ภายหลังจากที่การประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลกครั้งที่ 4 ณ กรุงโดฮา ประเทศ การ์ตา ได้จบสิ้นลงพร้อมกับได้มีการประกาศปฏิญญารัฐมนตรีที่ให้ความเห็นชอบให้มีการเจรจาการค้าในเรื่องต่างๆ รวมทั้งเรื่องเกษตร เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2544 รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ได้ออกแถลงการณ์ของกลุ่มทันทีเพื่อแสดงความยินดีกับผลการประชุมดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรซึ่งกลุ่มเคร์นส์ได้ผลักดันการเปิดเสรีเรื่องนี้มาโดยตลอดและอย่างต่อเนื่อง
จากผลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการทำงานของกลุ่มเคร์นส์ที่ได้ก้าวมาถึงจุดสำคัญของการปฏิรูปการค้า สินค้าเกษตรอีกก้าวหนึ่งภายหลังที่ได้ก่อตั้งมานานถึง 15 ปี
รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์กล่าวว่า เราได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้มีการเจรจาเพื่อยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทุกรูปแบบ และมติรัฐมนตรีในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรที่ได้ตกลงกันที่โดฮาจะทำให้กลุ่มสามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมและเป็นไปตามกลไกตลาด นอกจากนี้ ยังได้กล่าวด้วยว่ากลุ่มพร้อมที่จะเจรจาเพื่อเร่งกระบวนการเพื่อให้ได้กรอบการเจรจาซึ่งจำเป็นต่อการค้าสินค้าเกษตรที่อยู่บนพื้นฐานของแรงผลักดันของตลาด
ในแถลงการณ์กลุ่มเคร์นส์ยังได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มเคร์นส์ได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้มีแรงสนับสนุนจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรของโลก และยังระบุด้วยว่า กลุ่มมีพันธกรณีอย่างเต็มที่ที่จะทำงานเพื่อให้มีบทบัญญัติว่าด้วยการให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อบรรลุความจำเป็นของประเทศประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมดังกล่าว
ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสุทธิขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปารากวัย ฟิลิปินส์ แอฟริกาใต้ อุรุกวัย และประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมกันผลักดันให้มีการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรเพื่อให้มีความเป็นธรรมและเสรียิ่งขึ้นมาตั้งแต่การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยตั้งแต่ปี 2529 เป้าหมายสำคัญของกลุ่มคือ การยุติการเลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตรโดยให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับสินค้าอื่น โดยผ่านการลด/เลิกอุปสรรคทางการค้าเพื่อให้มีการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรมากขึ้น ลด/เลิกการอุดหนุนการผลิต ภายในและการอุดหนุนส่งออก แต่ให้มีการให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน ในตลาดได้
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
จากผลดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงการทำงานของกลุ่มเคร์นส์ที่ได้ก้าวมาถึงจุดสำคัญของการปฏิรูปการค้า สินค้าเกษตรอีกก้าวหนึ่งภายหลังที่ได้ก่อตั้งมานานถึง 15 ปี
รัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์กล่าวว่า เราได้ให้ความเห็นชอบที่จะให้มีการเจรจาเพื่อยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทุกรูปแบบ และมติรัฐมนตรีในเรื่องการเจรจาสินค้าเกษตรที่ได้ตกลงกันที่โดฮาจะทำให้กลุ่มสามารถดำเนินการให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการเจรจาเพื่อให้ได้มาซึ่งระบบการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมและเป็นไปตามกลไกตลาด นอกจากนี้ ยังได้กล่าวด้วยว่ากลุ่มพร้อมที่จะเจรจาเพื่อเร่งกระบวนการเพื่อให้ได้กรอบการเจรจาซึ่งจำเป็นต่อการค้าสินค้าเกษตรที่อยู่บนพื้นฐานของแรงผลักดันของตลาด
ในแถลงการณ์กลุ่มเคร์นส์ยังได้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มเคร์นส์ได้มีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างให้มีแรงสนับสนุนจากกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรของโลก และยังระบุด้วยว่า กลุ่มมีพันธกรณีอย่างเต็มที่ที่จะทำงานเพื่อให้มีบทบัญญัติว่าด้วยการให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อบรรลุความจำเป็นของประเทศประเทศกำลังพัฒนาในการเจรจาเปิดเสรีการค้าสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมดังกล่าว
ประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรสุทธิขนาดเล็กและขนาดกลางจำนวน 18 ประเทศ ได้แก่ อาร์เจนตินา ออสเตรเลีย โบลิเวีย บราซิล แคนาดา ชิลี โคลอมเบีย คอสตาริกา กัวเตมาลา อินโดนีเซีย มาเลเซีย นิวซีแลนด์ ปารากวัย ฟิลิปินส์ แอฟริกาใต้ อุรุกวัย และประเทศไทย ซึ่งได้ร่วมกันผลักดันให้มีการปฏิรูปการค้าสินค้าเกษตรเพื่อให้มีความเป็นธรรมและเสรียิ่งขึ้นมาตั้งแต่การเจรจาการค้าพหุภาคีรอบอุรุกวัยตั้งแต่ปี 2529 เป้าหมายสำคัญของกลุ่มคือ การยุติการเลือกปฏิบัติต่อสินค้าเกษตรโดยให้มีการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับสินค้าอื่น โดยผ่านการลด/เลิกอุปสรรคทางการค้าเพื่อให้มีการเปิดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรมากขึ้น ลด/เลิกการอุดหนุนการผลิต ภายในและการอุดหนุนส่งออก แต่ให้มีการให้แต้มต่อแก่ประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้มีความสามารถในการแข่งขัน ในตลาดได้
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-