ฐานะการคลังรัฐบาลเดือนตุลาคม 2543
รายได้ยังคงขยายตัว รายได้รวมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 14.2 จากการที่รายได้ที่มิใช่ภาษีอากรของ รัฐบาลที่ปรับตัวสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 105.9 นั้น เนื่องจากมีการนำส่งรายได้จากรัฐวิสาหกิจ เพิ่มขึ้น ที่สำคัญ คือ ก.ส.ท. สำนักงานสลากกินแบ่งฯ และการท่าอากาศยานฯ ในขณะที่รายได้ภาษีอากรขยายตัว ร้อยละ 9.5 โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 18.6 เนื่องจากเป็นช่วงเบิกจ่ายเงินขวัญถุงตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการ
รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นมากจากรายจ่ายพิเศษต่างๆ รายจ่ายรัฐบาลในเดือนแรกของปีงบประมาณมีจำนวน 71.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.4 เนื่องจากการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 30.2 เป็นจำนวน 57.5 พันล้านบาท จากการที่ในเดือนตุลาคมมีรายจ่ายพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่จะ จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวได้แก่ รายจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 2.8 พันล้านบาท รายจ่ายให้คณะกรรมการเลือกตั้ง 2.1 พันล้านบาท รายจ่ายชดเชยผลขาดทุนและ ชดเชยรายได้ค่าโดยสารการรถไฟ 1.9 พันล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้มีรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 7.8 พันล้านบาท อัตราเบิกจ่ายในเดือนนี้คิดเป็นร้อยละ 6.7 ของวงเงินงบประมาณทั้งปี (ปีก่อนร้อยละ 5.2) สำหรับรายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1.8 พันล้านบาท
ดุลเงินสด เดือนตุลาคมขาดดุล 17.7 พันล้านบาท และมีการชำระคืนเงินกู้ภายในประเทศสุทธิ 24.1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิอีก 0.5 พันล้านบาท ทำให้เงินคงคลังลดลง 42.3 พันล้านบาท เหลือ 29.5 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-
รายได้ยังคงขยายตัว รายได้รวมของรัฐบาลเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของ ปีก่อนร้อยละ 14.2 จากการที่รายได้ที่มิใช่ภาษีอากรของ รัฐบาลที่ปรับตัวสูงขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 105.9 นั้น เนื่องจากมีการนำส่งรายได้จากรัฐวิสาหกิจ เพิ่มขึ้น ที่สำคัญ คือ ก.ส.ท. สำนักงานสลากกินแบ่งฯ และการท่าอากาศยานฯ ในขณะที่รายได้ภาษีอากรขยายตัว ร้อยละ 9.5 โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขยายตัวร้อยละ 18.6 เนื่องจากเป็นช่วงเบิกจ่ายเงินขวัญถุงตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิตข้าราชการ
รายจ่ายรัฐบาลเพิ่มขึ้นมากจากรายจ่ายพิเศษต่างๆ รายจ่ายรัฐบาลในเดือนแรกของปีงบประมาณมีจำนวน 71.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 20.4 เนื่องจากการเบิกจ่ายจากงบประมาณปีปัจจุบันเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 30.2 เป็นจำนวน 57.5 พันล้านบาท จากการที่ในเดือนตุลาคมมีรายจ่ายพิเศษ ซึ่งส่วนใหญ่จะ จ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียวได้แก่ รายจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคม 2.8 พันล้านบาท รายจ่ายให้คณะกรรมการเลือกตั้ง 2.1 พันล้านบาท รายจ่ายชดเชยผลขาดทุนและ ชดเชยรายได้ค่าโดยสารการรถไฟ 1.9 พันล้านบาท เป็นต้น นอกจากนี้มีรายจ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ 7.8 พันล้านบาท อัตราเบิกจ่ายในเดือนนี้คิดเป็นร้อยละ 6.7 ของวงเงินงบประมาณทั้งปี (ปีก่อนร้อยละ 5.2) สำหรับรายจ่ายเงินนอกงบประมาณที่สำคัญ ได้แก่ รายจ่ายของกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร จำนวน 1.8 พันล้านบาท
ดุลเงินสด เดือนตุลาคมขาดดุล 17.7 พันล้านบาท และมีการชำระคืนเงินกู้ภายในประเทศสุทธิ 24.1 พันล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการไถ่ถอนตั๋วเงินคลัง และชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศสุทธิอีก 0.5 พันล้านบาท ทำให้เงินคงคลังลดลง 42.3 พันล้านบาท เหลือ 29.5 พันล้านบาท
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
-ยก-