สศอ. ชี้ดัชนีอุตฯ ก.ค. ลดลงเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบช่วงเดียวกับของปีก่อน เหตุยานยนต์ชะลอผลิตตามรอบปี ผู้บริโภครอแกะกล่องปิ๊กอัพใหม่ คาดสถานการณ์ปีนี้ยังสดใส
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนกรกฎาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนกรกฎาคม อยู่ที่ระดับ 133.07 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.38 จากเดือนก่อนที่ระดับ 133.57 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 130.84 โดยภาพรวมตัวเลขดัชนีชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 168.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.85 จากระดับ 149.73 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 151.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.31 จากระดับ 149.72 และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 67.15
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ 142.47 โดยลดลงร้อยละ 1.44 จากระดับ 144.55 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 105.27 ลดลงร้อยละ 3.21 จากระดับ 108.75 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.51 ลดลงร้อยละ 4.76 จากระดับ 143.34 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 151.17 ลดลงร้อยละ 5.81 จากระดับ 160.50
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงเล็กน้อยคือ การผลิตยานยนต์ ซึ่งภาวะการผลิตในเดือนกรกฎาคมนั้นลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 7.02 เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดรถยนต์เริ่มชะลอตัวลงเล็กน้อยซึ่งเป็นไปตามรอบปี และเป็นช่วงทรงตัวก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ผู้ผลิตลดการผลิตลงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ภาพรวมการผลิตยังเพิ่มขึ้นและถือว่าสถานการณ์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในส่วนของภาวะการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 15.34 เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อ เพราะปัจจัยด้านวิกฤตน้ำมัน และเป็นช่วงฤดูฝนที่ชะลอตัวเป็นปกติ นอกจากนี้ผู้บริโภคกำลังรอการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่จะออกมาในช่วงปลายสิงหาคม ส่งผลให้ภาวะการจำหน่ายในเดือนกรกฎาคมปรับลดลง
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน มีการชะลอตัวในการผลิตและจำหน่ายกลุ่มสินค้าเหล็กทรงแบน ทำให้ภาพรวมของภาวะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในเดือนกรกฎาคมมีทิศทางลดลง ส่วนกลุ่มสินค้า ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ภาวะการผลิตในกลุ่มเหล็กทรงแบนลดลง เพราะมีการปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อ เนื่องจากความผันผวนของราคาเหล็กที่ทำให้ลูกค้ายังมีความลังเลในการลงทุน และหันมาใช้สินค้าในสต็อกแทนจนกว่าราคาเหล็กในตลาดจะปรับลดลง เช่นเดียวกับภาวะการจำหน่ายโดยรวมในอุตสาหกรรมเหล็ก ที่พบว่ามีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อรอดูทิศทางของราคาที่ปรับลดลงไปมากตามราคาตลาดโลก และยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลัก คือ กลุ่มบรรจุภัณฑ์อีกด้วย เช่นเดียวกันกับ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ ที่ภาวะการผลิตและการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากเป็นช่วง Low Season ความต้องการสินค้าจึงลดลง และบางโรงงานลูกค้าต่างประเทศชะลอคำสั่งซื้อ เนื่องจากมีสินค้าคงคลังสำเร็จรูปเหลืออยู่มาก นอกจากนี้สภาพเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยอดการผลิตลดลง
นางชุตาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ที่มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยปริมาณการผลิตมีปริมาณเท่ากับ 4,386.8 ล้านบาท เพิ่มสูงถึง 395.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 9.92 ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรวมเท่ากับ 3,982.2 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 124.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.23 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น วัตถุดิบมีปริมาณมากและราคายังไม่สูง ผู้ประกอบการจึงเร่งทำการผลิตเพื่อสำรองไว้ เช่นเดียวกับภาวการณ์จำหน่ายที่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน โดยมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในส่วนของการจำหน่ายกุ้งแช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็งและเนื้อปลาบดแช่แข็ง เนื่องจากคำสั่งซื้อจำนวนมากจากลูกค้าฝั่งอเมริกาและยุโรป
"โดยภาพรวมของดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมนั้น ปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้อุตสาหกรรมบางกลุ่มมีปัจจัยเกี่ยวกับฤดูกาลซึ่งส่งผลต่อปริมาณการผลิตและจำหน่าย ถือเป็นเรื่องปกติ สถานการณ์โดยรวมทั้งปียังอยู่ในเกณฑ์ดี" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าว.
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
นางชุตาภรณ์ ลัมพสาระ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้จัดทำรายงานดัชนีอุตสาหกรรม ประจำเดือนกรกฎาคม 2548 จากการประมวลผลทั้งสิ้น 2,000 โรงงาน ครอบคลุม 50 กลุ่มอุตสาหกรรม 203 ผลิตภัณฑ์ ทั้งผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) โดย ดัชนีอุตสาหกรรม (มูลค่าเพิ่ม) เดือนกรกฎาคม อยู่ที่ระดับ 133.07 ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 0.38 จากเดือนก่อนที่ระดับ 133.57 แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.70 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากระดับ 130.84 โดยภาพรวมตัวเลขดัชนีชะลอตัวลงเล็กน้อย แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 168.97 เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.85 จากระดับ 149.73 ดัชนีผลิตภาพแรงงานอุตสาหกรรม อยู่ที่ 151.68 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.31 จากระดับ 149.72 และอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 67.15
ดัชนีอุตสาหกรรมที่มีการปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ประกอบด้วย ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ 142.47 โดยลดลงร้อยละ 1.44 จากระดับ 144.55 ดัชนีแรงงานภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ 105.27 ลดลงร้อยละ 3.21 จากระดับ 108.75 ดัชนีการส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 136.51 ลดลงร้อยละ 4.76 จากระดับ 143.34 และดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ 151.17 ลดลงร้อยละ 5.81 จากระดับ 160.50
นางชุตาภรณ์ กล่าวว่า ปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมปรับตัวลดลงเล็กน้อยคือ การผลิตยานยนต์ ซึ่งภาวะการผลิตในเดือนกรกฎาคมนั้นลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 7.02 เนื่องจากเป็นช่วงที่ตลาดรถยนต์เริ่มชะลอตัวลงเล็กน้อยซึ่งเป็นไปตามรอบปี และเป็นช่วงทรงตัวก่อนปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 4 ส่งผลให้ผู้ผลิตลดการผลิตลงเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด แต่เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ภาพรวมการผลิตยังเพิ่มขึ้นและถือว่าสถานการณ์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ในส่วนของภาวะการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 15.34 เนื่องจากตัวแทนจำหน่ายและลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อ เพราะปัจจัยด้านวิกฤตน้ำมัน และเป็นช่วงฤดูฝนที่ชะลอตัวเป็นปกติ นอกจากนี้ผู้บริโภคกำลังรอการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ที่จะออกมาในช่วงปลายสิงหาคม ส่งผลให้ภาวะการจำหน่ายในเดือนกรกฎาคมปรับลดลง
การผลิตเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าขั้นมูลฐาน มีการชะลอตัวในการผลิตและจำหน่ายกลุ่มสินค้าเหล็กทรงแบน ทำให้ภาพรวมของภาวะอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าในเดือนกรกฎาคมมีทิศทางลดลง ส่วนกลุ่มสินค้า ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ภาวะการผลิตในกลุ่มเหล็กทรงแบนลดลง เพราะมีการปรับลดปริมาณการผลิตเพื่อให้สอดคล้องกับคำสั่งซื้อ เนื่องจากความผันผวนของราคาเหล็กที่ทำให้ลูกค้ายังมีความลังเลในการลงทุน และหันมาใช้สินค้าในสต็อกแทนจนกว่าราคาเหล็กในตลาดจะปรับลดลง เช่นเดียวกับภาวะการจำหน่ายโดยรวมในอุตสาหกรรมเหล็ก ที่พบว่ามีทิศทางที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ชะลอคำสั่งซื้อ เพื่อรอดูทิศทางของราคาที่ปรับลดลงไปมากตามราคาตลาดโลก และยังได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องหลัก คือ กลุ่มบรรจุภัณฑ์อีกด้วย เช่นเดียวกันกับ การผลิตเครื่องจักรที่ใช้งานทั่วไปอื่นๆ ที่ภาวะการผลิตและการจำหน่ายลดลงจากเดือนก่อนโดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศ เนื่องจากเป็นช่วง Low Season ความต้องการสินค้าจึงลดลง และบางโรงงานลูกค้าต่างประเทศชะลอคำสั่งซื้อ เนื่องจากมีสินค้าคงคลังสำเร็จรูปเหลืออยู่มาก นอกจากนี้สภาพเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ยอดการผลิตลดลง
นางชุตาภรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนปัจจัยที่มีผลทำให้ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมปรับตัวเพิ่มขึ้น คือ การผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ที่มีปริมาณการผลิตและการจำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยปริมาณการผลิตมีปริมาณเท่ากับ 4,386.8 ล้านบาท เพิ่มสูงถึง 395.9 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 9.92 ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรวมเท่ากับ 3,982.2 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 124.7 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 3.23 เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา
การแปรรูปและการถนอมสัตว์น้ำ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำ มีภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้น วัตถุดิบมีปริมาณมากและราคายังไม่สูง ผู้ประกอบการจึงเร่งทำการผลิตเพื่อสำรองไว้ เช่นเดียวกับภาวการณ์จำหน่ายที่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิถุนายน โดยมีคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นในส่วนของการจำหน่ายกุ้งแช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็งและเนื้อปลาบดแช่แข็ง เนื่องจากคำสั่งซื้อจำนวนมากจากลูกค้าฝั่งอเมริกาและยุโรป
"โดยภาพรวมของดัชนีอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคมนั้น ปรับลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา แต่ยังคงเพิ่มขึ้นเกือบทุกกลุ่มอุตสาหกรรม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้อุตสาหกรรมบางกลุ่มมีปัจจัยเกี่ยวกับฤดูกาลซึ่งส่งผลต่อปริมาณการผลิตและจำหน่าย ถือเป็นเรื่องปกติ สถานการณ์โดยรวมทั้งปียังอยู่ในเกณฑ์ดี" ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกล่าว.
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-