บทสรุปสำหรับนักลงทุน
การตลาด อุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณี เป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ และมีบางส่วนเป็นธุรกิจขนาดย่อมหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง/รับช่วงต่อจากผู้ประกอบการรายใหญ่อีกทอดหนึ่ง ในช่วงปี 2538-2539 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ต่อมาในปี 2540-2541 ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจการเงิน และค่าเงินบาทลอยตัว รวมทั้งภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ประกอบกับการค้าโลกที่ซบเซา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น ฮ่องกง จึงทำให้การส่งออกในช่วงดังกล่าวลดลงราวร้อยละ 14 ต่อปี ในปี 2542 การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.2เป็น 10,975 ล้านบาท แต่จะสังเกตเห็นว่า การนำเข้าอัญมณีเพื่อเป็นวัตถุดิบในช่วงครึ่งแรกของปี 2542กลับเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้ในปี 2542 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไนจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เป็น 23,580 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2543 การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วจะมีแนวโน้มที่ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็น 25,210 ล้านบาท
ผู้ประกอบธุรกิจเจียระไนอัญมณีมีราว 250 โรงงาน กระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ เช่น จันทบุรีกาญจนบุรี ส่วนในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่อัญมณีประเภทต่างๆ ได้แก่ เพชร ทับทิม ไพลิน มรกต และพลอยเนื้ออ่อนอื่นๆ แหล่งผลิตในประเทศคือจันทบุรี กาญจนบุรี แต่ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ อินเดีย เบลเยียม อิสราเอล กานา เป็นต้นส่วนเครื่องจักร/เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ชุดเครื่องเจียระไน ประกอบด้วย โต๊ะเจียรทองแดงข้องอโต๊ะเจียรเพลาสั้นและมอเตอร์ไฟฟ้า หินเจียรหลังเบี้ย หินเจียร หินแต่ง ตุ๊กตา (ที่ใช้จับเพชร/พลอยที่เจียระไน) เบอร์ต่างๆ ใช้จับเพชร/พลอย ชะแล็คอ่อนติดพลอยกับตุ๊กตา ตะเกียง ไม้คีบ ใบเลื่อย ถ้วยใส่น้ำมันผงเพชร แผ่นรองจานเจียร ถาดรองน้ำจากโต๊ะ
การลงทุนเจียระไนอัญมณี ขนาดกำลังการผลิต 20,000 กะรัตต่อปี เงินลงทุนในการจัดตั้ง 16 ล้านบาทโดยมีเงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 7 ล้านบาท มีแรงงาน 100 คน โครงสร้างต้นทุนขาย แยกเป็น ต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 68.5 ของต้นทุนขาย นอกนั้นเป็น ต้นทุนแรงงาน ร้อยละ 17.8 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ร้อยละ 0.1 ค่าโสหุ้ยการผลิต ร้อยละ 2.5 ดอกเบี้ยจ่าย ร้อยละ 2.4 และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 8.7 ตามลำดับกำไรเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20-30 ของรายได้จากการขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
อุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณี เป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก จัดเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ และมีบางส่วนเป็นธุรกิจขนาดย่อมหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง/รับช่วงต่อจากผู้ประกอบการรายใหญ่อีกทอดหนึ่ง ในช่วงปี 2538-2539 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8ต่อปี แต่เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจการเงิน และประกาศค่าเงินบาทลอยตัว รวมทั้งภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ประกอบกับเศรษฐกิจการค้าโลกที่ซบเซา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง จึงทำให้การส่งออกในช่วงปี 2540-2541 ตกต่ำอย่างรุนแรง ลดลงราวร้อยละ 14 ต่อปี เช่นเดียวกับมูลค่านำเข้าที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี ส่วนใหญ่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก
ในปี 2542 การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็น 10,975 ล้านบาท แต่จะสังเกตเห็นว่า การนำเข้าอัญมณีเพื่อเป็นวัตถุดิบในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 กลับเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้ในปี 2542 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไนจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เป็น 23,580 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2543การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็น 25,210 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการค้าโลกปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.7 เป็นร้อยละ 6.2 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นก็มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2542-43 ราวร้อยละ 3 ต่อปี
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ประกอบธุรกิจเจียระไนอัญมณีมีราว 250 โรงงาน กระจายตัวอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เช่น จันทบุรีกาญจนบุรี และกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจำหน่ายที่สำคัญ ในปี 2542 กำลังการผลิตเต็มที่ (จากที่สามารถรวบรวมได้ 21 ราย) เท่ากับ 1,528,450 กะรัต/ปี
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โอเรียลทอลแลปิดารี จำกัด 600,000,000
บริษัท ไดมอนท์ซินดิเค็ต จำกัด 257,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท บีจูส์ เดอ อามอร์ เอส.เอ จำกัด 120,000,000
บริษัท โอเรียลทอลไดมอนท์เทรดดิ้ง จำกัด 100,000,000
บริษัท ออคิดไดมอนด์โพลิชชิ่งเวิร์ค จำกัด 88,000,000
บริษัท ไทยเจมส์ จำกัด 27,000,000
บริษัท เอสเปกา จำกัด 8,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
1. การจำหน่ายผ่านคนกลาง
2. การจำหน่ายโดยตรงให้กับผู้จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อนำไปขึ้นตัวเรือน นอกจากนี้ กลยุทธ์หรือปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ความซื่อสัตย์ของผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการดำเนินธุรกิจนี้ รองลงมาได้แก่ ต้องมีความรู้ในด้านอัญมณีเพียงพอ รวมทั้งต้องมีความรู้ทางภาษาและมีอัธยาศัยดี
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ อัญมณีประเภทต่างๆ ได้แก่ เพชร ทับทิม ไพลิน มรกต และพลอยเนื้ออ่อนอื่นๆ แหล่งผลิตในประเทศคือ จันทบุรี กาญจนบุรี ปัจจุบันวัตถุดิบภายในประเทศเริ่มขาดแคลนส่วนใหญ่จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
เพชร นำเข้าจาก อินเดีย เบลเยียม อิสราเอล ฮ่องกง เยอรมนี กานา คองโก
ทับทิม นำเข้าจาก พม่า ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย เคนยา
ไพลิน นำเข้าจาก ฮ่องกง อินเดีย ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ศรีลังกา มาดากัสกา
มรกต นำเข้าจาก อินเดีย อิสราเอล สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง บราซิล เยอรมนี
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท เจียระไนเพชร เจียระไนพลอย
1. วัตถุดิบ 63 71
- เพชร พลอย 55 65
- วัตถุดิบอื่นๆ 8 6
2. ค่าแรง 15 15
3. ค่าใช้จ่ายโรงงาน 10 6
4. ค่าเสื่อมราคา 3 2
5. ดอกเบี้ยจ่าย 3 3
6. ต้นทุนอื่นๆ 6 3
รวม 100 100
ที่มา: สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 การจำแนกอัญมณี ตรวจสอบคุณภาพ
ขั้นที่ 2 นำอัญมณีมาทำความสะอาดโดยการแช่น้ำกรด แล้วนำมาเจียระไน และขัด
ขั้นที่ 3 ผ่านขั้นตอนการหุงพลอย ด้วยความร้อน เพื่อให้พลอยเกิดความสวยงามมากขึ้น
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพ การคัดอัญมณีอีกครั้ง
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักร/เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ชุดเครื่องเจียระไน ประกอบด้วย โต๊ะเจียรทองแดงข้องอโต๊ะเจียรเพลาสั้นและมอเตอร์ไฟฟ้า หินเจียรหลังเบี้ย หินเจียรหินแต่ง ตุ๊กตาเบอร์ต่างๆ (ใช้จับเพชร/พลอยในการเจียระไน) ชะแล็คอ่อนติดพลอยกับตุ๊กตา ตะเกียง ไม้คีบ ใบเลื่อย ถ้วยใส่น้ำมัน ผงเพชร แผ่นรองจานเจียร ถาดรองน้ำจากโต๊ะ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณีควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ กรณีการลงทุนในอุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณีกำลังการผลิต 20,000 กะรัตต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท และเงินทุนเริ่มต้น 16,000,000 บาท
2.!ขนาดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 5,000,000 บาท
3.!เงินลงทุนในเครื่องจักร 4,100,000 บาท
4.!เงินลงทุนในยานพาหนะ 1,4000,000 บาท
5.!เงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 7,000,000 บาท
บุคลากร การผลิตเจียระไนอัญมณีใช้บุคลากรประมาณ 110 คน ประกอบด้วย
- พนักงานในโรงงาน จำนวน 100 คน
- พนักงานในสำนักงาน จำนวน 8 คน
- ผู้บริหาร จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.! ต้นทุนวัตถุดิบ 48,400,000 บาทต่อปี
- พลอยก้อน 45,000,000 บาทต่อปี
- วัตถุดิบอื่นๆ 3,400,000 บาทต่อปี
2.!ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 12,600,000 บาทต่อปี
3.!ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 130,000 บาทต่อปี
4.!ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 1,440,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค 1,080,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 240,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟฟ้า 600,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 240,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง 360,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 360,000 บาทต่อปี
5. ดอกเบี้ยจ่าย 1,680,000 บาทต่อปี
6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 6,000,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20-30 ของยอดขายหมายเหตุ: รายได้ประมาณ 100.00 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
ราคาซื้อขายไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ระดับราคาอัญมณีที่เจียระไนแล้ว มีตั้งแต่ กะรัตละ 500--100,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การเจียระไน รอยตำหนิ สี เป็นต้น
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
รายชื่อผู้ขายเครื่องจักร/เครื่องมือ ที่อยู่
1. ร้านเซี่ยวกี่ 12 ตลาดน้อย เจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร.233-1782, 233-4410
2. บจ.ไดมอนท์ เทคโนโลยี 59 ซ.ประดิษฐ์ สีลม 20 สุริวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ
โทร.234-4191, 236-4510
3. บจ.เบสท์ไดมอนด์ อินดัสเทรียล 163/43 ม.นภาลัย สรรพาวุธ บางนา พระโขนง กรุงเทพฯ
โทร.399-2356, 399-3795
4. บจ.ไทรสตาร์ไดมอนด์คัทติ้ง 411 ม.17 บางเสาธง บางพลี สมุทรปราการ โทร. 315-3024
5. บจ.สยามแฟนซีคัทไดมอนด์ 3058 ประชาสงเคราะห์ ดินแดง ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
โทร.275-7396
6. บจ.สัตตะรวมทุน 411 ถนนหลวง พระนคร กรุงเทพฯ โทร.221-3930
7. บจ.เฮ็กซ์ซอนเทคโนโลยี 208/110 พัฒนาการ ประเวศ กรุงเทพฯ โทร.320-0673
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2.! การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโครงการอัญธานี (Gemopolis) เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับ โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถ ในการแข่งขัน
3.! การจัดเก็บภาษี
กรมศุลกากร การจัดเก็บอัตราอากรขาเข้า อัญมณีได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยได้รับอนุญาตให้นำเข้าเสรี ยกเว้นทองคำที่ต้องขออนุญาตนำเข้าส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต กรมศุลกากรได้จัดเก็บอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
- เครื่องมือกลสำหรับเจียระไน ขัดมันโลหะ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
แหล่งข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค
- สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน2541 ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์จัดตั้งสถาบันฯนี้ขึ้น มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งคุ้มครองผู้บริโภค และผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ การดำเนินการเบื้องต้น กรมส่งเสริมการส่งออกได้รับเงินในการจัดตั้งและดำเนินการจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 60 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2542)
- สถานที่ตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ อาคารศูนย์วิจัยและการตรวจสอบอัญมณี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
การตลาด อุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณี เป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ และมีบางส่วนเป็นธุรกิจขนาดย่อมหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง/รับช่วงต่อจากผู้ประกอบการรายใหญ่อีกทอดหนึ่ง ในช่วงปี 2538-2539 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8 ต่อปี ต่อมาในปี 2540-2541 ประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจการเงิน และค่าเงินบาทลอยตัว รวมทั้งภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ประกอบกับการค้าโลกที่ซบเซา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาญี่ปุ่น ฮ่องกง จึงทำให้การส่งออกในช่วงดังกล่าวลดลงราวร้อยละ 14 ต่อปี ในปี 2542 การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.2เป็น 10,975 ล้านบาท แต่จะสังเกตเห็นว่า การนำเข้าอัญมณีเพื่อเป็นวัตถุดิบในช่วงครึ่งแรกของปี 2542กลับเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้ในปี 2542 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไนจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เป็น 23,580 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2543 การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วจะมีแนวโน้มที่ดีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็น 25,210 ล้านบาท
ผู้ประกอบธุรกิจเจียระไนอัญมณีมีราว 250 โรงงาน กระจายตัวอยู่ในจังหวัดต่างๆ เช่น จันทบุรีกาญจนบุรี ส่วนในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตขนาดกลางและขนาดย่อม วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่อัญมณีประเภทต่างๆ ได้แก่ เพชร ทับทิม ไพลิน มรกต และพลอยเนื้ออ่อนอื่นๆ แหล่งผลิตในประเทศคือจันทบุรี กาญจนบุรี แต่ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่ อินเดีย เบลเยียม อิสราเอล กานา เป็นต้นส่วนเครื่องจักร/เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ชุดเครื่องเจียระไน ประกอบด้วย โต๊ะเจียรทองแดงข้องอโต๊ะเจียรเพลาสั้นและมอเตอร์ไฟฟ้า หินเจียรหลังเบี้ย หินเจียร หินแต่ง ตุ๊กตา (ที่ใช้จับเพชร/พลอยที่เจียระไน) เบอร์ต่างๆ ใช้จับเพชร/พลอย ชะแล็คอ่อนติดพลอยกับตุ๊กตา ตะเกียง ไม้คีบ ใบเลื่อย ถ้วยใส่น้ำมันผงเพชร แผ่นรองจานเจียร ถาดรองน้ำจากโต๊ะ
การลงทุนเจียระไนอัญมณี ขนาดกำลังการผลิต 20,000 กะรัตต่อปี เงินลงทุนในการจัดตั้ง 16 ล้านบาทโดยมีเงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 7 ล้านบาท มีแรงงาน 100 คน โครงสร้างต้นทุนขาย แยกเป็น ต้นทุนวัตถุดิบ ร้อยละ 68.5 ของต้นทุนขาย นอกนั้นเป็น ต้นทุนแรงงาน ร้อยละ 17.8 ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ร้อยละ 0.1 ค่าโสหุ้ยการผลิต ร้อยละ 2.5 ดอกเบี้ยจ่าย ร้อยละ 2.4 และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ร้อยละ 8.7 ตามลำดับกำไรเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 20-30 ของรายได้จากการขาย
การตลาด
ความต้องการในปัจจุบันและอนาคต
อุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณี เป็นอุตสาหกรรมผลิตเพื่อการส่งออก จัดเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดใหญ่ และมีบางส่วนเป็นธุรกิจขนาดย่อมหรืออุตสาหกรรมต่อเนื่อง/รับช่วงต่อจากผู้ประกอบการรายใหญ่อีกทอดหนึ่ง ในช่วงปี 2538-2539 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไน มีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 8ต่อปี แต่เมื่อประเทศไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจการเงิน และประกาศค่าเงินบาทลอยตัว รวมทั้งภาวะการแข่งขันที่รุนแรง ประกอบกับเศรษฐกิจการค้าโลกที่ซบเซา โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ฮ่องกง จึงทำให้การส่งออกในช่วงปี 2540-2541 ตกต่ำอย่างรุนแรง ลดลงราวร้อยละ 14 ต่อปี เช่นเดียวกับมูลค่านำเข้าที่ลดลงเฉลี่ยร้อยละ 10 ต่อปี ส่วนใหญ่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก
ในปี 2542 การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี มูลค่าการส่งออกจะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6.2 เป็น 10,975 ล้านบาท แต่จะสังเกตเห็นว่า การนำเข้าอัญมณีเพื่อเป็นวัตถุดิบในช่วงครึ่งแรกของปี 2542 กลับเพิ่มขึ้น คาดว่าจะทำให้ในปี 2542 มูลค่าการส่งออกอัญมณีเจียระไนจะกลับมาเป็นบวกอีกครั้ง คาดว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 เป็น 23,580 ล้านบาท และคาดว่าในปี 2543การส่งออกอัญมณีที่เจียระไนแล้วจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นเป็นลำดับ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็น 25,210 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณการค้าโลกปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.7 เป็นร้อยละ 6.2 ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่นก็มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้มูลค่าการนำเข้าขยายตัวอย่างต่อเนื่องในช่วงปี 2542-43 ราวร้อยละ 3 ต่อปี
ผู้ผลิตในปัจจุบัน (คู่แข่ง)
ผู้ประกอบธุรกิจเจียระไนอัญมณีมีราว 250 โรงงาน กระจายตัวอยู่ตามจังหวัดต่างๆ เช่น จันทบุรีกาญจนบุรี และกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางจำหน่ายที่สำคัญ ในปี 2542 กำลังการผลิตเต็มที่ (จากที่สามารถรวบรวมได้ 21 ราย) เท่ากับ 1,528,450 กะรัต/ปี
รายชื่อผู้ประกอบการสำคัญ
ขนาดใหญ่ เงินทุนจดทะเบียน (บาท)
บริษัท โอเรียลทอลแลปิดารี จำกัด 600,000,000
บริษัท ไดมอนท์ซินดิเค็ต จำกัด 257,000,000
ขนาดกลางและย่อม
บริษัท บีจูส์ เดอ อามอร์ เอส.เอ จำกัด 120,000,000
บริษัท โอเรียลทอลไดมอนท์เทรดดิ้ง จำกัด 100,000,000
บริษัท ออคิดไดมอนด์โพลิชชิ่งเวิร์ค จำกัด 88,000,000
บริษัท ไทยเจมส์ จำกัด 27,000,000
บริษัท เอสเปกา จำกัด 8,000,000
ที่มา: กรมโรงงานอุตสาหกรรม
ช่องทางการจำหน่าย
1. การจำหน่ายผ่านคนกลาง
2. การจำหน่ายโดยตรงให้กับผู้จำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับ เพื่อนำไปขึ้นตัวเรือน นอกจากนี้ กลยุทธ์หรือปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ความซื่อสัตย์ของผู้ประกอบการเป็นปัจจัยสำคัญอันดับแรกในการดำเนินธุรกิจนี้ รองลงมาได้แก่ ต้องมีความรู้ในด้านอัญมณีเพียงพอ รวมทั้งต้องมีความรู้ทางภาษาและมีอัธยาศัยดี
การผลิต
วัตถุดิบที่ใช้และแหล่งวัตถุดิบ
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ อัญมณีประเภทต่างๆ ได้แก่ เพชร ทับทิม ไพลิน มรกต และพลอยเนื้ออ่อนอื่นๆ แหล่งผลิตในประเทศคือ จันทบุรี กาญจนบุรี ปัจจุบันวัตถุดิบภายในประเทศเริ่มขาดแคลนส่วนใหญ่จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ตามประเภทของผลิตภัณฑ์ ดังนี้
เพชร นำเข้าจาก อินเดีย เบลเยียม อิสราเอล ฮ่องกง เยอรมนี กานา คองโก
ทับทิม นำเข้าจาก พม่า ฮ่องกง สหรัฐอเมริกา อินเดีย สวิตเซอร์แลนด์ ออสเตรเลีย เคนยา
ไพลิน นำเข้าจาก ฮ่องกง อินเดีย ออสเตรเลีย สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น ศรีลังกา มาดากัสกา
มรกต นำเข้าจาก อินเดีย อิสราเอล สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง บราซิล เยอรมนี
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
ประเภท เจียระไนเพชร เจียระไนพลอย
1. วัตถุดิบ 63 71
- เพชร พลอย 55 65
- วัตถุดิบอื่นๆ 8 6
2. ค่าแรง 15 15
3. ค่าใช้จ่ายโรงงาน 10 6
4. ค่าเสื่อมราคา 3 2
5. ดอกเบี้ยจ่าย 3 3
6. ต้นทุนอื่นๆ 6 3
รวม 100 100
ที่มา: สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ
กรรมวิธีการผลิต
ขั้นที่ 1 การจำแนกอัญมณี ตรวจสอบคุณภาพ
ขั้นที่ 2 นำอัญมณีมาทำความสะอาดโดยการแช่น้ำกรด แล้วนำมาเจียระไน และขัด
ขั้นที่ 3 ผ่านขั้นตอนการหุงพลอย ด้วยความร้อน เพื่อให้พลอยเกิดความสวยงามมากขึ้น
ขั้นที่ 4 ตรวจสอบคุณภาพ การคัดอัญมณีอีกครั้ง
เครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิต
เครื่องจักร/เครื่องมือที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ชุดเครื่องเจียระไน ประกอบด้วย โต๊ะเจียรทองแดงข้องอโต๊ะเจียรเพลาสั้นและมอเตอร์ไฟฟ้า หินเจียรหลังเบี้ย หินเจียรหินแต่ง ตุ๊กตาเบอร์ต่างๆ (ใช้จับเพชร/พลอยในการเจียระไน) ชะแล็คอ่อนติดพลอยกับตุ๊กตา ตะเกียง ไม้คีบ ใบเลื่อย ถ้วยใส่น้ำมัน ผงเพชร แผ่นรองจานเจียร ถาดรองน้ำจากโต๊ะ
การลงทุนและการเงิน
ในการลงทุนอุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณีควรตั้งอยู่ใกล้แหล่งวัตถุดิบ กรณีการลงทุนในอุตสาหกรรมเจียระไนอัญมณีกำลังการผลิต 20,000 กะรัตต่อปี โดยใช้ชั่วโมงการทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน ประกอบด้วยเงินลงทุนและอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
เงินลงทุน
1.!เงินทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท และเงินทุนเริ่มต้น 16,000,000 บาท
2.!ขนาดเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ได้แก่ ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง 5,000,000 บาท
3.!เงินลงทุนในเครื่องจักร 4,100,000 บาท
4.!เงินลงทุนในยานพาหนะ 1,4000,000 บาท
5.!เงินทุนหมุนเวียนเดือนละ 7,000,000 บาท
บุคลากร การผลิตเจียระไนอัญมณีใช้บุคลากรประมาณ 110 คน ประกอบด้วย
- พนักงานในโรงงาน จำนวน 100 คน
- พนักงานในสำนักงาน จำนวน 8 คน
- ผู้บริหาร จำนวน 2 คน
ค่าใช้จ่ายต่อปี
ต้นทุนขาย
1.! ต้นทุนวัตถุดิบ 48,400,000 บาทต่อปี
- พลอยก้อน 45,000,000 บาทต่อปี
- วัตถุดิบอื่นๆ 3,400,000 บาทต่อปี
2.!ต้นทุนแรงงานและเงินเดือน 12,600,000 บาทต่อปี
3.!ต้นทุนค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร 130,000 บาทต่อปี
4.!ต้นทุนค่าโสหุ้ยการผลิต 1,440,000 บาทต่อปี
4.1 สาธารณูปโภค 1,080,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำ 240,000 บาทต่อปี
- ค่าไฟฟ้า 600,000 บาทต่อปี
- ค่าโทรศัพท์ 240,000 บาทต่อปี
4.2 ค่าขนส่ง 360,000 บาทต่อปี
- ค่าน้ำมัน 360,000 บาทต่อปี
5. ดอกเบี้ยจ่าย 1,680,000 บาทต่อปี
6. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 6,000,000 บาทต่อปี
กำไรเฉลี่ย ประมาณร้อยละ 20-30 ของยอดขายหมายเหตุ: รายได้ประมาณ 100.00 ล้านบาทต่อปี
ภาคผนวก
ราคาซื้อขายไม่สามารถระบุได้ชัดเจน ระดับราคาอัญมณีที่เจียระไนแล้ว มีตั้งแต่ กะรัตละ 500--100,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การเจียระไน รอยตำหนิ สี เป็นต้น
แหล่งขายเครื่องจักร (ในประเทศหรือต่างประเทศ)
รายชื่อผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย
รายชื่อผู้ขายเครื่องจักร/เครื่องมือ ที่อยู่
1. ร้านเซี่ยวกี่ 12 ตลาดน้อย เจริญกรุง กรุงเทพฯ โทร.233-1782, 233-4410
2. บจ.ไดมอนท์ เทคโนโลยี 59 ซ.ประดิษฐ์ สีลม 20 สุริวงศ์ บางรัก กรุงเทพฯ
โทร.234-4191, 236-4510
3. บจ.เบสท์ไดมอนด์ อินดัสเทรียล 163/43 ม.นภาลัย สรรพาวุธ บางนา พระโขนง กรุงเทพฯ
โทร.399-2356, 399-3795
4. บจ.ไทรสตาร์ไดมอนด์คัทติ้ง 411 ม.17 บางเสาธง บางพลี สมุทรปราการ โทร. 315-3024
5. บจ.สยามแฟนซีคัทไดมอนด์ 3058 ประชาสงเคราะห์ ดินแดง ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
โทร.275-7396
6. บจ.สัตตะรวมทุน 411 ถนนหลวง พระนคร กรุงเทพฯ โทร.221-3930
7. บจ.เฮ็กซ์ซอนเทคโนโลยี 208/110 พัฒนาการ ประเวศ กรุงเทพฯ โทร.320-0673
ที่มา: รวบรวมโดยบริษัท ศูนย์วิจัย ไทยพาณิชย์ จำกัด
ข้อมูลที่เกี่ยวกับกฎระเบียบและการขออนุญาตต่าง ๆ
1. การขออนุญาตตั้งโรงงาน ดูรายละเอียดได้จากคู่มือการจัดตั้งโรงงานและการขอรับรองระบบคุณภาพมาตรฐาน
2.! การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรม
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และส่งเสริมให้มีการจัดตั้งโครงการอัญธานี (Gemopolis) เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตในประเทศไทย นอกจากนี้ ยังจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ เพื่อเป็นศูนย์กลางพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรม อัญมณีและเครื่องประดับ โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาศักยภาพและความสามารถ ในการแข่งขัน
3.! การจัดเก็บภาษี
กรมศุลกากร การจัดเก็บอัตราอากรขาเข้า อัญมณีได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า โดยได้รับอนุญาตให้นำเข้าเสรี ยกเว้นทองคำที่ต้องขออนุญาตนำเข้าส่วนเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต กรมศุลกากรได้จัดเก็บอัตราอากรขาเข้า ดังนี้
- เครื่องมือกลสำหรับเจียระไน ขัดมันโลหะ อัตราอากรขาเข้าร้อยละ 5
แหล่งข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานที่ให้การสนับสนุนด้านเทคนิค
- สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน2541 ตามมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์จัดตั้งสถาบันฯนี้ขึ้น มีเป้าหมายหลักในการส่งเสริม สนับสนุน และให้บริการธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งคุ้มครองผู้บริโภค และผู้ค้าอัญมณีและเครื่องประดับ การดำเนินการเบื้องต้น กรมส่งเสริมการส่งออกได้รับเงินในการจัดตั้งและดำเนินการจากเงินกองทุนส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ 60 ล้านบาท (ปีงบประมาณ 2542)
- สถานที่ตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ อาคารศูนย์วิจัยและการตรวจสอบอัญมณี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถนนพญาไท กรุงเทพฯ 10330
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--