เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีสำนักหักบัญชี
การชำระเงินจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การชำระเงินที่เป็นเงินสด และการชำระเงินประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินสด
การชำระเงินที่เป็นเงินสด จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ต่างๆ เช่น การจัดพิมพ์ธนบัตร การรับจ่ายเงินสดระหว่าง ธนาคารกลาง
สถาบันการเงิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจคัดธนบัตรชำรุดออกไปทำลาย เป็นต้น
การชำระเงินที่ไม่ใช่เงินสด รูปแบบหนึ่งของการชำระ เงินประเภทนี้ที่นิยมใช้กันมากก็คือ เช็คซึ่งเป็นตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า
ผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคาร ให้จ่ายเงินตราจำนวนหนึ่ง เมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้รับเงิน การชำระเงินด้วยเช็คนี้พิจารณาได้ 2 กรณีคือ
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินมีบัญชีธนาคารเดียวกัน และกรณีที่ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินมีบัญชีต่างธนาคารกัน
- กรณีธนาคารเดียวกัน : เมื่อผู้ทรงเช็คนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารผู้ออกเช็ค ธนาคารก็จะทำการตัดบัญชีและจ่ายเงินสด
ให้กับผู้ทรงเช็คนั้น
- กรณีต่างธนาคารกัน : หากปริมาณเช็คมีจำนวนน้อยก็สามารถขึ้นเงินได้โดยตรงหรือให้ธนาคารพาณิชย์ของตนเป็นผู้เรียก
เก็บให้แทน แต่ถ้าหากปริมาณเช็คมีจำนวนมาก จะเกิดความยุ่งยากในการเรียกเก็บ จึงได้มีการจัดตั้งสำนักหักบัญชีขึ้นมาเป็นศูนย์กลางในการเรียก
เก็บเช็คแทนที่จะไปแลกเช็คกับธนาคารพาณิชย์โดยตรง
ระบบการหักบัญชีเช็ค คือ กระบวนการหักกลบลบหนี้ระหว่างธนาคารตามเช็คเรียกเก็บและเช็คคืนด้วยการแลกเปลี่ยนเช็คกันที่สำนัก
หักบัญชีตามเวลาที่กำหนด ตลอดจนจัดทำดุลการหักบัญชีที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเช็คกันด้วย โดยที่ธนาคารหนึ่งๆ จะมีฐานะสุทธิในการได้ดุลหรือ
เสียดุลเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
การดำเนินการหักบัญชี มีขอบเขตในการดำเนินงาน ดังนี้
รอบการหักบัญชีปกติ เมื่อสาขาธนาคารสมาชิกรับฝากเช็คจากลูกค้าจะบันทึกข้อมูลเช็คเข้าระบบเป็นรายฉบับ และคัดแยกเช็คเป็นราย
ธนาคารส่งให้สาขาหลักดำเนินการ รวบรวมและจัดส่งตัวเช็คพร้อมสื่อบันทึกข้อมูลเช็คให้สำนักหักบัญชีภายในเวลา 13.00 น. สำนักหักบัญชีจะจัด
ทำงบ พิสูจน์การหักบัญชีพร้อมดุลการหักบัญชีรายธนาคารและรายสาขาบันทึกข้อมูลเช็ครับเข้าลงแผ่นดิสเกตต์ให้ธนาคารสมาชิก พร้อมรายงานจาก
นั้นส่งงบพิสูจน์การหักบัญชีที่ได้รวมกับรอบการหักบัญชีเช็คคืนประจำวันส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทางโทรสารเพื่อชำระดุลการหักบัญชีผ่านระบบ
บาทเนตในวันทำการเดียวกัน รอบการหักบัญชีเช็คคืน ในวันทำการถัดไปสาขา ธนาคารสมาชิกดำเนินการแยกเช็คคืนและนำข้อมูลเช็คคืน พร้อมทั้ง
เหตุผลการคืนเข้าระบบ กรณีสาขาห่างไกลให้ส่งข้อมูล เช็คคืนพร้อมเหตุผลการคืนและภาพถ่ายเช็คคืนทางโทรสารให้ สาขาหลักบันทึกเข้าระบบแทน
โดยจัดส่งเช็คคืนตามมาใน รอบบ่าย เมื่อสาขาหลักรวบรวมข้อมูลเช็คคืนของทุกสาขาแล้ว ส่งให้สำนักหักบัญชีภายในเวลา 9.00 น. สำนักหักบัญชี
จะจัด ทำงบพิสูจน์การหักบัญชีพร้อมดุลการหักบัญชีรายธนาคารและ รายสาขาบันทึกข้อมูลเช็คคืนรับเข้าลงสื่อให้ธนาคารสมาชิก พร้อมรายงาน
โดยที่ดุลการหักบัญชีที่คำนวณได้ให้พักรอไว้ เพื่อชำระดุลร่วมกับรอบการหักบัญชีปกติประจำวันนั้น
การจัดตั้งและการดำเนินงานของสำนักหักบัญชี
ในการดำเนินงานของสำนักหักบัญชีนั้นมีองค์ประกอบหลายฝ่ายด้วยกันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กรณี คือ
1. กรณีจังหวัดที่มีสาขาธนาคารแห่งประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงใหม่และลำปาง ประกอบด้วยสาขาธนาคารพาณิชย์ สำนักหักบัญชี
และธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ภาคเหนือ
2. กรณีจังหวัดที่ไม่มีสาขาธนาคารแห่งประเทศไทยในระบบเดิม ประกอบด้วยสาขาธนาคารพาณิชย์ สำนักหักบัญชี และคลังจังหวัด
ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ในระบบการหักบัญชีแบบใหม่นั้นจะเช่นเดียวกับกรณีแรก
สำหรับหน้าที่รับผิดชอบของสำนักหักบัญชีนั้นประกอบด้วย
1. การแลกเปลี่ยนเช็คเคลียริ่ง เช็คคืน และเช็คต่างจังหวัดข้ามเขตสำนักหักบัญชี (Bill for Collection : B/C)
2. การประมวลผลหักบัญชีเช็คสุทธิรายธนาคาร และจัดทำข้อมูลเช็ครับเข้าแก่ธนาคารสมาชิก
3. กำกับดูแลให้ธนาคารสมาชิกปฏิบัติตามกติกาและระเบียบของสำนักหักบัญชี
4. ปรับปรุงแก้ไขรายการคลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจากการหักบัญชีผิดพลาด
5. ดำเนินการแจ้งผลการหักบัญชีสุทธิรายธนาคารกับธนาคารแห่งประเทศไทยในเขตปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการชำระดุลในระดับ
ประเทศแบบรวมศูนย์
การยกระดับสำนักหักบัญชีจังหวัด
จากเดิมที่การเรียกเก็บเงินตามเช็คในจังหวัดเดียวกัน แต่ต่างอำเภอใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน และการเรียกเก็บเงินตามเช็ค
ข้ามจังหวัดอาจใช้เวลา 7-15 วันนั้น ทำให้การชำระเงินด้วยเช็คไม่มีผลการชำระเงินอย่างแท้จริงในทันที ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้
ดำเนินการพัฒนาระบบการหักบัญชีเช็คต่างจังหวัด โดยการยกระดับสำนักหักบัญชีอำเภอเป็นสำนักหักบัญชีจังหวัดแทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลด
ระยะเวลาเรียกเก็บเงินของเช็คในจังหวัดเดียวกันให้เหลือภายในวันเดียว (one-day clearing)
เมื่อมีการยกระดับสำนักหักบัญชีอำเภอขึ้นเป็นสำนักหักบัญชีจังหวัดแล้วจะช่วยให้ขยายขอบเขตของการหักบัญชีให้ครอบคลุมอำเภออื่นๆ
ได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณเช็ค B/C ที่เรียกเก็บระหว่างอำเภอหมดไป และช่วยลดระยะเวลาในการเรียกเก็บทั้งเช็คในจังหวัดเดียวกันและเช็ค
ต่างจังหวัดข้ามเขตสำนักหักบัญชีลง นอกจากนี้การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบันทึกข้อมูลเช็คและคำนวณดุลการหักบัญชีจะเป็นการช่วย
อำนวยความสะดวกในการบริหารเงินของธนาคารสมาชิก อันเกิดจากการได้ดุลหรือการเสียดุลหักบัญชีสุทธิ ตลอดจนได้มีการปรับปรุงวิธีการชำระ
ดุลการหักบัญชีระหว่างธนาคารจากเดิมชำระผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยที่คลังจังหวัดเป็นการชำระดุลแบบรวมศูนย์ที่ส่วนกลางผ่านระบบบาท
เนตแทน ทั้งนี้เพื่อให้การเรียกเก็บเงินตามเช็คมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของภาคเหนือ ณ สิ้นปี 2542 ได้ดำเนินการยกระดับสำนักหักบัญชีจังหวัดแล้วเสร็จ 16 แห่ง คือ สำนัก หักบัญชีจังหวัดเชียง
ใหม่-ลำพูน ลำปาง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี
และแม่ฮ่องสอน
การดำเนินงานของสำนักหักบัญชีในภาคเหนือพบว่าในช่วงปี 2540-2541 นั้นปริมาณการใช้เช็คลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2539 ตาม
ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวและการเข้มงวดในการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนภาคธุรกิจนิยมใช้เงินสดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ในปี 2542 กลับพบ
ว่าปริมาณการใช้เช็คมีจำนวน 4,135,049 ฉบับ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.6 แต่เมื่อพิจารณาทางด้านมูลค่าการใช้เช็คแล้วพบว่า
มูลค่าการใช้เช็คลดลงอย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ทางด้านปริมาณเช็คคืน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 86,633 ฉบับ มูลค่า 5,100.8 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ
32.6 และร้อยละ 42.8 ตามลำดับ
สำหรับแผนการพัฒนาระบบเช็คต่างจังหวัดในอนาคตก็คือการพัฒนาการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชีให้ทราบผลไม่เกิน
3 วันทำการ อย่างไรก็ตามการที่จะพัฒนาได้ รวดเร็วเพียงใดนั้นขึ้นกับความพร้อมของธนาคารสมาชิกในด้านเทคโนโลยีการตรวจสอบลายมือชื่อ
ของผู้สั่งจ่ายเช็ค แทนกันระหว่างสาขาธนาคารทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนในการขนส่งเช็คลง ซึ่งขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่
ระหว่างพิจารณากำหนดแผนงาน เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อไป
รายชื่อสำนักหักบัญชีที่ยกระดับแล้วในภาคเหนือ
สำนักหักบัญชี จำนวนสมาชิก สำนักหักบัญชี จำนวนสมาชิก
เชียงใหม่-ลำพูน 169 พะเยา 17
ลำปาง 55 กำแพงเพชร 29
เชียงราย 53 ตาก 11
พิษณุโลก 45 สุโขทัย 32
นครสวรรค์ 57 พิจิตร 40
แพร่ 26 เพชรบูรณ์ 35
อุตรดิตถ์ 27 อุทัยธานี 23
น่าน 11 แม่ฮ่องสอน 7
การดำเนินงานของสำนักหักบัญชีในภาคเหนือ
2539 2540 2541 2542
เช็คเรียกเก็บ
จำนวนฉบับ (ฉบับ) 5,451,729 4,992,182 4,069,518 4,135,049
-9.8 (-8.4) (-18.5) -1.6
จำนวนเงิน (ล้านบาท) 523122.1 441603.4 330818.9 275460.4
-5 (-15.6) (-25.1) (-16.7)
เช็คคืน
จำนวนฉบับ (ฉบับ) 159,934 176,226 128,557 86,633
-19.5 -10.2 (-27.0) (-32.6)
จำนวนเงิน (ล้านบาท) 8,693.10 12,470.80 8,919.00 5,100.80
-7.1 -43.4 (-28.5) (-42.8)
สัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ (ร้อยละ)
จำนวนฉบับ (ฉบับ) 2.9 3.5 3.2 2.1
จำนวนเงิน (ล้านบาท) 1.7 2.8 2.7 1.9
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
การชำระเงินจำแนกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ คือ การชำระเงินที่เป็นเงินสด และการชำระเงินประเภทอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินสด
การชำระเงินที่เป็นเงินสด จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการ ต่างๆ เช่น การจัดพิมพ์ธนบัตร การรับจ่ายเงินสดระหว่าง ธนาคารกลาง
สถาบันการเงิน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจคัดธนบัตรชำรุดออกไปทำลาย เป็นต้น
การชำระเงินที่ไม่ใช่เงินสด รูปแบบหนึ่งของการชำระ เงินประเภทนี้ที่นิยมใช้กันมากก็คือ เช็คซึ่งเป็นตราสารที่บุคคลผู้หนึ่งเรียกว่า
ผู้สั่งจ่ายสั่งธนาคาร ให้จ่ายเงินตราจำนวนหนึ่ง เมื่อทวงถามให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งที่เป็นผู้รับเงิน การชำระเงินด้วยเช็คนี้พิจารณาได้ 2 กรณีคือ
กรณีที่ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินมีบัญชีธนาคารเดียวกัน และกรณีที่ผู้สั่งจ่ายและผู้รับเงินมีบัญชีต่างธนาคารกัน
- กรณีธนาคารเดียวกัน : เมื่อผู้ทรงเช็คนำเช็คไปขึ้นเงินที่ธนาคารผู้ออกเช็ค ธนาคารก็จะทำการตัดบัญชีและจ่ายเงินสด
ให้กับผู้ทรงเช็คนั้น
- กรณีต่างธนาคารกัน : หากปริมาณเช็คมีจำนวนน้อยก็สามารถขึ้นเงินได้โดยตรงหรือให้ธนาคารพาณิชย์ของตนเป็นผู้เรียก
เก็บให้แทน แต่ถ้าหากปริมาณเช็คมีจำนวนมาก จะเกิดความยุ่งยากในการเรียกเก็บ จึงได้มีการจัดตั้งสำนักหักบัญชีขึ้นมาเป็นศูนย์กลางในการเรียก
เก็บเช็คแทนที่จะไปแลกเช็คกับธนาคารพาณิชย์โดยตรง
ระบบการหักบัญชีเช็ค คือ กระบวนการหักกลบลบหนี้ระหว่างธนาคารตามเช็คเรียกเก็บและเช็คคืนด้วยการแลกเปลี่ยนเช็คกันที่สำนัก
หักบัญชีตามเวลาที่กำหนด ตลอดจนจัดทำดุลการหักบัญชีที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเช็คกันด้วย โดยที่ธนาคารหนึ่งๆ จะมีฐานะสุทธิในการได้ดุลหรือ
เสียดุลเพียงด้านใดด้านหนึ่งเท่านั้น
การดำเนินการหักบัญชี มีขอบเขตในการดำเนินงาน ดังนี้
รอบการหักบัญชีปกติ เมื่อสาขาธนาคารสมาชิกรับฝากเช็คจากลูกค้าจะบันทึกข้อมูลเช็คเข้าระบบเป็นรายฉบับ และคัดแยกเช็คเป็นราย
ธนาคารส่งให้สาขาหลักดำเนินการ รวบรวมและจัดส่งตัวเช็คพร้อมสื่อบันทึกข้อมูลเช็คให้สำนักหักบัญชีภายในเวลา 13.00 น. สำนักหักบัญชีจะจัด
ทำงบ พิสูจน์การหักบัญชีพร้อมดุลการหักบัญชีรายธนาคารและรายสาขาบันทึกข้อมูลเช็ครับเข้าลงแผ่นดิสเกตต์ให้ธนาคารสมาชิก พร้อมรายงานจาก
นั้นส่งงบพิสูจน์การหักบัญชีที่ได้รวมกับรอบการหักบัญชีเช็คคืนประจำวันส่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทยทางโทรสารเพื่อชำระดุลการหักบัญชีผ่านระบบ
บาทเนตในวันทำการเดียวกัน รอบการหักบัญชีเช็คคืน ในวันทำการถัดไปสาขา ธนาคารสมาชิกดำเนินการแยกเช็คคืนและนำข้อมูลเช็คคืน พร้อมทั้ง
เหตุผลการคืนเข้าระบบ กรณีสาขาห่างไกลให้ส่งข้อมูล เช็คคืนพร้อมเหตุผลการคืนและภาพถ่ายเช็คคืนทางโทรสารให้ สาขาหลักบันทึกเข้าระบบแทน
โดยจัดส่งเช็คคืนตามมาใน รอบบ่าย เมื่อสาขาหลักรวบรวมข้อมูลเช็คคืนของทุกสาขาแล้ว ส่งให้สำนักหักบัญชีภายในเวลา 9.00 น. สำนักหักบัญชี
จะจัด ทำงบพิสูจน์การหักบัญชีพร้อมดุลการหักบัญชีรายธนาคารและ รายสาขาบันทึกข้อมูลเช็คคืนรับเข้าลงสื่อให้ธนาคารสมาชิก พร้อมรายงาน
โดยที่ดุลการหักบัญชีที่คำนวณได้ให้พักรอไว้ เพื่อชำระดุลร่วมกับรอบการหักบัญชีปกติประจำวันนั้น
การจัดตั้งและการดำเนินงานของสำนักหักบัญชี
ในการดำเนินงานของสำนักหักบัญชีนั้นมีองค์ประกอบหลายฝ่ายด้วยกันที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กรณี คือ
1. กรณีจังหวัดที่มีสาขาธนาคารแห่งประเทศไทย คือ จังหวัดเชียงใหม่และลำปาง ประกอบด้วยสาขาธนาคารพาณิชย์ สำนักหักบัญชี
และธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงาน ภาคเหนือ
2. กรณีจังหวัดที่ไม่มีสาขาธนาคารแห่งประเทศไทยในระบบเดิม ประกอบด้วยสาขาธนาคารพาณิชย์ สำนักหักบัญชี และคลังจังหวัด
ซึ่งถือว่าเป็นผู้แทนของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ในระบบการหักบัญชีแบบใหม่นั้นจะเช่นเดียวกับกรณีแรก
สำหรับหน้าที่รับผิดชอบของสำนักหักบัญชีนั้นประกอบด้วย
1. การแลกเปลี่ยนเช็คเคลียริ่ง เช็คคืน และเช็คต่างจังหวัดข้ามเขตสำนักหักบัญชี (Bill for Collection : B/C)
2. การประมวลผลหักบัญชีเช็คสุทธิรายธนาคาร และจัดทำข้อมูลเช็ครับเข้าแก่ธนาคารสมาชิก
3. กำกับดูแลให้ธนาคารสมาชิกปฏิบัติตามกติกาและระเบียบของสำนักหักบัญชี
4. ปรับปรุงแก้ไขรายการคลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจากการหักบัญชีผิดพลาด
5. ดำเนินการแจ้งผลการหักบัญชีสุทธิรายธนาคารกับธนาคารแห่งประเทศไทยในเขตปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดการชำระดุลในระดับ
ประเทศแบบรวมศูนย์
การยกระดับสำนักหักบัญชีจังหวัด
จากเดิมที่การเรียกเก็บเงินตามเช็คในจังหวัดเดียวกัน แต่ต่างอำเภอใช้เวลาประมาณ 3-7 วัน และการเรียกเก็บเงินตามเช็ค
ข้ามจังหวัดอาจใช้เวลา 7-15 วันนั้น ทำให้การชำระเงินด้วยเช็คไม่มีผลการชำระเงินอย่างแท้จริงในทันที ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้
ดำเนินการพัฒนาระบบการหักบัญชีเช็คต่างจังหวัด โดยการยกระดับสำนักหักบัญชีอำเภอเป็นสำนักหักบัญชีจังหวัดแทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลด
ระยะเวลาเรียกเก็บเงินของเช็คในจังหวัดเดียวกันให้เหลือภายในวันเดียว (one-day clearing)
เมื่อมีการยกระดับสำนักหักบัญชีอำเภอขึ้นเป็นสำนักหักบัญชีจังหวัดแล้วจะช่วยให้ขยายขอบเขตของการหักบัญชีให้ครอบคลุมอำเภออื่นๆ
ได้มากขึ้น ทำให้ปริมาณเช็ค B/C ที่เรียกเก็บระหว่างอำเภอหมดไป และช่วยลดระยะเวลาในการเรียกเก็บทั้งเช็คในจังหวัดเดียวกันและเช็ค
ต่างจังหวัดข้ามเขตสำนักหักบัญชีลง นอกจากนี้การนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบันทึกข้อมูลเช็คและคำนวณดุลการหักบัญชีจะเป็นการช่วย
อำนวยความสะดวกในการบริหารเงินของธนาคารสมาชิก อันเกิดจากการได้ดุลหรือการเสียดุลหักบัญชีสุทธิ ตลอดจนได้มีการปรับปรุงวิธีการชำระ
ดุลการหักบัญชีระหว่างธนาคารจากเดิมชำระผ่านผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทยที่คลังจังหวัดเป็นการชำระดุลแบบรวมศูนย์ที่ส่วนกลางผ่านระบบบาท
เนตแทน ทั้งนี้เพื่อให้การเรียกเก็บเงินตามเช็คมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ในส่วนของภาคเหนือ ณ สิ้นปี 2542 ได้ดำเนินการยกระดับสำนักหักบัญชีจังหวัดแล้วเสร็จ 16 แห่ง คือ สำนัก หักบัญชีจังหวัดเชียง
ใหม่-ลำพูน ลำปาง เชียงราย พิษณุโลก นครสวรรค์ แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน พะเยา กำแพงเพชร ตาก สุโขทัย พิจิตร เพชรบูรณ์ อุทัยธานี
และแม่ฮ่องสอน
การดำเนินงานของสำนักหักบัญชีในภาคเหนือพบว่าในช่วงปี 2540-2541 นั้นปริมาณการใช้เช็คลดลงอย่างต่อเนื่องจากปี 2539 ตาม
ภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวและการเข้มงวดในการให้สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ ตลอดจนภาคธุรกิจนิยมใช้เงินสดเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ในปี 2542 กลับพบ
ว่าปริมาณการใช้เช็คมีจำนวน 4,135,049 ฉบับ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 1.6 แต่เมื่อพิจารณาทางด้านมูลค่าการใช้เช็คแล้วพบว่า
มูลค่าการใช้เช็คลดลงอย่างต่อเนื่อง มาโดยตลอดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา
ทางด้านปริมาณเช็คคืน ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 86,633 ฉบับ มูลค่า 5,100.8 ล้านบาท ลดลงจากปีก่อนร้อยละ
32.6 และร้อยละ 42.8 ตามลำดับ
สำหรับแผนการพัฒนาระบบเช็คต่างจังหวัดในอนาคตก็คือการพัฒนาการเรียกเก็บเงินตามเช็คข้ามเขตสำนักหักบัญชีให้ทราบผลไม่เกิน
3 วันทำการ อย่างไรก็ตามการที่จะพัฒนาได้ รวดเร็วเพียงใดนั้นขึ้นกับความพร้อมของธนาคารสมาชิกในด้านเทคโนโลยีการตรวจสอบลายมือชื่อ
ของผู้สั่งจ่ายเช็ค แทนกันระหว่างสาขาธนาคารทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อลดขั้นตอนในการขนส่งเช็คลง ซึ่งขณะนี้ทางธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังอยู่
ระหว่างพิจารณากำหนดแผนงาน เพื่อให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ต่อไป
รายชื่อสำนักหักบัญชีที่ยกระดับแล้วในภาคเหนือ
สำนักหักบัญชี จำนวนสมาชิก สำนักหักบัญชี จำนวนสมาชิก
เชียงใหม่-ลำพูน 169 พะเยา 17
ลำปาง 55 กำแพงเพชร 29
เชียงราย 53 ตาก 11
พิษณุโลก 45 สุโขทัย 32
นครสวรรค์ 57 พิจิตร 40
แพร่ 26 เพชรบูรณ์ 35
อุตรดิตถ์ 27 อุทัยธานี 23
น่าน 11 แม่ฮ่องสอน 7
การดำเนินงานของสำนักหักบัญชีในภาคเหนือ
2539 2540 2541 2542
เช็คเรียกเก็บ
จำนวนฉบับ (ฉบับ) 5,451,729 4,992,182 4,069,518 4,135,049
-9.8 (-8.4) (-18.5) -1.6
จำนวนเงิน (ล้านบาท) 523122.1 441603.4 330818.9 275460.4
-5 (-15.6) (-25.1) (-16.7)
เช็คคืน
จำนวนฉบับ (ฉบับ) 159,934 176,226 128,557 86,633
-19.5 -10.2 (-27.0) (-32.6)
จำนวนเงิน (ล้านบาท) 8,693.10 12,470.80 8,919.00 5,100.80
-7.1 -43.4 (-28.5) (-42.8)
สัดส่วนเช็คคืนต่อเช็คเรียกเก็บ (ร้อยละ)
จำนวนฉบับ (ฉบับ) 2.9 3.5 3.2 2.1
จำนวนเงิน (ล้านบาท) 1.7 2.8 2.7 1.9
หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-