8/11/44 นายอดิศัย โพธารามิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย เปิดเผยถึงการเตรียมการเข้าร่วมประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 9 -13 พฤศจิกายน 2544 ณ กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ ว่า กระบวนการเตรียมการประชุมรัฐมนตรีครั้งนี้ อยู่ในขั้นพิจารณาร่างปฏิญญารัฐมนตรี ซึ่งมีแรงผลักดันจากประเทศสมาชิกหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ให้เปิดการเจรจาการค้าพหุภาคีรอบใหม่ เพื่อรวมเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องการค้าสินค้าเกษตร และการค้าบริการ ในขณะที่ไทยสนับสนุนการเจรจารอบใหม่ที่เป็น Sufficiently broad based มีความสมดุล มีความยืดหยุ่น และคำนึงถึงความสามารถของประเทศสมาชิกตามระดับการพัฒนาประเทศ
"ร่างดังกล่าวมีเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก โดยเรื่องส่วนใหญ่สมาชิกสามารถตกลงกันได้แล้ว แต่เรื่องที่สมาชิกยังมีท่าทีต่างกัน คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม การลงทุน เกษตร นโยบายการแข่งขัน ปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (Implementation) และปัญหายาจำเป็นราคาแพงซึ่งต้องการให้มีการแก้ไขใน WTO"
นายอดิศัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยได้กำหนดกรอบท่าทีเพื่อใช้ในการเจรจาไว้ 4 หัวข้อด้วยกันคือ 1.เรื่องที่ไทยเห็นด้วยและผลักดัน 2.เรื่องที่เห็นด้วยและรับให้มีการเจรจาได้ 3.เรื่องที่ไม่ต้องการเจรจาจัดทำความตกลงใหม่ และ 4.เรื่องที่คัดค้าน
“เรื่องที่ไทยเห็นด้วยและผลักดัน คือ เรื่องเกษตร ซึ่งจะขอให้มีการปฏิรูปสินค้าเกษตรอย่างจริงจัง โดยนำไปสู่การยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกทุกชนิด ลดการอุดหนุนภายในลงให้มาก และเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กว้างขึ้นอีก ขณะเดียวกันต้องมีการให้แต้มต่อสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ชัดเจน จริงจัง และขยายเพิ่มขึ้นจากเดิม รวมทั้งมีความชัดเจนในเรื่องการกำหนดเวลาในแต่ละขั้นตอนในการเจรจาด้วย”
นอกจากนี้ไทยยังเห็นด้วยกับการปรับปรุงความตกลง เกี่ยวกับกฎระเบียบทางการค้า(Rules) ที่มีอยู่แล้ว ให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมแก่สมาชิกโดยรวม เช่น เรื่องการทุ่มตลาด การอุดหนุนและอากรตอบโต้ การอุดหนุนประมง และมาตรการปกป้อง ส่วนกระบวนการระงับข้อพิพาท(Dispute Settlement) ของ WTO นั้น ก็ให้มีการปรับปรุงให้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-
"ร่างดังกล่าวมีเรื่องที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศสมาชิก โดยเรื่องส่วนใหญ่สมาชิกสามารถตกลงกันได้แล้ว แต่เรื่องที่สมาชิกยังมีท่าทีต่างกัน คือ เรื่องสิ่งแวดล้อม การลงทุน เกษตร นโยบายการแข่งขัน ปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย (Implementation) และปัญหายาจำเป็นราคาแพงซึ่งต้องการให้มีการแก้ไขใน WTO"
นายอดิศัยกล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยได้กำหนดกรอบท่าทีเพื่อใช้ในการเจรจาไว้ 4 หัวข้อด้วยกันคือ 1.เรื่องที่ไทยเห็นด้วยและผลักดัน 2.เรื่องที่เห็นด้วยและรับให้มีการเจรจาได้ 3.เรื่องที่ไม่ต้องการเจรจาจัดทำความตกลงใหม่ และ 4.เรื่องที่คัดค้าน
“เรื่องที่ไทยเห็นด้วยและผลักดัน คือ เรื่องเกษตร ซึ่งจะขอให้มีการปฏิรูปสินค้าเกษตรอย่างจริงจัง โดยนำไปสู่การยกเลิกการอุดหนุนการส่งออกทุกชนิด ลดการอุดหนุนภายในลงให้มาก และเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้กว้างขึ้นอีก ขณะเดียวกันต้องมีการให้แต้มต่อสำหรับประเทศกำลังพัฒนาที่ชัดเจน จริงจัง และขยายเพิ่มขึ้นจากเดิม รวมทั้งมีความชัดเจนในเรื่องการกำหนดเวลาในแต่ละขั้นตอนในการเจรจาด้วย”
นอกจากนี้ไทยยังเห็นด้วยกับการปรับปรุงความตกลง เกี่ยวกับกฎระเบียบทางการค้า(Rules) ที่มีอยู่แล้ว ให้เป็นประโยชน์และเป็นธรรมแก่สมาชิกโดยรวม เช่น เรื่องการทุ่มตลาด การอุดหนุนและอากรตอบโต้ การอุดหนุนประมง และมาตรการปกป้อง ส่วนกระบวนการระงับข้อพิพาท(Dispute Settlement) ของ WTO นั้น ก็ให้มีการปรับปรุงให้เป็นธรรมและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
--กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ พฤศจิกายน 2544--
-ปส-