แท็ก
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร
กระทรวงการต่างประเทศ
องค์การสหประชาชาติ
ดอน ปรมัตถ์วินัย
รัฐมนตรี
นิวยอร์ก
กรุงเทพฯ--12 ต.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
วันนี้ (11 ตุลาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นผู้แทนประเทศไทยลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วย ศาลอาญาระหว่างประเทศ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ลงนามในความตกลงระหว่างประเทศอันสำคัญยิ่งซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อมิให้บุคคลผู้ประกอบอาชญากรรมระหว่างประเทศอย่าง ร้ายแรงที่สุด (กล่าวคือการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมรุกรานประเทศอื่น) สามารถหลบหนีหรือลอยนวลไปได้ ทั้งยังเป็นการป้องกันอาชญากรรมดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
การลงนามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านการให้ความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยให้การสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศมาโดยตลอด โดยไทยได้ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ อาทิเช่น ในการประชุมทางการทูต ณ กรุงโรมเพื่อจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ไทยเป็นหนึ่งใน 120 ประเทศที่ออกเสียงสนับสนุนธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2543 นอกจากนี้ ไทยยังได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนแสดงความคิดเห็นในการยกร่างเอกสารประกอบการดำเนินงานของศาลได้แก่ เอกสารว่าด้วยองค์ประกอบของความผิดและระเบียบวิธีพิจารณาความและพยานหลักฐานซึ่งเอกสารดังกล่าวได้รับการรับรองในการประชุมคณะกรรมาธิการฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2543 ที่ผ่านมานี้ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 จัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศเรียงตามมาตราและพิจารณาการออกกฎหมายรองรับหากไทยจะเข้าเป็นภาคีและเสนอร่างกฎหมายให้สภาพิจารณาต่อไป ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมกลไกและกระบวนยุติธรรมของศาลภายในประเทศเพื่อให้การนำตัวบุคคลมาสู่กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพโดยศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมที่ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของมนุษยชาติทั้งมวล
โดยศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเหนือความผิด 4 ประการ กล่าวคือ
1. อาชญากรรมฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide)
2. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crimes against humanity)
3. อาชญากรรมสงคราม (war crimes) และ
4. อาชญากรรมการรุกราน (aggression)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-
วันนี้ (11 ตุลาคม 2543) นายดอน ปรมัตถ์วินัย โฆษกกระทรวงการต่างประเทศได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนว่า ในวันที่ 2 ตุลาคม 2543 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร รัฐมนตรีช่วย ว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เป็นผู้แทนประเทศไทยลงนามในธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วย ศาลอาญาระหว่างประเทศ ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ซึ่งนับได้ว่าประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ลงนามในความตกลงระหว่างประเทศอันสำคัญยิ่งซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อมิให้บุคคลผู้ประกอบอาชญากรรมระหว่างประเทศอย่าง ร้ายแรงที่สุด (กล่าวคือการทำลายล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงคราม และอาชญากรรมรุกรานประเทศอื่น) สามารถหลบหนีหรือลอยนวลไปได้ ทั้งยังเป็นการป้องกันอาชญากรรมดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย
การลงนามธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองที่สำคัญที่แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาด้านการให้ความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชน ประเทศไทยให้การสนับสนุนการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศมาโดยตลอด โดยไทยได้ให้การสนับสนุนและมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศ อาทิเช่น ในการประชุมทางการทูต ณ กรุงโรมเพื่อจัดตั้งศาลอาญาระหว่างประเทศของสหประชาชาติ ไทยเป็นหนึ่งใน 120 ประเทศที่ออกเสียงสนับสนุนธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2543 นอกจากนี้ ไทยยังได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการเตรียมการสำหรับศาลอาญาระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องและมีบทบาทสำคัญในการมีส่วนแสดงความคิดเห็นในการยกร่างเอกสารประกอบการดำเนินงานของศาลได้แก่ เอกสารว่าด้วยองค์ประกอบของความผิดและระเบียบวิธีพิจารณาความและพยานหลักฐานซึ่งเอกสารดังกล่าวได้รับการรับรองในการประชุมคณะกรรมาธิการฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2543 ที่ผ่านมานี้ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2542 จัดตั้งคณะกรรมการพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศซึ่งประกอบด้วยส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศเรียงตามมาตราและพิจารณาการออกกฎหมายรองรับหากไทยจะเข้าเป็นภาคีและเสนอร่างกฎหมายให้สภาพิจารณาต่อไป ศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเสริมกลไกและกระบวนยุติธรรมของศาลภายในประเทศเพื่อให้การนำตัวบุคคลมาสู่กระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างมี ประสิทธิภาพโดยศาลอาญาระหว่างประเทศจะมีเขตอำนาจเหนืออาชญากรรมที่ร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพและความมั่นคงของมนุษยชาติทั้งมวล
โดยศาลอาญาระหว่างประเทศมีเขตอำนาจเหนือความผิด 4 ประการ กล่าวคือ
1. อาชญากรรมฐานฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (genocide)
2. อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ (crimes against humanity)
3. อาชญากรรมสงคราม (war crimes) และ
4. อาชญากรรมการรุกราน (aggression)
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7Press Division, Department of Information Tel. 643-5105 Fax. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th-- จบ--
-อน-