1. สถานการณ์สินค้า
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
กระเทียม : กระเทียมมีแนวโน้มราคาตกต่ำ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์กระเทียมฤดูกาลผลิต ปี 2534/44 คาดว่าจะมีผลผลิต 131,453 ตัน สูงกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.23 ขณะนี้ผลผลิตของเกษตรกรเริ่มทะยอยออกสู่ตลาดบ้างแล้ว คาดว่าจะมีผลผลิตมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ราคากระเทียมสดที่เกษตรกรขายได้ในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 5.00-6.00 บาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 40 เนื่องจากว่า มีปัญหาการลักลอบนำเข้ากระเทียมจากประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคากระเทียมแห้งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาไม่สูงขึ้นมากนัก ประกอบกับพ่อค้ายังมีกระเทียมเก่าค้างอยู่ในสต็อกอีกพอสมควร ทำให้ภาวะการค้าตลาดกระเทียมภายในปีนี้ไม่เคลื่อนไหวมากนัก ส่งผลทำให้ราคากระเทียมในช่วงที่ฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคมนี้ อาจจะทำให้ราคาตกต่ำได้ แนวทางแก้ไข
1) ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจดทะเบียนผู้เพาะปลูกกระเทียม ปีเพาะปลูก 2543/44 เพื่อเตรียมการแก้ไขเมื่อมีปัญหา
2) เร่งวางมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้ากระเทียมเถื่อน
การประชุม : ผลการประชุม The First Meeting of the ASEAN National Focal Point Working Group for Peas and Beans
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม The First Meeting of the ASEAN National Focal Point Working Group for Peas and Beans ภายใต้ Promotion Scheme เมื่อวันที่ 8-9 มกราคม 2544 ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกผนึกกำลังให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการส่งเสริมการผลิตและการค้าสินค้าประเภทถั่วต่าง ๆ เสมือนหนึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ
ในการประชุมครั้งนี้ มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ลาว สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ และไทย สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ดังนี้
1. ผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้ง 5 นำเสนอรายงานของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยได้นำเสนอข้อมูลถั่วที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง โดยรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิต พันธุ์ ผลงานวิจัยทางด้านเขตกรรม ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ การดูแลรักษา (การใส่ปุ๋ยและการควบคุมวัชชพืช ศัตรูพืช) รวมไปถึงการเก็บเกี่ยว นอกจากนั้น ได้รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านการตลาด การใช้ประโยชน์ การนำเข้าส่งออก รวมถึงนโยบายของถั่วทั้ง 3 ชนิด
2. สหภาพพม่า ในฐานะประเทศเจ้าภาพและประเทศผู้นำการผลิตสินค้าประเภทถั่ว ต่าง ๆ ในอาเซียน ได้นำเสนอกิจกรรมที่ควรได้รับการผลักดันรวม 4 กิจกรรม ได้แก่
2.1 ความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรระหว่างประเทศสมาชิก
สรุป รายละเอียดจะกล่าวต่อไปในการพิจารณาแผนการดำเนินงานในข้อ 3 ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งต่อไป ขอให้ประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านงานวิจัย และด้านการค้า รวมทั้งควรให้ผู้แทนภาคเอกชนเข้าร่วมด้วย
2.2 มาตรฐานสุขอนามัยและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช (SPS measure)
สรุป ที่ประชุมตกลงร่วมกันว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานสุขอนามัยระหว่างประเทศสมาชิกมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงทางด้านการค้าสินค้าประเภทถั่วต่อไป โดยสำนักเลขาอาเซียนรับเป็นหน่วยงานประสานงานให้
2.3 มาตรฐานและคุณภาพเดียวกันของถั่วพันธุ์ต่าง ๆ ในอาเซียน
สรุป ที่ประชุมตกลงร่วมกันว่า สหภาพพม่าในฐานะประเทศผู้นำการผลิตสินค้าประเภทถั่วต่าง ๆ ควรศึกษาข้อมูลด้านนี้ของประเทศต่าง ๆ ทั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่เป็นมาตรฐานที่ต้องการและรายงานผลให้ทราบในการประชุมคราวหน้า
2.4 การส่งเสริมการค้าและระบบข้อมูลข่าวสารการตลาด
สรุป ที่ประชุมเห็นควรให้สหภาพพม่าในฐานะประเทศผู้นำการผลิตสินค้าประเภทถั่วต่าง ๆ เสนอข้อมูลนี้ไปยังสำนักเลขาอาเซียนเพื่อบรรจุลงในเวบไซด์
3. สหภาพพม่าเสนอให้พิจารณาแผนและการดำเนินงานในช่วงปี 2544-2547 ร่วมกัน ระหว่างประเทศสมาชิก 3 แผนงาน ดังนี้
3.1 ส่งเสริมการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ ทั้งภายในและภายนอกอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และเพื่อความแข็งขันในการแข่งขันทางการค้าด้วยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ
3.2 ส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
3.3 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
สำหรับการประชุมครั้งต่อไป สหภาพพม่าจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
ไก่ไข่ : การจดทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่
เนื่องจากราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ในปี 2543 ลดลงอย่างมาก เหลือเฉลี่ยฟองละ 1.24 บาท และมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟองละ 1.45 บาท ขณะที่ในปี 2542 เกษตรกรขายได้เฉลี่ยฟองละ 1.61 บาท และมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟองละ 1.45 บาทเท่ากับปี 2543 ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ประสบการขาดทุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ต่าง ๆ และสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ได้จัดการสัมมนาเพื่อหาแนวทางแก้วิกฤตไข่ไก่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่รอดและยั่งยืนทั้งระบบและได้สรุปแนวทางแก้ปัญหาเสนอต่อหน่วยราชการ คือ ให้มีการจดทะเบียนผู้ผลิต และผู้ค้า ให้มีการรณรงค์บริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น ให้รัฐสร้างโรงงานแปรรูปไข่ไก่และห้องเย็น เป็นต้น และกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้เชิญประชุมผู้เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2543 ที่ประชุมได้เห็นพ้องกันกับข้อเสนอของสมาคมฯ และสหกรณ์ฯ เหล่านั้น และมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ในฐานะเป็นกรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ นำเสนอต่อคณะกรรมการฯ ซึ่งมีการประชุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2543 และที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอเหล่านั้นและอนุมัติให้ดำเนินการได้ สำหรับการจดทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกันดำเนินการ
ในการจดทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่นั้น กรมปศุสัตว์มีความเห็นว่าถ้าเป็นไปได้น่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2544 และในวันที่ 18 มกราคม 2544 จะได้เชิญสมาคมฯ สหกรณ์ฯ และเอกชนที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือเรื่องรูปแบบและข้อมูลที่จำเป็นเพื่อบรรจุในแบบสอบถามเพื่อการจดทะเบียน
ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่มีทั้งของเกษตรกรอิสระ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ และสหกรณ์ฯ และบริษัทเอกชนซึ่งมีทั้งโครงการของบริษัทที่เลี้ยงเองและให้เกษตรกรเลี้ยงในรูปของการแบ่งปันผลประโยชน์ ขณะนี้จำนวนไก่ไข่ที่แหล่งเลี้ยงต่าง ๆ ม่ชัดเจน ผลผลิตมีมากกว่าความต้องการของตลาด การจดทะเบียนผู้เลี้ยงและจำนวนไก่ไข่ เป็นทางหนึ่งที่รัฐสามารถนำมาวางแผนการผลิตและการตลาดได้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 52 ประจำวันที่ 8 - 14 ม.ค. 2544--
-สส-
1.1 สินค้าที่มีปัญหา
สัปดาห์นี้ไม่มีสินค้าที่มีปัญหา
กระเทียม : กระเทียมมีแนวโน้มราคาตกต่ำ
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รายงานว่า จากการติดตามสถานการณ์กระเทียมฤดูกาลผลิต ปี 2534/44 คาดว่าจะมีผลผลิต 131,453 ตัน สูงกว่าปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.23 ขณะนี้ผลผลิตของเกษตรกรเริ่มทะยอยออกสู่ตลาดบ้างแล้ว คาดว่าจะมีผลผลิตมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ราคากระเทียมสดที่เกษตรกรขายได้ในช่วงต้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวอยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 5.00-6.00 บาท ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 40 เนื่องจากว่า มีปัญหาการลักลอบนำเข้ากระเทียมจากประเทศเพื่อนบ้านมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคากระเทียมแห้งในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาไม่สูงขึ้นมากนัก ประกอบกับพ่อค้ายังมีกระเทียมเก่าค้างอยู่ในสต็อกอีกพอสมควร ทำให้ภาวะการค้าตลาดกระเทียมภายในปีนี้ไม่เคลื่อนไหวมากนัก ส่งผลทำให้ราคากระเทียมในช่วงที่ฤดูกาลผลผลิตออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคมนี้ อาจจะทำให้ราคาตกต่ำได้ แนวทางแก้ไข
1) ควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจดทะเบียนผู้เพาะปลูกกระเทียม ปีเพาะปลูก 2543/44 เพื่อเตรียมการแก้ไขเมื่อมีปัญหา
2) เร่งวางมาตรการแก้ไขปัญหาการลักลอบนำเข้ากระเทียมเถื่อน
การประชุม : ผลการประชุม The First Meeting of the ASEAN National Focal Point Working Group for Peas and Beans
ด้วยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุม The First Meeting of the ASEAN National Focal Point Working Group for Peas and Beans ภายใต้ Promotion Scheme เมื่อวันที่ 8-9 มกราคม 2544 ณ กรุงย่างกุ้ง สหภาพพม่า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กลุ่มประเทศสมาชิกผนึกกำลังให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในการส่งเสริมการผลิตและการค้าสินค้าประเภทถั่วต่าง ๆ เสมือนหนึ่งเป็นองค์กรระหว่างประเทศ
ในการประชุมครั้งนี้ มีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประชุม 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ลาว สหภาพพม่า ฟิลิปปินส์ และไทย สรุปสาระสำคัญของการประชุมได้ดังนี้
1. ผู้แทนจากประเทศสมาชิกทั้ง 5 นำเสนอรายงานของแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยได้นำเสนอข้อมูลถั่วที่สำคัญ 3 ชนิด ได้แก่ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว และถั่วลิสง โดยรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์การผลิต พันธุ์ ผลงานวิจัยทางด้านเขตกรรม ความต้องการใช้เมล็ดพันธุ์ การดูแลรักษา (การใส่ปุ๋ยและการควบคุมวัชชพืช ศัตรูพืช) รวมไปถึงการเก็บเกี่ยว นอกจากนั้น ได้รายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านการตลาด การใช้ประโยชน์ การนำเข้าส่งออก รวมถึงนโยบายของถั่วทั้ง 3 ชนิด
2. สหภาพพม่า ในฐานะประเทศเจ้าภาพและประเทศผู้นำการผลิตสินค้าประเภทถั่ว ต่าง ๆ ในอาเซียน ได้นำเสนอกิจกรรมที่ควรได้รับการผลักดันรวม 4 กิจกรรม ได้แก่
2.1 ความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรระหว่างประเทศสมาชิก
สรุป รายละเอียดจะกล่าวต่อไปในการพิจารณาแผนการดำเนินงานในข้อ 3 ทั้งนี้ ในการประชุมครั้งต่อไป ขอให้ประเทศสมาชิกส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมทั้ง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านงานวิจัย และด้านการค้า รวมทั้งควรให้ผู้แทนภาคเอกชนเข้าร่วมด้วย
2.2 มาตรฐานสุขอนามัยและการป้องกันกำจัดศัตรูพืช (SPS measure)
สรุป ที่ประชุมตกลงร่วมกันว่า การแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับมาตรฐานสุขอนามัยระหว่างประเทศสมาชิกมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงทางด้านการค้าสินค้าประเภทถั่วต่อไป โดยสำนักเลขาอาเซียนรับเป็นหน่วยงานประสานงานให้
2.3 มาตรฐานและคุณภาพเดียวกันของถั่วพันธุ์ต่าง ๆ ในอาเซียน
สรุป ที่ประชุมตกลงร่วมกันว่า สหภาพพม่าในฐานะประเทศผู้นำการผลิตสินค้าประเภทถั่วต่าง ๆ ควรศึกษาข้อมูลด้านนี้ของประเทศต่าง ๆ ทั้งที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและที่เป็นมาตรฐานที่ต้องการและรายงานผลให้ทราบในการประชุมคราวหน้า
2.4 การส่งเสริมการค้าและระบบข้อมูลข่าวสารการตลาด
สรุป ที่ประชุมเห็นควรให้สหภาพพม่าในฐานะประเทศผู้นำการผลิตสินค้าประเภทถั่วต่าง ๆ เสนอข้อมูลนี้ไปยังสำนักเลขาอาเซียนเพื่อบรรจุลงในเวบไซด์
3. สหภาพพม่าเสนอให้พิจารณาแผนและการดำเนินงานในช่วงปี 2544-2547 ร่วมกัน ระหว่างประเทศสมาชิก 3 แผนงาน ดังนี้
3.1 ส่งเสริมการแข่งขันการค้าระหว่างประเทศ ทั้งภายในและภายนอกอาเซียน ภายใต้ความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ และเพื่อความแข็งขันในการแข่งขันทางการค้าด้วยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ
3.2 ส่งเสริมให้มีการร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
3.3 ส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
สำหรับการประชุมครั้งต่อไป สหภาพพม่าจะแจ้งให้ทราบในภายหลัง
ไก่ไข่ : การจดทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่
เนื่องจากราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ในปี 2543 ลดลงอย่างมาก เหลือเฉลี่ยฟองละ 1.24 บาท และมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟองละ 1.45 บาท ขณะที่ในปี 2542 เกษตรกรขายได้เฉลี่ยฟองละ 1.61 บาท และมีต้นทุนการผลิตเฉลี่ยฟองละ 1.45 บาทเท่ากับปี 2543 ทำให้ผู้เลี้ยงไก่ไข่ประสบการขาดทุน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ต่าง ๆ และสมาคมผู้ผลิตผู้ค้าและส่งออกไข่ไก่ ได้จัดการสัมมนาเพื่อหาแนวทางแก้วิกฤตไข่ไก่อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่รอดและยั่งยืนทั้งระบบและได้สรุปแนวทางแก้ปัญหาเสนอต่อหน่วยราชการ คือ ให้มีการจดทะเบียนผู้ผลิต และผู้ค้า ให้มีการรณรงค์บริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น ให้รัฐสร้างโรงงานแปรรูปไข่ไก่และห้องเย็น เป็นต้น และกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ได้เชิญประชุมผู้เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2543 ที่ประชุมได้เห็นพ้องกันกับข้อเสนอของสมาคมฯ และสหกรณ์ฯ เหล่านั้น และมอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ในฐานะเป็นกรรมการและเลขานุการ ในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ นำเสนอต่อคณะกรรมการฯ ซึ่งมีการประชุมเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2543 และที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอเหล่านั้นและอนุมัติให้ดำเนินการได้ สำหรับการจดทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกันดำเนินการ
ในการจดทะเบียนผู้เลี้ยงไก่ไข่นั้น กรมปศุสัตว์มีความเห็นว่าถ้าเป็นไปได้น่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนมีนาคม 2544 และในวันที่ 18 มกราคม 2544 จะได้เชิญสมาคมฯ สหกรณ์ฯ และเอกชนที่เกี่ยวข้องมาปรึกษาหารือเรื่องรูปแบบและข้อมูลที่จำเป็นเพื่อบรรจุในแบบสอบถามเพื่อการจดทะเบียน
ปัจจุบันการเลี้ยงไก่ไข่มีทั้งของเกษตรกรอิสระ เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสมาคมฯ และสหกรณ์ฯ และบริษัทเอกชนซึ่งมีทั้งโครงการของบริษัทที่เลี้ยงเองและให้เกษตรกรเลี้ยงในรูปของการแบ่งปันผลประโยชน์ ขณะนี้จำนวนไก่ไข่ที่แหล่งเลี้ยงต่าง ๆ ม่ชัดเจน ผลผลิตมีมากกว่าความต้องการของตลาด การจดทะเบียนผู้เลี้ยงและจำนวนไก่ไข่ เป็นทางหนึ่งที่รัฐสามารถนำมาวางแผนการผลิตและการตลาดได้
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 52 ประจำวันที่ 8 - 14 ม.ค. 2544--
-สส-