ด้วยธนาคารแห่งประเทศไทยโดยส่วนควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน สายตลาดการเงินได้ตรวจสอบและติดตามการทำธุรกรรม การซื้อขายเงินตราต่างประเทศของบริษัทรัตนโกสินทร์ อินเตอร์-เนชั่นแนล จำกัด บริษัทธนทรัพย์ทวี จำกัด และบริษัทอิสเทิร์น ปิโตรเพาเวอร์ จำกัด พบว่ามีเงินกู้นำเข้าในปี 2541 ผ่านธนาคารพาณิชย์ 94 ครั้ง จำนวนเงิน 24.73 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา แต่มีหลักฐานการชำระคืนเงินกู้ในปี 2541-2543 จำนวนเงินรวม 222.00 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา ซึ่งมากกว่าจำนวน
เงินตราต่างประเทศที่กู้และนำเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนเงิน 197.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือ 7,496.26 ล้านบาท (38 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) โดย 3 บริษัทดังกล่าวได้ซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อชำระคืนเงินกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในการซื้อเงินตราต่างประเทศทุกครั้ง ได้แสดงหลักฐานสัญญาเงินกู้ฉบับที่ทำขึ้นในปี 2541 และเอกสารการนำเงินกู้เข้าประเทศ (Credit Advice) แต่จากการตรวจสอบพบว่า 3 บริษัทดังกล่าวได้แสดงเอกสารหลักฐานซ้ำ 473 ครั้ง ใช้เอกสารการนำเงินกู้เข้าประเทศ (Credit Advice) ปลอม 116 ครั้ง และใช้เอกสารหลักฐานที่ไม่ชัดเจน 33 ครั้ง ทั้งยังไม่พบว่ามีการรายงานการ
นำเงินเข้าตามแบบ ธ.ต. 3 ประกอบเอกสารการนำเงินกู้เข้าประเทศ (Credit Advice) ที่อ้างถึงการซื้อเงินตราต่างประเทศของบริษัททั้ง 3 แห่ง เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้ดังกล่าวเป็นการซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์อื่นซึ่งมิใช่การชำระคืนเงินกู้ในธุรกิจปกติของบริษัทโดยทั่วไป
การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน กฎหมายศุลกากร และกฎหมายฟอกเงิน อันส่งผลกระทบ โดยตรง ต่อระบบการควบคุม การแลกเปลี่ยนเงินของประเทศและเสถียรภาพของค่าเงินบาท อันเป็นเหตุปัจจัยประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัททั้ง 3 แห่งและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งโดยการแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อให้การดำเนินคดี สำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วจนสามารถทำการจับกุม ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวได้ในวันนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 สิงหาคม 2544--
-ยก-
เงินตราต่างประเทศที่กู้และนำเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนเงิน 197.27 ล้านดอลลาร์สหรัฐอเมริกา หรือ 7,496.26 ล้านบาท (38 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา) โดย 3 บริษัทดังกล่าวได้ซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อชำระคืนเงินกู้ผ่านธนาคารพาณิชย์ ซึ่งในการซื้อเงินตราต่างประเทศทุกครั้ง ได้แสดงหลักฐานสัญญาเงินกู้ฉบับที่ทำขึ้นในปี 2541 และเอกสารการนำเงินกู้เข้าประเทศ (Credit Advice) แต่จากการตรวจสอบพบว่า 3 บริษัทดังกล่าวได้แสดงเอกสารหลักฐานซ้ำ 473 ครั้ง ใช้เอกสารการนำเงินกู้เข้าประเทศ (Credit Advice) ปลอม 116 ครั้ง และใช้เอกสารหลักฐานที่ไม่ชัดเจน 33 ครั้ง ทั้งยังไม่พบว่ามีการรายงานการ
นำเงินเข้าตามแบบ ธ.ต. 3 ประกอบเอกสารการนำเงินกู้เข้าประเทศ (Credit Advice) ที่อ้างถึงการซื้อเงินตราต่างประเทศของบริษัททั้ง 3 แห่ง เพื่อชำระคืนหนี้เงินกู้ดังกล่าวเป็นการซื้อเงินตราต่างประเทศเพื่อวัตถุประสงค์อื่นซึ่งมิใช่การชำระคืนเงินกู้ในธุรกิจปกติของบริษัทโดยทั่วไป
การกระทำดังกล่าวถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน กฎหมายศุลกากร และกฎหมายฟอกเงิน อันส่งผลกระทบ โดยตรง ต่อระบบการควบคุม การแลกเปลี่ยนเงินของประเทศและเสถียรภาพของค่าเงินบาท อันเป็นเหตุปัจจัยประการหนึ่ง ที่ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจของประเทศในขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงได้ร้องทุกข์กล่าวโทษบริษัททั้ง 3 แห่งและบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต่อผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความร่วมมืออย่างดียิ่งโดยการแต่งตั้งคณะพนักงานสืบสวนสอบสวน เพื่อให้การดำเนินคดี สำเร็จลุล่วงอย่างรวดเร็วจนสามารถทำการจับกุม ผู้ต้องหาคดีดังกล่าวได้ในวันนี้
--ธนาคารแห่งประเทศไทย/31 สิงหาคม 2544--
-ยก-