การผลิตในประเทศและการส่งออก
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับของฮังการีเริ่มมีการปรับปรุงมาพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการเมืองของ
ประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 กิจการผลิตและการค้าผูกขาดที่เคยเป็นของรัฐ ได้เปิดให้เอกชนเข้าดำเนินการ แต่รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดและขั้นตอน
ควบคุมการผลิตและประกอบธุรกิจ ตลอดจนอัตราภาษีสูง ก่อความยุ่งยากและลำบากในการจัดหาทุน จนทำให้เกิดการค้าในตลาดมืดซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็ว
แม้ต่อมาในปี 2540 จะได้มีการแก้ไขกฎข้อบังคับ ลดอัตราภาษี ตลอดจนยกเลิกการจัดเก็บภาษีการบริโภค (Consumption Tax) สำหรับเครื่องประดับ
ทำด้วยเงิน ซึ่งช่วยให้ภาวะการค้ากระเตื้องขึ้นบ้าง แต่ถึงปัจจุบันภาคการผลิตยังมีขนาดเล็กผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นรายย่อย วิธีการผลิตยังคงใช้มือและ
เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน โดยได้วัตถุดิบประเภทโลหะมีค่าและอัญมณีจากการนำเข้า เครื่องประดับสำเร็จรูปที่ผลิตเกือบทั้งหมดจะจำหน่ายภายในประเทศ
การผลิตเพื่อส่งออก ส่วนใหญ่เป็นงานรับจ้าง (Commission Work) มูลค่าการส่งออกในปี 2542 จำนวน 15.312 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากปีก่อนหน้า สินค้าที่ส่งออกกว่าร้อยละ 70 เป็นตัวเรือนเครื่องประดับกึ่งสำเร็จรูปทำด้วยทองคำ ประเภทสินค้าส่งออกอื่น
ได้แก่เศษหรือแผ่นโลหะมีค่า (ร้อยละ 13) เครื่องเงินและเครื่องทองหรือส่วนประกอบ (ร้อยละ 5.4) และเครื่องประดับรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า
(ร้อยละ 4.5) ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน อิสราเอล ตุรกี อังกฤษ สาธารณรัฐเช็ก สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และออสเตรีย
การนำเข้า
ผลผลิตในประเทศที่ยังต่ำ ทำให้ฮังการีเป็นตลาดที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่มาก มูลค่านำเข้าในช่วงปี 2540 - 2542
ขยายตัวสูง จากมูลค่า 8.915 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็น 22.358 และ 31.727 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2541 และ 2542 คิดเป็น
อัตราการขยายตัวร้อยละ 150 และ 42 ตามลำดับ
การนำเข้าจากไทย ฮังการีนำเข้าสินค้าเครื่องประดับจากไทยแต่ละปีในสัดส่วนประมาณร้อยละ 2.4 - 5.0 ของการนำเข้ารวม มูลค่าการ
นำเข้าอยู่ในระยะเพิ่มสูงในช่วงตั้งแต่ปี 2540 จากการนำเข้ามูลค่า 479.1 พันเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 540.9 และ 749.4 พันเหรียญสหรัฐฯ ในปี
2541 และ 2542 ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 12.9 และ 38.6 เครื่องประดับที่นำเข้าจากไทย ตามลำดับ มูลค่าในปี 2542 ได้แก่
เครื่องประดับทำด้วยเงิน (ร้อยละ 57) เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ (ร้อยละ 18) เครื่องประดับเทียม (ร้อยละ 18.2) อัญมณีสังเคราะห์
(ร้อยละ 5.5) ทับทิม แซปไฟร์ มรกต และอื่น ๆ (ร้อยละ 1.1)
กฎระเบียบและภาษี
การควบคุมนำเข้า สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า เป็นหนึ่งในรายการสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมโควต้านำเข้า (Global
Import Quota) ซึ่งในปี 2543 กระทรวงเศรษฐกิจฮังการีได้ประกาศโควต้านำเข้า 50.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้ แบ่งจัดสรรให้แก่ประเทศ
คู่ค้าที่มีข้อตกลงพิเศษ ได้แก่ สหภาพยุโรป (21.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โปแลนด์ (0.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตุรกี (4.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ
อิสราเอล (3.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คงเหลือสำหรับการนำเข้าจากแหล่งอื่น ๆ จำนวน 20.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมา การนำเข้ารวม
แต่ละปียังคงต่ำกว่าโควต้าที่กำหนดให้มาโดยตลอด
รายการสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่อยู่ภายใต้โควต้านำเข้า ประกอบด้วย
HS 7103.91 ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต
7104 รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติที่ได้จากการสังเคราะห์หรือทำขึ้นใหม่
7113 เครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณ และส่วนประกอบทำด้วยโลหะมีค่า
7114 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน และส่วนประกอบ
7116 ของทำด้วยไข่มุก และรัตนชาติ หรือกึ่งรัตนชาติ
7118 เหรียญกษาปณ์
ภาษีนำเข้า สินค้าจากไทยเสียภาษีนำเข้าฮังการีในอัตราพิเศษ GSP สำหรับการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ฮังการีกำหนดอัตรา
ภาษีทั่วไป MFN และอัตรา GSP ไว้ดังนี้.-
GSP (%) MFN (%)
HS 7101 - 7108 0 - 6.5 0 - 10.4
7109 - 7112 0 - 8.8 0 - 8.8
7113 6.8 - 7.1 8.8 - 9.1
7114 - 7116 8.5 - 9.0 8.5 - 9.0
7117 3.2 - 19.8 5.2 - 19.8
7118 3.2 3.2
ภาษีและกฎระเบียบอื่น ๆ
- ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) อัญมณีและเครื่องประดับยังจัดอยู่ในรายการสินค้าฟุ่มเฟือยที่ต้องเสียภาษีการบริโภคในอัตรา
ร้อยละ 35 สำหรับเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะมีค่า (ยกเว้นเครื่องประดับเงิน ซึ่งมีประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีการบริโภคเมื่อ 1 มกราคม 2540)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 25
- Culture Tax ร้อยละ 3 ของมูลค่า (ยังไม่รวม VAT)
ผู้ประกอบการที่นำเข้าอัญมณีและโลหะมีค่าต้องรายงานการนำเข้า รวมทั้งนำสินค้าเข้ารับการตรวจสอบและประทับตราจากหน่วยงาน
Hungarian Assay Office (NEHITI) ก่อนการออกจำหน่าย โดยสินค้าที่มีส่วนผสมโลหะมีค่าเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป ถือว่าอยู่ในข่ายที่ต้อง
ปฏิบัติตามระเบียบนี้
รสนิยมตลาด
ชาวฮังการีได้รับอิทธิพลความนิยมเครื่องประดับในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับชาวยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะอิตาลี ซึ่งถือเป็นผู้นำการผลิตและ
เป็นคู่ค้าสำคัญมายาวนาน ชนิดของเครื่องประดับที่ชาวฮังการีนิยมมากที่สุด คือ แหวน รองลงมาคือ ตุ้มหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ จี้ เข็มกลัดติดเสื้อ
และอื่น ๆ หากเป็นเครื่องประดับทองจะนิยมทองคำ 14 - 18 เค. ไม่นิยมทองสีเข้มเหมือนอย่างชาวเอเซียและชาติอาหรับทั่วไป รูปแบบของ
เครื่องประดับส่วนใหญ่มักนิยมแบบเรียบ ๆ ได้แก่ แซปไฟร์ ไข่มุก และโอปอล สินค้ามีทั้งที่ขายเป็นชิ้นเดี่ยวหรือจัดทำเป็นชุด ประกอบด้วย สร้อยคอ
สร้อยข้อมือ และต่างหู หรือชุดเล็ก เฉพาะสร้อยคอและต่างหู
ผู้ซื้อเครื่องประดับที่มีฐานะยังนิยมที่จะซื้อจากร้านค้าที่ขายอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะ เนื่องจากเชื่อถือในความชำนาญ และมีสินค้า
ให้เลือกมาก อีกทั้งให้ความสนใจและบริการพิเศษแก่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม ตลาดใหญ่สุดของลูกค้าเครื่องประดับคือสาววัยรุ่นและวัยทำงาน ประเภท
เครื่องประดับที่จำหน่ายได้มากจึงอยู่ในระดับราคาปานกลาง โดยเฉพาะเครื่องประดับทำด้วยเงินกำลังได้รับความนิยมสูงและมีจำหน่ายแพร่หลาย
เนื่องจากราคาย่อมเยากว่าเครื่องประดับที่ทำจากทองคำแท้ สาววัยรุ่นที่ยังไม่มีรายได้ของตนเองแต่มีความรักสวยรักงามหรือชื่นชอบแฟชั่นจะเป็นลูกค้า
สำคัญของตลาดเครื่องประดับเทียม ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าย่อยจำหน่ายเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับเทียมเปิดเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ตามศูนย์การค้า
เปิดใหม่หรือย่านชุมชน รวมทั้งห้างจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ประเภท Hypermarket ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการค้าปลีกและการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
ในฮังการีมากขึ้นเรื่อย ๆ
ภาวะตลาดและแนวโน้ม
ตลาดการค้าเครื่องประดับในฮังการีมีการปรับขยายตัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อมีประกาศยกเลิกการเก็บภาษีการบริโภคในสินค้าเครื่อง
ประดับเงินตั้งแต่ปี 2540 ช่วยให้ตลาดเครื่องประดับเงินขยายตัวกว้างขวาง และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมแพร่หลายต่อไปอีกนาน รวมทั้งเครื่อง
ประดับเทียมที่มีราคาไม่แพง ถูกใจผู้ซื้อชาวฮังการีที่ส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่สูงนัก อีกทั้งปัจจุบันผู้ผลิตพยายามออกรูปแบบคล้ายคลึงของแท้ มีการตกแต่ง
สวยงาม และมีชนิดสินค้าให้เลือกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฮังการีส่วนใหญ่ยังเห็นว่าภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะภาษีการบริโภคสำหรับเครื่องประดับทำด้วยทองที่เรียกเก็บสูงถึงร้อยละ 35 ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้สินค้ามีราคาแพง และไม่จูงใจ
ผู้ซื้ออีกประการหนึ่ง เครื่องประดับเป็นสินค้าที่มีขนาดเล็ก พกพาหรือหลบซ่อนได้ง่าย ผู้ค้าจึงมักเดินทางไปเลือกซื้อและนำติดตัวกลับมาเอง โดยหลีก
เลี่ยงภาษีและนำเข้ามาขายในตลาดมืด ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมผู้ค้าเครื่องประดับฮังการี สัดส่วนการค้าในตลาดมืดยังคงสูงกว่าร้อยละ 30 ของยอด
การค้าเครื่องประดับรวมในประเทศ
ในภาวะที่เศรษฐกิจของฮังการีกำลังอยู่ในระยะขยายตัวเช่นปัจจุบัน ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงขึ้น โดยทั่วไปน่าจะเป็นโอกาสที่ตลาดสินค้าอัญมณี
และเครื่องประดับควรได้ขยายตัวรวดเร็วตามไปด้วย แต่จากการสำรวจตลาด รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้นำเข้าและผู้ค้าต่างให้ความเห็นว่าชาวฮังการี
ที่เริ่มมีฐานะดีขึ้น และมีเงินเก็บ ปัจจุบันให้ความสนใจที่จะลงทุนซื้อเครื่องประดับมีค่าน้อยลง แต่หันมาให้ความสนใจมากกว่าในการเลือกซื้อสินค้าหรือ
ลงทุนในทรัพย์สินอื่น เช่น รถยนต์ บ้านและที่ดิน รวมทั้งเครื่องมือไฮเทค เช่น คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ตลาดสินค้า
โอกาสตลาดและลู่ทาง
ตลาดสินค้าเครื่องประดับในฮังการีเปิดกว้างและปรับตัวดีขึ้นในระยะ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้น แม้ผู้ค้าส่วนใหญ่
จะเห็นว่าตลาดน่าจะขยายตัวได้มากกว่านี้ในระยะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัวเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชาวฮังการีอาจลดความสนใจที่จะ
ใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องประดับที่มีราคาแพง สินค้าในระดับราคาปานกลาง-ต่ำโดยเฉพาะ เช่น เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม ซึ่งมีการ
นำเข้าจากไทยสูงยังมีโอกาสขยายตัวต่อไป รูปแบบที่ต้องตามรสนิยมตลาดและราคาเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ในการเข้าแข่งขัน รวมทั้งการหาคู่ค้า
ที่มีเครือข่ายการจำหน่ายกว้างขวาง หรือสามารถเป็นตัวแทนจำหน่ายและส่งเสริมตลาด จะสร้างความได้เปรียบ ผู้ผลิตและส่งออกไทยที่สนใจขยายตลาด
อาจเดินทางไปแนะนำสินค้าและทำความรู้จัก สร้างความสัมพันธ์กับผู้นำเข้า อีกช่องทางหนึ่งในการแนะนำตลาดโดยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องประดับ
ในกรุงบูดาเปสต์ (KARAT : International Trade Exhibition and Fair for Jewellery, Gems and Watches)
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงบูดาเปสต์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 18/2543 วันที่ 30 กันยายน 2543--
-อน-
อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับของฮังการีเริ่มมีการปรับปรุงมาพร้อม ๆ กับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ และการเมืองของ
ประเทศตั้งแต่ปี ค.ศ. 1989 กิจการผลิตและการค้าผูกขาดที่เคยเป็นของรัฐ ได้เปิดให้เอกชนเข้าดำเนินการ แต่รัฐบาลได้ออกข้อกำหนดและขั้นตอน
ควบคุมการผลิตและประกอบธุรกิจ ตลอดจนอัตราภาษีสูง ก่อความยุ่งยากและลำบากในการจัดหาทุน จนทำให้เกิดการค้าในตลาดมืดซึ่งขยายตัวอย่างรวดเร็ว
แม้ต่อมาในปี 2540 จะได้มีการแก้ไขกฎข้อบังคับ ลดอัตราภาษี ตลอดจนยกเลิกการจัดเก็บภาษีการบริโภค (Consumption Tax) สำหรับเครื่องประดับ
ทำด้วยเงิน ซึ่งช่วยให้ภาวะการค้ากระเตื้องขึ้นบ้าง แต่ถึงปัจจุบันภาคการผลิตยังมีขนาดเล็กผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังคงเป็นรายย่อย วิธีการผลิตยังคงใช้มือและ
เทคโนโลยีขั้นพื้นฐาน โดยได้วัตถุดิบประเภทโลหะมีค่าและอัญมณีจากการนำเข้า เครื่องประดับสำเร็จรูปที่ผลิตเกือบทั้งหมดจะจำหน่ายภายในประเทศ
การผลิตเพื่อส่งออก ส่วนใหญ่เป็นงานรับจ้าง (Commission Work) มูลค่าการส่งออกในปี 2542 จำนวน 15.312 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8 จากปีก่อนหน้า สินค้าที่ส่งออกกว่าร้อยละ 70 เป็นตัวเรือนเครื่องประดับกึ่งสำเร็จรูปทำด้วยทองคำ ประเภทสินค้าส่งออกอื่น
ได้แก่เศษหรือแผ่นโลหะมีค่า (ร้อยละ 13) เครื่องเงินและเครื่องทองหรือส่วนประกอบ (ร้อยละ 5.4) และเครื่องประดับรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า
(ร้อยละ 4.5) ตลาดที่สำคัญ ได้แก่ อิตาลี เยอรมัน อิสราเอล ตุรกี อังกฤษ สาธารณรัฐเช็ก สหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม และออสเตรีย
การนำเข้า
ผลผลิตในประเทศที่ยังต่ำ ทำให้ฮังการีเป็นตลาดที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับอยู่มาก มูลค่านำเข้าในช่วงปี 2540 - 2542
ขยายตัวสูง จากมูลค่า 8.915 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2540 เพิ่มขึ้นเป็น 22.358 และ 31.727 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2541 และ 2542 คิดเป็น
อัตราการขยายตัวร้อยละ 150 และ 42 ตามลำดับ
การนำเข้าจากไทย ฮังการีนำเข้าสินค้าเครื่องประดับจากไทยแต่ละปีในสัดส่วนประมาณร้อยละ 2.4 - 5.0 ของการนำเข้ารวม มูลค่าการ
นำเข้าอยู่ในระยะเพิ่มสูงในช่วงตั้งแต่ปี 2540 จากการนำเข้ามูลค่า 479.1 พันเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเป็น 540.9 และ 749.4 พันเหรียญสหรัฐฯ ในปี
2541 และ 2542 ตามลำดับ คิดเป็นอัตราการเพิ่มร้อยละ 12.9 และ 38.6 เครื่องประดับที่นำเข้าจากไทย ตามลำดับ มูลค่าในปี 2542 ได้แก่
เครื่องประดับทำด้วยเงิน (ร้อยละ 57) เครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่าอื่น ๆ (ร้อยละ 18) เครื่องประดับเทียม (ร้อยละ 18.2) อัญมณีสังเคราะห์
(ร้อยละ 5.5) ทับทิม แซปไฟร์ มรกต และอื่น ๆ (ร้อยละ 1.1)
กฎระเบียบและภาษี
การควบคุมนำเข้า สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับทำด้วยโลหะมีค่า เป็นหนึ่งในรายการสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมโควต้านำเข้า (Global
Import Quota) ซึ่งในปี 2543 กระทรวงเศรษฐกิจฮังการีได้ประกาศโควต้านำเข้า 50.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในจำนวนนี้ แบ่งจัดสรรให้แก่ประเทศ
คู่ค้าที่มีข้อตกลงพิเศษ ได้แก่ สหภาพยุโรป (21.04 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) โปแลนด์ (0.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ตุรกี (4.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) และ
อิสราเอล (3.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) คงเหลือสำหรับการนำเข้าจากแหล่งอื่น ๆ จำนวน 20.84 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งที่ผ่านมา การนำเข้ารวม
แต่ละปียังคงต่ำกว่าโควต้าที่กำหนดให้มาโดยตลอด
รายการสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่อยู่ภายใต้โควต้านำเข้า ประกอบด้วย
HS 7103.91 ทับทิม แซปไฟร์ และมรกต
7104 รัตนชาติหรือกึ่งรัตนชาติที่ได้จากการสังเคราะห์หรือทำขึ้นใหม่
7113 เครื่องเพชร พลอย และรูปพรรณ และส่วนประกอบทำด้วยโลหะมีค่า
7114 เครื่องทองหรือเครื่องเงิน และส่วนประกอบ
7116 ของทำด้วยไข่มุก และรัตนชาติ หรือกึ่งรัตนชาติ
7118 เหรียญกษาปณ์
ภาษีนำเข้า สินค้าจากไทยเสียภาษีนำเข้าฮังการีในอัตราพิเศษ GSP สำหรับการนำเข้าสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ ฮังการีกำหนดอัตรา
ภาษีทั่วไป MFN และอัตรา GSP ไว้ดังนี้.-
GSP (%) MFN (%)
HS 7101 - 7108 0 - 6.5 0 - 10.4
7109 - 7112 0 - 8.8 0 - 8.8
7113 6.8 - 7.1 8.8 - 9.1
7114 - 7116 8.5 - 9.0 8.5 - 9.0
7117 3.2 - 19.8 5.2 - 19.8
7118 3.2 3.2
ภาษีและกฎระเบียบอื่น ๆ
- ภาษีการบริโภค (Consumption Tax) อัญมณีและเครื่องประดับยังจัดอยู่ในรายการสินค้าฟุ่มเฟือยที่ต้องเสียภาษีการบริโภคในอัตรา
ร้อยละ 35 สำหรับเครื่องประดับที่ทำด้วยโลหะมีค่า (ยกเว้นเครื่องประดับเงิน ซึ่งมีประกาศยกเลิกการจัดเก็บภาษีการบริโภคเมื่อ 1 มกราคม 2540)
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ร้อยละ 25
- Culture Tax ร้อยละ 3 ของมูลค่า (ยังไม่รวม VAT)
ผู้ประกอบการที่นำเข้าอัญมณีและโลหะมีค่าต้องรายงานการนำเข้า รวมทั้งนำสินค้าเข้ารับการตรวจสอบและประทับตราจากหน่วยงาน
Hungarian Assay Office (NEHITI) ก่อนการออกจำหน่าย โดยสินค้าที่มีส่วนผสมโลหะมีค่าเกินกว่าร้อยละ 10 ขึ้นไป ถือว่าอยู่ในข่ายที่ต้อง
ปฏิบัติตามระเบียบนี้
รสนิยมตลาด
ชาวฮังการีได้รับอิทธิพลความนิยมเครื่องประดับในรูปแบบที่คล้ายคลึงกับชาวยุโรปตะวันตก โดยเฉพาะอิตาลี ซึ่งถือเป็นผู้นำการผลิตและ
เป็นคู่ค้าสำคัญมายาวนาน ชนิดของเครื่องประดับที่ชาวฮังการีนิยมมากที่สุด คือ แหวน รองลงมาคือ ตุ้มหู สร้อยคอ สร้อยข้อมือ จี้ เข็มกลัดติดเสื้อ
และอื่น ๆ หากเป็นเครื่องประดับทองจะนิยมทองคำ 14 - 18 เค. ไม่นิยมทองสีเข้มเหมือนอย่างชาวเอเซียและชาติอาหรับทั่วไป รูปแบบของ
เครื่องประดับส่วนใหญ่มักนิยมแบบเรียบ ๆ ได้แก่ แซปไฟร์ ไข่มุก และโอปอล สินค้ามีทั้งที่ขายเป็นชิ้นเดี่ยวหรือจัดทำเป็นชุด ประกอบด้วย สร้อยคอ
สร้อยข้อมือ และต่างหู หรือชุดเล็ก เฉพาะสร้อยคอและต่างหู
ผู้ซื้อเครื่องประดับที่มีฐานะยังนิยมที่จะซื้อจากร้านค้าที่ขายอัญมณีและเครื่องประดับโดยเฉพาะ เนื่องจากเชื่อถือในความชำนาญ และมีสินค้า
ให้เลือกมาก อีกทั้งให้ความสนใจและบริการพิเศษแก่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม ตลาดใหญ่สุดของลูกค้าเครื่องประดับคือสาววัยรุ่นและวัยทำงาน ประเภท
เครื่องประดับที่จำหน่ายได้มากจึงอยู่ในระดับราคาปานกลาง โดยเฉพาะเครื่องประดับทำด้วยเงินกำลังได้รับความนิยมสูงและมีจำหน่ายแพร่หลาย
เนื่องจากราคาย่อมเยากว่าเครื่องประดับที่ทำจากทองคำแท้ สาววัยรุ่นที่ยังไม่มีรายได้ของตนเองแต่มีความรักสวยรักงามหรือชื่นชอบแฟชั่นจะเป็นลูกค้า
สำคัญของตลาดเครื่องประดับเทียม ซึ่งปัจจุบันมีร้านค้าย่อยจำหน่ายเครื่องประดับเงินและเครื่องประดับเทียมเปิดเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ตามศูนย์การค้า
เปิดใหม่หรือย่านชุมชน รวมทั้งห้างจำหน่ายสินค้าขนาดใหญ่ประเภท Hypermarket ที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการค้าปลีกและการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภค
ในฮังการีมากขึ้นเรื่อย ๆ
ภาวะตลาดและแนวโน้ม
ตลาดการค้าเครื่องประดับในฮังการีมีการปรับขยายตัวมาโดยตลอด โดยเฉพาะเมื่อมีประกาศยกเลิกการเก็บภาษีการบริโภคในสินค้าเครื่อง
ประดับเงินตั้งแต่ปี 2540 ช่วยให้ตลาดเครื่องประดับเงินขยายตัวกว้างขวาง และมีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมแพร่หลายต่อไปอีกนาน รวมทั้งเครื่อง
ประดับเทียมที่มีราคาไม่แพง ถูกใจผู้ซื้อชาวฮังการีที่ส่วนใหญ่ยังมีรายได้ไม่สูงนัก อีกทั้งปัจจุบันผู้ผลิตพยายามออกรูปแบบคล้ายคลึงของแท้ มีการตกแต่ง
สวยงาม และมีชนิดสินค้าให้เลือกมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฮังการีส่วนใหญ่ยังเห็นว่าภาษีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะภาษีการบริโภคสำหรับเครื่องประดับทำด้วยทองที่เรียกเก็บสูงถึงร้อยละ 35 ยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้สินค้ามีราคาแพง และไม่จูงใจ
ผู้ซื้ออีกประการหนึ่ง เครื่องประดับเป็นสินค้าที่มีขนาดเล็ก พกพาหรือหลบซ่อนได้ง่าย ผู้ค้าจึงมักเดินทางไปเลือกซื้อและนำติดตัวกลับมาเอง โดยหลีก
เลี่ยงภาษีและนำเข้ามาขายในตลาดมืด ซึ่งจากข้อมูลของสมาคมผู้ค้าเครื่องประดับฮังการี สัดส่วนการค้าในตลาดมืดยังคงสูงกว่าร้อยละ 30 ของยอด
การค้าเครื่องประดับรวมในประเทศ
ในภาวะที่เศรษฐกิจของฮังการีกำลังอยู่ในระยะขยายตัวเช่นปัจจุบัน ผู้บริโภคมีกำลังซื้อสูงขึ้น โดยทั่วไปน่าจะเป็นโอกาสที่ตลาดสินค้าอัญมณี
และเครื่องประดับควรได้ขยายตัวรวดเร็วตามไปด้วย แต่จากการสำรวจตลาด รวมทั้งข้อเท็จจริงที่ได้จากผู้นำเข้าและผู้ค้าต่างให้ความเห็นว่าชาวฮังการี
ที่เริ่มมีฐานะดีขึ้น และมีเงินเก็บ ปัจจุบันให้ความสนใจที่จะลงทุนซื้อเครื่องประดับมีค่าน้อยลง แต่หันมาให้ความสนใจมากกว่าในการเลือกซื้อสินค้าหรือ
ลงทุนในทรัพย์สินอื่น เช่น รถยนต์ บ้านและที่ดิน รวมทั้งเครื่องมือไฮเทค เช่น คอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น ตลาดสินค้า
โอกาสตลาดและลู่ทาง
ตลาดสินค้าเครื่องประดับในฮังการีเปิดกว้างและปรับตัวดีขึ้นในระยะ 2 - 3 ปีที่ผ่านมา แนวโน้มการนำเข้ายังคงเพิ่มขึ้น แม้ผู้ค้าส่วนใหญ่
จะเห็นว่าตลาดน่าจะขยายตัวได้มากกว่านี้ในระยะที่เศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัวเช่นปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ชาวฮังการีอาจลดความสนใจที่จะ
ใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อเครื่องประดับที่มีราคาแพง สินค้าในระดับราคาปานกลาง-ต่ำโดยเฉพาะ เช่น เครื่องประดับเงิน และเครื่องประดับเทียม ซึ่งมีการ
นำเข้าจากไทยสูงยังมีโอกาสขยายตัวต่อไป รูปแบบที่ต้องตามรสนิยมตลาดและราคาเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ในการเข้าแข่งขัน รวมทั้งการหาคู่ค้า
ที่มีเครือข่ายการจำหน่ายกว้างขวาง หรือสามารถเป็นตัวแทนจำหน่ายและส่งเสริมตลาด จะสร้างความได้เปรียบ ผู้ผลิตและส่งออกไทยที่สนใจขยายตลาด
อาจเดินทางไปแนะนำสินค้าและทำความรู้จัก สร้างความสัมพันธ์กับผู้นำเข้า อีกช่องทางหนึ่งในการแนะนำตลาดโดยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเครื่องประดับ
ในกรุงบูดาเปสต์ (KARAT : International Trade Exhibition and Fair for Jewellery, Gems and Watches)
(ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ กรุงบูดาเปสต์)
--วารสาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 18/2543 วันที่ 30 กันยายน 2543--
-อน-