แท็ก
กรมประมง
1. สถานการณ์การผลิต ชาวประมงอวนรุนเสนอเงื่อนไขให้รัฐแก้ไข
รายงานข่าวจากกรมประมงแจ้งว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มชาวประมงอวนรุน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง จำนวน 200 ครัวเรือน ได้ทำหนังสือด่วนถึงนายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง เพื่อเรียกร้องให้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการประมงอวนรุนขนาดเล็ก เนื่องจากปัจจุบันทางการมีมาตรการเข้มงวดในการจับกุม
หนังสือดังกล่าวได้เรียกร้องให้ทางการแก้ไขปัญหาดังนี้คือ 1.ช่วยรับซื้อเรือและอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพอวนรุนทั้งหมด เพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพอื่น 2.ให้ทางการเร่งรัดช่วยเหลือทันทีหลังจากได้หยุดประกอบอาชีพอวนรุนอย่างเด็ดขาด 3. กรมประมงต้องให้การส่งเสริมในการประกอบอาชีพอื่น หรือจัดที่ทำกินใหม่ทดแทน 4.ให้ช่วยลดหนี้สินทั้งในและนอกระบบแก่ชาวประมงอวนรุนที่ตัดสินใจเลิกอาชีพอย่างเด็ดขาด และ 5. หากกรมประมงและรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือตามข้อเสนอดังกล่าวได้ก็ขอให้ยืดระยะเวลาในการทำประมงอวนรุนออกไปโดยไม่มีการจับกุมเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งปัจจุบันกรมประมงยังไม่เข้าไปส่งเสริมอาชีพทดแทนอย่างจริงจัง ทำให้กลุ่มชาวประมงอวนรุนขาดรายได้เลี้ยงครอบครัวต้องกลับมาทำอวนรุนต่อไปแม้จะผิดกฏหมาย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4-10 พค. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,245.97 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 579.57 ตัน สัตว์น้ำจืด 666.40 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ 1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.17 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.73 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 65.45 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.22 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.91 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ราคาปลาดุกบิ๊กอุยที่ จ.ร้อยเอ็ด ราคาโน้มลดลง
ในระยะนี้ราคาปลาดุกบิ๊กอุยในท้องที่ จ.ร้อยเอ็ด มีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ ปลาดุกขนาด 7-10 ตัว/กิโลกรัมราคาที่เกษตรกรขายประมาณกิโลกรัมละ 25 บาท เทียบกับกิโลกรัมละ 30 บาท ปลายปีที่แล้ว ซึ่งหากราคาต่ำกว่านี้เกษตรกรจะประสบกับภาวะขาดทุนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะต้นทุนการผลิตประมาณกิโลกรัมละ 24-25 บาท สาเหตุที่ราคาตกต่ำคือ
1. มีการนำปลาดุกจากภาคกลางไปจำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ดในราคากิโลกรัมละ 24 บาท การที่ปลาดุกจากภาคกลางสามารถขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าเนื่องจากการเลี้ยงปลาดุกในภาคกลางใช้เศษอาหารและไส้ไก่ซึ่งหาได้ง่ายและราคาถูกกว่าอาหารเม็ดปลาดุกสำเร็จรูปที่เกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ดใช้ในการเลี้ยง
2. การส่งเสริมของหน่วยงานราชการ เช่น กรมประมง อบต.และ กระทรวงศึกษาธิการ ให้เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านทำเกษตรยังชีพ หรือทำการเกษตร พอเพียงในหมู่บ้าน ตามโครงการพระราชดำริฯ ปรากฎว่าการส่งเสริมดังกล่าวประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งทำให้เกษตรกรมีปลาบริโภคได้ตลอดปีและบางรายสามารถจำหน่ายภายในหมู่บ้านได้ด้วย ดังนั้น ความต้องการปลาดุกในท้องตลาดจึงลดลง ซึ่งได้ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาดุกด้วย
3. ปัจจุบันนอกจากปลาดุกแล้วยังมีสัตว์น้ำจืดอื่น ๆ เช่น ปลาช่อน ปลานิล ปลาตะเพียน จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกมากขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.25 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.28 บาท 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 342.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 346.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 430.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 16.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.97 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท 2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 15-19พค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 15-21 พ.ค. 2543-
-สส-
รายงานข่าวจากกรมประมงแจ้งว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ กลุ่มชาวประมงอวนรุน อ.ปะเหลียน จ.ตรัง จำนวน 200 ครัวเรือน ได้ทำหนังสือด่วนถึงนายธำมรงค์ ประกอบบุญ อธิบดีกรมประมง เพื่อเรียกร้องให้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการประมงอวนรุนขนาดเล็ก เนื่องจากปัจจุบันทางการมีมาตรการเข้มงวดในการจับกุม
หนังสือดังกล่าวได้เรียกร้องให้ทางการแก้ไขปัญหาดังนี้คือ 1.ช่วยรับซื้อเรือและอุปกรณ์ในการประกอบอาชีพอวนรุนทั้งหมด เพื่อใช้เป็นทุนในการประกอบอาชีพอื่น 2.ให้ทางการเร่งรัดช่วยเหลือทันทีหลังจากได้หยุดประกอบอาชีพอวนรุนอย่างเด็ดขาด 3. กรมประมงต้องให้การส่งเสริมในการประกอบอาชีพอื่น หรือจัดที่ทำกินใหม่ทดแทน 4.ให้ช่วยลดหนี้สินทั้งในและนอกระบบแก่ชาวประมงอวนรุนที่ตัดสินใจเลิกอาชีพอย่างเด็ดขาด และ 5. หากกรมประมงและรัฐบาลไม่สามารถดำเนินการช่วยเหลือตามข้อเสนอดังกล่าวได้ก็ขอให้ยืดระยะเวลาในการทำประมงอวนรุนออกไปโดยไม่มีการจับกุมเป็นเวลา 5 ปี ซึ่งปัจจุบันกรมประมงยังไม่เข้าไปส่งเสริมอาชีพทดแทนอย่างจริงจัง ทำให้กลุ่มชาวประมงอวนรุนขาดรายได้เลี้ยงครอบครัวต้องกลับมาทำอวนรุนต่อไปแม้จะผิดกฏหมาย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (4-10 พค. 2543) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,245.97 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 579.57 ตัน สัตว์น้ำจืด 666.40 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่ 1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 6.17 ตัน 1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 7.73 ตัน 1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 65.45 ตัน 1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.22 ตัน 1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 84.91 ตัน
2. สถานการณ์การตลาด ราคาปลาดุกบิ๊กอุยที่ จ.ร้อยเอ็ด ราคาโน้มลดลง
ในระยะนี้ราคาปลาดุกบิ๊กอุยในท้องที่ จ.ร้อยเอ็ด มีแนวโน้มลดลง กล่าวคือ ปลาดุกขนาด 7-10 ตัว/กิโลกรัมราคาที่เกษตรกรขายประมาณกิโลกรัมละ 25 บาท เทียบกับกิโลกรัมละ 30 บาท ปลายปีที่แล้ว ซึ่งหากราคาต่ำกว่านี้เกษตรกรจะประสบกับภาวะขาดทุนไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ เพราะต้นทุนการผลิตประมาณกิโลกรัมละ 24-25 บาท สาเหตุที่ราคาตกต่ำคือ
1. มีการนำปลาดุกจากภาคกลางไปจำหน่ายในจังหวัดร้อยเอ็ดในราคากิโลกรัมละ 24 บาท การที่ปลาดุกจากภาคกลางสามารถขายได้ในราคาที่ต่ำกว่าเนื่องจากการเลี้ยงปลาดุกในภาคกลางใช้เศษอาหารและไส้ไก่ซึ่งหาได้ง่ายและราคาถูกกว่าอาหารเม็ดปลาดุกสำเร็จรูปที่เกษตรกรจังหวัดร้อยเอ็ดใช้ในการเลี้ยง
2. การส่งเสริมของหน่วยงานราชการ เช่น กรมประมง อบต.และ กระทรวงศึกษาธิการ ให้เกษตรกรกลุ่มแม่บ้านทำเกษตรยังชีพ หรือทำการเกษตร พอเพียงในหมู่บ้าน ตามโครงการพระราชดำริฯ ปรากฎว่าการส่งเสริมดังกล่าวประสบผลสำเร็จระดับหนึ่งทำให้เกษตรกรมีปลาบริโภคได้ตลอดปีและบางรายสามารถจำหน่ายภายในหมู่บ้านได้ด้วย ดังนั้น ความต้องการปลาดุกในท้องตลาดจึงลดลง ซึ่งได้ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ประกอบอาชีพเลี้ยงปลาดุกด้วย
3. ปัจจุบันนอกจากปลาดุกแล้วยังมีสัตว์น้ำจืดอื่น ๆ เช่น ปลาช่อน ปลานิล ปลาตะเพียน จากแหล่งน้ำธรรมชาติและจากการเพาะเลี้ยงมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีโอกาสเลือกมากขึ้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.46 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 28.89 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 35.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.92 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 51.67 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.25 บาท สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 88.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 74.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 14.28 บาท 2.3 กุ้งกุลาดำ กุ้งกุลาดำสดขนาดกลางราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ย กิโลกรัมละ 342.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 346.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 430.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน 2.4 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัม ละ 16.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 15.07 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.97 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 45.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท 2.5 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดชาวประมงขายได้ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 20.00 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 80.71 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 80.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.71 บาท
2.6 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 2.88 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 2.87 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีน 58-62.9% (ระหว่างวันที่ 15-19พค.43) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 14.20 บาท ราคาทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 19 ประจำวันที่ 15-21 พ.ค. 2543-
-สส-