัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนและ อัตราดอกเบี้ย เงินให้กู้ยืม MLR ของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.00 และ 7.75 ต่อปี ตามลำดับ
อัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์ที่แท้จริง อัตรา ดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 3 เดือนที่แท้จริงและอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม MLR ที่แท้จริงของ 4 ธนาคารพาณิชย์ไทย ขนาดใหญ่ในเดือนสิงหาคม ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.05 และ 5.925 ต่อปีตามลำดับ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ในช่วง ระยะเวลาดังกล่าว
เงินฝากและสินเชื่อธนาคารพาณิชย์เงินฝากธนาคารพาณิชย์ปรับตัวสูงขึ้นสินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของสินเชื่อ Non-BIBF
เงินฝากธนาคารพาณิชย์ ในเดือนสิงหาคม 2543 มียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจำนวน 52.0 พันล้านบาท คิดเป็นการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ส่วนหนึ่ง เนื่องจาก ผู้ถือตั๋วสัญญาใช้เงินและบัตรเงินฝากในโครงการแลกเปลี่ยนตั๋วของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ที่มีตั๋วเงินครบกำหนด นำเงินที่ได้รับส่วนหนึ่งมาฝากไว้ที่ระบบธนาคารพาณิชย์ นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทยแห่งหนึ่งออกจำหน่ายบัตรเงินฝากที่ให้อัตราผลตอบแทนร้อยละ 5.25 ต่อปี อายุ 3 ปี จำนวน 5.0 พันล้านบาท
เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน เงินฝากธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นจำนวน 65.5 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 1.4 ต่อปี
สินเชื่อรวมธนาคารพาณิชย์ (คำนวณสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่) ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม โดยเป็นการเพิ่มขึ้นของ สินเชื่อที่ไม่ใช่ กิจการวิเทศธนกิจจำนวน 2.0 พันล้านบาท และเป็นการ เพิ่มขึ้นของสินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจจำนวน 0.6 พันล้านบาท ส่งผลให้สินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นจำนวน 2.6 พันล้านบาท หรือ คิดเป็นร้อยละ 0.05 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม
อนึ่ง เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน สินเชื่อรวมลดลงจำนวน 329.5 พันล้านบาท คิดเป็นการลดลงร้อยละ 6.4ต่อปี โดยสาเหตุสำคัญของการลดลงของสินเชื่อรวม ได้แก่ การที่ธนาคารพาณิชย์มีการตัดบัญชีหนี้สูญ จำนวนประมาณ 240 พันล้านบาท ในช่วงเดือนมิถุนายน 2543
สินเชื่อที่ไม่ใช่กิจการวิเทศธนกิจ (Non-BIBF) เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลง 206.8 พันล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.4 ต่อปี สำหรับ สินเชื่อกิจการวิเทศธนกิจ (BIBF) ที่แปลงค่าเป็นเงินบาทด้วยอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2540 ลดลง 122.7 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 31.4 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่ภาคเอกชนชำระคืนหนี้ต่างประเทศอย่างต่อเนื่องในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา
ฐานเงินและปริมาณเงินฐานเงินมียอดคงค้างลดลงจากเดือนก่อนหน้าปัจจัยที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ การเพิ่มขึ้นของเงินฝากรัฐบาล และการที่ธปท.ลดการให้กู้ยืมในตลาดซื้อคืนพันธบัตรปริมาณเงิน M2A และ M3 เพิ่มขึ้น ตามการปรับเพิ่มของเงินฝากภาคเอกชนที่ระบบธนาคารพาณิชย์
ฐานเงิน ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ต่อปี โดยมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเป็นจำนวน 24.6 พันล้านบาท และเมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม ฐานเงินมียอดคงค้างลดลง 11.2 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการลดลงของเงินฝากสถาบันการเงินที่ธปท.
ปัจจัยด้านอุปทานที่ทำให้ฐานเงินลดลง ได้แก่ 1) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับภาครัฐลดลง เนื่องจากเงินฝากของ รัฐบาลที่ธปท.เพิ่มขึ้น จากการที่รัฐบาลนำเงินกู้จาก ต่างประเทศที่แลกเปลี่ยนเป็นเงินบาทแล้ว มาฝากไว้ที่ธปท. นอกจากนี้ รัฐบาลได้ออกจำหน่ายพันธบัตรและตั๋วเงินคลัง ในวงเงินจำนวน 15 พันล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุล งบประมาณปี 2543
2) สินเชื่อสุทธิที่ให้กับสถาบันการเงินลดลง เพราะธปท. ลดการให้กู้ยืมผ่านตลาดซื้อคืนพันธบัตร
ปริมาณเงิน M2A ในระบบธนาคารและบริษัทเงินทุน เพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 1.7 ต่อปี ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2543 และมียอดคงค้างเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนประมาณ 84.7 พันล้านบาท โดยองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้ปริมาณเงิน เพิ่มขึ้น คือ เงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น
สำหรับปริมาณเงิน M3 ในระบบธนาคาร บริษัทเงินทุนและสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2543 (ข้อมูลล่าสุด) ขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.5 ต่อปี ตามการ เพิ่มขึ้นของเงินฝากที่ระบบธนาคารพาณิชย์เป็นสำคัญ
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-